ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149690 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

07 พฤษภาคม 2024 | 11:41:32 PM
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Best of 2012  (อ่าน 23065 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 09 มกราคม 2013 | 12:23:53 PM »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=-6ePQ6hE_1o" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=-6ePQ6hE_1o</a>
มาแนว Bjork เลยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มกราคม 2013 | 12:27:23 PM โดย .. polotoon .. » บันทึกการเข้า

.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 18 มกราคม 2013 | 04:03:31 PM »

The 55th GRAMMY® Awards

Album of the Year


The Black Keys - El Camino
Fun. - Some Nights
Mumford & Sons - Babel
Frank Ocean - Channel Orange
Jack White - Blunderbuss




Best Rock Album

Muse - The 2nd Law MP3 | CD
Coldplay - Mylo Xyloto MP3 | CD
The Black Keys - El Camino MP3 | CD
Bruce Springsteen - Wrecking Ball MP3 | CD
Jack White - Blunderbuss MP3 | CD

รักใคร เชียร์ใครกันบ้าง
บันทึกการเข้า

ǝɹoɔǝsıɐuuoʎɐɯʎɹbuɐ
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 8547


nagoya_mega_snake@windowslive.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 22 มกราคม 2013 | 03:00:28 PM »

แวะมาลงครับ เอาลิสต์ non-metal ก่อนละกัน

Lilium’s 30 Favorite Albums of 2012 (Non-Metal)



Pet Shop Boys – Elysium
คู่หูดูโอซินธ์ป๊อปที่อยู่ยงคงกระพันคู่ชาติอังกฤษมาช้านาน กลับมาคราวนี้พวกเขาก็ได้เอาบรรยากาศดนตรีอันไพเราะ เรียบง่าย ผ่อนคลาย และละมุนหูแบบชุด Behaviour และ Release กลับมาให้เราได้สัมผัสอีกครั้ง (แม้ดนตรีจะไม่ถึงกับเหมือนกันก็ตาม) แฟนๆที่คาดหวังดนตรีป๊อปเก๋ฉูดฉาดอาจจะผิดหวัง แต่เชื่อว่าแฟนที่โปรดปรานสองอัลบั้มที่กล่าวมานั้นน่าจะหลงรักอัลบั้มนี้ได้ไม่ยากแน่นอน



Jonny Greenwood – The Master (OST)
การทำเพลงสกอร์ประกอบภาพยนตร์ที่ทั้งลึกซึ้งและเปี่ยมความหมายของผู้กำกับจอมเนี้ยบ Thomas Anderson นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จอมฝีมือแห่ง Radiohead ผู้นี้ก็ยังคงพิสูจน์ความสามารถของเขาได้เป็นครั้งที่สอง (ถัดจาก There Will Be Blood) ด้วยการประพันธ์เพลงตามโจทย์การวิเคราะห์จิตของมนุษย์อันลึกล้ำได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวตรงประเด็นชนิดที่มโนภาพตามตัวโน้ตได้เลยทีเดียว



Jüppala Kääpiö – Animalia Corolla
การพบกันท่ามกลางบรรยากาศป่าเขาของ Carole Zweifel แห่ง In Gowan Ring และHitoshi Kojo ทั้งสองได้นำเอาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติในนานาประเทศทั้งสวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และมองโกเลีย มาสรรค์สร้างเป็นดนตรี Freak Folk ที่ทั้งแปลกและเพลิดเพลินหู โอบล้อมไปด้วยเสียงของใบไม้ สายลม สายธาร และภาษาป่าที่มิอาจเข้าใจความหมาย



Mariko Goto – 299792458
สาวน้อย (?) จอมเพี้ยนแห่งวงแจ๊ส/ฮาร์คอร์/อาร์ตพังค์สุดคลั่งอย่าง Midori กับอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเธอที่หมายมั่นว่าจะทำเพลงให้ป๊อปๆน่ารกๆและเป็นมิตรกับคนฟังมากขึ้น และถึงแม้เธอจะยังสลัดลีลาโรคจิตทิ้งไปไม่ได้ แต่นั่นก็ทำให้งานของเธอฟังดูสนุกและโมเอะแบบแปลกๆดีเหมือนกัน
 


Man Without Country – Foe
ถ้าอยู่ดีๆคู่หู Pet Shop Boys นึกครึ้มใจอยากทำเพลงชูเกสขึ้นมา ผลลัพท์ที่ได้ก็คงจะออกมาประมาณงานชุดนี้ อันเป็นอีเลกโทรป๊อปชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศม่านหมอกแห่งความฝันลอยฟุ้งหนาแน่น และแสนจะงดงาม



CLARIS – Birthday
ต้องขอปรบมือให้โปรดิวเซอร์หรือใครก็ตามที่มีส่วนช่วยในการแต่งและทำเพลงของดูโอเด็กสาวสองคนนี้จริงๆ ที่มีความตั้งใจทำเพลงเจป๊อปตลาดสีลูกกวาดให้ออกมาฟังลงตัวน่าฟังและติดหูแบบทั้งชุด ชนิดที่ไม่มีเศษเพลงเลย ขณะที่นักร้องทั้งสองก็ร้องเพลงได้ไม่เลว ฟังดูมีน้ำมีนวล ไม่แอ๊บแบ๊วเกินจนน่ารำคาญ



Philip Glass – Rework_ (Remixes)
คงไม่เกินไปนักหากจะบอกว่านักประพันธ์สายมินิมอลลิสต์คนนี้คือหนึ่งในนักประพันธ์ที่ทรงอิทธิพลและสมควรได้รับการยกย่องมากที่สุดแห่งศตวรรษ จะเรียกว่าเป็นตำนานที่มีชีวิตก็ว่าได้ แล้วคิดดูว่ามันจะสุดยอดขนาดใหนถ้าได้นักดนตรีอีเลกทรอนิกส์ระดับอ๋องอย่าง Amon Tobin, Dan Deacon, Memory Tapes, Pantha Du Prince, Peter Broaderick, Tyondai Nraxton หรือแม้แต่ Beck มาร่วมกันลงมือลงไม้รีมิกซ์เพลงของ Glass กันอย่างสุดฝีมือในอัลบั้มชุดนี้



Deftones – Koi No Yokan
หากไม่นับการยกเลิกคอนเสิร์ตในเมืองไทยแบบสายฟ้าแลบแล้ว วงเพื่อนเก่าเพื่อนแก่วงนี้ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยสักครั้ง พวกเขาไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการสร้างสรรค์ดนตรีอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์ แฝงเร้นความคิดและอารมณ์ล้ำลึกในความหนักหน่วง แถมยังได้บรรยากาศโรแมนติกแปลกๆแบบที่หาได้เฉพาะจากงานของ Deftones เท่านั้น



Killer Mike – R.A.P. Music
ในเมื่อไม่มีกฎห้ามศิลปินฮิปฮอปจากตะวันตกและตะวันออกทำงานร่วมกัน การร่วมงานกันระว่าง Emcee ฝีปากดีจากตะวันตกอย่าง Killer Mike กับ El-P โปรดิวเซอร์หัวก้าวหน้าจากถิ่นตะวันออกก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ไปไม่ได้ ซึ่งการพบกันของพวกเขาครั้งนี้ก็เพื่อยกระดับบทเพลง Hardcore Hip Hop ขึ้นไปอีกขั้น ด้วยบีทและแซมปลิ้งอันชาญฉลาด และติดหูอย่างร้ายกาจ แต่ก็ไม่ได้หลุดกรอบจนกลายเป็น Experimental Hip-Hop ไป แถมเนื้อเพลงของไมก์ก็ยังสามารถโต้แย้งในหัวข้อเครียดๆอย่างศาสนาและการเมืองได้อย่างมีเหตุมีผล ผมจึงรู้สึกเพลิดเพลินกับงานชุดนี้มากกว่างานเดี่ยวของ El-P ที่ออกมาในปีเดียวกันซะอีก



Death Grips – The Money Store / No Love Deep Web
นี่คือกลุ่มศิลปินฮิปฮอปหัวก้าวหน้าที่มาแรงที่สุดในยุคนี้อย่างไม่ต้องสงสัย พวกเขายังสามารถทำให้คนที่ปกติไม่ถูกโรคกับฮิปฮอปหันมาสนใจได้ ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วย Emcee สุดเถื่อนอย่าง MC Ride แล้ว ฝีมือการโปรดิวซ์ของ Flatlander ยังจัดจ้านเหลือหลาย ด้วยความกล้าสอดแทรกซาวนด์แปลกหูที่ออกแนวรกแต่มันส์ และบีทพิลึกพิลั่นแหวกขนบฮิปฮอปทั่วไป บวกกับฝีมือของมือกลองสุดคลั่งอย่าง Zach Hill อีก ดังนั้นสองอัลบั้มที่ออกมาในปีนี้คืออะไรที่คุณไม่ควรพลาดจริงๆ



Blue Sky Black Death & Nacho Picasso – Lord of the Fly / Exalted
ถ้าคุณอยากรู้ว่าไอ้ที่เค้าเรียกว่า Cloud Rap น่ะเป็นยังไง ผมจะแนะนำงานสองชุดนี้ให้ฟังโดยพลัน คุณจะได้ฟังบีทอันเนิบนาบ เคล้าไปกับซาวนด์แอมเบียนท์ชวนเคลิ้มและเมโลดีอันชวนพิศวง บวกกับเนื้อหาแรปที่ Abstract เกินฮิปฮอปทั่วไป ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ช่วยพิสูจน์ได้อย่างดีว่าดนตรีฮิปฮอปนั้นกว้างกว่าที่ใครๆคิดมากทีเดียว



How to Dress Well – Total Loss
หากเมื่อปีก่อนงานชุดแรกของ James Blake ได้รับการยอมรับทั่วทุกสารทิศในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ในปีนี้ อัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของ Tom Krell ภายใต้ชื่อ How to Dress Well ก็สมควรได้สิทธิ์นั้นเช่นเดียวกัน ด้วยความเหนือชั้นในการนำเอาแนวทาง R&B หล่อๆแบบยุค 90s มาคลุกเคล้าเข้ากับซาวนด์ม่านหมอกฝันฟุ้งได้อย่างสวยงาม แถมยังให้อารมณ์เศร้าเหงาเปล่าเปลี่ยวได้ไม่แพ้งานของ James Blake เลย



Ulver – Childhood’s End
อดีตวงแบล็คเมทัลที่ผันตัวเองมาเป็นวงร็อคทดลองหัวก้าวหน้าที่ไม่เคยทำงานเพลงเหมือนกันเลยสักชุด มาคราวนี้พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบหลงใหลในดนตรีไซคีเดลิกร็อค/ป๊อปยุคปลาย 60s โดยการนำเพลงแห่งบุปผาชนเหล่านั้นมาคัฟเวอร์กันแบบทั้งชุด ซึ่งโดยรวมแล้วก็ถือว่าคัฟเวอร์แบบเคารพต้นฉบับได้ไพเราะน่าฟังดี เสียงร้อง Kristoffer Rygg เองก็อบอุ่นนุ่มนวลเข้ากันได้ดีกับเพลงอย่างไม่น่าเชื่อ จนบางทีฟังแล้วก็นึกถึง Colin Blunstone แห่ง The Zombies ได้เหมือนกัน



The Saddest Landscape – After the Lights
สครีโมพันธุ์แท้ที่อัดแน่นไปด้วยอารมณ์อันโศกเศร้าและเกรี้ยวกราดจากการสูญเสียและความผิดหวังอันสุดขีด ดนตรีของพวกเขานั้นไพเราะสวยงาม ตรงไปตรงมา แต่แฝงไว้ด้วยนัยยะแห่งความทุกข์ตรมในทุกตัวโน้ต ไปกันได้ดีกับเสียงตะโกนแห่งความเจ็บปวดรวดร้าวและสิ้นหวัง เป็นงานเพลงที่สื่อสารอารมณ์ความรู้สึกในใจออกมาได้เกินร้อยจริงๆ



Twin Shadow – Confess
เป็นครั้งที่สองแล้วที่นาย George Lewis Jr. ได้แสดงให้เห็นว่าเขารักและหลงใหลในดนตรีป๊อปยุค 80s อย่างลึกซึ้งเพียงใด ไล่ตั้งแต่หน้าปกเห่ยๆที่ได้อารมณ์ยุคนั้นจริงๆ นอกจากนั้นดนตรีป๊อปอันละเมียดละไมและแน่นด้วยรายละเอียด เพียบพร้อมด้วยโปรดักชั่นชั้นดี ก็ชวนให้ถึงวงดังในยุคนั้นอย่าง ABC อย่างช่วยไม่ได้ และนั่นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2013 | 03:11:54 PM โดย 1 i 1 i v m » บันทึกการเข้า


Stay cheap, praise the explicit, embrace the scuzz, be true to art and yourself, eat shit, keep music evil.
lilivm's self-indulgence: https://rateyourmusic.com/~potatahtapapoh
ǝɹoɔǝsıɐuuoʎɐɯʎɹbuɐ
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 8547


nagoya_mega_snake@windowslive.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 22 มกราคม 2013 | 03:00:41 PM »



Tor Lundvall – The Shipyard
ศิลปินเดี่ยวจอมสันโดษผู้นี้มักจะออกงานมาเรื่อยๆเงียบๆ มีคนรู้จักน้อยๆ แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัดตั้งแต่ภาพหน้าปกสวยๆที่เขาวาดเองทุกชุด ไปจนถึงซาวนด์ดนตรีแอมเบียนท์เงียบสงบ หลอนฝัน แต่ไม่ถึงกับชวนสะพรึง ซึ่งงานชุดนี้ก็เป็นอีกครั้งที่เขาหันกลับไปทำงานบรรเลงล้วนๆ ปราศจากเสียงร้อง มินิมอล และนิ่งในแบบโดรน หากตั้งสมาธิและหลับตาฟังอย่างตั้งใจ ผู้ฟังจะสามารถจินตภาพถึงท่าเรือรกร้างกลางสายหมอกที่ศิลปินพยายามวาดภาพให้เห็นด้วยเสียงดนตรีได้เลยทีเดียว



Necro Deathmort – The Colonial Script
ต้องยอมรับว่าผลงานชุดที่สามของวงอินดัสเตรียล/ดูมเมทัลจากเมืองผู้ดีวงนี้ดูจะดรอปลงไปจากสองชุดก่อนหน้าอยู่สักหน่อย โดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลาย แต่กระนั้นมันก็ยังเป็นงานที่น่าฟังอยู่ดี โดยเฉพาะสำหรับใครที่ชอบงานมืดๆทะมึนๆ หรือชอบซาวนด์ดนตรีที่ Justin Broaderick แผ้วถางเอาไว้กับวงอย่าง Godflesh, Jesu หรือแม้แต่ Greymachine ก็น่าจะพอเพลิดเพลินไปกับงานนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ



Mirrorring – Foreign Body
เมื่อสองเจ้าแม่โฟล์คหลอนฝันอย่าง Grouper และ Tiny Vipers มาร่วมมือกัน ย่อมให้ดีกรีความเคลิบเคลิ้มเข้มข้นเป็นสองเท่า บทเพลงทั้งหมดยืนพื้นด้วยอคูสติกกีตาร์เรียบง่าย ปกคลุมไปด้วยซาวนด์โลไฟแอมเบียนท์มวลหนาแน่น และเสียงร้องลอยละล่องฟังไม่ได้ศัพท์ที่ปะปนจ่อมจมเข้าไปในวังวน ได้บรรยากาศของการนอนหลับฝันกลางทุ่งยามราตรีในฤดูร้อนอันมืดมิดและร้อนอบอ้าวเป็นยิ่งนัก



Susanne Sundfør – The Silicone Veil
ไม่ว่าคุณจะได้ยินกลิ่นอายความเป็น Tori Amos, Bjork, Fiona Apple, Anna Calvi หรือแม้แต่ Fever Ray ในน้ำเสียงและเนื้อดนตรีของ Susanne Sundfør แต่งานชุดนี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ถึงความเป็นตัวของตัวเองของเธอเช่นกัน การเรียงร้อยเปียโน เครื่องสาย เข้ากับซาวนด์อีเลกทรอนิกส์และซินธิไซเซอร์อย่างแนบเนียนและมีคลาส บวกกับเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ที่บางครั้งก็แฝงความเจ็บปวดเอาไว้ เป็นสูตรผสมอันลงตัวที่ทำให้ดนตรี Art Pop ของเธองดงามน่าหลงใหลอย่างบอกไม่ถูกจริงๆ ลำพังเพียง White Foxes เพลงเดียวก็มีค่าเพียงพอที่จะทำให้งานชุดนี้เข้ามาอยู่ในลิสต์แล้วครับ



Mark Knopfler – Privateering
ในวัย 63 ปี คุณลุงมาร์ค นอฟเลอร์ยังคงไว้ลายความเป็นตำนานด้วยอัลบั้มคู่ที่พาเราขับรถคันเก่าเดินทางไกลไปตามไฮเวย์แห่ง Roots Music แวะเวียนไปเยี่ยมเยียนแนวดนตรีหลากหลายที่เป็นเพื่อนบ้านกันทั้งบลูส์ โฟล์ค คันทรี เซลติก และร็อค บนโปรดักชันเนียนเนี้ยบ อิ่มอุ่นละเมียดละไม และที่ลืมไม่ได้คือฝีมือกีตาร์ของลุงมาร์คที่แม้จะไม่หวือหวา แต่เฉียบคมทุกตัวโน้ต คงจะไม่เกินไปนักหากจะเปรียบเทียบเขาเป็นไวน์ชั้นเลิศ ที่ยิ่งเก่าก็ยิ่งมีรสชาติโอชามากขึ้นเท่านั้น



Crystal Castles - (III)
สำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องที่น่าดีใจทีเดียวที่คู่หู Alice Glass กับ Ethan Kath เดินทางเข้าไปสู่วังวนแห่งอีเลกทรอนิกส์ที่มืดมน พิศวง และชั่วร้ายมากขึ้น แม้ความโดดเด้งแสบสันต์จากสองชุดก่อนจะหายไปมาก แต่มันก็แทนที่ด้วยบรรยากาศและท่วงทำนองอันเย็นชา ลอยละล่อง และยังล้ำลึกมากขึ้น จนพอจะคืบใกล้งานกลุ่มลัทธิ Witch House เข้าไปทุกทีแล้ว



Ultravox – Brilliant
นี่คือการกลับมาทำงานร่วมกันเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปีของคลาสสิคไลน์อัพ อันประกอบไปด้วย Midge Ure, Billy Currie, Warren Cann และ Chris Cross ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่พวกเขาทำก็คือการกลับไปเล่นดนตรีนิวเวฟ/ซินธ์ป๊อปตามแบบฉบับงานสร้างชื่อของพวกเขาในยุค 80s เป๊ะๆ ทั้งเรื่องจังหวะจะโคนหอันนักแน่นและท่วงทำนองอันหรูหราเป็นเอกลักษณ์ ชนิดที่สามารถเปิดฟังต่อจากอัลบั้ม Lament เมื่อปี 1984 ได้แบบเนียนๆเลยทีเดียว แน่นอนว่างานชุดนี้คงไม่มีอะไรใหม่ แต่สำหรับแฟนเดนตายของ Ultravox แล้ว นี่คือสิ่งที่น่าประทับใจที่สุดแล้วไม่ใช่หรือ



Fire! with Oren Ambarchi - In The Mouth - A Hand
หลังจากที่ร่วมงานกับยอดคนอย่าง Jim O’Rourke มาแล้วเมื่อปีก่อน กลับมาคราวนี้ วงทริโอฟรีแจ๊สที่นำโดยมือแซ็กโซโฟน Mats Gustafsson ก็ไปเชื้อเชิญมือกีตาร์สายทดลองอย่าง Oren Ambarchi มาร่วมสังฆกรรมในครั้งนี้ได้คือ และผลที่ได้ก็คือการแจมดนตรีฟรีแจ๊สอันสับสนอลหม่านไปพร้อมกับกีตาร์บวกนานาเอฟเฟคต์ที่เล่นมาแบบไม่ยอมกัน นี่คือยาขมแน่นอนสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย แต่แฟนๆดนตรีทดลองก็คงจะเข้าใจดีว่างานนี้มันอร่อยเด็ดเพียงใด 



Seirom – 1973
เดี๋ยวนี้งานแบล็คเมทัลทดลองแปลกๆนี่มีออกมาเยอะมากครับ ออกจะเยอะเกินไปด้วยซ้ำ เพราะมีหลายศิลปินเหมือนกันที่ยังทำงานได้ไม่ลึกซึ้งเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่สำหรับนาย Maurice De Jong จากแดนกังหันลมผู้นี้ กับการทำอัลบั้มแผ่นคู่ที่ให้ครึ่งแรกเป็นดนตรีแอมเบียนท์โพ้นอวกาศ ซึ่งเขาก็สร้างบรรยากาศออกมาได้หนาแน่นและหลอนเอาการ ขณะที่ในแผ่นสองจะเริ่มมีการใช้จังหวะกลองแบบแบล็คเมทัล (กลองโปรแกรม) มากขึ้น แต่มันก็ยังถูกกลบด้วยความฟุ้งของซาวนด์แอมเบียนท์ ชูเกส และแซมปลิ้งต่างๆ กลายเป็นบรรยากาศกึ่งจริงกึ่งฝันอันชวนผวา แต่ก็น่าค้นหาในเวลาเดียวกัน



Vanessa Rossetto – Exotic Exit
อันนี้เป็นงานกลุ่ม Music Concrete/Electroacoustic นะครับ ส่วนใหญ่เสียงต่างๆในชุดนี้ก็จะมาจาก Field Recordings แทบทั้งนั้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องชมว่าศิลปินเขาเอาเสียงต่างๆมาตัดแปะเข้ากันแล้วได้บรรยากาศแห้งแล้ง ไม่น่าไว้วางใจ แถมยังตื่นเต้นชวนลุ้นดีมาก แม้แต่ละแทร็คจะค่อนข้างยาว แต่การฟังอัลบั้มนี้ก็ไม่เคยเป็นความน่าเบื่อเลย



Sutekh Hexen - Larvae / Behind the Throne
แม้จะพะยี่ห้อว่าเป็นแบล็คเมทัล แต่จริงๆแล้วดนตรีของ Sutekh Hexen ในสองชุดนี้น่าจะเป็น Dark Ambient/Drone/Noise สัก 95% ได้ ซึ่งงานนี้ก็รับประกันได้เรื่องความหม่นหลอนและสยองขวัญ โดยชุดแรกนั้นออกจะทดลองมากกว่าหน่อย ส่วนชุดหลังนั้นอัดโดรน/ดาร์กแอมเบียนท์กันยาวๆครับ



Sun Araw & M. Geddes Gengras Meet The Congos – Icon Give Thank
โดยปกตินาย Sun Araw (หรือชื่อจริงว่า Cameron Stallones) ก็คุ้นเคยกับการทำดนตรีไซคีเดลิกที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือโซนคอนคาเคฟอยู่แล้ว มาคราวนี้พี่เขาขอลองชักชวนศิลปินสายแอมเบียนท์/อีเลกทรอนิกส์ M. Geddes Gengras ข้ามฟากไปร่วมงานกับ The Congos ศิลปินเรกเก้ในตำนานจากจาเมก้า จนได้ออกมาเป็นผลงาน Dub สุดดีดเด้งอันอุดมไปด้วยอารมณ์แบบไซคีเดลิก ชนิดที่ไม่ต้องปุ๊นกัญชาก็ลอยสูงเสียดยอดต้นมะพร้าวได้แล้ว



EUS, Postdrome & Saåad – Sustained Layers
การพบกันของสามศิลปินแอมเบียนท์ที่ไม่มีอะไรมากไปกว่าการช่วยกันสร้างสรรค์เลเยอร์ของดนตรีแอมเบียนท์ให้หนาแน่นและล้ำลึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยแต่ละคนก็นำสิ่งที่ตัวเองถนัดทั้ง Dark Ambient, Drone และ White Noise มาร่วมสังวาสกันจนกลายเป็นงานชิ้นเยี่ยมในที่สุด



Burial – Street Halo / Kindred
คงไม่ต้องพูดอะไรมากถึงความสามารถของเจ้าพ่อ UK Garage/Future Garage คนนี้ และนี่ก็เป็นการรวบรวมสองอีพีชิ้นเยี่ยมของเขาเอาไว้ ซึ่งมันก็ยังคงเป็นดนตรีอีเลกทรอนิกส์ให้บรรยากาศยามค่ำคืนในเมืองใหญ่ใต้ป่าคอนกรีตที่เต็มไปด้วยซอกลืบมืดและเรื่องราวกิจกรรมยามราตรีที่ซุกซ่อนไว้ได้อย่างครบถ้วน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2013 | 03:11:21 PM โดย 1 i 1 i v m » บันทึกการเข้า


Stay cheap, praise the explicit, embrace the scuzz, be true to art and yourself, eat shit, keep music evil.
lilivm's self-indulgence: https://rateyourmusic.com/~potatahtapapoh
ǝɹoɔǝsıɐuuoʎɐɯʎɹbuɐ
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 8547


nagoya_mega_snake@windowslive.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 22 มกราคม 2013 | 03:23:13 PM »

อันนี้ลิสต์เมทัลนะครับ

Lilium's 20 Favorite Albums of 2012 (Metal)



Abominable Putridity - The Anomalies of Artificial Origin
บรูทัลเดธไฟแรงเลือดรัสเซียที่กลับมาพร้อมกับดนตรีสแลมอันเนี้ยบนิ้ง สะอาดหูกว่าที่เคย ฟังเพลินไร้รอยต่อตั้งแต่ต้นจนจบ อีกทั้งยังได้จอมสำรอกเลือดระดับตำนานของ Matti Way มาสังฆกรรมด้วย นอกจากนี้ปกอัลบั้มฝีมือ Par Olofsson ยังงดงามเกินห้ามใจ แบบนี้จะไม่ให้เป็นสุดยอดอัลบั้มแห่งปีนี้ได้อย่างไรกัน  



Gnaw Their Tongues - Eschatological Scatology
หากใครที่เคยติดตามโปรเจคต์ของนาย Mories คนนี้มาก่อน ก็คงจะคุ้นเคยกันดีกับดนตรี Black Noise/Ambient สุดสยองที่ทำเอาขนลุกเกรียวได้ทุกครั้งที่ฟัง แต่คราวนี้มันกลับมาแปลกด้วยการทำเพลงแบล็คเมทัลเน้นๆ กลองโปรแกรมอัดรัว แต่ก็ยังมีซาวนด์บรรยากาศชวนสะพรึงคอยหลอกหลอนอยู่ตลอด ยิ่งไปกว่านั้น การบันทึกเสียงแบบโลไฟยิ่งทำให้อัลบั้มนี้ฟังดูเข้มข้นและชั่วร้ายขึ้นมาก ซึ่งก็พอจะสรุปได้ว่าไม่ว่า Mories จะทำเพลงแบบใหน มันก็ยังเขย่าขวัญคุณได้เช่นเดิม



Devour the Unborn - Consuming the Morgue Remains
แม้จะเป็นผลงานเปิดตัวชุดแรก แต่ขุนพลบรูทัลจากเท็กซัสกลุ่มนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ด้วยความยึดมั่นในอุดมการณ์การเล่นสแลมเดธจังหวะเรียบง่าย นวดคลึงไปเรื่อยๆแทบจะทั้งอัลบั้ม ไม่มีลูกโซโล่เด็ดๆหรือเทคนิคแพรวพราวใดๆให้ได้ยิน แต่ก็ฟังเมามันถึงใจคอสแลมเป็นที่สุด



Begging For Incest – Orgasmic Selfmutilation
เช่นเดียวกับงานชุดข้างบน อัลบั้มชุดนี้มีทุกอย่างที่คนเกลียดสแลมจะเกลียดเข้าไส้ และมีทุกอย่างที่คอสแลมจะรักจนถึงตายเช่นกัน ความโหดเถื่อนรากเลือดและฝีมืออันเหนือชั้นไม่ใช่จุดขายของงานนี้ จะมีก็แต่โครงสร้างดนตรีอันเรียบง่ายตรงไปตรงมาที่ฟังแล้วสามารถโยกหัวตามได้อย่างไม่รู้เหนื่อยเท่านั้น



Epicardiectomy - Abhorrent Stench of Posthumous Gastrorectal Desecration
ระหว่างที่รออัลบั้มใหม่ของ Cephalotripsy ที่ไม่ยอมออกสักที อัลบั้มชุดแรกของทริโอบรูทัลเลอร์วงนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่ใช้ฟังแก้ขัดได้ดี ตั้งแต่ปกอัลบั้มที่มาแนวเดียวกันเป๊ะ บทเพลงสแลมบรูทัลชนิดเหนียวหนืดราวกับกาละแมยัดไส้กาวตราช้างที่มาพร้อมริฟฟ์หนักๆทื่อๆเหมือนค่อยๆหั่นด้วยมีดที่ไม่ได้ลับ ทั้งหมดนั้นช่วยสร้างบรรยากาศเหม็นเน่าได้ใจไม่แพ้อัลบั้มของ Cephalotripsy อันเป็นสุดที่รักเลยทีเดียว



Stoma - The Glorification of Sexual Depravation
ช่วงเวลาเจ็ดปีที่ห่างหายไปจากการออกอัลบั้มเต็ม ไม่ได้ทำให้กอร์ไกรนด์สี่ชิ้นจากแดนกังหันลมวงนี้ทำงานต่ำกว่ามาตรฐานไปเลย งานชุดนี้อาจจะไม่หนักโหดหรือกดดันชวนอ้วกขนาดกอร์ต้นตำรับ แต่ความมันแบบเน้นๆก็เป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้งานของ Stoma ฟังได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ



Inopexia - Myocardical Biopsy Had a Lethal Outcome
อีกหนึ่งงานเด็ดจากรัสเซียที่น่าจะทำให้เหล่ากอร์เฮดน้ำแตกด้วยความสะใจเป็นแน่แท้ เวลา 21 นาที กับ 33 เพลงในชุดนี้ พวกมันใส่เกียร์ห้าเดินหน้าถล่มด้วยความเถื่อนสถุลอันสุดหฤหรรษ์แบบต่อเนื่องทั้งชุด เสียงบลาสต์สแนร์กระป๋องกระแป๋ง ผสานเสียงร้องสำรอกแบบอาจมท่วมปาก คือส่วนผสมที่บริโภคได้อย่างเอร็ดอร่อยราวกับอาหารจานเลิศก็มิปาน



7H Target - Fast-Slow Demolition
รัสเซียนสแลมเดธวงนี้ได้ใจผมไปเต็มๆด้วยการทำเพลงบนคอนเซปต์ภาพยนตร์ไซเบอร์พังค์สยองชวัญสุดคัลท์ที่ผมโปรดปรานอย่าง Tetsuo: The Iron Man ไม่เพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น พวกมันยังตั้งใจเลือกเสียงกลองป๋องแป๋งเหมือนหวดโลหะ สร้างจังหวะสแลมพิลึกๆ และแทรกซาวนด์สังเคราะห์และแซมปลิงเข้ามาได้อย่างเฉียบ จนฟังแล้วรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในหนังโดยที่ไม่ต้องดูภาพเลย



Animals Killing People & Andromorphus Rexalia - Phylum Morph-Apokalupsis (Split)
นี่คือการจับมือกันเพื่อร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ของเหล่าสัตว์อันเคียดแค้นที่กลายพันธุ์มาบริโภคเนื้อคน และเหล่าเอเลี่ยนกระหายเลือดที่มองมนุษย์ไม่ต่างจากผักปลา ซึ่งดนตรีที่พวกมันนำเสนอก็เป็นบรูทัลเดธชนิดอภิมหาโกลาหล เดินหน้าถล่มแบบไร้ความปราณีใดๆทั้งปวง งานนี้คอซาดิสต์น่าจะถูกใจเป็นบ้ากันเลยทีเดียว



Witchrist – The Grand Tormentor
โคตรอัลบั้มแบล็ค/เดธแห่งปีที่ไม่จำเป็นต้องดาหน้าอัดด้วยความเร็วสูง ในทางกลับกัน ความหม่นหนืดของอัลบั้มชุดนี้มันยิ่งเพิ่มพูนความกดดันให้ดนตรีที่หนักกบาลอยู่แล้วยิ่งทวีความขลังข้นคลั่กเข้าไปอีก นอกจากนี้ ใครจะไปคิดเล่าว่าเรื่องราวมหากาพย์รามเกียรติ์ที่เราชาวไทยรู้จักกันดีมันจะเข้ากับดนตรีแบบนี้ได้อย่างลงตัวชะมัด



Septic Autopsy & Hydropneumothorax - Chronic DIsseases Examiners (Split)
งานสปลิทกอร์ไกรนด์กลองโปรแกรมอร่อยลิ้นตั้งแต่หน้าปกยันเนื้อใน เป็นการจับคู่ระหว่างสองวันแมนแบนด์ที่เข้ากันกลมกลืนดี สำหรับคนที่ไม่ใช่คอแนวนี้ นี่ก็คืองานขยะดีๆนี่เอง แต่แฟนๆของวงไซเบอร์กอร์อย่าง Lymphatic Phlegm หรือCatasexual Urge Motivation ก็คงจะเข้าใจดีว่างานชิ้นนี้มันเลิศรสเพียงใด



Hydrocele – EP 1 & 2
ไซด์โปรเจคต์สายกอร์นอยส์ของสมาชิกวง Sacrococcygeal Teratoma และ Purulent Jacuzzi ที่เชื่อว่าน่าจะได้อิทธิพลจาก Last Days of Humanity มาไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการบลาสต์สแนร์กระป๋องเร็วจี๋แบบระนาบเดียวทั้งชุด บวกกับเสียงสำรอกชักโครกสุดเน่าเฟะ นี่คืองานดนตรีสำหนับกอร์เฮดเฉพาะกลุ่มจริงๆ



Meatus - The Triumphal Chariot of Antimony
ดิบ ดิบ แล้วก็ดิบชนิดพยาธิตัวตืดไต่ชอนไชยั้วเยี้ยจริงๆ สำหรับงานของกอร์ไกรนเดอร์จากแดนเมเปิ้ลที่คงอุดมการณ์การอัดเสียงดิบหยาบแบบ Rehearsal และยังมีกลิ่นอายความเป็นน้อยส์คอร์เจืออยู่ด้วย งานนี้ใครที่ชอบงานเนี้ยบนิ้งคงต้องรีบถอยห่างหรือเขวี้ยงทิ้งถังขยะลงโดยพลันเลยทีเดียว  



Sexcrement - Sloppy Seconds
การกลับมาอีกครั้งของเดธเมทัลพันธุ์แปลกที่กล้าบอกว่าตัวเองได้อิทธิพลมาจาก Cannibal Corpse, Skinless, Kiss และ Motley Crue!!?  ซึ่งจริงๆมันก็เป็นไปตามนั้นแหละ เพราะเดธเมทัลในแบบของพวกมันมีกรูฟสนุกๆเต็มไปหมด เหมาะเปิดในงานปาร์ตี้เป็นยิ่งนัก แต่อย่างไรพวกมันก็มีชั้นเชิงทางดนตรีมากพอตัว ทำให้งานชุดนี้ฟังดูมีเนื้อมีหนัง ไม่ได้กลวงโบ๋ไร้สาระไปซะเดียว



Dehumanized - Controlled Elite
เมื่อปี 1998 อัลบั้ม Prophecy Foretold ของพวกเขาจัดเป็นผลงานอันเดอร์กราวด์นิวยอร์คบรูทัลระดับขึ้นหิ้งชุดหนึ่งที่เดธเมทัลเฮดควรขวนขวายหามาฟัง หลังจากนั้น 14 ปีผ่านไปพวกเขาก็กลับมาอีกครั้งอย่างเหลือเชื่อกับอัลบั้มเต็มลำดับที่สองที่แม้จะไม่มีอะไรแปลกใหม่ แถมไลน์อัพยังเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ความโหดคลาสสิคแบบนิวยอร์คสไตล์นั้นยังมีอยู่ครบถ้วน เลือด ตับ ไต เครื่องใน ไม่ต้องเยอะ แต่ยิ่งฟังก็ยิ่งมันน่ะชุดนี้



Hail Spirit Noir – Pneuma
นี่ก็เป็ยอีกหนึ่งวงแบล็คสุดสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างความแตกต่างจากความจำเจในกรอบของแนวดนตรีได้ แหละสำหรับวงนี้ พวกมันเลือกที่จะเอาดนตรีโปรเกรสสีฟร็อคและไซคีเดลิกแบบต้นยุค 70s แท้ๆมาผสมอย่างไม่เคอะเขิน และได้อารมณ์แบบวงยุคนั้นจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงพยายามทำเหมือน ชนิดที่สามารถเรียกว่าเป็นวง Procol Harum, The Doors หรือ Atomic Rooster เวอร์ชันโดนซาตานเข้าสิงก็ไม่ผิดนัก



Thy Art is Murder – Hate
นี่คือตัวอย่างของวงเดธคอร์ที่ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมแบบปฏิเสธไม่ลงเลยทีเดียว ความโหดนั้นอยู่ในระดับที่น่าดูชม ส่วนภาคเทคนิคก็ใส่เข้ามาได้อย่างน่าฟัง ไม่ล้น ไม่แหว่ง ท่อนเบรคดาวน์ก็มาแบบเนียนๆ รู้จักพอประมาณ ฟังไม่เสียอารมณ์เลย ทำให้รู้สึกว่า เออ ไอ้พวกนี้มันเขียนเพลงได้ดีนะ จริงๆฝีมือขนาดนี้ ผมว่าพวกมันน่าจะดังกว่านี้ได้อีกมากเลย



Hacktivist – Hacktivist EP
สองสามปีให้หลังมานี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดนตรี Djent นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นผิดหูผิดตา มีวงหน้าใหม่ผุดขึ้นมาเต็มไปหมด ดังนั้นวงที่จะอยู่รอดหรือถีบตัวมาเป็นที่รู้จักได้ก็ต้องรู้จักสร้างความแตกต่างแบบ Hacktivist นี่แหละ ที่ฉลาดเอาสองแรปเปอร์มาฝอยน้ำลายโชกบนกรูฟโยกๆที่มีทั้งเทคนิคซับซ้อนและซาวนด์บรรยากาศลอยละล่อง ฟังแล้วก็อดอุทานไม่ได้ว่า แม่งเท่โคตรๆเลยว่ะ!



Katatonia – Dead End Kings
ยอมรับว่าตอนแรกไม่คิดจะใส่อัลบั้มนี้เข้ามาเลยด้วยซ้ำ เพราะรู้สึกว่าจับจุดเด่นอะไรไม่ได้ และไม่ค่อยมีเพลงติดหู แต่เมื่อยิ่งฟังนานเข้าๆก็ยิ่งเข้าถึงอัลบั้มนี้มากขึ้น เริ่มเห็นจุดเด่นในการเรียบเรียงดนตรีอันประณีตและลึกซึ้งกว่าที่เคย เป็นการต่อยอดจากร็อคหดหู่ไปสู่เส้นทางสายโปรเกรสสีฟอย่างสง่าผ่าเผย และปัจจุบันผมก็ตกหลุมรักอัลบั้มนีเข้าเต็มๆซะแล้ว



Circus Maximus – Nine
ในอัลบั้มเต็มชุดที่สามนี้ ขุนพลโปรเกรสสีฟเมทัลจากนอร์เวย์กลุ่มนี้ก็ได้ยืนยันให้เราเห็นว่าพวกเขามีดีกว่าเป็นวงที่คอยแต่ลอกเลียนแนวทางดนตรีของ Dream Theater ไปวันๆ ซึ่งแน่นอนว่ากลิ่นอายแบบ DT ยังคงมีอยู่ แต่พวกเขาก็ฉลาดพอที่จะใส่บทเพลงแบบเมโลดิกเมทัลที่สั้นกระชับและติดหูเป็นอย่างยิ่งเข้าไปเพื่อสร้างความแตกต่างและความอ่อนหวานให้กับบทเพลง นอกจากนี้พวกเขายังมีทีเด็ดที่เสียงร้องของ Michael Eriksen ที่ทั้งไพเราะและมีมิติ และตอนนี้ผมก็ชอบอัลบั้มนี้มากกว่าผลงานหลายๆชุดของ DT แล้วครับ  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2013 | 09:01:12 PM โดย 1 i 1 i v m » บันทึกการเข้า


Stay cheap, praise the explicit, embrace the scuzz, be true to art and yourself, eat shit, keep music evil.
lilivm's self-indulgence: https://rateyourmusic.com/~potatahtapapoh
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 22 มกราคม 2013 | 03:23:52 PM »



Of Monsters and Men – My Head Is an Animal
อัลบั้มแรกของวง Indie Folk Pop จาก Iceland ที่พร้อมไปด้วย Harmony แน่นหนา สำเนียง Folk Pop ร่วมสมัย ฟังเพลินตั้งแต่ต้นจนจบ ยากที่จะหยุดฟังไปจนจบได้ สิ่งที่อาจทำให้พลาดโอกาสที่จะได้ฟังอัลบั้มนี้ ก็คือภาพที่มีการเก็บการวางท่าประหลาดๆบนปกอัลบั้ม ที่ไม่ได้เชื่อเชิญให้ฟังเท่าไรเลย

แต่ก็ยังดูมีเอกลักษณ์กว่า ปกที่ออกในครั้งแรกอยู่บ้าง

บันทึกการเข้า

panyarak
The Snow Goose
**********
กระทู้: 9716



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: 24 มกราคม 2013 | 12:09:46 PM »

แวะมาลงครับ เอาลิสต์ non-metal ก่อนละกัน



Philip Glass – Rework_ (Remixes)
คงไม่เกินไปนักหากจะบอกว่านักประพันธ์สายมินิมอลลิสต์คนนี้คือหนึ่งในนักประพันธ์ที่ทรงอิทธิพลและสมควรได้รับการยกย่องมากที่สุดแห่งศตวรรษ จะเรียกว่าเป็นตำนานที่มีชีวิตก็ว่าได้ แล้วคิดดูว่ามันจะสุดยอดขนาดใหนถ้าได้นักดนตรีอีเลกทรอนิกส์ระดับอ๋องอย่าง Amon Tobin, Dan Deacon, Memory Tapes, Pantha Du Prince, Peter Broaderick, Tyondai Nraxton หรือแม้แต่ Beck มาร่วมกันลงมือลงไม้รีมิกซ์เพลงของ Glass กันอย่างสุดฝีมือในอัลบั้มชุดนี้


+100 ครับ
บันทึกการเข้า

喜 ? 多 ? 郎
Tubular Bells
****
กระทู้: 883



ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2013 | 09:40:51 PM »

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=-6ePQ6hE_1o" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=-6ePQ6hE_1o</a>
มาแนว Bjork เลยนะครับ

ครับผม แต่ก็.........ไม่ทราบเหมือนกัน พี่ว่ายังไง ผมก็ว่าตามนั้น  ยิงฟันยิ้ม (ไม่รู้จักเพลง Bjork เลยสักกะเพลง)  ตกใจ เคยแต่ได้ยินได้ฟังว่า "เธอดังมาก"
บันทึกการเข้า

喜 ? 多 ? 郎
Tubular Bells
****
กระทู้: 883



ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2013 | 09:54:21 PM »

ปี 2012 ผมปลื้มเพลงนี้ที่สุดครับ  ยิ้มเท่ห์

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=i_1fUlrx_Pc" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=i_1fUlrx_Pc</a>
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2]
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery