spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Friday, 28 March 2008

Philip Glass

Written by Panyarak Poolthup
Transcribed by Polotoon
จากนิตยสาร Starpics ปี 1988



มีนักประพันธ์น้อยคนนักในศตวรรษนี้ที่จะประสบความสำเร็จ ได้รับความนิยมอย่างกว้างฃวาง และมีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคของตน (ในโลกตะวันตก) เหมือน Philip Glass ดนตรีของเขา แหวกแนว เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง มีจังหวะที่เร้าใจ ให้ความรู้สึกถึงงานละคร ให้มโนภาพอันลึกลับ และลักษณะเด่นของดนตรีของเขา นอกจากจะแผ่คลุมดลกดนตรีประเภท 'ซีเรียส' แล้ว ยังครอบคลุมถึงดนตรี Rock และ Pop ด้วย
 
ในด้านอุปรากร ซึ่ง Glass มีความถนัดเป็นพิเศษ เขาเป็นผู้ชุบชีวิตให้แก่ศิลปะแขนงนี้ขึ้นมาจากความซบเซาซึ่งเกือบจะอุปมาว่า เป็นศิลปะที่ตายไปแล้ว (ผู้ประพันธ์อุปรากรคนสุดท้าย ที่ได้รับการต้อนรับจากมหาชนมากที่สุดคือ Richard Strauss)

ผลงานด้านการบันทึกเสียงของ Glass ขายดีกว่าศิลปินเพลงคลาสสิคทั้งหลาย และเขาเป็นผู้ประพันธ์คนเดียวที่มีชีวิตอยู่ที่บัตรคอนเสิร์ตของเขาขายหมดเกลี้ยง ดนตรีของเขาถูกตีตราว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถจัดประเภทเข้าในลักษณะดนตรีใดๆได้ ดนตรีของเขาประสบความสำเร็จอย่างเท่าเทียมกัน ในหมู่นักฟัง ทั้งประเภทอุปรากร ดิสโก้ ซิมโฟนี แจ๊ส นักศึกษา และในหมู่นักกีฬา


เขาได้ประพันธ์งานขึ้น 4 ชิ้น ซึ่งแหวกแนวอุปรากรทั้งหลายที่เคยมีมา ซึ่งได้แก่ Einstein On The Beach, Satyagraha, Akhnaten และ The Civil Wars : A Tree Is Best Measured When It Is Down อุปรากรเหล่านี้ ไม่มีบทนางเอกที่เศร้าสร้อย หรือฉากรักที่ผิดหวัง เหมือนอุปรากรทั่วไป แต่เกี่ยวกับปรัชญา และเคราะห์กรรมของมนุษยชาติทั้งมวล
 


Einstein On The Beach (ความยาวแผ่นเสียง 3 แผ่น) เป็นเรื่องผลกระทบของวิทยาศาสตร์ต่อมนุษยชาติ Satyagraha (ความยาวแผ่นสียง 4 แผ่น) เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการใช้ความไม่รุนแรง (Non-violence) ซึ่งเชื่อมโยงแนวความคิดของ Tolstoy, ระพินทรนาถ, มหาตมะคานธี และ Martin Luther King
 


Akhnaten (ไม่ได้บันทึกลงแผ่น) เกี่ยวข้องกับลัทธินับถือเงินเป็นพระเจ้า ขณะนี้ Glass กำลังง่วนอยู่กับอุปรากรชุดที่ 5 คือ The Making Of Representative Of Planet 8 ซึ่งเป็นเรื่องของอารยธรรมที่ประสบเคราะห์กรรมลึกลับ ซึ่งรอดพ้นมาจากความพินาศจากยุคน้ำแข็งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
 
เพื่อเป็นการยืนยันว่า Glass เป็นนักประพันธ์ที่เอาจริงเอาจัง และทำรายได้ลบสถิติ CBS ตกลงเซ็นสัญญาให้ Glass เป็น Executive Composer ซึ่งเขาเป็นคนที่ 3 ที่ได้รัยเกีรติเช่นนี้ (อีก 2 คนคือ Stravinsky และ Copland)
 
ความสามารถเฉพาะตัว และความสำเร็จที่เขาได้รับ ทำให้ Glass เป็นทั้งฮีโร่และศัตรูของคนในวงการดนตรี ในขณะที่ผู้ฟังที่ประทับใจ โครงสร้างจังหวะเพลงอันซับซ้อนของ Glass แต่ก็ยังมีหลายคนที่เห็นว่า เพลงของเขามีแต่จังหวะที่ซ้ำซากบ้าๆบอๆ ในขณะที่บางคนมีอารมณ์ร่วมอันเร้าใจกับอุปรากร Einstein ที่มีฉากยานอวกาศ และต้องน้ำตาตกกับบทสุดท้ายของคานธีจากเรื่อง Satyagraha (ซึ่งเป็นงานประพันธ์อันยอดเยี่ยมที่ใช้การย้ำจังหวะ 36 ครั้งบนบันไดเสียง E – Minor) ก็ยังมีหลายคนที่ได้ยินแต่เสียงรบกวนประสาทแต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน นั่นคือเสียงดนตรีของ Glass ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร ซึ่งข้อเสียในตัวมันเองคือ ความที่ไม่เหมือนใครนี้ นอกจากจะได้รับการยกย่องแล้ว ยังถูกหาว่า เป็นของที่ "พิลึก" ดังนั้น ดนตรีของ Glass จึงเป็นที่ชื่นชอบและเกลียดชังในขณะเดียวกัน อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเขาจะถูกวิจารณ์ว่าอย่างไร ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า ดนตรีของเขาส่งผลกระทบต่อโลกดนตรีอย่างมาก



บางคนอาจนึกภาพไปว่า Glass เป็นคนน่ากลัว (จากภาพถ่ายที่ปรากฏในแผ่นเสียง เขาจะทำหน้าเครียด และผมยุ่งตลอดเวลา) โดยหมกมุ่นอยู่กับการแต่งเพลงตั้งแต่เช้ายันเที่ยงคืน ซึ่งป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะเขาเองก็เป็นนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จโดยออกแสดงคอนเสิร์ตทั่วโลกกับวงของเขา The Philip Glass Ensemble ในช่วงที่ว่าง เขาก็ได้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง Mishima และ Koyaanisqatsi และแต่งเพลงสั้นๆ ด้วย
 


Philip Glass มีอัลบั้มเพลงสั้นๆ ขนาดความยาวพอเหมาะอยู่หลายชุดเช่น Glass Works, North Star, Mishima, Songs From Liquid Days และ Koyaanisqatsi และความยาวพอประมาณ ขนาดเพลงละ 15-20 นาที เช่น  The Photographer, Dance Nos. 1&2 และ Music In Twelve Parts
 
Glass เรื่มต้นเป็นที่รู้จักตั้งแต่ยุคปลายทศวรรษที่ 1960 โดยเป็นหนึ่งในขบวณการ Minimalist (นักดนตรีที่ใช้ตัวโน๊ตน้อยตัว เล่นย้ำจังหวะซ้ำๆกันหลายๆครั้ง โดยค่อยๆเปลี่ยนตัวโน๊ตทีละน้อย ซึ่งแหวกแนวทางดนตรีที่เป็นอยู่ในขณะนั้น) ศิลปินอื่นๆในกลุ่มนี้ได้แก่ Steve Reich, La Monte Young, John Adams, Terry Riley ซึ่งบางคนก็เคยเป็นลูกวงของ Glass มาแล้ว
 
การฟังดนตรีประเภท Minimalism นี้เหมือนกับการดูภาพวาดศิลปะที่ท้าทายซึ่งมองดูครั้งแรกอาจจะดูไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ แต่ดูดีๆจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การประพันธ์ดนตรีประเภทนี้จะใช้ตัวโน๊ตน้อยตัว ส่วนตัวดนตรีที่ผลิตออกมา คือกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงตัวโน๊ตเหล่านี้ ซึ่งจะไม่พบในดนตรีสมัยใหม่ของชาวะวันตก ผู้ฟังดนตรีของพวก Minimalist จะพบกับพายุเสียงที่ห้อมล้อมผันเปลี่ยนไปมา และแสดงถึงการพัฒนา 



 
Glass พอใจที่จะเรียกผลงานของเขาว่าเป็น "ดนตรีที่มีโครงสร้างที่ซ้ำกัน"
 
Glass เป็นศิษย์ของ Julliard เคยเรียนดนตรีกับ Nadia Boulanger ที่ปารีส และค้นพบเสน่ห์ของดนตรีตะวันออกเมื่อทำงานร่วมกับ Ravi Shankar จากนั้นเขาก็เฝ้ามองหาสิ่งจูงใจจากอินเดีย แอฟริกาเหนือ และเทือกเขาหิมาลัย
 
เมื่อ Glass กลับไปอยู่ New York ในปี 1967 โดยอาศัยอยู่ในย่านศิลปินในดาวน์ทาวน์ เขาพบว่า งานประพันธ์ของเขาถูกต่อต้านอย่างมาก นอกจากจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทางดนตรีแล้ว พวกนักประพันธ์คนอื่นๆ ยังหาว่าเขาบ้า Glass คิดว่าดนตรีของเขาใหม่เกินไปซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับยุคสมัย
 
เขาจึงหันไปเป็นช่างประปา และขับแท็กซี่ในเวลากลางคืน ยามว่างเขาถึงพยายามรวบรวมวง The Philip Glass Ensemble ซึ่งมีสมาชิก 7 คนที่เล่นเครื่องเป่า และคีย์บอร์ดประเภทขยายเสียง โดยออกแสดงคอนเสิร์ตไม่เก็บเงินหรือแล้วแต่คนดูจะให้ เขาพบว่า ถ้าวันไหนโชคดี ก็จะมีคนดูถึง 25 คน และยิ่งโชคดีกว่านั้น ถ้าคนดูครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น จะอยู่จนเขาเล่นจบ เนื่องจากผู้ฟังหลายคนพบว่า ดนตรีของเขาน่าเบื่อเพราะมีแต่จังหวะซ้ำซากไม่เข้าท่า

 
อย่างช้าๆ (มากๆ) คอนเสิร์ตของเขาเริ่มมีแฟนเพลงที่คอยติดตามอย่างเหนียวแน่นจนกลายเป็นเหมือนกลุ่มฝักใฝ่ลัทธิ (Cult) เขาเริ่มทดลองผลิตงานใหม่ๆ จนออกมาเป็น  Einstein On The Beach แล้วก็ถึงจุดที่เขาหลุดพ้นจาก พวก Minimalist ในปี 1974 การร่วมงานกับผู้สร้างภาพ Robert Wilson ในครั้งนี้ ทำให้เขากลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงในวงการดนตรีทั่วโลก
 
จากนั้นเป็นต้นมา Glass ก็มีแฟนเพลงที่คอยติดตามผลงานของเขาอย่างเหนียวแน่นซึ่ง Einstein … ทำให้เขาเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักฟังเพลง เขายิ่งโดดเด่นยิ่งขึ้นในฐานะผู้ประพันธ์อุปรากรที่มีอนาคตรุ่งโรจน์ เมื่อ Satyagraha ลงโรง และ Akhnaten ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เขายังมีดีมากกว่านั้น
 
Glass ถือว่าอุปรากรทั้ง 3 เรื่องเป็นไตรภาคกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกบการเมือง วิทยาศาสตร์ และศาสนา ซึ่งไม่ได้ออกมาในรูปคำบรรยายหรือการเล่าเรื่อง แต่ออกมาในรูปสัญลักษณ์ ตัวเลข หรือภาษาโบราณ (อุปรากรทั้ง 3 ใช้ภาษา Hopi สันสกฤต Accadian อียิปต์ และฮีบรู โดยไม่มีภาษาอังกฤษปน) เขากล่าวว่าอุปรากรเรื่องที่ 5 จะเป็นภาษาอังกฤษ
 
สำหรับ Philip Glass เขาเป็นคนถ่อมตัว พอใจในสิ่งที่ตนมี ยุ่งอยู่ตลอดเวลา หย่ามาแล้ว 2 ครั้ง ตอนนี้เขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหญ่แต่ไม่มีระเบียบ ในใจกลาง Manhattan, New York กับบุตร 2 คน ซึ่งโตเป็นวัยรุ่นแล้วกับแฟนสาวสวยซึ่งเป็นทั้งศิลปินและผู้ออกแบบหนังสือ เขาตื่นนอน 6 โมงเช้า แล้วแต่งเพลงจนเที่ยง โดยแบ่งเวลาระหว่างโต๊ะเขียนหนังสือและเปียโน เขาสูบบุหรี่จัด แต่ไม่ดื่มเหล้า จากเที่ยงถึง 1 ทุ่ม เขาซ้อมดนตรีกับวง Ensemble ของเขากับผู้แสดงอุปรากร ติดต่อเอเย่นต์และให้สัมภาษณ์ เขากล่าวว่า ตอนเช้าเขาอยู่ในโลกดนตรี และตอนบ่ายเขาอยู่ในโลกธุรกิจของดนตรี เขามีความสุขกับการทำงานซึ่งก็เป็นความสุขของแฟนเพลงของ Glass ด้วย


 
End.


 

 

Last Updated ( Friday, 28 March 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing