spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow John Cale (Panyarak)
John Cale (Panyarak) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Wednesday, 26 March 2008

John Cale

Written by Panyarak Poolthup
Transcribed by Kongbei
จากนิตยสาร Starpics (1988)



แม้ว่า Velvet Underground จะเป็นวงดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อวงการร็อคของอเมริกาและผู้ที่ยึดครองความมีชื่อเสียงไว้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย หลังจากการแตกแยกวงของ Velvet Underground จะเป็น Lou Reed แต่ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องในด้านผลงานยุคหลังการแตกวงของ Velvet Underground บุคคลผู้นั้นคือ John Cale

John Cale ร่วมงานกับ Velvet Underground อยู่เพียง 2 ชุดคือ The Velvet Underground & Nico (อัลบั้มร็อคที่สำคัญที่สุด) และ White Light/White Heat หลังจากนั้นในปี 1968 เขาก็ลาออกไปแสวงหาชื่อเสียงของตนเอง

ก่อนหน้าที่ John Cale จะมาร่วมงานกับวง Velvet Underground นั้นเขาเคยเป็นมือไวโอลินประจำวง Theatre Of Eternal Music ของ La monte Young ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านดนตรี Minimalism และเป็น Minimalist ที่อาวุโสที่สุด John เข้าร่วมวงดังกล่าวนับแต่แรกก่อตั้งในปี 1962 และได้ผ่านงานการเล่นดนตรีแนว Minimalism มาอย่างช่ำชอง รวมทั้งการได้สัมผัสกับนักดนตรีแนวนี้มากหน้าหลายตา

แม้ว่า John Cale จะรับหน้าที่เล่นเบส, เปียโน และ Viola ให้ Velvet Underground แต่ในผลงานเดี่ยวของเขา นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว เขามักจะยึดตำแหน่งมือกีตาร์ และร้องนำไว้เป็นของตัวเอง แล้วเปิดโอกาสให้นักดนตรีที่ไม่ค่อยจะซ้ำหน้ากัน
เข้ามารับหน้าที่เล่นเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ

ผลงานเดี่ยวของ John Cale มีความหลากหลายจนไม่น่าเชื่อ จากพื้นฐานด้านดนตรี Classic สมัยใหม่ John ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะผลิตผลงานที่ยากแก่การคาดเดาว่าอัลบั้มชุดต่อไปจะเป็นแนวใดออกมาอย่างไม่ขาดสาย



Vintage Violence (1969)

เป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเขาที่ออกไปทาง Pop เสียงร้องของ John แม้ว่าจะเป็นเสียงใหญ่และลุ่มลึก แต่เขาก็ร้องเพลงหวานๆได้นุ่มนวลชวนฟังยิ่งนัก จากอัลบั้มชุดนี้ John เว้นอัลบั้มไป 2 ชุดจึงกลับมาทำเพลง Pop อีกในอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 คือ Paris 1919 (1973) ซึ่งอัลบั้มชุดนี้เต็มไปด้วยเพลงที่แสนไพเราะน่าฟัง จากการขับกล่อมที่เต็มไปด้วยความสามารถด้านการร้องของ John แต่น่าแปลกที่ John ไม่เคยคัดเพลงจาก 2 อัลบั้มนี้เป็นซิงเกิ้ลเลย

Church Of Anthrax (1971)


เป็นผลงานที่ John ออกร่วมกับ Terry Riley ศิลปิน Minimalist ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเสียงอันเกิดจากเครื่องดนตรีไฟฟ้าซึ่งทั้งสองเคยร่วมงานกันสมัย Theatre Of Eternal Music และแน่นอนที่แม้ว่า John จะมีความถนัดในการทำผลงานได้สารพัดแนว
แต่ Terry นั้นเล่นเป็นอยู่แนวเดียวคือ Minimalism อัลบั้มชุดนี้จึงออกไปทางแนว Minimalism อย่างช่วยไม่ได้โดยที่ John
มีพื้นฐานด้านดนตรี Classic และ Minimalism ค่อนข้างแน่น การเล่นดนตรีในแนวนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขาแต่ประการใด

ในอัลบั้มนี้ Terry เล่น เปียโน,ออร์แกน และ แซ็กโซโฟน ส่วน John เล่นเบส, เปียโน, กีตาร์, Viola, ออร์แกน และ Harpsichord เพลง Title Track เป็นเพลงเปิดอัลบั้มที่เต็มไปด้วยเสียงอันเร้าใจของเสียงเบสที่เล่นเสียงดังมาก พอๆกับการเคาะลิ่มเปียโนอย่างสุดมัน ส่วนเพลงที่ 2 The Hall Of Mirrors In The Palace At Versailles เป็นการผสมผสานระหว่าง Minimalism และ Jazz ที่ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมอย่างไม่น่าเชื่อ อัลบั้มนี้มีเพลงร้องเพลงเดียวคือ The Soul Of Patrick Lee และเป็นเพลงเดียวที่ Terry ไม่ได้แต่งร่วมกับ John เพลงร้องเพลงนี้ดูออกจะเป็นส่วนเกินของอัลบั้มเพราะฟังดูแล้วไม่เข้ากับเพลงอื่นๆในอัลบั้ม เสียงร้องและสไตล์การร้องของ Adam Miller ก็ชวนน่าเบื่อเป็นที่สุด


ในอัลบั้มชุดที่ 3 The Academy in Peril
John ยังคงทำตัวเป็นผู้ยากแก่การคาดเดาโดยการออกอัลบั้มที่ดูจากชื่ออัลบั้มหรือปกอัลบั้มแล้วไม่มีทางบอกได้ว่า
งานข้างในจะเป็นอย่างไร อัลบั้มชุดนี้เป็นการยืนยันในความเป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านดนตรี Classic ที่ค่อนข้างแน่นของ John เพราะทุกเพลงในอัลบั้มนี้ John แต่งเองแต่เพียงผู้เดียวและทุกเพลง (นอกจากเพลง King Harry ที่เป็นเพลงร้องนอกคอกเช่นเดียวกับ The Soul Of Patrick Lee ในอัลบั้มชุดที่ 2) เป็นแพลง Classic สั้นๆที่แต่งขึ้นใหม่โดยมีเพียง 2 เพลงจาก 12 เพลงที่บรรเลงร่วมกัน The Royal Philharmonic Orchestra นอกนั้นเป็นการแสดงเดียวเปียโน, Harpsichord และ Viola ของ John ผู้ที่ได้ฟังฝีมืออันฉกาจฉกรรจ์ของ John แล้ว ต้องยอมรับว่าฝีมือด้านนี้ของ John ไม่เป็นรองใคร แต่ John ก็ขอฝากฝีมือด้านดนตรี Classic ไว้เพียงอัลบั้มนี้เท่านั้น นับจากนี้เขาก็หันไปแต่งเพลงร็อคหลายๆแบบ ที่ดีบ้าง เลวบ้างไปตามเรื่อง แต่อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้เล่นเพลงแนวเดียวตลอดอย่างอดีตเพื่อนร่วมวง Velvet Underground ที่ชื่อ Lou reed หลังจากอัลบั้มแนว Pop ในชุดที่ 4 แล้ว John ก็พลิกความคาดหมายไปทำเพลงร็อคหนักๆในอัลบั้ม Fear (1974)
และในปีเดียวกันก็มีอัลบั้มแสดงสด June 1, 1974 ร่วมกับ Brian Eno, Nico, Kevin Ayers และ Mike Oldfield ออกมาแต่ John ไม่ค่อยมีบทบาทที่โดดเด่นมากนักในอัลบั้มนี้




Slow Dazzle (1975)


อีกครั้งหนึ่งที่ John Cale ได้ร่วมงานกับ Brian Eno ซึ่งมาเล่น Synthesizer ให้ในทุกเพลง แต่เสียงซินธ์ของ Eno ในชุดนี้ไม่ได้โดดเด่นจนออกนอกหน้า อัลบั้มนี้ฟังแล้วเหมือน John จะพยายามเล่นเพลงในสไตล์ของ Beach Boys โดยเฉพาะในเพลง Mr.Wilson ที่ให้บรรยากาศแบบ Beach Boys อย่างเห็นได้ชัด เพียงแต่เสียงร้องของ John เท่านั้นที่คอยดึงไว้มิให้เป็นเพลงของ Beach Boys อย่างเต็มตัว Helen Of Troy ที่ออกตามมาในปีเดียวกัน ก็ยังมี Eno มาช่วยงานอย่างไม่ออกนอกหน้าอยู่ มาเด่นจริงๆก็ในอัลบั้ม Caribbean Sunset (1984) ซึ่งเสียงดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ฟังแล้วช่างคล้ายเสียงดนตรีในอัลบั้ม Heroes (1977)
ของ David Bowie ซึ่งมี Eno มาเล่นซินธ์ให้เสียเหลือเกิน โดยเฉพาะในเพลง Hungry For Love ซึ่งมีเพียงเสียงร้องของ John เท่านั้นที่บ่งบอกว่าไม่ใช่เพลงจากอัลบั้ม Heroes


 หลังจากอัลบั้มรวมเพลงเอก Guts (1977) John ก็ออกอัลบั้มแสดงสด


Sabotage/Live (1980) ออกมาโดยคัดเลือกเพลงที่ค่อนข้างหนวกหูของเขามาเล่น จนผู้ที่ได้ฟังแล้วหากไม่บอกว่าเป็นผลงานของ John Cale อาจจะนึกไปว่า เป็นงานของวง Punk Rock เช่นเดียวกับอัลบั้ม Comes Alive (1984) ที่ออกแบบปกได้น่าเกลียดดี อัลบั้ม Comes Alive ออกมาหลัง Honi Soit (1981) และ


Music For A New Society (1982) ซึ่งเป็นอัลบั้มที่เครียดที่สุดของ John Cale ผู้ที่เห็นชื่ออัลบั้ม Music For A New Society แล้วอาจจะนึกว่า John จะหันไปเล่นเพลงร่วมสมัยแต่ New Society ตามความหมายของ John เป็นสังคมในอนาคตที่ยังห่างไกลออกไปเหมือนสังคมยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่ความเหงา หงอยและหดหู่ ซึ่งดนตรีและเสียงร้องอันบีบเค้นและเนื้อหาที่โหยหาของ John ก็แสดงออกถึงความเครียดและหดหู่ ผู้ที่เคยฟังแต่อัลบั้มร็อคที่สนุกๆของ John มาพอเจอชุดนี้เข้าคงจะเครียดตามไปด้วย อัลบั้มชุดนี้ไม่เหมาะสำหรับฟังติดต่อกันตลอดทั้งแผ่น แต่หากกำลังคิดว่าตนกำลังมีความสนุกสนานมากเกินไป และอยากสัมผัสงานที่เครียดๆบ้างก็น่าจะหาอัลบั้มชุดนี้มาฟังดู (ในอัลบั้ม Comes Alive มีการนำเพลงจากอัลบั้มสุดเครียดนี้ไปเล่นเพียงเพลงเดียว โดยนำไปปรับแต่งให้ออกไปทางร็อคหนักๆ) อัลบั้มนี้ปิดท้ายด้วย Rise, Sam and Rimsky Korsakov ซึ่งร้องนำโดย Rise Cale และเป็นเพลงที่ผ่อนคลายและน่าฟังที่สุดเพราะเป็นการร้องประกอบเสียงดนตรี Classic ของ Rimsky Korsakov ที่เล่นเป็น Background มีอีกเพลงคือ Damn Life ซึ่งชื่อก็บอกอยู่ว่าเพลงนี้คงไม่น่าอภิรมย์นัก เพลงนี้เล่นเครียดทั้งเพลง แต่มาผ่อนคลายตอนกลางเพลงที่เป็นกรเดี่ยวเปียโนตามจังหวะเพลง Fur Elise 

 




อัลบั้ม Artificial Intelligence (1985)

ซึ่งดูจากปกแล้วอาจจะนึกว่า John จะเล่นเพลงพวก Electronic Rock แต่เมื่อฟังแล้วก็เป็นเพลงร็อคธรรมดาที่เน้นจังหวะกระฉึกกระฉักและดนตรีซับซ้อนในแทบทุกเพลง ในอัลบั้มนี้มีเพลงที่
น่าสนใจอยู่ 2 เพลงคือ Chinese Takea Way (Hong Kong 1977) ดูจากชื่อเพลงแล้วเหมือนเป็นเพลงจีน แต่จริงๆแล้วเป็นเพลงบรรเลงที่นำท่อนดนตรี Classic หลายๆท่อนมาผสมผสานกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงและดัดแปลงจังหวะจนกลายเป็นเพลงบรรเลงที่ฟังดูแปลกหูอีกเพลงคือ Black Rose ที่หันไปเล่นเพลงนุ่มหูและการร้องเสียงที่นุ่มหูของ John แบบในอัลบั้ม Paris 1919 แต่เพลงที่น่าจะติดหูง่ายที่สุดน่าจะเป็น
Satellite Walk ซึ่งแม้จะมีจังหวะกระฉึกกระฉัก เหมือนเพลงอื่นๆแต่ก็เล่นได้สนุกสนานและเต็มไปด้วยเมโลดี้อันแสนไพเราะเพลงนี้ John อาจจะต้องการทำให้เป็นเพลงเต้นรำ แต่ถ้าใครเอาไปเต้นก็คงขาขวิดกันจนหกคะเมนเป็นแน่

Last Updated ( Wednesday, 26 March 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing