spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Philip Glass - Part II (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Friday, 28 March 2008
Philip Glass
ผู้สร้างความไพเราะจากวังวนของการย้ำตัวโน๊ตน้อยตัว
 
Written by Panyarak Poolthup
Transcribed by Polotoon
จากนิตยสาร Starpics ปี 1988

หลังจากได้กล่าวถึงความเป็นมาของ Philip Glass อย่างคร่าวๆไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงผลงานของเขา


1.   Music With Changing Parts (1972)

2.   Solo Music (1972)

3.   Music In Similar Motion / Music In Fifths (1973)
 
สามชุดแรกนี้ไม่เคยเห็นมีขาย จึงหมดปัญญาที่จะกล่าวถึง
 
 
 
4.   Music In 12 Parts – Parts I & II (1974)
 
ผลงานชุดนี้เริ่มต้นในปี 1971 และเสร็จสิ้นลงในปี 1974 ซึ่งเป็นวงจรดนตรีที่ถูกขยายออกจนต้องใช้การแสดงคอนเสิร์ต 3 ครั้งถึงจะเล่นได้หมด เป้าหมายของการทำดนตรีชุดนี้ก็เพื่อบรรยายถึงเทคนิคที่ปรากฏและใช้ในดนตรีของ Glass แต่ละ Part ของชุดดนตรีดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับภาษาทางดนตรีทั่วๆไป หนึ่งหรือหลายภาษา ซึ่งนำมาแสดงออกและพัฒนาไปในรูปที่ผิดแผกไปจากวิธีการทั่วไป โดยใช้วิธีการและขั้นตอนที่ต่างกันออกไปรวมทั้งการเลือกตัวโน๊ตและจังหวะ
 
ดนตรีในแต่ละ Part จะเป็นการย้ำตัวโน๊ตซ้ำๆ กันไป ซึ่ง Melody จะเปลี่ยนไป โดยการเพิ่มหรือลดตัวโน๊ตเพียงตัวเดียว หรือ 2-3 ตัว ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็นวงจรของจังหวะดนตรี อันอาจจะทำให้ผู้ฟังบางคนที่คิดว่าดนตรีของ Glass แหวกโครงสร้างของดนตรีทั่วๆไป ไม่สามารถยอมรับได้หรือประสบความลำบากในการยอมรับดนตรีเขา
 
ผู้เขียนเคยมี roommate ตอนเช่าอพาร์ทเมนต์อยู่ที่อเมริกาซึ่งไม่ค่อยกินเส้นกันเท่าไหร่เพราะเขาชอบฟังเพลงจีน และจะทนฟังดนตรีของ Glass ไม่ได้ ถ้าผู้เขียนต้องการให้เพื่อนร่วมห้องคนนี้ออกไปจากห้อง ก็เพียงเปิดเพลงของ Glass เท่านั้น เพื่อนร่วมห้องคนนี้จะรีบตาลีตาเหลือกแต่งตัวผละออกไปจากห้องทันที ดนตรีของ Glass หลายชุดจะฟังดูกวนประสาทสำหรับบางคน หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับคนเป็นโรคลมบ้าหมูที่เห็นแสงและเสียงจากรถหวอไซเรนไม่ได้ มิฉะนั้นจะชักทันที ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าคนเป้นโรคลมบ้าหมู ถ้าได้ฟังเพลงของ Glass แล้วจะชักตาตั้งหรือเปล่า
 
ผลงานชุด Music In Twelve Parts นี้คัดเลือกมาอัดแผ่นเสียงเพียง 2 Parts เท่านั้น เนื่องจากตอนนั้นชื่อเสียงของ Glass ยังไม่ขลังพอ และ Glass ยังไม่บ้าพอที่จะทำ LP ที่มีถึง 3-4 แผ่นอย่างในยุคหลังๆ

 
5.   North Star (1977)
 
ชุดนี้เป็นเพลงบรรเลงสั้นๆ บางเพลงมีเสียงร้องภาษาประหลาดๆ เพลงต่างๆ ในชุดนี้แต่งขึ้นเพื่อเป็นเพลงประกอยบหนังสารคดีเรื่อง Mark Di Suvero, Sculptor ซึ่งหลายเพลงในชุดนี้ตั้งชื่อตามผลงานศิลปะของ Di Suvero ซึ่งปรากฏในหนัง
 
ผู้เขียนคิดว่าผลงานชุดนี้น่าลองสำหรับผู้ไม่เคยสัมผัสดนตรีของ Glass มาก่อนเนื่องจากแต่ละเพลงค่อนข้างสั้นและมีความแตกต่างกัน หากไปเริ่มต้นด้วยเพลงยาวๆ ซึ่งเปลี่ยนจังหวะช้ามาก จะทำให้ขยาดดนตรีของ Glass ซะก่อน
 


6.   Einstein On The Beach (1979)

ผลงานที่เป็นเรื่องราวของผลกระทบของวิทยาศาสตร์ต่อมนุษยชาติของ Glass ชุดนี้บรรจุอยู่ในกล่องมี 4 แผ่นโดยเป็นดนตรีประกอบอุปรากรชุดแรกที่แหวกแนวอุปรากรทั้งหลายที่เคยปรากฏมาในโลก
 
Robert Wilson เป็นผู้สร้างภาพ ดนตรีบรรเลงโดย The Philip Glass Ensemble ความยาวของอุปรากร 4 Acts งานประพันธ์ใช้เวลาเกือบตลอดปี 1975 โดย Wilson เป็นผู้วาดภาพให้ Glass แต่งดนตรีประกอบซึ่งทั้งสองได้ช่วยกันออกแบบจนเป็นอุปรากรที่สมบูรณ์
 
ผู้ที่ได้ฟังผลงานของ Glass ชุดนี้ (รวมทั้งผู้เขียน) อาจนึกว่าแผ่นเสียงตกร่อง เนื่องจากมีท่อนร้องหลายท่อนที่ร้องซ้ำๆ กันหลายเที่ยว เมื่อฟังดีๆ จึงจะรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในดนตรี และเมื่อถึงจุดนี้ ผู้ฟังจะได้เพลิดเพลินกับดนตรีที่ฟังดูไพเราะติดหู และจะล่องลอยไปกับโลกของเสียงเพลงใหม่ๆที่ผู้ประพันธ์ได้สร้างขึ้น ซึ่ง Glass ตั้งใจที่จะทำดนตรีเกี่ยวกับโครงสร้างของดนตรีเช่นเดียวกับชุด Music In Twelve Parts ซึ่งพัฒนาขึ้นและดูมีคุณค่ามากขึ้นทั้งด้านสีสัน และด้านมิติของเสียงเพลง
 
เนื่องจากผลงานชุดนี้เป็นเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ คำที่ใช้จึงมีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และการคำนวณโดยผสมผสานกับสิ่งจูงใจ ที่มีความหมายซิอนเร้น และลึกลับ ซึ่งเป็นที่มาของความงดงามและอำนาจ
 


7.   Dance Nos. 1 & 3 (1979)

ชุดนี้ฟังดูคล้ายๆ Music In Twelve Parts มาก
 

8.   Glassworks (1982)

ผู้เขียนได้สัมผัสกับผลงานของ Glass ครั้งแรกจากชุดนี้ซึ่งได้สร้างความประทับใจจนต้องตามซื้อชุดอื่นๆ ทั้งหมด เพลง Rubric ในแผ่นนี้แม้จะคงลักษณะทางดนตรีของ Glass ไว้ครบถ้วน แต่ก็บรรเลงออกมาอย่างดุดัน ซึ่งเป็นเพลงที่ฟังได้มันที่สุด ในบรรดาเพลงทั้งหมดของ Glass ตามทัศนะของผู้เขียน ในบรรดาอัลบั้มเพลงสั้นๆ ที่เขาผลิตออกมา ชุดนี้คือชุดที่ดีที่สุดของ Glass

 
9.   The Photographer (1983)

ชุดนี้เป็นเรื่องราวของ Eadweard Muybridge ซึ่งเป็นผู้ที่พิสูจน์โดยภาพถ่ายว่า เวลาที่ม้าวิ่งนั้นจ ะมีบางช่วงที่ขาทั้ง 4 ของมันลอยพ้นจากพื้น ชายผู้นี้เป็นผู้ที่วางรากฐานการถ่ายภาพและภาพยนตร์ในสมัยต่อๆ มา
 
The Photographer เป็นดนตรีประกอบละครเวทีซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ การแสดง คอนเสิร์ต และการเต้นรำ ใน LP. นี้มีเพลงร้องที่ไพเราะมากๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ฟังดูแปลกมากๆ สำหรับเพลงที่พวกเราเคยฟังกัน นั่นคือเพลง
Act I : "A Gentleman's Honor" (Vocal)
 
ปก LP ชุดนี้เป็นรูปม้ากระโดดในลีลาต่างๆ แต่ในใบแทรกมีรูปคนซึ่งผอมมากๆทำท่าทางเหมือนม้า ดูแล้วน่าเกลียดน่ากลัวมาก
 

10.   Koyaanisqatsi (1983)

ดนตรีในชุดนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตที่เสียสมดุลซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีบทพูด หรือบทบรรยายใดๆ แต่เป็นการมองเข้าไปถึงโครงสร้างของชีวิตสมัยใหม่ที่ก้าวหน้า อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี่สมัยใหม่
 
เพลง Title Track ในชุดนี้จะมีเสียงร้องว่า Koyaanisqatsi ซ้ำกันหลายๆ ครั้งโดยผู้ชายเสียงใหญ่ฟังดูน่ากลัวคล้ายนั่งอยู่ในห้องทำพิธีกรรมทางศาสนา ผู้เขียนไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้เนื่องจากไม่เคยเห็นมีที่ไหน
 

11.   Satyagraha (1985)

เป็นอุปรากรที่ Glass บรรยายถึงกำเนิด และการพัฒนาของแนวความคิด Non-violence ของมหาตมะ คานธี โดยเสียงร้องจะเป็นภาษาสันสกฤตที่นำมาจาก ภควัตคีตา เป็นส่วนใหญ่
 
ดนตรีในชุดนี้ต่างกับ Einstein On The Beach ตรงที่ Satyagraha ถูกประพันธ์ขึ้นสำหรับวงที่ใหญ่กว่า The Philip Glass Ensemble หรืออีกนัยหนึ่งสำหรับวงออร์เคสตรา อย่างไรก็ดี เสียงที่ออกมาก็ไม่ได้ต่างไปจากการบรรเลงโดยวงของเขาเท่าไหร่ เนื่องจากเขาประพันธ์ดนตรีในชุดนี้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้วงออร์เคสตราเลียนเสียงออร์แกน ซึ่งเป็นความคิดที่สวนทางกับผู้ประพันธ์คนอื่นที่แต่งเพลงออร์เคสตราโดยใช้ออร์แกน
 
นอกจากการใช้ภาษาสันสกฤตเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของภควัตคีตาแล้ว Glass ยังเลือกสรรเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีใช้ทั้งในอินเดียและอเมริกาในรูปใดรูปหนึ่งอีกด้วย
 
ในแต่ละ Act ของ Satyagraha จะเป็นการบรรยายถึงปูชนียบุคคลในประวัติศาสตร์ในรูปเทพ ที่เฝ้ามองดูความเป็นไป
ที่เกิดขึ้นในโลก Satyagraha แตกต่างจากอุปรากรทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด จาการเป็นงานประพันธ์ที่ประพันธ์ขึ้นบนพื้นฐานของจริยธรรมและศาสนา และมีบรรยากาศของพิธีกรรมมากกว่าความบันเทิง นอกจากนี้ยังแฝงไว้ด้วยความลี้ลับมหัศจรรย์ อาจกล่าวได้ว่า Satyagraha เป็นผลงานเพลง Classic ชิ้นแรกที่มีการอัดทับกันหลายครั้งโดยมีการอาศัยการคำนวณเข้ามาช่วยในการทำให้ทุกอย่างลงตัว เนื่องจากต้องนำไปใช้ประกอบการแสดง ทุกอย่างจึงต้องออกมาไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
 

12.   Mishima (1986)

ดนตรีประกอบภาพยนตร์ของ Francis Ford Coppola และ George Lucas ซึ่งฟังดูค่อนข้างจะแหวกแนวของ Glass ไปบ้าง เพลงที่เด่นและไพเราะที่สุดในชุดนี้คือ Runaway Horses
 

13.   Songs From Liquid Days (1986)

ผลงานชุดแรกของ Glass ที่เป็นเพลงมากกว่าดนตรี ผลงานชุดนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยการขอร้องให้ David Byrne จากวง Talking Heads ซึ่งเคยร่วมงานกับ Glass ใน LP เดี่ยวของ Byrne ในชุด Music From The Knee Play แต่งเนื้อร้องให้เพื่อที่ Glass จะได้ใส่ดนตรีทีหลัง ซึ่งเขาพบว่ามันไม่เพียงพอที่จะทำออกมาเป็น LP เสียเลย เขาจึงไปขอให้ Paul Simon, Suzanne Vega และ Laurie Anderson มาช่วยแต่งเนื้อร้องด้วย ซึ่งแต่ละคนก็มีสไตล์เฉพาะตัวในการแต่งเนื้อร้องที่สัมผัสกันเหมือนบทกวี
 
เพลงทั้งหมดในแผ่นนี้เป็นวัฏจักรที่เป็นการมองสะท้อนภาพของธรรมชาติไปจนถึงภาพที่คลาสสิค/โรแมนติค ช่วงที่ยากที่สุดในการทำ LP ชุดนี้กลับไปตกอยู่ที่การเลือกสรรนักร้องมาร้องในแต่ละเพลง Glass และผู้ร่วมงานที่เขาเชื่อใจมานานแสนนานคือ Michael Riesman และ Kurt Munkacsi จึงออกควานหานักร้องฝีมือดีที่สามารถสอดใส่บุคลิกภาพส่วนตัวเข้าไปในบทเพลงเพื่อให้เพลงของเขาสื่อความหมายออกมา
ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับคนไทยแล้วนักร้องที่ Glass เลือกสรรมาจะมีที่รู้จักกันอยู่เพียงคนเดียวคือ Linda Ronstadt แต่ Linda เมื่อมาร้องเพลงของ Glass แล้วย่อมไม่ใช่ Linda ที่ร้องเพลง You're No Good ที่เรารู้จักกันดี เพราะเพลง Forgetting และ Freezing ที่เธอร้องนั้น เธอได้ใส่อารมณ์เข้าไปอย่างเต็มเปี่ยมจนเพลงของ Glass อยู่ในระดับที่เรียกว่าไร้เทียมทานจริงๆ
 
และ LP นี้ก็สามารถครองอันดับ 1 อยู่ได้นานหลายสัปดาห์อันเป็นการโหมกระพือชื่อเสียงของ Glass ให้โด่งดังยิ่งขึ้นเชื่อว่า Glass ย่อมไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้ หนทางยังอีกไกลสำหรับศิลปินผู้นี้ ผู้สร้างความไพเราะจากวังวนของการย้ำตัวโน๊ตน้อยตัว
 

End.
Last Updated ( Friday, 28 March 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing