spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Porcupine Tree - Nil Recurring (Celestial Subway)
Porcupine Tree - Nil Recurring (Celestial Subway) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Saturday, 09 August 2008

Porcupine Tree - Nil Recurring

Written by Celestial Subway
วันที่  5 สิงหาคม 2551


ขอย้อนไปก่อนจากที่วงเฮฟวี่พร็อกจากอังกฤษของพี่สตีแว่น วิลสัน คือ Porcupine Tree ทำอัลบั้ม Fear of a Blank Planet มาสักเล็กน้อยก็ละกันนะครับ อีพีนี้คือเพลงที่พวกเขาทำกันในช่วงทัวร์ Arriving Somewhere ซึ่งหนึ่งในเพลงของอีพีนี้ พวกเขาได้นำมาแสดงในคอนเสิร์ตนั้นด้วย แต่ว่าเพลงเกือบทั้งหมดที่ทำก็ไม่ได้เข้ากับคอนเซ็ปต์ของ Fear of a Blank Planet เสียเท่าไร นอกจาก Normal ซึ่งภายหลังพี่แว่นได้แปลงเนื้อเพลงและภาคดนตรีให้เรียบง่ายขึ้นจนกลายเป็น Sentimental ในอัลบั้มเต็ม สรุปว่า Nil recurring คือ อีพีที่ทางวงทำระหว่าง Arriving Somewhere และ Fear of... แต่มามิกซ์หลังจากที่ทำอัลบั้มเสร็จสมบูรณ์นั่นเอง



1. Nil Recurring (6:08)
เพลงนี้น่าจะเป็นเพลงที่ Porcupine Tree แสดงการบรรเลงอย่างเต็มที่ รายละเอียดส่วนใหญ่จะตกไปอยู่ที่คีย์บอร์ดกับกีต้าร์ ทั้งสองชิ้นนี้มีรายละเอียดของเมโลดี้และฮาร์โมนี่ที่ซับซ้อนพอตัว อีกอย่างที่โดดเด่นไม่แพ้กันก็คงจะเป็นกลองของ Gavin ที่โซโลได้อย่างดุเดือดพอสมควร แต่ถ้าจะเอาแบบเน้นๆผมว่าน่าจะเป็นคีย์บอร์ดของ Barbieri ที่ทำออกมาได้หลอนพอสมควรเลยละ เรียกว่าน่าจะฉีกแนวไปจากช่วงที่ทำเพลงกับ Japan (ร่วมกับน้าเดวิด ซิลเวียน) ก็เป็นได้ แต่ด้วยริฟที่หนาและแน่นของพี่แว่น ทำให้เพลงนี้ดูกดประสาทไปเลย ซึ่งถ้าหนักกว่านี้อีกนิดหน่อยละก็ ผมคงจะจัดให้เป็นโพสเมทัลไปแล้วละ

2. Normal (7:07)

ครั้งแรกที่ผมฟังเพลงนี้ ดันไปเข้าใจผิดว่าเพลงนี้เป็นภาคต่อของ Sentimental ความจริงคือ เพลงนี้เป็นเพลงที่พี่แว่นแต่งไว้ก่อนที่จะแปลงเป็นเพลงหลัง (ที่อยู่ใน Fear of...) แต่ขึ้นต้นนี่ไม่ได้เป็นทริปฮอปเหมือนอย่างเพลงหลังเลยครับ กลับกลายเป็นเสียงกีต้าร์โปร่งเพราะๆนำขึ้นมาก่อน  แล้วค่อยตามขึ้นมาเต็มวง ส่วนเนื้อหาก็แตกต่างจากตอนที่เป็น Sentimental เล็กน้อย แต่มีความซับซ้อนกว่าอย่างเห็นได้ชัด และเพลงนี้น่าจะเป็นเพลงที่เบาที่สุดในอีพีนี้ก็คงจะได้ เพราะเพลงนี้เน้นเสียงคลีนมากกว่า ส่วนเสียงคีย์บอร์ดก็ยังคงเป็น Soundscapes ที่สวยงามเช่นเคย แต่ก็ยังไม่ทิ้งท่อนแยกที่โชว์ความซับซ้อนของเพลง ก่อนที่จะต่อเข้าสู่ท่อนท้ายของเพลงได้อย่างแนบเนียน และก็จบได้อย่างไพเราะ

3. Cheating the Polygraph (7:06)
เพลงนี้ก็คือเพลงที่พวกเขาทำกันในช่วงทัวรื Arriving Somewhere นั่นเอง เป็นงานที่ดูโดดเด่นในภาคดนตรีไม่แพ้ไตเติลแทร็คเลยละ แต่คีย์บอร์ดในเพลงนี้จะมีโซโลโผล่มาด้วยนิดหน่อย ส่วนกีต้าร์ขอพี่แว่นก็เน้นริฟเนียนๆเช่นเคย แต่โซโลของพี่ท่านนี้ช่างหม่นหมอง ส่วนกลองกับเบสก็เล่นสัดส่วนได้ซับซ้อนเช่นเดียวกับกีต้าร์ มาถึงตรงนี้ผมขอสันนิษฐานเอาว่า ภาคดนตรีส่วนหนึ่งน่าจะเอาไปต่อยอดในเพลง Anesthetize ได้เลย

4. What Happens Now? (8:23)

Anesthetize มีความเป็นไปได้ว่าจะเอาริฟจากเพลงนี้ไปด้วยเช่นกันนะขอรับ เพราะจะมีอยู่ท่อนนึงที่เล่นริฟเหมือนท่อนบรรเลงของเพลงหลัง แต่เพลงนี้เบสแอบโชว์นิ้วเล็กน้อย ด้วยการปั่นที่รวดเร็วฉับพลัน ตัวเพลงโดยรวมแล้วก็เข้าใกล้ความเป็นสเปซร็อคอยู่นิดหน่อย ด้วย Soundscapes ที่ Barbieri สร้างขึ้นมามันค่อนข้างล่องลอยและเคว้งคว้างเหมือนกับท่องอวกาศเลยทีเดียว แต่ภายหลังเริ่มจะโชว์เทคนิคหลอนๆให้เราได้ชมกันบ้างแล้ว มาในตอนนี้ผมก็พอจะเข้าใจว่า เพลงนี้มันไม่น่าจะเอาไปอยู่ในอัลบั้มเต็มมากๆก็เพราะความที่มันอวกาศที่สุดนี่เอง

สรุปแล้ว อีพีชุดนี้เป็นงานที่ค่อนข้างจะกระจัดกระจายในเนื้อหา แต่ว่าภาคดนตรีโดยองค์รวมแล้วมีความซับซ้อนกว่าตัวอัลบั้มเต็มอยู่พอสมควร ซึ่งก็แปลว่างานชุดนี้อาจจะแสดงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวงได้มากกว่าละกระมัง เพราะว่าพวกเขาได้ใส่รายละเอียดไปในแต่ละเพลงอย่างเต็มที่ ถ้าใครเป็นแฟนเพลงของวงนี้ก็คงไม่พลาดอยู่แล้ว และคนที่ชอบงานเพลงโปรเกรสสีฟร็อคที่ซับซ้อนแต่เบื่อ Dream Theater ก็สามารถฟังได้เช่นกัน ส่วนตอนนี้ พี่แว่นกำลังจะออกงานเดี่ยวในชื่อของตัวเองแล้ว เตรียมติดตามกันได้อีกไม่นานเกินรอ

ปล. งานในนาม Bass Communion ออกแล้ว ถ้าใครชอบพี่แว่นก็สั่งได้ตามสะดวกครับผม

Last Updated ( Sunday, 14 September 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing