spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Japan – Gentlemen Take Polaroids (Lilium)
Japan – Gentlemen Take Polaroids (Lilium) PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Saturday, 12 April 2008

 Japan – Gentlemen Take Polaroids (1980)

Written by Lilium
วันที่  11 มกราคม 2550
Rating : 


Track Listings
1. Gentlemen Take Polaroids (7:08)
2. Swing (6:23)
3. Burning Bridges (5:23)
4. My New Career (3:52)
5. Methods of Dance (6:53)
6. Ain't That Peculiar (4:40)
7. Nightporter (6:57)
8. Taking Islands in Africa (5:12)

Total Time 46:26

Bouns Tracks 2004 Remastered CD:
9. The Experience of Swimming (4:04)
10. The Width of a Room (3:14)
11. Taking Islands in Africa - Steve Nye remix (4:57)


Line-up/Musicians

David Sylvian : vocals , synthesizers ( ARP Omni , Oberheim OB-X , Minimoog , Roland System 700), piano , electric guitar

Mick Karn : fretless bass guitar , oboe , saxophone , recorder

Steve Jansen : drums , synthesizer (Roland System 700, Sequential Circuits Prophet 5 ), percussion

Richard Barbieri : synthesizers (Roland System 700, Micromoog , Polymoog , Prophet 5, Oberheim OB-X, Roland Jupiter 4 ), sequencer , piano

Rob Dean : guitar, ebow


Japan คือวง New Wave ที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นวงที่นำทัพโดยนักดนตรีฝีมือดีอย่าง David Sylvian และ Richard Barbieri และเป็นเจ้าของซิงเกิ้ลดังอย่าง Ghosts ซึ่งซาวนด์ดนตรีของ Japan นั้นเป็น New Wave ที่มีความแตกต่างจากวงร่วมรุ่นหลายๆวงเช่น Duran Duran, The Human League หรือ A Flock of Seagulls ตรงที่ความลึกล้ำของดนตรีที่มีมากกว่า และมีเนื้อหาของดนตรีที่ไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องรักๆใคร่ๆมากนัก รวมทั้งมีการใช้ซาวนด์ดนตรีแบบภาคพื้นเอเชียมาประกอบและมีความเป็น Atmospheric ค่อนข้างมาก ดนตรีหลายๆส่วนทำให้นึกถึง David Bowie หรือ Roxy Music ขึ้นมาได้ ทำให้เราพอจะสามารถเรียก Japan ว่าเป็นวง Art Rock วงหนึ่งได้เลยทีเดียว

Japan ออกอัลบั้มมาทั้งหมด 5 ชุด แล้วจึงยุบวงไป หลังจากนั้น David Sylvian ก็ออกอัลบั้มเดี่ยวออกมาอีกหลายชุด และ Richard Barbieri ก็ไปเป็นมือคีย์บอร์ดให้วง Porcupine Tree เหลือไว้เพียงมรดกล้ำค่า 5 อัลบั้มเอาไว้ให้จดจำเท่านั้น

งานเพลงของ Japan นั้นมีมาตรฐานอยุ่ในเกณฑ์ดีทุกชุด โดยเฉพาะ 2 อัลบั้มหลังอย่าง Gentlemen Takes Polaroid และ Tin Drum ที่ไอเดียในการทำดนตรีของวงนั้นอยุ่ในจุดที่สุกงอมจริงๆ และทำให้เป็นงานดนตรีที่น่าจดจำตลอดเรื่อยมา ซึ่งอัลบั้มที่จะมาแนะนำวันนี้คือ Gentlemen Takes Polaroid ครับ

Gentlemen Takes Polaroid เป็นอัลบั้มที่ 4 ของทางวง ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ความสามารถในการทำดนตรีของทางวงอยู่ในจุดพีคที่สุด แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของวงอย่างชัดเจน ดนตรีในอัลบั้มนี้มีความลึกล้ำและมีความเป็น Atmospheric มากกว่าอัลบั้มก่อนๆอย่างเห็นได้ชัด (มีบรรยากาศแบบเอเชียๆมากขึ้นด้วย) และด้วยคอนเซปต์ ” ท่องไปในยามราตรี ” ก็ทำให้อัลบั้มนี้มีซาวนด์ที่มืดมนขึ้นด้วยครับ

เปิดอัลบั้มด้วยไตเติ้ลแทร๊ค Gentlemen Takes Polaroid ซึ่งเป็นเพลงสนุกๆ ให้ความรู้สึกเหมือนเวลาเย็นย่ำเริ่มต้นราตรีที่ยาวนาน ไลน์คีย์บอร์ดได้อารมณ์แบบญี่ปุ่นชัดเจน มีท่อนคอรัสที่ติดหู ชวนโยกเบาๆ บรรยากาศไม่เครียดมากนัก สมกับที่ถูกตัดเป็นซิงเกิ้ลแรกของอัลบั้ม ต่อเนื่องด้วย Swing ที่ให้อารมณ์มืดมนขึ้นเล็กน้อย แต่จังหวะยังชวนโยกเล็กๆเหมือนเดิม เป็นการเข้าสู่ห้วงราตรีอย่างเต็มรูปแบบ ตามติดด้วย Burning Bridges ที่เป็นเพลงบรรเลงแบบ Ambient ที่หลอกหลอนและมืดมนมากๆ ไพเราะด้วยเสียงแซ๊กโซโฟนฝีมือ Mick Karn ก่อนที่ซิลเวี่ยนจะฝากเสียงร้องเหงาๆไว้เล็กน้อยช่วงท้ายๆเพลง เป็นหนึ่งในแทร๊คโปรดประจำอัลบั้มของผมเลยล่ะครับ แทร๊คต่อไปอย่าง My New Career ก็ยังให้อารมณ์มืดหม่นอย่างต่อเนื่อง มีการเรียบเรียงซินธ์เป็นอย่างดีทำให้น่าฟัง ฝีมือการเล่น Fretless Bass ของ Mick Karn ไม่ธรรมดาครับ ก่อนจะกลับมาสนุกกันอีกครั้งกับ Method of Dance เพลงจังหวะสนุกๆ ชวนโยกที่ให้อารมณ์เอเชียสุดๆ โดยเฉพาะไลน์คีย์บอร์ดและเสียงคอรัสหญิง (แต่ก็ยังไม่ทิ้งบรรยากาศดาร์คๆอยู่ดี) ดนตรีลงตัวมากๆเพลงนี้ค่อนข้างติดหูเลยครับ ลดระดับความร้อนแรงลงมาด้วย Ain't It Peculiar เป็นเพลงที่มีจังหวะกลองสนุก แกล้มเสียงเครื่องเคาะหลากหลาย มีโซโล่ Oboe ด้วย โดยรวมแล้วไม่เด่นเท่าเพลงอื่นในอัลบั้มแต่ก็ยังยอดเยี่ยมอยู่ดีครับ ก่อนจะมาถึง Nightporter ซิงเกิ้ลที่ 2 ซึ่งเป็นเพลงดังประจำอัลบั้ม ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะเป็นเพลงเปียโนบัลลาดที่ไพเราะและยอดเยี่ยมจริงๆ ให้อารมณ์ที่เศร้าสร้อยและเงียบเหงา ซิลเวี่ยนถ่ายทอดอารมณ์ผ่านเสียงร้องได้ดีมากๆครับ การเรียบเรียงคีย์บอร์ดนั้นทำได้ดีและไพเราะจนผมขนลุกเลยครับ ใครกำลังอกหักแล้วมาฟังเพลงนี้คงได้จมดิ่งลงไปในความเศร้าแบบกู่ไม่กลับแน่นอน ก่อนจะปิดท้ายด้วยเพลง Taking Islands in Africa ที่สดใสที่สุดในอัลบั้ม พาหลุดจากอารมณ์มืดหม่นได้ดีจริงๆครับ ประมาณว่าให้คุณได้เตรียมพบกับยามเช้าที่สดใส การเรียบเรียงดนตรียังทำได้เฉียบขาดเหมือนเดิม เพราะดีครับ ปิดอัลบั้มได้อย่างงดงาม และสำหรับเวอร์ชั่น Reissue ในปี 2003 ที่ผมนำมาเขียนนั้นจะเพิ่ม Bonus Track อีก 3 เพลง ได้แก่ The Experience of Swimming และ The Width of a Room ที่เป็นเพลงบรรเลงทั้งคู่ เพลงแรกแต่งโดย Richard Barbieri ออกแนวแอมเบียนท์ตามคาด ไม่มีอะไรแปลกใหม่แต่ไพเราะดีครับ (ก็อารมณ์เหมือนกำลังว่ายน้ำอยู่ในสระจริงๆนั่นแหละครับ แต่อาจจะเป็นการว่ายคนเดียวในยามค่ำคืนแกล้มแสงจันทร์) ส่วนเพลงหลังนั้นเป็นฝีมือของ Rob Dean เป็นเพลงที่ให้อารมณ์โดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงา เหมือนนั่งอยู่คนเดียวอย่างสิ้นหวังในห้องอพาร์ตเมนต์ในคืนที่ไม่มีใครมาสนใจเรา ซึ่งทั้ง 2 เพลงนี้ก็ทำออกมาได้ไพเราะดีครับ ส่วนอีกเพลงคือ Taking Islands in Africa (Steve Nye Remix) นั้นธรรมดาๆ ไม่ค่อยน่าสนใจครับ

ถึงตรงนี้ก็พอจะสรุปได้เลยว่านี่คืออัลบั้มยอดเยี่ยมที่เป้นงานมาสเตอร์พีซของ Japan จริงๆ ไม่มีเพลงใหนที่เป็นเพลงเศษเพลงเอามายัดๆไว้เลย เป็นงานที่ตกผลึกและได้รับการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี มีคอนเซปต์ทางดนตรีที่ชัดเจนลงตัว รวมทั้งมีบรรยากาศที่มืดมนเปลี่ยวเหงาถูกใจผมด้วย ฟังแล้วไม่ผิดหวังเลยครับ สามารถหยิบมาฟังได้หลายๆครั้งโดยไม่เบื่อ ซึ่งในความคิดผมแล้ว อัลบั้มที่ออกตามกันมาอย่าง Tin Drum นั้นยังสู้ไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจที่ผมชื่นชอบชื่นชมอัลบั้มนี้แบบออกหน้าออกตาและให้คะแนนเต็ม 5 ดาวครับ !!!!!


Last Updated ( Saturday, 12 April 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing