spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Van der Graaf Generator (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Sunday, 30 March 2008

Van der Graaf Generator

Written by Panyarak Poolthup
Transcribed by Polotoon
จากนิตยสาร Starpics (1996)




"Pre-history - Hammill, Smith, Banton, Evans & Ellis"

(This rare picture appeared in the Dutch magazine "OOR", 10th February 2001, and must have been taken in the Autumn of 1968.)




“Judge, Hammill and Banton in 1968 (probably summer 1968)”




“Late 1968 or early 1969”


Origin Manchester, England
Genre(s) Progressive rock
Years active 1967–1972, 1975–1978, 2005–present
Label(s) Mercury Records, Charisma Records


Line-up
•   Peter Hammill - guitar, piano/keyboard and vocals (1967-1978, 2005-)
•   Hugh Banton - organ, bass pedals and bass guitar (1968-1976, 2005-)
•   Guy Evans - drums (1968-1978, 2005-)

Former members:
•   David Jackson - saxophone and flute (1970-1977, 1978, 2005)
•   Chris Judge Smith - drums and wind instruments (1967-1968)
•   Nick Pearne - organ (1967)
•   Keith Ellis - bass guitar (1968)
•   Nic Potter - bass guitar (1970, 1977-1978)
•   Graham Smith - violin (1977-1978)
•   Charles Dickie - cello (1978)

Line-up timeline
•   1967: Peter Hammill, Nick Pearne, Chris Judge Smith
•   1968: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton, Keith Ian Ellis
•   1970: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton, David Jackson, Nic Potter
•   1970: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton, David Jackson
•   1975: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton, David Jackson
•   1977: Peter Hammill, Guy Evans, Nic Potter, Graham Smith
•   1978: Peter Hammill, Guy Evans, Nic Potter, Graham Smith, Charles Dickie, David Jackson
•   2005: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton, David Jackson
•   2006: Peter Hammill, Guy Evans, Hugh Banton
     มีวงดนตรี progressive rock จากเกาะอังกฤษอยู่ไม่กี่วงที่มักได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็นรุ่นบุกเบิก ซึ่ง VDGG ก็มักติดร่างแหไปด้วยเสมอกับบรรดาวงรุ่นลายครามอย่าง Yes, Genesis, King Crimson, Nice ฯลฯ
     สิ่งที่ถือกันว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ VDGG คือ การดวลกันระหว่างเสียงแซ็กกับออร์แกนที่ไม่ยอมลดราวาศอกต่อกัน โดยเสียงแซ็กมักจะถีบตัวออกสู่แนวหน้าได้เสมอแทนที่เสียงลีดกีตาร์ที่ถูกลดทอนความสำคัญจนแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ แต่กลับมีบทบาทสร้างเสริมเติมแต่งด้วยเสียงแปลกๆ และแปร่งๆ ให้มีสีสันควบคู่ไปกับเนื้อร้องดุจบทกวีที่เข้มข้นทรงพลังจากการประพันธ์และขับร้องโดย Peter Hammill ซึ่งอาจฟังดูระคายหูสำหรับบางคนที่ทนเสียงร้องที่เกรี้ยวกราดของเขาไม่ได้ แต่ก็เข้ากันได้ดีกับดนตรีที่บางครั้งดูจะบ้าคลั่งสักหน่อย

- ปี 1967 Peter Hammill ได้เซ็นสัญญากับบริษัท Mercury ในขณะที่กำลังก่อตั้งวงกับเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกันอีก 2 คน คือ Nick Pearne - ออร์แกน และ Chris Judge Smith - กลองและเครื่องเป่า ปีนึงถัดมา Hugh Banton เข้ามาแทน Pearne และได้ Tony Stratton-Smith เป็นผู้จัดการวง ซึ่งเป็นคนชักชวน Keith Ellis - กีตาร์ และ Guy Evans - กลอง เข้ามาร่วมวงด้วย สมาชิกชุดนี้ร่วมกันอัดเสียงแผ่นเดโมให้บริษัท Mercury แต่กลับไปออกซิงเกิ้ลกับ Polydor ในเพลง People You Were Going To จึงถูกระงับการจำหน่าย เพราะขัดกับสัญญาที่ Hammill เซ็นไว้กับ Mercury
- พวกเขาออกแสดงสดร่วมกันหลายโอกาส แต่ก็ประกาศแยกทางกันในปี 1969 เพราะเครื่องดนตรีถูกโจรกรรม และไม่สามารถหาทางออกจากสัญญาที่ Hammill ไปเซ็นผูกมัดตนเองไว้กับ Mercury ได้
- Hammill จึงลงมือบันทึกเสียงอัลบั้มส่วนตัว โดยมีเพื่อนๆ ได้แก่ Banton, Evans และ Ellis มาช่วย แต่ Stratton-Smith ก็สามารถใช้ความสามารถพิเศษกล่อม Mercury ให้อัลบั้มเดี่ยวชุด The Aerosol Grey Machine ออกมาในนาม VDGG จนสำเร็จ โดยให้ Hammill หลุดพ้นจากสัญญาด้วย
- เมื่อ Stratton-Smith ตั้งบริษัท Charisma จึงดึง VDGG มาเซ็นสัญญากับบริษัทตนเป็นรายแรก ซึ่งอาจถือว่า VDGG เป็นผู้กำหนดแนวทางดนตรีของสังกัด Charisma ในระดับหนึ่ง แม้ว่าในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการบัญญัตินิยามของ progressive rock แต่ศิลปินรายต่อๆ มาที่ได้เซ็นสัญญากับ Charisma มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ progressive rock ไม่มากก็น้อย    

ผลงานจากห้องบันทึกเสียงที่เป็นทางการของ VDGG อาจแบ่งได้คร่าวๆ ตามแนวดนตรีได้เป็น 4 ช่วง คือ
     1. ปี 1968 มีอัลบั้มชุดแรก Aerosol Grey Machine ที่ยังไม่มีเสียงแซ็ก ดนตรีและเสียงร้องมีความเสนาะหูกว่าอัลบั้มชุดต่อๆ ไป และน่าจะเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบงานยุคแรกๆ ของ King Crimson

Van Der Graaf Generator - Aerosol Grey Machine


     2. ช่วงปี 1969-1971 สมาชิกหลักประกอบด้วย Peter Hammill - ร้องนำ กีตาร์อะคูสติก Hugh Banton - ออร์แกน เปียโน เบส David Jackson - เครื่องเป่า Guy Evans - กลอง เครื่องเคาะจังหวะ และ Nic Potter - เบส เป็นช่วงที่ดนตรีมีความเป็น progressive rock มากที่สุดและระคายหูน้อยที่สุด
     - The Least We Can Do Is Wave to Each Other (1969) เสียงร้องของ Hammill ยังคงมีความสละสลวยไปได้ดีกับดนตรีที่บรรเลงอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งภาคดนตรีส่วนใหญ่ก็เป็นฝีมือการประพันธ์ของ Hammill ด้วย โดยแต่ละเพลงมีหลายลีลาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงจากเมโลดี้อันแสนไพเราะไปยังกำแพงเสียงที่เสียดโสตประสาท จากความนุ่มนวลสู่ความเกรี้ยวกราด อึกทึก ผู้ที่ชื่นชอบ progressive rock ที่เสนาะหุ คงอดไม่ได้ที่จะหลงรักเพลง Refugees

Van Der Graaf Generator - Least We Can Do Is Wave To Each Other



     - H to He Who Am the Only One (1970) อีกอัลบั้มหนึ่งที่เนื้อหาออกไปทางนิยายวิทยาศาสตร์ ที่มีเสียงร้องของ Hammill เป็นพู่กันที่บรรจงโปรยปรายสีสันลงบนดนตรีที่เป็นภาพเขียนแนวแฟนตาซี

Van Der Graaf Generator - H To He Who Am The Only One



     - Pawn Hearts (1971)  ทั้งเสียงร้องและดนตรีเริ่มขยับระดับความรุนแรงและเกรี้ยวกราดมากขึ้น ชุดนี้มี Robert Fripp จาก King Crimson มาช่วยเล่นกีตาร์ด้วย

Van Der Graaf Generator – Pawnhearts



     3. ช่วงปี 1975-1976 หลังจากอัลบั้ม Pawn Hearts พวกเขาก็แยกทางกันชั่วคราวเนื่องด้วยความขัดแย้งภายใน Hammill ได้มีโอกาสออกอัลบั้มส่วนตัวหลายชุดซึ่งจะกล่าวถึงในตอนท้าย สมาชิกจากยุคแรกกลับมารวมตัวกันใหม่โดยไม่มี Nic Potter ซึ่งชิงออกไปตั้งแต่อัลบั้ม H to He ... ดนตรีในช่วงนี้อัดแน่นไปด้วยพลังที่รุนแรงและเกรี้ยวกราด เสียงกีตาร์เพิ่มความเพี้ยนของเสียงมากขึ้น โดยชุดแรกของยุคนี้เป้น concept album ที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน และภาคดนตรีทั้ง 4 เพลง ก็ฟังดูเหมือนเป็นเพลงเดียวกันแต่ต่างลีลา ความยาวของเพลงในช่วงนี้ เฉลี่ย 10 นาที ในขณะที่คำร้องยังคงความน่าสนใจ แต่เริ่มมีความคลุมเครือและยากที่จะเจาะจงแน่ชัดว่ากล่าวถึงอะไร อัลบั้มในช่วงนี้มี 3 ชุดคือ
     - Godbluff (1975)

Van Der Graaf Generator – Godbluff

     - Still Life (1976)

Van Der Graaf Generator - Still Life


    
    - World Record (1976)

Van Der Graaf Generator - World Record (1976)



     4. ช่วงปี 1977-1978 ช่วงนี้มีการตัดทอนชื่อวงให้สั้นลงเหลือ Van der Graaf พร้อมทั้งความยาวของเพลงก็สั้นลงด้วย
     - The Quiet Zone/The Pleasure Dome (1977) แตกต่างจากอัลบั้มทั้งหมดของ VDGG ที่ผ่านมา และมีส่วนไปทางอัลบั้มส่วนต้วของ Hammill มากกว่า โดยมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิก David Jackson และ Hugh Banton ออกไปโดยไม่มีใครเข้ามาทดแทน และได้ Graham Smith เข้ามาสีไวโอลินไฟฟ้าแทนเสียงออร์แกนที่ขาดหายไป และ Nic Potter ซึ่งได้ร่วมงานกับ Hammill ในอัลบั้มส่วนตัวหลายชุด กลับมาเล่นเบสอีกครั้ง เสียงไวโอลินของ Smith ยิ่งทำให้เสียงดนตรีฟังดูน่าหดหู่มากขึ้น แถมยังให้เสียงบาดหูสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย อัลบั้มนี้น่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบอัลบั้มก่อนหน้านี้ทั้งหมดของ VDGG ในขณะเดียวกัน แฟนเพลงประจำของ VDGG ต่างพากันรับเกียงอัลบั้มชุดนี้

Van Der Graaf Generator - Quiet Zone/The Pleasure Dome (1977)



     - Vital (1978) ตลอดชีวิตของ VDGG มีอัลบั้มชุดนี้ชุดเดียวที่เป็นบันทึกการแสดงสดอย่างเป็นทางการจากปี 1978 David Jackson กลับมาเป่าแซ็กให้อีกครั้ง แต่เสียงที่โดดเด่นตลอดคือไวโอลิน แฟนเพลงของวงที่ชื่นชอบกับแนวดนตรีในช่วงปี 1975-1976 คงชอบอัลบั้มชุดนี้ Hammill ร้องด้วยความดุดันเกรี้ยวกราด แถมเล่นกีตาร์ที่ให้เสียงรกหู Jackson เป่าแซ็กแบบไม่ยั้ง Potter เล่นเบสเสียงเพี้ยนๆ ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับ VDGG อาจรู้สึกช็อคกับอัลบั้มนี้ เพราะความหนวกหูและหยาบ แต่อัลบั้มนี้ก็เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงที่เล่นแสดงสดได้มันเร้าใจเต็มไปด้วยพลังดิบ ซึ่ง Hammill กล่าวถึงการแสดงสดของ VDGG ทุกครั้งว่า serious fun

Van Der Graaf Generator - Vital (1978)



     มีเพลงหลายเพลงที่ทางวงบันทึกเสียงไว้ในช่วงพักงานระหว่างปี 1971-1975 และไม่ได้นำออกจำหน่าย หลายเพลงไปปรากฎอยู่ในรูปแผ่น bootleg จนกระทั้งมีการนำมารวบรวมออกในลักษณะทางการในอัลบั้ม Time Vaults และ Now and Then (1985) ซึ่งชุดหลังนี้มีเพลงจากช่วงดังกล่าว 2 เพลง และเพลงบรรเลงใหม่ 6 เพลง บันทึกเสียงในปี 1984 โดย Banton, Evans และ Jackson ซึ่งออกไปทางแจ๊ส และ I Prophesy Disaster (1993)

Van Der Graaf Generator - Time Vaults (1982)

     นับตั้งแต่แตกแยกกันไป VDGG ก็มีอัลบั้มรวมเพลงออกมาหลายชุดในหลายโอกาส แต่ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแฟนเพลงที่อยากเป็นเจ้าของงานแสดงสดในยุคแรกๆ ของวง ซึ่งมีแต่แผ่น bootleg ครอบครองตลาดอยู่ จนกระทั่งเมื่อปี 1994 ที่ BBC Radio One ตัดสินใจออกบันทึกการแสดงสดชุด Maida Vale จากปี 1971 และ 1975 มาดับกระหาย
     ตัว Peter Hammill ซึ่งมีอัลบั้มเดี่ยวออกมามากมายตั้งแต่วง VDGG ยังไม่แตก ก็ไม่ได้ยึดติดอยู่กับแนวดนตรี progressive rock เพียงอย่างเดียว อัลบั้มเดี่ยวของเขามีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความพอใจส่วนตัวของเขา แต่สิ่ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในผลงานทุกชุดของเขาคือ การร้องเพลงที่เข้าถึงอารมณ์จนคนฟังสามารถสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวด โทสะ และความอ้างว้าง ที่บทเพลงส่วนใหญ่ของเขานำเสนอ แม้หลายคนจะทนเสียงร้องที่เกรี้ยวกราดและการสร้างความรู้สึกเก็บกดในอารมณ์เพลงของเขาไม่ได้ แต่เมื่อใดที่เกิดติดใจฝีมือของเขาแล้ว ก็ยากที่จะละเว้นการเก็บสะสมผลงานที่หลั่งไหลออกมาอย่างไม่ขาดสายของเขาที่มีออกมาให้เลือกสะสมอย่างจุใจทีเดียว
    
    งานส่วนตัวของ Hammill พอจะจัดกลุ่มได้คร่าวๆ ว่า ในยุคแรกสุด จะเป็นแนวเดียวกับ VDGG ที่ดนตรีมีความสลับซับซ้อน เนื้อร้องค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวสูง ยุคต่อมา จะเป็นในลักษณะงานทดลอง ยุคต่อมาอีกจะเป็นงานทีติดหุง่ายขึ้น และงานในยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างราบเรียบ แต่ทุกอัลบั้มก็มีทั้งเพลงดีๆ ปนกับเพลงที่ถือว่าสามัญสำหรับฝีมืออย่างเขา

     1. ช่วงปี 1971-1977 ได้สมาชิกหลายคนของ VDGG ผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยงาน แถมด้วย Robert Fripp อีกคน แนวดนตรีช่วงนี้ใกล้เคียงกับ VDGG
     - Fools Mate (1971) ดูเหมือนว่า ในบรรดาอัลบั้มส่วนตัวทั้งหมดของ Hammill มีอัลบั้มชุดนี้ที่แสดงออกถึงอารมณ์ขันและสนุกสนาน
     - Chameleon in the Shadow of the Night (1973) หากฟังต่อเนื่องกับทั้งอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก อาจเปลี่ยนอารมณ์ไม่ทัน เพราะชุดนี้เพลงบีบคั้นอารมณ์มาก
     - The Silent Corner and the Empty Stage (1974) ชุดนี้มีแนวทางที่สอดคล้องกับ VDGG ในยุคแรกๆ มากที่สุด
     - In Camera (1974) ชุดนี้มีความเป็น progressive rock มากที่สุด
     - Nadir's Big Chance (1975) อีกชุดที่เครียดน้อยพอๆ กับ Fools Mate
     - Over (1977) เช่นเดียวกับชุด Chameleon ... ที่มีความเป็นส่วนตัวสูง และน่าหดหู่ เต็มไปด้วยเพลงเศร้าและกินใจ หากอ่านเนื้อร้องไปด้วยต้องน้ำตาซีม โดยเฉพาะเพลง Autumn ที่กล่าวถึงวัฏจักรในสังคมตะวันตกที่คู่สามีภริยา ที่วันเวลาแห่งความรื่นรมย์จบสิ้นลงเมื่อลูกที่รักออกจากบ้านไปโดยไม่มีวันหวนกลับเพื่อไปตั้งครอบครัวของตน ซึ่งพวกเข้าก็ต้องประสบสภาพเดียวกัน เมื่อลูกของตนโตพอที่จะทอดทิ้งบิดามารดาออกไปแสวงหาความสุขส่วนตน

     2. ช่วงปี 1978-1980 เป็นช่วงที่ Hammill ทดลองกับเครื่องดนตรีนานาชนิด (รวมทั้งกลอง แต่ไปไม่รอด) นอกจากนั้น ยังมีเพื่อนๆ จขาก VDGG หมุนเวียนกันมาช่วยงานตามแต่โอกาสจะเปิดให้
     - The Future Now (1978) เต็มไปด้วยเพลงแปลกๆ แบบที่เขาไม่เคยทำมาก่อน
     - Vision (1978) รวมเพลงตั้งแต่เริ่มออกอัลบั้มเดี่ยว
     - pH7 (1979) ชุดนี้แปลกพอๆ กับ The Future Now แต่ก็มีเพลงที่ติดหุง่ายมากกว่า
     - A Black Box (1980) น่าจะเป็นอัลบั้มที่เข้าถึงยากที่สุดในช่วงนี้

     3. ช่วงปี 1981-1985 เป็นช่วงที่เขาก่อตั้งวง K Group ประกอบด้วย Guy Evans, John Ellis - กีตาร์ และ Nic Potter โดยมี David Jackson, David Lord - คีย์บอร์ด และ Stuar Gordon - ไวโอลิน เป็นแขกรับเชิญ
     - Sitting Targets (1981) เป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งวงใหม่ของเขา ดนตรีในชุดนี้อาจฟังแล้วระคายหูสำหรับบางคน
     - Enter K (1982) การเริ่มต้นของ K Group อย่างเป็นทางการ
     - Patience (1983) น่าจะเป็นอัลบั้มที่ลงตัวที่สุดของ K Group แม้เนื้อร้องจะค่อนข้างคลุมเคลือว่ากล่าวถึงอะไรแน่
     - The Love Songs (1984) รวมเพลงรักช้าๆ ที่นำมาเรียบเรียงใหม่โดย K Group
     - The Margin (1985) บันทึกการแสดงสดของ K Group ที่ตัดเสียงคนดูออก ทำให้ดูแปลกๆ เหมือนนำเพลงเก่ามาเล่นใหม่ให้ดีกว่าเดิม
     - Skin (1985) ได้เพื่อนเก่าจาก VDGG มาครบเว้น Potter ดนตรีออกไปทางป๊อป

     4. ช่วงปี 1986-1994 ผลงานในช่วงนี้แต่ละชุดมีความหลากหลายแตกต่างกันค่อนข้างมาก
     - And Close as This (1986) ชุดนี้ Hammill ร้องคู่กับคีย์บอร์ดที่เล่นเองอย่างเดียว เวลาออกแสดงสดก็เป็น one-man show แต่ความเกรี้ยวกราด ไม่ได้ลดลงเลย
     - Spur of the Moment (1988) ร่วมกับ Guy Evans เป็นเพลงบรรเลงล้วนๆ ปกติอัลบั้มเดี่ยวของ Hammill ที่ผ่านมาจะไม่มีเพลงบรรเลงเลย พอจะทำเพลงบรรเลงที ก็จะทำแบบเต็มอัลบั้ม ถ้าใครไม่ชอบเพลงบรรเลยก็จะได้ไม่ต้องซื้อ
     - In a Foreign Town (1988) ออกป๊อปและหนักไปทางซินธ์เบสและกลองไฟฟ้า
     - Room Temperature Live (1990) บันทึกการแสดงสดแผ่นคู่ที่ปราศจากเสียงกลอง ซึ่งฟังดูล่องลอย แต่เสียงไวโอลินไฟฟ้าเล่นได้น่าประทับใจ
     - Fall of the House of Usher (1991) เป็นอุปรากรสมัยใหม่ที่ Hammill ใช้เวลาประพันธ์ถึง 20 ปี ได้นักร้องชาย-หญิงมาช่วยหลายคน เป็นอัลบั้มที่น่าทึ่งในแง่ดนตรีและการประพันธ์ แม้ว่าเสียงร้องของ Hammill จะดูด้อยพลังกว่าชุดอื่นก็ตาม
     - Fireships (1992) เป็นชุดแรกของ series ของงานในลักษณะ "คลื่นลมสงบ" ฟังสบายๆ และติดหูง่าย
     - A Fix on the Mix (1992) เป็น EP ที่นำเพลงเก่ามาเปลี่ยนคำร้องเป็นภาษาเยอรมัน แบบที่ Peter Gabriel เคยทำ และ Hammill ก็ทำได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
     - The Noise (1993) เห็นชื่ออัลบั้มก็พอเดาออก ชุดนี้สวนทางกับ Fireships โดยสิ้นเชิง ทั้งหนวกหูและรกหู สมกับเป็นชุดแรกของ series "เสียงพายุ"
     - Offenshichthich Goldfisch (1993) หลังจากไปได้สวยกับ A Fix on the Mix คราวนี้จึงตะลุยร้องเพลงเก่าๆ ด้วยภาษาเยอรมันทั้งอัลบั้ม
     - Loops & Reels (1993) เป็นการรวบรวมเพลงบรรเลงแบบงานทดลองที่บันทึกเสียงกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในช่วงปี 1981-1983 บางเพลงเป็น World Music บางเพลงก็ประพันธ์ขึ้นสำหรับประกอบบัลเล่ต์ และบางเพลงก็เหมาะสำหรับแฟนเพลงแนว Ambient ของ Brian Eno
     - There Goes the Daylight (1994) บันทึกการแสดงสดจากกรุงลอนดอนในปี 1993 ถือเป็นชุดที่ 2 ใน series "เสียงพายุ"
     - Roaring Forties (1994) ชุดที่ 2 ใน series "คลื่นลมสงบ" แต่ออกไปทาง progressive rock มากกว่า

     พรรคพวกเก่าๆ จาก VDGG หลายคนก็มีอัลบั้มเดี่ยวออกมา แต่ก็ไม่ได้ขยันอย่าง Hammill เช่น Nic Potter (มี 2-3 ชุด) David Jackson มี Tonewall Stands (1992) สำหรับคนรักเสียงแซ็กจริงๆ ซึ่งชุดนี้ออกไปทางแจ๊ส และเขายังไปช่วยเป่าแซ็กให้ Magic Mushroom Band ในอัลบั้ม Space Out (1991) นอกจากนี้ อดีตสมาชิก VDGG โดยปราศจาก Hammill ยังมีงานในนาม The Long Hello ออกมา 4 ชุด ซึ่งเล่นเพลงบรรเลงล้วนๆ


Last Updated ( Sunday, 30 March 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing