ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149702 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

10 พฤษภาคม 2024 | 01:42:17 AM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgThe Song Remains The Sameฮิตกันวันละ (หลาย) เพลง
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ฮิตกันวันละ (หลาย) เพลง  (อ่าน 54532 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14387


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #150 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2024 | 07:13:16 PM »

คิดถึง "ชาโดว์ประยุกต์" ซึ่งเป็นเพลงทำนองไทยเดิมที่มีนักดนตรีในยุคก่อนนำมาเรียบเรียงใหม่ในสไตล์ชาโดว์ ซึ่งเป็นดนตรีที่นิยมในช่วงปี 1960s เพลงเหล่านี้มีอายุนานแค่ไหน ผมบอกไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลบอกไว้บนแผ่นเสียงและปกแผ่นเสียงเลย (ผมมีแผ่นลองเพลย์อยู่ชุดหนึ่ง และแผ่นเล็ก 7 นิ้วอยู่แผ่นสองแผ่น) คือเมื่อผมเป็นเด็กพอรู้ความก็ได้ยินเพลงพวกนี้ที่พ่ออัดใส่เทปไว้ให้ฟังแล้ว คงจะราว ๆ ปี 2515 หรืออาจจะเก่ากว่านั้น ที่ยกมาให้ฟังจาก YouTube นี่เค้าถ่ายมาจากต้นฉบับเทปคาสเสทโรต้า เสียงพอฟังได้ ในชุดนี้ผมชอบทุกเพลง แต่เพลงที่ชอบมาก ๆ คือ กระแต กลองยาว พม่ารำขวาน ต้นบรเทศ ยะวา สีนวล ลาวกระทบไม้ ลาวคำหอม ไทรโยค ซัดชาตรี และนกขมิ้น บางเพลงบรรเลงได้มันมาก วงปี่พาทย์ได้ยินอาจสะอึก ลองฟังภูมิปัญญาการทำดนตรีของนักดนตรีรุ่นเก่าก่อนดูครับ ว่าเขาจับเพลงไทยเดิมเข้าผสมดนตรีชาโดว์ของฝรั่งได้เด็ดดวงแค่ไหน ขอยกเครดิตให้คุณจักริน รสนา (กีตาร์), ขบวน มุกดา (ออร์แกน, บุตรบุญธรรมของครูพยงค์ มุกดา) และนพรัตน์ ทิพยโอสถ (ออร์แกน) ซึ่งบางท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ว่ากันว่า วงพี.เอ็ม. พ็อคเก็ทมิวสิค ที่บรรเลงเพลงเหล่านี้ส่วนหนึ่ง เคยมีคุณดอน สอนระเบียบ เป็นมือกลองด้วย ดังนั้น เสียงกลองในบางเพลงที่ท่านได้ยินได้ฟัง อาจเป็นฝีมือของคุณดอน สอนระเบียบ ก็ได้ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=2ZtEotz9Rto
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14387


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #151 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2024 | 08:57:04 AM »

เมื่อวานผมได้เล่าเรื่องดนตรี "ชาโดว์ประยุกต์" ไปคร่าว ๆ และนำตัวอย่างเพลงจาก YouTube มาให้ฟังกัน ตามกระทู้ข้างต้น ทีนี้ก็อยากจะเล่าต่อไปว่า สมัยนั้น ซึ่งบางทีผมอาจจะยังไม่เกิดด้วยซ้ำ วงดนตรีอย่าง The Beatles, The Shadows (ซึ่งบางทีมี Cliff Richard ร่วมแจมด้วย) ตลอดจนศิลปินนักร้องอย่าง Elvis Presley และ Cliff Richard กำลังโด่งดังในต่างประเทศทั้งฝั่งยุโรปและอเมริกา อิทธิพลดนตรีของวงและบุคคลเหล่านี้จึงเผยแพร่ข้ามมายังบ้านเราด้วย เท่าที่ทราบข้อมูลคร่าว ๆ ในยุคนั้นมีวงดนตรีของไทยที่เล่นสไตล์ชาโดว์หรือแนวเพลงของ The Shadows (กลอง 1 กีตาร์ 2 เบสส์ 1 แต่สูตรชาโดว์ของไทยต้องเพิ่มออร์แกนเข้ามาอีก 1 ชิ้น) อยู่ราว 4-5 วง เช่น Johnny Guitar, P.M. Pocket Music, The Son of P.M. เป็นต้น (P.M. ย่อมาจากชื่อของพยงค์ มุกดา บรมครูเพลงของไทย ดังนั้น วง พี.เอ็ม. ไฟว์ (P.M. Five) ที่เคยมีคุณดอน สอนระเบียบ เป็นสมาชิกอยู่ จึงเป็นวงที่วิวัฒน์สืบเนื่องมาจากวงที่มีคำว่า P.M. อยู่นั่นเอง) และเครื่องดนตรี "ออร์แกน" ก็เป็นของใหม่ในยุคนั้น และมีคนเล่นในช่วงบุกเบิกอยู่ไม่กี่คน ที่ดัง ๆ คือ ขบวน มุกดา (วง P.M. Pocket Music และ The Son of P.M.) และนพรัตน์ ทิพยโอสถ (Johnny Guitar) ตอนแรกที่ฟังดนตรีชาโดว์ประยุกต์ ผมแยกไม่ออกว่าออร์แกนเพลงใดเล่นโดยใคร (ขบวน มุกดา หรือนพรัตน์ ทิพยโอสถ) เพิ่งสังเกตได้ในตอนหลังว่า ถ้าเสียงออร์แกนดิบ ๆ หยาบ ๆ ใกล้เคียงแนว Keith Emerson ต้องเป็นฝีมือของขบวน มุกดา ส่วนสำเนียงออร์แกนแหลมเล็กบาดหูแบบที่มักได้ยินจาก Farfisa Organ นั้น ผู้เล่นคือนพรัตน์ ทิพยโอสถ นึกอะไรได้อีกเดี๋ยวจะมาเล่าต่อครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14387


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #152 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2024 | 04:46:25 PM »

นักดนตรีรุ่นเก่าโดยมากมักจะมีฝีมือโดยแท้จริงโดยที่ไม่ต้องให้ใครหรือสื่อใด ๆ มา "อวย" หรือยกยอปอปั้นเหมือนนักดนตรีบางคนหรืออาจจะหลายคนในสมัยนี้ อย่างคนที่ทำและเรียบเรียงดนตรี "ชาโดว์ประยุกต์" ได้นั้น ผมคิดว่าพวกเขาต้องรู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงทั้งดนตรีไทยเดิมและดนตรีสากลอย่างถ่องแท้ จึงสามารถจับดนตรีทั้งสองแบบมาผสมเข้ากัน เรียบเรียง และเล่นบรรเลงเป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยความยาวทั่วไปประมาณ 2 นาทีเศษ ๆ ถึงสามนาทีได้ โดยใส่จังหวะดนตรีที่นิยมเต้นลีลาศกันในยุคนั้นเข้าไปในแต่ละเพลง เช่น ชะชะช่า สโลว์ วาตูซี่ แมชโปเตโต้ ตะลุง กัวราช่า ฯลฯ และบางเพลงยังผสมผสานเครื่องดนตรีไทยเดิมเข้าไปอีก เช่น ระนาด กลองยาว ผมว่านักดนตรีเหล่านี้เก่งมากครับในยุค 50-60 ปีก่อน แต่เสียดายที่ประวัติของแต่ละคนแทบไม่มีข้อมูลให้หาได้เลย อย่างคุณจักริน รสนา เท่าที่ทราบ เขาเสียชีวิตไปนานแล้ว เคยมีชื่อเสียงในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ คุณขบวน มุกดา เป็นบุตรบุญธรรมของครูพยงค์ มุกดา และมีผลงานการเล่นออร์แกนฝากไว้ทั้งในนาม P.M. Pocket Music และ The Son of P.M. ตลอดจนอีกหลาย ๆ เพลงของนักร้องลูกกรุงลูกทุ่งในยุคนั้น (โดยมาก ก่อนปี 2520 อย่างเพลง "รักที่เท่าไหร่" ของ หนุ่ม เมืองไพร เสียงออร์แกนในเพลงนี้เขาว่าเป็นฝีมือของขบวน มุกดา) และผมเคยเห็นท่านแสดงภาพยนตร์ด้วย แต่จำไม่ได้ว่าภาพยนตร์ชื่อเรื่องอะไร ส่วนคุณนพรัตน์ ทิพยโอสถ หากจะดูประวัติของท่าน เพลง "สมิหลาคอยเธอ" ใน YouTube ตามลิงค์ข้างล่างนี้คงจะเล่าประวัติได้ ว่าท่านเป็นนักดนตรีผู้มีความสามารถและมากประสบการณ์และยังเคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้ลาโลกไปแล้ว ขอจงสู่สุคติครับ

https://www.youtube.com/watch?v=QxySp3oaqTA
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery