spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Tuesday, 25 March 2008

PENGUIN CAFE ORCHESTRA

Written by Panyarak Poolthup
Transcribed by Polotoon
จากนิตยสาร Starpics




ผู้ที่ได้สดับตรับฟังดนตรีของ Penguin Café Orchestra ต่างมีทัศนะต่อแนวทางดนตรีของคณะนี้แตกต่างกันออกไป บางคนว่าน่าจะเป็น Minimalism บางคนว่าน่าจะเป็น New Age หรือไม่ก็ Classic
บางคนว่าน่าจะเป็น Folk หรือ Jazz แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีใครสามารถระบุได้แน่ชัดว่า แนวดนตรีของ Penguin Cafe Orchestra ที่แท้จริงเป็นเช่นไร
 
หากจะจัดแนวดนตรีของ Penguin Café Orchestra เข้าอยู่ในแนวดนตรีแนวใดแนวหนึ่งข้างต้นก็อาจกระทำได้ แต่ผู้ที่กระทำเช่นนั้นจะถูก โต้แย้งในทันทีว่ามีจิตใจที่คับแคบต่อแนวดนตรีอันเปิดกว้างของ Penguin Café Orchestra เพราะหากจะตีกรอบแนวดนตรีของคณะนี้ให้อยู่ในแนวใดแนวหนึ่งแล้วจะพบว่าเป็นการตีกรอบแนวดนตรีของ Penguin
Café Orchestra ได้เพียงบางเพลงเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว Simon Jeffes ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวง และผู้แต่งเพลง
ส่วนใหญ่ของวง จะไม่มีทางยอมรับการตีกรอบดนตรีเช่นนั้นเป็นอันขาด
 
พื้นฐานด้านดนตรีของ Simon Jeffes เริ่มต้นที่การได้เล่นกีตาร์ในวัยเล่าเรียนโดยเน้นหนักที่เพลงของ Beatles, Stones
และ Rhythm & Blues แล้วเขาก็หันไปเรียนกีตาร์คลาสสิคจนกระทั่งเข้าวิทยาลัยการดนตรี พอเรียนได้สักพักเขาก็เริ่มเบื่อ
ช่วงนั้นเป็นปี 1969 แม้ว่าวงการดนตรีช่วงนั้นจะน่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ เขาตื่นเต้นไปด้วยเท่าไหร่ เขาเริ่มมองไปในทิศทางต่างๆ รวมทั้งการได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับดนตรีร็อค ซึ่งเขาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองทางดนตรีสำหรับตัวเขา ซึงในปัจจุบันเขาก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
 
แม้ว่ารูปแบบดนตรีคลาสสิคและ Avant-Garde จะปรากฏอยู่ชัดในผลงานดนตรีอันสรางสรรค์ของ PCO แต่ประสบการณ์ในดนตรร็อคของ Jeffes คือเมล็ดพันธุ์อันเป็นบ่อเกิดของ Penguin Café เขาได้ร่วมงานกับคณะ Japan ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี 1972 และได้รับแรงบันดาลใจบางประการที่ยากแก่การบรรยายจากดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัยนั้น
(เข้าใจว่าเป็นพุทธสาสนานิกาย Zen)
 
" แต่สิ่งที่ Jeffes ค้นพบจากญี่ปุ่น คือ ความสามารถในการปล่อยให้อดีตที่ไม่น่าจดจำ หลุดหายไปจากความคิดคำนึง ซึ่งก็คือการระงับความยุ่งเหยิงแห่งจิตใจให้สงบราบเรียบแบบการทำสมาธิตามวิถีของพุทธศาสนา "
 
สิ่งที่เขาได้ค้นพบจากญี่ปุ่นคือการนำเสนอสภาพของจิตใจที่ผู้นำเสนอประสบอยู่โดยมิได้เสแสร้งหรือถูกกำหนด
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และ Penguin Café ก็คือสถานที่ที่ใครก็ตามสามารถรับรู้ถึงช่องว่างระหว่างทุกสิ่งทุกอย่าง และตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นในช่องว่างและเวลานั้น
 
พูดง่ายๆก็คือ เมื่อเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ก็แสดงว่ามันได้เกิดขึ้น แล้วเมื่อมันจบลงก็แสดงว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งก็คือการยอมรับว่าความเป็นไปที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราเป็นของธรรมดา
 
Simon Jeffes อธิบายถึงการเชื่อมโยงความคิดข้างต้นกับ Penguin Café โดยยกตัวอย่างว่า หากในตอนเช้าคุณทะเลาะกับกระเป๋ารถเมล์ซึ่งแม้กระทั่งเวลาได้ล่วงเลยไปถึงตอนบ่าย คุณก็ยังติดใจนายกระเป๋ารถเมล์ตัวดีคนนั้นอยู่ แต่สิ่งที่ Jeffes ค้นพบจากญี่ปุ่น คือ ความสามารถในการปล่อยวางให้อดีตที่ไม่น่าจดจำ หลุดหายไปจากความคิดคำนึง ซึ่งก็คือการระงับความยุ่งเหยิงแห่งจิตใจให้สงบราบเรียบแบบการทำสมาธิตามวิถีของพุทธศาสนานั่นเอง
 
และด้วยจิตใจที่สามารถข่มความยุ่งเหยิงวุ่นวายไว้ได้ Jeffes ก็เริ่มแต่งดนตรีบรรยายสภาพจิตใจนั้น ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า Penguin Café และวงดนตรีที่เป็นผู้เล่นดนตรีที่เขาแต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสถานที่ที่เขาเรียกว่า Penguin Café ก็คือ Penguin Café Orchestra



Penguin Café Orchestra เป็นวงดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นอย่างหลวมๆ กล่าวคือมีจำนวนสมาชิกไม่แน่นอน บางทีก็มีถึง 10 คน บางทีก็มีเพียง 7 คน แล้วแต่สถาณการณ์ สมาชิกหลักๆนอกจาก
- Simon Jeffes ซึ่งเล่นเครื่องดนตรีสารพัดชนิดแล้ว ก็มี
- Steve Nye (เปียโน) ซึ่งร่วมงานกับ Jeffes มานานปีทั้งการเป็น Producer และ Engineer ให้กับวงดนตรีต่างๆเช่น Japan, Bow Wow Wow, Malcolm McLaren, Ryuichi Sakamoto, Clannad, Bryan Ferry ฯลฯ 
- Geoffrey Richardson (Viola, Bass ฯลฯ)
- Helen Liebmann (cello)
- Gavyn Wright (ไวโอลิน)
และ Neil Rennie (Cuatro, Ukelele) นอกนั้นเป็นสมาชิกสมทบที่มีพื้นฐานทางดนตรีอันหลากหลายซึงจะเข้ามาแต่งแต้มสีสันให้บทเพลงสวยสดงดงามยิ่งขึ้น


 

PCO เริ่มประเดิมผลงานชุดแรกด้วย Music From The Penguin Café (1976) ภายใต้สังกัด EG Records ซึ่งเป็นบริษัทแผ่นสียงที่ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจุดมุงหมายในการออกผลงานภายใต้สังกัดคืองานที่ไม่ได้มุ่งด้านการตลาด นอกจากนี้อัลบั้มชุดแรกของ PCO นี้ยังถูกจัดอยู่ในโปรเจ็ค Obscure ของ Brian Eno อีกด้วย ซึ่งโปรเจ็ค Obscure นี้ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นงานส่วนตัวของศิลปินจริงๆ ซึ่งนอกจากจะเข้าถึงยากแล้วยังเป็นงานทดลองทางดนตรีที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่องอีกด้วย
 
และอัลบั้มชุดแรกของ PCO ก็เข้าข่ายคำร่ำลือดังกล่าวอยู่ไม่มากก็น้อย เพราะงานชุดนี้ฟังยากที่สุดสำหรับผลงานทั้งหมดของ PCO นอกจากนี้เสียงร้องอันวาบหวิวชวนขนลุกของ Emily Young (ซึ่งเธอเป็นผู้วาดปกอัลบั้มทุกชุดของคณะนี้ด้วย) ในบางเพลงก็หาได้มีส่วนฉุดให้เพลงที่เธอร้อง "ติดดิน" แต่ประการใด แต่กลับช่วยเกื้อหนุนให้บทเพลงนั้นหลุดลอยเคว้งออกไปจากขั้วมากยิ่งขึ้น จนสุดที่จะเอื้อมถึง และดูเหมือนว่ามีเพียงเพลงเปิดอัลบั้มนั้นคือ Penguin Café Single ที่เข้าถึงง่าย ซึ่งในอัลบั้มต่อมาก็ยึดแนวทางของเพลงนี้ไปขยายผลจนแตกลูกหลานเป็นหลายเพลงที่มีคุณลักษณะเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวของ PCO คือดนตรีอันเรียบง่ายทำนองไพเราะเกี่ยวกับมนุษยชาติ ที่ดึงส่วนผสมของดนตรี Pop, Folk พื้นเมืองจากทั่วโลก และ Classic  มาเพียงเล็กน้อย จนบางครั้งฟังดูเหมือนเคยได้ยินบางท่อนมาก่อน แต่ดนตรีของ PCO ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครจริงๆ ดนตรีของ พวกเขาเรียบง่ายด้วยการเล่นย้ำจังหวะซ้ำไปซ้ำมาแทนการพัฒนาท่อนดนตรีให้มีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป คล้ายกับพวก Minimalist แต่ดนตรีของพวกเขามีขอบเขตและมุมมองที่กว้างไกลกว่านั้น
 


อัลบั้มชุดที่ 2 ใช้ชื่อเดียวกับวงคือ Penguin Café Orchestra (1981) และไม่ได้ถูกจำกัดความง่ายในการเข้าถึงไว้ด้วย
โปรเจ็ค Obscure อีกต่อไป จึงฟังดูไพเราะและติดหูง่ายกว่า ยิ่งฟังมากรอบเท่าไหร่ก็จะยิ่งหลงรักมันมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้จำนวนนักดนตรีเพิ่มขึ้นเป็น 10 คนจาก 6 คนในชุดแรก



อัลบั้มชุดที่ 3 เป็นมินิอัลบั้มชื่อ The Penguin Café Orchestra Mini Album (1983) มี 6 เพลง เป็นเพลงเก่าจากห้องอัด
2 เพลง และเพลงใหม่ 2 เพลง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเพลงที่ไพเราะน่าฟังน่าหลงใหลทั้งสิ้น สำหรับเพลงที่เล่นสดนั้นเล่นเหมือนในห้องอัด แต่มีบรรยากาศของการแสดงสดช่วยส่งให้บทเพลงน่าประทับใจยิ่งขึ้น มินิอัลบั้มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสงานของ PCO มาก่อน ซึ่งเชื่อได้ว่าคอนักฟังดนตรีประเภทก้าวล้ำ เมื่อได้ฟังแล้วต้องอดไม่ได้ที่จะต้องขวนขวายหาอัลบั้มชุดอื่นๆมาฟัง
 


อัลบั้มชุดต่อมา Broadcasting From Home (1984) เพิ่มจำนวนนักดนตรีเป็น 13 คน แล้วย้อนกลับไปหาดนตรีที่เข้าถึงค่อนข้างยากแบบในอัลบั้มชุดแรกอีก ฟังแล้วไม่ค่อยน่าประทับใจนัก
 


และอัลบั้มชุดล่าสุด Sign Of Life (1987) เป็นงานที่น่ารักน่าฟังที่สุดอีกชุดหนึ่งของคณะนี้ โดยมีการเพิ่มสมาชิกหลักมาอีก 1 คนคือ Bob Loveday ในตำแหน่งไวโอลินและเบส
 
อัลบั้ม Sign Of Life เป็นงานที่สร้างขึ้นจากสภาพอารมณ์ที่สุขสงบ แต่แสดงออกถึงความร่าเริงด้วยเสียงไวโอลินหลายตัวที่เล่นล้อกันอย่างสนุกสนานเต็มไปด้วยสีสันทั้งนี้เนื่องมาจาก
Simon Jeffes ไม่ชอบความคิดในการสร้างดนตรีที่ราบเรียบเอื่อยเฉื่อย เพราะเขาเห็นว่าหากจะปิดกั้นสภาพอารมณ์ที่ขุ่นมัวไว้ สภาพอารมณ์ที่สนุกสนานร่าเริงจะถูกปิดกั้นไปด้วย
 
Sign Of Life จึงเต็มไปด้วยแสงสว่างและเงามืดที่ต่อสู้กันทางเสียงดนตรีอันเป็นการย้อนไปสู่ดนตรีที่มีอิทธิพลต่อตัวเขา และเสียงดนตรีที่เป็นเสียงของตัวผู้เล่นที่เป็นเสียงจากก้นบึ้งของหัวใจ ซึ่งเสียงเหล่านั้นไม่ใช่ของใครอื่นนอกจากตัว Simon Jeffes เอง และเขาก็เลือกที่จะสื่อมันด้วยดนตรีที่ปราศจากเนื้อร้องซึ่งการนำเสนอเสียงดนตรีที่มีเสียงร้องเป็นทางเลือก
ที่เขาเลือกที่จะละเลย เพราะเขาเห็นว่าดนตรีที่สื่อความหมายจากชีวิตของเขาไม่มีคำพูดที่เหมาะสมที่จะใช้บรรยายได้
 
เป็นที่น่าสังเกตว่าผลงานของ PCO มีการทิ้งช่วงระหว่างแต่ละชุดประมาณ 2-3 ปี ซึ่งในช่วงเวลาเหล่านั้น Jeffes จะละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณีและถิ่นที่อยู่ออกไปสัมผัสกับสิ่งใหม่ๆจากขนบธรรมเนียมประเพณีอื่นๆ แล้วจึงหวนกลับมายังที่เก่าซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอันเป็นที่ที่ Penguin Café Orchestra ดำรงอยู่
 
สำหรับภาพบนปกอัลบั้มโดยฝีมือของ Emily Young มีความต่อเนื่องกันพอสมควร เริ่มจากอัลบั้มแรกเป็นภาพกลางแจ้งท่ามกลางเทือกเขาและทุ่งหญ้าเขียวขจี อัลบั้มที่ 2 เป็นการขยับเท้าเข้าไปในบ้าน แต่ยังมองเห็นภูมิประเทศและทิวทัศน์ชัดเจน ในตัวบ้านมีเครื่องดนตรี 2 ชนิดคือกีตาร์และกลอง ซึ่งเชื่อมโยงไปถึง
อัลบั้มชุดที่ 3 (มินิอัลบั้มไม่เกี่ยว) ที่มีภ่พวาดสอดคล้องกับชื่อปกซึ่งเป็นการเล่นดนตรีภายในบ้านยามค่ำคืน และอัลบั้มชุดที่ 4 ซึ่งเป็นภาพการเล่นดนตรีภายในบ้านตอนกลางวัน ซึ่งดูมีชีวิตชีวาและอบอุ่น
 
นอกจากนี้ ในอัลบั้มแต่ละชุด ยกเว้นชุดแรกจะมีภาพอ้างอิงอัลบั้มชุดก่อนๆปรากฏอยู่หลังอัลบั้ม เป็นภาพเล็กๆที่เลือกเฉพาะมุมใดมุมหนึ่งของภาพใหญ่มา อันเป็นการสื่อความหมายถึงความต่อเนื่องของภาพปกในแต่ละชุด

 



 
When in Rome (1988) เป็นบันทึกการแสดงสดจาก Royal Festival Hall ซึ่งเป็นสถานที่แสดงดนตรีคลาสสิค ในขณะที่การแสดงของ PCO เปิดกว้างสำหรับชนทุกชั้นที่มีดนตรีในหัวใจ และไม่ต้องปีนบันไดฟังเหมือนดนตรีคลาสสิค



ปี 1989 มีอัลบั้ม 'Still Life' at the Penguin Cafe ออกมา ซึ่งคล้าย soundtrack ของดนตรีประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุด Still Life ซึ่งใช้เพลงของ PCO 8 เพลง ที่บรรเลงโดย Royal Opera House Orchestra เป็นดนตรีประกอบที่เข้ากันได้ดี และเพลงแต่งใหม่อีก 4 เพลง

Still Life At The Penguin Café (January 29, 2008)

การแสดงบัลเล่ต์ชุดนี้มีบันทึกภาพออกมาเป็นวีดีโอ และ LD ด้วย และเพิ่งจะออกเป็น DVD ในเดือนมกราคมนี้
 


อาจถือได้ว่า อัลบั้ม Union Cafe (1993) เป็นอัลบั้มสุดท้ายของ PCO ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของ Simon Jeffes ที่เริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นจากการเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานให้วงออเคสตราสำหรับบัลเล่ต์ Still Life จึงมีการเพิ่มสมาชิก PCO เป็นวงที่ใหญ่ขึ้น และดนตรีมีความหลากหลายมากขึ้น


PENGUIN CAFE ORCHESTRA – LIVE
Sunday 18th September 1994 - Wilton Church, Nr Salisbury, Wiltshire, England



หลังจาก Union Cafe แล้ว PCO มีอัลบั้มบันทึกการแสดงสด Concert Program (1995)



และอัลบั้มรวมเพลง Preludes, Airs & Yodels (1996) ออกมาและในปี 1997 Simon Jeffes ก็ล้มป่วยด้วยโรคเนื้องอกในสมอง และเสียชีวิตในปลายปีนั้น
 


หลังจากนั้น ก็มีอัลบั้ม Piano Music (2000) ในนามของ Simon Jeffes ซึ่งรวมเพลงที่ Jeffes บันทึกเสียงเก็บไว้ 


และตามมาด้วยผลงานรวมเพลงอีก 3 ชุดคือ Penguin Cafe Orchestra Box Set (2001),


A Brief History (2001)



และ The Second Penguin Cafe Orchestra Sampler (2004)

แล้วชื่อของ Penguin Cafe Orchestra ก็เหลืออยู่เพียงตำนาน จนกระทั่งเดือนธันวาคมปี 2007 ที่สมาชิกเก่าของ PCO และ Arthur Jeffes ลูกชายของ Simon Jeffes กับนักดนตรีสมทบอีกจำนวนหนึ่ง มารวมตัวกันในนาม Penguin Cafe Orchestra เพื่อเล่นคอนเสิร์ต 3 รอบ ที่ Union Chapel ในโอกาสครบรอบ 10 ปี การเสียขีวิตของ Simon Jeffes และประกาศว่า PCO จะไม่มีกิจกรรมใดๆ ต่อจากนี้อีก ซึ่งก็คงต้องติดตามกันต่อไป
Last Updated ( Tuesday, 25 March 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing