spacer.png, 0 kB
John McLaughlin and Mahavishnu Orchestra (AFM)
Top Ten Songs from Genesis (Analog Kid)
5 Greatest Major Fusion Jazz Albums from 70's (AFM)
The Red Stratocaster and EMGs (AFM)
Diggin' Deeper "Shine On You Crazy Diamond - Pink Floyd" (AFM)
Roger Waters - Amused to Death (AFM)
Porcupine Tree - Fear of a Blank Planet (Parid)
Top Ten Songs from Yes (Analog Kid)
Top Ten Songs from King Crimson (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part I (Parid)
The Rise and Fall of Queensryche (Lilium)
13 Essential Albums of “Extreme Progressive Metal” (Lilium)
Eloy Albums Guide (PSLK)
13 Greatest Rhythm Section Albums (AFM)
Robert Fripp's Soundscapes Technique (AFM)
Penguin Cafe Orchestra (Panyarak)
Penguin Cafe Orchestra & Simon Jeffes (Polotoon)
Mike Oldfield (Panyarak)
John Cale (Panyarak)
Philip Glass - Part I (Panyarak)
Philip Glass - Part II (Panyarak)
Van der Graaf Generator (Panyarak)
Sally Oldfield (Panyarak)
Family (Panyarak)
Renaissance & Annie Haslam (Panyarak)
Strawberry Fields Forever by George Martin (Winston)
Syd Barrett (Panyarak)
Peter Gabriel (panyarak)
Telecasters plus Les Paul Goldtop & Gretsch Duo Jet (AFM)
7 Phases in Prog Heads Life (Analog Kid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part II (Parid)
Aviv Geffen - Blackfield : Part III (Parid)
Pink Floyd's Back Up Role
Ayreon - 01011001 (Parid)
Roger Waters – Amused to Death (Parid)
Snowy White & His Guitar : Interview (AFM)
Rick Wakeman (panyarak)
Coldplay - Viva la Vida (parid)
Jeff Beck - Blow By Blow & Wired (AFM)
Interview with \"Dredg\" (Lilium)

spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Home arrow Pink Floyd's Back Up Role
Pink Floyd's Back Up Role PDF Print E-mail
Written by Agent Fox Mulder   
Friday, 30 May 2008

คุณคิดว่าการที่ Pink Floyd มีวง Back Up

เป็นการดูถูกศักดิ์ศรีของตัวเองหรือไม่ ?

เปิดประเด็นโดย Hurricane_love goldfish (kongbei)
ร่วมเสวนาโดย ปีศาจลายคราม, Analog Kid และ Agent Fox Mulder
จากกระทู้ในเว็บบอร์ด Pantip.com ห้อง Rock & Roll วันที่ 27 พฤษภาคม 2550


 ในการแสดงสดของ พิงค์ ฟลอย ยุค 3 เกลอ นั้น นักดนตรีแบ๊คอัพมีบทบาทอย่างมาก (มากกว่าพิงค์ฟลอยจริงๆด้วยซ้ำ?) คุณคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ

  • Hurricane_love goldfish 

ความจริงฟลอยด์ในยุคช่วง Pre Dark Side คือประมาณช่วงปี 1970-1972 ก็ยังมีเพอฟอร์มแมนซ์ที่เป็นเอกภาพและร้อนแรงอยู่นะครับ ทั้งๆ ที่พวกเค้าเล่นกันแค่สี่คนเท่านั้น ใครที่เคยฟังอัลบั้ม Bootleg ชื่อดังอย่าง BBC Archives 1970-1971 หรือดูดีวีดีปอมเปอีก็จะทราบดี (แต่ดูเหมือนในปอมเปอีจะเล่นกันเนือยๆ ชอบกล) ในช่วงนั้นทั้งริกและโรเจอร์ก็ไม่ได้ฝีมือโดดเด่นน้อยกว่าเดฟมากเลย โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นช่วงที่ริกเล่นออร์แกนได้อย่างหอมกรุ่นและถึงพริกถึงขิงมากที่สุด โรเจอร์ก็เล่นได้หนักแน่นและมั่นคงมากๆ เพลง Echoes จากการแสดงออกอากาศทาง BBC ในปี 1971 คือตัวอย่างที่ชัดเจน

ทัวร์ Dark Side of the Moon ในปี 1973 คือทัวร์แรกที่ฟลอยด์นำเอานักดนตรีและนักร้องประสานเสียงหญิงขึ้นไปใช้เป็นทัวร์แรก สำหรับนักดนตรีก็มีแค่มือแซ็กโซโฟน Dick Parry เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ในภาคดนตรีหลักพวกเขาก็ยังคงเล่นกัน 4 คนเหมือนเดิม ส่วนนักร้องประสานเสียงหญิงก็มี 3 คน ฟลอยด์ใช้ระบบนี้ไปจนถึงทัวร์ Wish You Were Here ในปี 1975

ในทัวร์ Animals ในปี 1977 ฟลอยด์ได้เริ่มใช้นักดนตรีแบ๊คอัพเป็นจริงเป็นจังเป็นครั้งแรก คือนำมือกีตาร์เข้ามาเสริมหนึ่งคนคือ Snowy White เนื่องจากในเพลง Dogs มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กีตาร์มากกว่าหนึ่ง ส่วน Dick Parry ก็คงยังทำหน้าที่เหมือนเดิม แต่ตัดนักร้องหญิงออกไป ช่วงนี้ก็ยังถือเป็นช่วงที่เพอร์ฟอร์มแมนซ์และความเป็นเอกภาพของพวกเขายังดีอยู่ (หรือแทบจะเป็นจุดพีคของวงก็ว่าได้) ริกทำหน้าที่ในภาคคีย์บอร์ดได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบมาก ทั้งๆ ที่ภาคคีย์บอร์ดมีความซับซ้อนเหลือหลาย ริกใช้ Minimoog บนเวทีถึง 3 ตัว รวมถึง Hammond Organ, Rhodes Piano และ Acoustic Piano อีก แทบจะวางกันเต็มเวทีเลยทีเดียว โรเจอร์ก็สลับเล่นทั้งเบส อคูสติกกีตาร์ และกีตาร์ไฟฟ้า (ในทัวร์ปี 1977 โรเจอร์เล่นกีตาร์ไฟฟ้าริธึ่มในเพลง Sheep โดยให้ Snowy White เล่นเบสแทน) สิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าเพอฟอร์มแมนซ์ของพวกเขายังดูดีได้โดยยังไม่ต้อง้อนักดนตรีแบ๊คอัพ

แต่แล้วหลังจากทัวร์อัลบั้ม Animals เสร็จสิ้น โรเจอร์เริ่มทำงานในอัลบั้ม The Wall และอย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าริกมีปัญหากับโรเจอร์ ทั้งเดฟและริกก็หนีไปทำโซโล่อัลบั้ม และเมื่อถึงเวลาบันทึกเสียงอัลบั้ม The Wall ทางวงก็เริ่มเกิดความแตกแยก ริกโดนโรเจอร์พูดจาไม่ดีใส่ ทำให้ริกไม่ค่อยได้เข้ามาช่วยงานในสตูดิโอ ภาคคีย์บอร์ดส่วนใหญ่ในอัลบั้ม เล่นโดย Freddie Mendell (ออร์แกนในเพลง In The Flesh?), Micheal Kamen (เปียโนและออร์แกนในหลายๆ เพลง), Bob Ezrin (เปียโนในเพลง Nobody Home) ส่วนพวกซินธ์ทั้งหลายนั้นโรเจอร์กับเดฟก็เป็นคนเล่นเองเสียส่วนใหญ่ ริกนั้นจะเข้ามาบันทึกเสียงคีย์บอร์ดก็ต่อเมื่อถูกเรียกมาตรงๆ เท่านั้น ส่วนนิคเองก็เริ่มเล่นกลองได้แย่ลง จนเดฟเองต้องถึงกับไปจ้าง Jeff Porcaro มาตีกลองแทนนิคในเพลง Mother ดังนั้น The Wall ถือได้ว่าเป็นอัลบั้มแรกที่ภาคดนตรีส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากสมาชิกวงทั้งสี่คน อย่างผมบอกไว้ว่าเดฟและโรเจอร์ยังมีบทบาทมากอยู่ แต่ริกกับนิคลดบทบาทลงไปมาก

ในทัวร์ The Wall ในปี 1980-1981 โรเจอร์ต้องการวงสี่ชิ้นอีกหนึ่งวงมาร่วมขึ้นแสดงในโชว์ เนื่องจากโรเจอร์ต้องการอีกวงมาเป็น "Surrogate Band" ตามคอนเซปต์ของโรเจอร์ ซึ่งนักดนตรีทั้งสี่คนนี้ก็มาช่วยฟลอยด์อุดในทุกตำแหน่ง เท่ากับว่าบนเวที จะมี กีตาร์ เบส คีย์บอร์ด และกลองอย่างละสอง บางเพลงโรเจอร์ก็อาจจะได้เล่นเครื่องดนตรีอะไรเลย ทำหน้าที่ร้องอย่างเดียว นี่เป็นทัวร์แรกที่โรเจอร์เริ่มทำตัวเป็น "นักร้องนำ" เดินไปเดินมาบนเวทีโดยถือไมโครโฟนเพียงอย่างเดียว โดยมี Andy Brown เล่นเบสแทน ริกก็ไม่ต้องรับบทหนักอย่างที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในสภาวะกึ่งสมาชิกวงกึ่งลูกจ้าง ริกเล่นออร์แกนและเปียโนเป็นหลัก โดยมี Peter Woods คอยช่วยเสริมอยู่ตลอดเวลา นิคตีกลองชุดคู่ไปกับ Willie Wilson ส่วนเดฟนั้นมี Snowy White คอยช่วยเล่นริธึ่มให้และเล่นโซโล่เสริมในปี 1980 แต่เนื่องจากในปี 1981 สโนวี่ต้องไปออกทัวร์กับวง Thin Lizzy เดฟก็เลยได้ Andy Roberts มาแทน (คนนี้สู้สโนวี่ไม่ได้เลยขอบอก) เรียกได้ว่าในภาคเพอร์ฟอร์มแมนซ์ของวงในทัวร์นี้ ทางวงลดบทบาทลงไปเกือบจะห้าสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ในการบันทึกเสียง The Final Cut อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าริกไม่ได้มีส่วนอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะถูกโรเจอร์เขี่ยทิ้งไปเรียบร้อย ภาคคีย์บอร์ดก็มีคนมาเล่นแทน คือ Micheal Kamen (ผู้ทำหน้าที่เรียบเรียงและควบคุมวงเครื่องสายและเป็นโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มด้วย) และ Andy Brown

จุดเริ่มต้นของการทำอัลบั้ม A Momentary Lapse of Reason เกิดขึ้นเมื่อเดฟไปขึ้นเวที Live Aid เพื่อเล่นแบ๊คอัพให้กับ Bryan Ferry ในครั้งนั้นเดฟได้พบกับ Jon Carin ซึ่งเล่นคีย์บอร์ดอยู่ในวงของ Bryan Ferry เดฟเห็นแววของ Jon Carin และเริ่มทำความรู้จัก จนในปี 1987 เดฟจับมือกับนิค โดยมี Bob Ezrin เสริมอยู่ข้างหลังในภาคโปรดักชั่น เริ่มทำงานอัลบั้ม AMLOR ขึ้นมา โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากเดฟเป็นหลัก โดยมี Bob Ezrin, Anthony Moore, Phil Menzenara และ Jon Carin มาช่วยด้วย การบันทึกเสียงของอัลบั้มนิคเองก็ไม่ได้ช่วยซะเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเดฟบอกว่า นิคตีกลองได้แย่มาก (คงไม่ได้ตีมาหลายปี) เดฟก็เลยไปจ้างมือกลองมาช่วยหลายคน (ผมมองว่านิคมีส่วนในการรีฟอร์มพิงค์ ฟลอยด์ในด้านชื่อและเงินที่ใช้ในการลงทุนมากกว่าทางด้านโปรดักชั่น) ส่วนพาร์ตคีย์บอร์ดทั้งหลายก็มาจาก Jon Carin เป็นหลัก นอกจากนั้น Jon Carin ยังมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงเด่นในอัลบั้มอย่าง Learning To Fly อีกด้วย (แหล่งข่าวบางแหล่งยังบอกมาด้วยอีกวง Jon Carin เป็นผู้แต่งหลักในเพลงนี้เลยเสียด้วยซ้ำ) ภาคเบสเดฟก็ไปจ้าง Tony Levin มาช่วยเลย ส่วนริกนั้นเข้ามาร่วมทำงานในช่วงท้ายของกระบวนการทำอัลบั้ม สิ่งที่ริกได้ทำคือแค่มาช่วยเล่นออร์แกนในเพลง On The Turning Away กับ Sorrow เท่านั้น เราจึงสรุปได้ว่าผลลัพธ์ส่วนใหญ่จากอัลบั้ม AMLOR เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างเดฟกับ Ezrin เสียมากกว่า

ส่วนทัวร์ในปี 1987-1990 นั้น นอกจากทั้งสามคนแล้วก็ยังมี Jon Carin มาเล่นคีย์บอร์ด Guy Pratt เล่นเบส Tim Renwick เล่นกีตาร์เสริม (และเป็นผู้ทำหน้าที่เล่นโซโล่ในเพลง Learning To Fly เวลาแสดงสด) Gary Wallis มือเพอร์คัสชั่น (บางทีก็มาช่วยเล่นคีย์บอร์ด) Scott Page มือแซ็กโซโฟน (ผู้ชอบตะโกนใส่ไมค์ที่ติดอยู่กับแซ็กทุกครั้งที่มีโอกาส) และนักร้องประสานเสียงหญิงอีกสามคน ช่วงนี้เองที่เพอร์ฟอร์แมนซ์ของวงถูกมองว่าได้นักดนตรีแบ๊คอัพมาช่วยซะจนออกนอกหน้า ในช่วงนี้ขอบอกได้เลยว่าริกกลายเป็น Second Keyboardist ที่เล่นออร์แกนเสริมเป็นหลักซะมากกว่า ภาคคีย์บอร์ดส่วนใหญ่มาจากฝีมือของ Jon Carin เรียกได้ว่า Jon Carin เป็น Primary Keyboardist ไปซะแล้ว

ส่วนในอัลบั้ม The Division Bell นั้น ริกกลับเข้ามาร่วมงานกับวงอย่างเต็มที่ วัตถุดิบส่วนใหญ่แม้จะมาจากเดฟ (เหมือนเดิม) แต่ริกก็เข้ามาช่วยในภาคการประพันธ์ดนตรีเกือบๆ ครึ่งอัลบั้ม รวมถึงมีเพลงที่ริกประพันธ์เดี่ยว (และร้องนำ) อย่าง Wearing Inside Out อยู่ด้วย นักดนตรีในอัลบั้มก็ไม่ได้มีมากหน้าหลายตาเหมือนตอนบันทึกเสียงอัลบั้ม AMLOR ทำให้ซาวน์มีความกลมกลืนและมีเอกภาพมากขึ้น แต่ถึงอย่างไร Jon Carin ก็ยังเข้ามามีบทบาทมากพอสมควรอยู่ดี Jon Carin เคยให้สัมภาษณ์ว่าริกอัดเสียงเปียโนของเพลง Marooned ซึ่งเล่นด้วย Kurzweil เอาไว้ Jon เห็นว่าเสียงมันไม่ค่อยดี เลยเอาเปียโนจริงๆ มาอัดเสียงใหม่ซะเลย (555+) จะว่าริกว่าเล่นไม่ดีรึเปล่าเน้อ

ทัวร์ The Division Bell ทุกอย่างเริ่มจะแฟร์มากขึ้น ริกกับจอนแชร์บทบาทในภาคคีย์บอร์ดพอๆ กัน แต่ก็คือยังคงใช้สูตรเดิมคือริกจะเล่นเปียโนและออร์แกนเป็นหลัก ส่วนซินธ์ที่เป็น Layer ต่างๆ ก็ยกให้ Jon Carin เกือบหมด จะมีบ้างที่ริกเล่นเสียงซินธ์คือพวกโซโล่ซินธ์ในเพลงต่างๆ เช่น Run Like Hell หรือ Keep Talking ส่วนภาคเบสนั้นจะว่าก็ไม่ได้ ก็หลังจากโรเจอร์ออก ก็ไม่มีมือเบสเป็นสมาชิกวงอยู่แล้วนิ ใครจะมาเล่นแทนก็ไม่ถือเป็นเรื่องผิด นิคก็ตีกลองได้ดีขึ้น (ถึงแม้จะตีได้เฉยๆ เหมือนเดิมก็ตาม) ส่วนเดฟ แน่นอนว่ายังเป็นพระเอกเหมือนเดิม

จบละ พิมพ์ให้อ่านกันเล่นๆ ครับ หวังว่าคงถูกใจกันนะครับ ผมว่าฟลอยด์ดูถูกศักดิ์ศรีของตัวเองอยู่เหมือนกันตอนช่วงทัวร์ปี 1987-1990 แต่ช่วงทัวร์ปี 1994 เค้าก็แฟร์ๆ แล้วนะครับ ผมว่านะ

  •  Agent Fox Mulder

ผมได้ดูวิดีโอบันทึกการแสดงสด Pulse แล้ว รู้สึกตื่นเต้นตระการตาดีออก ถึงแม้ว่าจะมีนักดนตรีเสริมและนักร้องคอรัสมาช่วยแบ็คอัพให้มากหน้าหลายตาก็ตาม... ก็อายุปูนนี้กันแล้ว ต้องยอมรับว่าเรี่ยวแรงย่อมถดถอยไปเป็นธรรมดา ฟอร์มจะสดจะแน่นเหมือนครั้งยังหนุ่มยังแน่นเมื่อสามสิบสี่สิบปีก่อนโน้น คงเป็นไปไม่ได้ วงดนตรีเก่าแก่ลายครามที่อยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ซึ่งใช้นักดนตรีมาเล่นเสริมเวลาออกคอนเสิร์ตก็มีให้เห็นบ่อยไป

พูดไปแล้วอาจไม่สบอารมณ์แฟน Pink Floyd ในที่นี้หลายคน คือว่า ผมมีแผ่นเสียงอัลบั้มผลงานของ Pink Floyd อยู่หลายชุด ตั้งแต่ชุดแรกเรื่อยมา (เอาเฉพาะที่เป็นอัลบั้มหลักเท่านั้นนะครับ อัลบั้มพวก bootleg หรือรวมมิตรรวมนั่นรวมนี่ไม่เกี่ยว... ขี้เกียจตามเก็บ เพราะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้) แต่แปลกมากตรงที่ผมไม่ค่อยได้หยิบผลงานของวงนี้ออกมาฟังสักเท่าไร นาน ๆ ถึงจะฟังที ที่ฟังเป็นหลักก็มีแค่ Meddle, DSOTM, Wish You Were Here และ The Wall เท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับการฟังผลงานของวง progressive rock ที่โชว์ฝีไม้ลายมือวงอื่น ๆ แล้ว ผมว่าผมยังฟังผลงานของ Pink Floyd น้อยกว่า ผมมีความรู้สึกว่า ฝีไม้ลายมือของวงนี้ก็งั้น ๆ ไม่ได้โชว์ความฉกาจและเทคนิคในการเล่นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นสักเท่าไร ทางเบสส์ของ Waters ก็ธรรมดามาก ไม่ค่อยมีลูกเล่นแพรวพราว, คีย์บอร์ดของ Wright ก็เนิบ ๆ เอื่อย ๆ บางเบา ไม่เร้าใจ คือ เล่นเหมือนคนขี้เกียจ ส่วนกีตาร์ของ Gilmour ก็สุขุม เนิบ ๆ หวาน ๆ บางครั้งก็ยาน ๆ ขาดความเร้าใจ และกลองของ Mason นั้นยิ่งแล้วใหญ่ ไม่เห็นจะมีลูกเล่นลูกขัดเหมือนมือกลอง progressive คนอื่น ๆ เลย นอกจากเสียงเครื่องดนตรีจากนักดนตรีทั้งสี่คนนี้แล้ว ที่เหลือคือตัวช่วย ได้แก่ filler หรือ special effects ซึ่งใช้บ่อยเหลือเกินในผลงานทุกชุดก็ว่าได้ (ถ้าตัด filler พวกนี้ออกไปแล้ว จะเหลืออะไร? ดนตรียังแน่นอยู่ไหม?)

สรุปว่า ถ้าพูดถึงฝีมือ ผมให้คะแนนวงนี้อย่างเกรงอกเกรงใจแค่ C+ ครับ คือแค่เกือบ ๆ จะดี แต่ไม่มีอะไรโดดเด่น อย่างอัลบั้มแรก Piper At The Gates Of Dawn นั้นก็มีแต่เพลง rock 'n roll สั้น ๆ เหมือนเด็กที่เพิ่งจบไฮสกูลออกมาตั้งวงดนตรีและมีอัลบั้มชุดแรกเป็นของตนเอง ผมไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันว่าทำไม Pink Floyd ถึงมีแฟน มีสาวก มีลูกหาบอยู่เกลื่อนกลาดทั่วโลกเต็มไปหมด แม้ใน eBay เองก็มีคนแย่งกันประมูลแผ่นเสียงของ Pink Floyd กันเกลื่อนกลาด ทำให้แผ่นเสียงของ Pink Floyd นั้นมีราคาแพงถึงแพงมาก เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะแนวดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่เหมือนใคร และมีไอเดียในการนำเสนอที่ก้าวล้ำนำสมัย (เมื่อหลายสิบปีก่อน) แต่โดยความเห็นส่วนตัว ดนตรีของ Pink Floyd ส่วนใหญ่ฟังแล้วรู้สึกมืดมนหดหู่ยังไงไม่ทราบ เอื่อย ๆ เนิบ ๆ ไม่ค่อยเร้าใจ ฟังแล้วเครียดครับ ผมเลยไม่ค่อยฟังผลงานของวงนี้มากนัก (จะเร้าใจขึ้นมาบ้างก็ที่อัลบั้ม The Wall นี่ละ)

และเหตุผลที่สำคัญคือ พวกเขาไม่ค่อยได้แสดงฝีไม้ลายมืออันฉกาจฉกรรจ์ให้สมกับที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวง progressive rock ของโลกวงหนึ่งมาตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกแล้ว... อาจจะได้ดีเพราะขายไอเดียโดนใจคนฟังก็เป็นได้

  •  ปีศาจลายคราม

มีคอมเมนต์หนึ่งที่ ในความเห็นส่วนตัวของผมเห็นด้วยอย่างมาก เกี่ยวกับดนตรีของ Pink Floyd 

เค้าบอกว่า " ดนตรีของวง Pink Floyd มันสมบูรณ์แบบมากๆ ขนาดที่ว่า การเพิ่มหรือลดตรงไหนของเพลงก็ตาม จะทำให้เสียของทันที่ "

นั่นอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ แฟนๆ Prog เลยไม่มองว่าวงเป็น Prog มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับวงอย่าง Yes, ELP หรือ Genesis ที่เน้นความสามารถทางดนตรีอย่างมาก และเวลาเล่นสดเปิดโอกาสให้ "เล่น" ได้มากขึ้น

ถ้าสังเกตุให้ดีจะพบว่า ในบรรดาวง "The Big Six" วง Pink Floyd เป็นวงเดียวที่มาจากสายไซคีเดลิค หรือ สเปซร็อค (ผมนับ Gentle Giant เป็นวงที่ 6) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดนตรีในแนวนี้ จะเน้นที่การทำดนตรีที่สร้างอารมณ์หรือบรรยากาศมากๆ (น่าจะเป็นอีกสาเหตุว่า ทำไมวงจึงใช้สเปเชียลเอฟเฟ็คมาก) 

อาจจะเป็นเพราะเหตุผลข้างต้นทั้งหมด เลยทำการแสดงสดของวงอาจไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (วงเลยไม่ออกอัลบั้มสดอย่างเป็นทางการในยุค 70 เลย ยกเว้นในชุด Ummagamma ที่ทำออกมาแบบครึ่งๆกลางๆ และผมว่าวงเล่นสดในชุดนี้ได้ดีมากๆ เป็น space rock ที่ให้อารมณ์จริงๆ )

  •  Analog Kid

Last Updated ( Friday, 30 May 2008 )
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
spacer.png, 0 kB
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Sellers in Clothing