Thai Progressive Rock Community

ThaiProg => Keep Talking => ข้อความที่เริ่มโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 27 ตุลาคม 2021 | 11:13:50 AM



หัวข้อ: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 27 ตุลาคม 2021 | 11:13:50 AM
เรื่องที่ (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock มีภาคหนึ่งไปแล้ว กับ 25 อัลบั้มทีเด็ด ซึ่งผมได้ตะเกียกตะกายแปลและเรียบเรียงมานำเสนอแก้เบื่อ หลายครั้งที่แปลไปก็มึนตึ้บไปด้วยความงุนงงว่า ผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไร แต่ก็ดันจนได้ครบทั้ง 25 อัลบั้มแล้ว ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ ผิดถูกอย่างไรก็ขอพระอภัยมณีด้วยครับ ;D

http://www.thaiprog.net/webboard/index.php?topic=5984.0

และบัดนี้ขอตั้งกระทู้ทำนองเดียวกันนี้ไว้ โดยถือเป็นภาคสองก็แล้วกัน ซึ่งผมจะนำเสนอคำวิจารณ์อัลบั้ม progressive rock จากเว็บ www.vintageprog.com แต่คงจะไม่นำเสนอโดยทั้งหมด เอาเฉพาะที่ผมเคยฟังและหรือรู้จักแล้วก็พอ

คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่น เราอ่านหรือรับรู้ไว้บ้างพอเป็นไอเดียและหรือแนวทางในการทำความรู้จักหรือสัมผัสกับผลงานชุดหนึ่งชุดใด จงอย่าเชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูดหรือบอกทั้งหมด และควรจะใช้วิจารณญาณและดุลยพินิจโดยชอบของท่านเองในการตัดสินผลงานชุดนั้นครับ


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 10 พฤศจิกายน 2021 | 10:58:07 AM
"When the judgement of history comes in 3-400 years, it's not the simplistic, shallow and worthless crap hyped by today's musically illiterate mainstream music critics that will be praised and remembered from the 20th century, but classic '70s progressive rock."

- Tommy Schönenberg, 2008

"อีก 300-400 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ตัดสินว่า ดนตรีซึ่งจะเป็นที่ยกย่องและจดจำนับแต่ศตวรรษที่ 20 ไปนั้น หาใช่สวะที่ง่ายเกินไป ไม่ลึกซึ้งและไร้ค่าซึ่งนักวิจารณ์ดนตรีกระแสหลักที่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวทางดนตรีทุกวันนี้ต่างพากันประโคมโหมสื่อให้เกินจริงกันไว้ไม่ แต่เป็นดนตรี progressive rock อมตะแห่งยุค 1970s ต่างหากที่จะได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำ"

- ทอมมี่ เชอเนนแบร์ก 2551

www.vintageprog.com


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 10 พฤศจิกายน 2021 | 11:20:55 AM
วจนะที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยเจ้าของเว็บอาจฟังดูเว่อร์หรือเกินจริงในสายตาของท่านผู้อ่านหลายคน แต่โดยความรู้สึกและทรรศนะส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับคำพูดนี้ แม้ในกาลข้างหน้า อาจจะไม่ถึงสามร้อยหรือสี่ร้อยปีก็ได้ ดนตรี progressive rock คลาสสิก โดยเฉพาะในยุค 1970s จะเป็นที่จดจำและยกย่องของคนฟังต่อไปอีกตราบนานเท่านาน

ทำไมผมถึงกล้าพูดเช่นนี้?

ที่กล้าพูดก็เพราะว่า สื่อดนตรีอย่างเช่นแผ่นเสียงของศิลปินและวงดนตรี progressive rock ชั้นนำ โดยเฉพาะอัลบั้มเด่น ๆ ดัง ๆ นั้น ซื้อขายเปลี่ยนมือกันรวดเร็วมากตามร้านค้าออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีคนเล่น คนเก็บ และคนสะสมดนตรี progressive rock อยู่ นี่เอาเฉพาะในบ้านเรานะครับ ถ้าเป็นทั่วโลกคงไม่ต้องพูดถึงกระมัง 5555 :D


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 11 พฤศจิกายน 2021 | 11:44:17 AM
ดนตรีคลาสสิก ดนตรี symphony orchestra โดยบรมครูคีตกวีทั้งหลาย ซึ่งเราได้ยินได้ฟังผ่าน ๆ หูกันทุกวันนี้ ล้วนมีอายุหลายร้อยปีด้วยกันทั้งนั้น แต่งกันไว้เมื่อ 200-300 ปีก่อน หรืออาจจะเก่ากว่านั้น ก็ยังทรงคุณค่าอยู่ในปัจจุบัน และเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของประเทศกำเนิดคีตกวีคนนั้น แล้วเหตุใดเล่าที่ดนตรี progressive rock ชั้นยอดซึ่งแต่งกันไว้เมื่อปลายศตวรรษที่ 20 (ก่อนปี 2000) จะไม่เป็นที่จดจำและกล่าวถึงในอีกนับร้อยปีข้างหน้า ตอนนี้ก็ผ่านมาได้เกินครึ่งศตวรรษแล้ว หากจะนับเอาผลงานเช่นชุด Pipers At The Gate of Dawn ของ Pink Floyd และ Days Of Future Passed ของ The Moody Blues ซึ่งออกเมื่อปี 1967 เป็นตัวตั้ง อายุของ progressive rock ตอนนี้ก็ 54 ปีแล้วครับท่าน 5555


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 29 มิถุนายน 2022 | 10:20:13 AM
The Moody Blues - Days Of Future Passed (Deram, 1967)

(http://vintageprog.com/mood1.jpg)

Yes, I know they're not the most complex band but their influence on progressive rock (and especially the symphonic part of it) is highly underrated. They were one of the first bands to play rock with a symphonic sound, and they were in fact the very first band to use the holy Mellotron. So actually, every band who uses a Mellotron is influenced by the Moodies, like it or not! They originally started as a normal pop-band, but they turned into a symphonic band when Justin Hayward and John Lodge joined them. "Days..." is by some people considered to be the very first progressive album and I agree completely. The album has a concept that tells about a day in the life of an average man. It was also the first attempt of mixing a classical orchestra (The London Festival Orchestra) with a rock band. They failed to melt the orchestra together with the rock band (the orchestra and the Moodies rarely played together at the same time), but the album was saved by the good and inspired songwriting. "Nights in White Satin" (the Moodies' signature tune) and "Tuesday Afternoon" are the best known tracks here, and very typical for the classic Moody Blues sound. Melancholic, emotional and beautiful melodies played with tasty arrangements that included Mellotron, flute and high vocal-harmonies. Each of the band members usually contributed with 2-3 songs on each album. Justin Hayward is responsible for most of the best-known songs, but all of the members are talented songwriters. Overall, this is a amusing album with both historical and musical value. Important stuff for everyone who wants to explore the roots of symphonic rock.

ผู้เขียนทราบว่า The Moody Blues ไม่ใช่วงที่เล่นดนตรีได้ซับซ้อนที่สุด แต่อิทธิพลที่พวกเขามีต่อดนตรี progressive rock (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็น symphonic progressive) นั้น มีคุณค่าสูงแต่ถูกประเมินค่าต่ำมาก เพราะพวกเขาเป็นวงหนึ่งในวงยุคแรก ๆ ที่เล่นเพลงร็อคด้วยสำเนียง symphonic และอันที่จริงพวกเขาก็เป็นวงแรกทีเดียวที่ใช้เมลโลทรอน (mellotron) อันเป็นเครื่องดนตรีสุดขลังแห่งโลกดนตรี progressive ด้วย โดยแท้จริงวงดนตรีทุกวงที่ใช้ mellotron ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจาก The Moody Blues ทั้งสิ้น -- ไม่ว่าท่านจะชอบข้อเท็จจริงข้อนี้หรือไม่ก็ตาม -- เดิมที The Moody Blues เริ่มจากการเป็นวงดนตรีพ็อพธรรมดาทั่วไปวงหนึ่ง แต่หันเหไปเป็นวง symphonic เมื่อ จัสติน เฮย์เวิร์ด (Justin Hayward) และจอห์น ลอดจ์ (John Lodge) เข้าร่วมวง บางคนเห็นว่า Days Of Future Passed เป็นอัลบั้ม progressive ชุดแรกสุดเลยทีเดียว และผู้เขีบนก็เห็นด้วยโดยสิ้นเชิง ผลงานชุดนี้เป็น concept album ซึ่งเล่าเรื่องราวของชีวิตคนธรรมดาทั่วไปในวันหนึ่ง ๆ (แต่ในความเห็นของผู้แปลเรียบเรียงแล้ว เป็น concept ที่ตีความได้กว้างครอบคลุมไปถึงชีวิตคนตลอดทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชราเลยทีเดียว) นอกจากนี้ อัลบั้มยังเป็นความพยายามครั้งแรกในการนำดนตรีออร์เคสตร้าคลาสสิก (The London Festival Orchestra) เข้าผสมผสานกับวงร็อค ซึ่งในการหล่อหลอมวงออร์เคสตร้าเข้ากับวงร็อคนั้น พวกเขาประสบความล้มเหลว (วงออร์เคสตร้ากับ The Moody Blues แทบไม่ได้เล่นร่วมกันในเวลาเดียวกันเลย) แต่อัลบั้มรอดตัวมาได้ก็เพราะการเขียนเพลงที่ดีและมีที่มาที่ไป Nights In White Satin (ซึ่งเป็นเพลงเก่งหรือเพลงประจำตัวของ The Moody Blues) และ Tuesday Afternoon เป็นเพลงที่รู้จักกันดีในอัลบั้มชุดนี้ และเป็นสุดยอดแบบฉบับสำเนียงคลาสสิกของ The Moody Blues เมโลดี้ที่เศร้าสร้อย เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก และบรรเจิดสวยงาม เล่นเป็นเพลงโดยมีการเรียบเรียงที่มีรสชาติ รวมไปถึงการใช้ mellotron ฟลุท และการประสานเสียงคีย์สูง สมาชิกวงแต่ละคนมักจะมีส่วนร่วม 2-3 เพลงในแต่ละอัลบั้ม Justin Hayward เป็นเจ้าของเพลงที่รู้จักกันมากที่สุดเป็นส่วนใหญ่ แต่สมาชิกทุกคนก็เป็นนักแต่งเพลงที่มีความสามารถ โดยรวมแล้ว เป็นผลงานที่ฟังสนุกซึ่งมีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และดนตรี เป็นของสำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการสำรวจรากเหง้าแห่งดนตรี symphonic rock

เครดิตข้อมูลภาษาอังกฤษและรูปภาพ http://vintageprog.com/


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 30 มิถุนายน 2022 | 01:13:14 PM
ข้อมูลจาก Wikipedia

Days of Future Passed is the second album and first concept album by English prog rock band The Moody Blues, released in November 1967 by Deram Records. With its fusion of orchestral and rock elements, it has been cited as one of the first examples of progressive rock.

คำแปล

Days of Future Passed เป็นอัลบั้มชุดที่สองและเป็น concept album ชุดแรกของ The Moody Blues วง progressive rock อังกฤษ ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1967 (พ.ศ. 2510) โดย Deram Records โดยการนำองค์ประกอบของดนตรีออร์เคสตร้าและร็อคมาหล่อหลอมเข้าด้วยกัน จึงได้มีการยกผลงานชุดนี้ให้เป็นแบบอย่างดนตรี progressive rock ยุคแรก ๆ ชุดหนึ่ง

อัลบั้มชุดนี้ ถ้าถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน ปีนี้ (2565) ก็จะมีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับคนวัยกลางคนที่ล่วงเข้าวัยชรา ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะ content ในอัลบั้มก็บ่งบอกอยู่แล้วว่ามันเก่าและเก๋าลายคราม (vintage) ขนาดไหน

แผ่นเสียงออกวางจำหน่ายในตลาดอังกฤษเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 1967 แต่ออกวางจำหน่ายในอเมริกาช้ากว่าที่อังกฤษ 1 วัน คือ วันที่ 11 พ.ย. 1967 แหม... ช่างเป็นเลขที่สวยจริง ๆ เพราะเป็นเลขวันและเดือนเกิดของผมพอดี (ส่วนปีไม่ใช่ อยากรู้ให้เดาเอาเอง ;D) มิน่า ถึงได้ถูกชะตากับผลงานชุดนี้ยิ่งนัก ฟังไม่รู้กี่เที่ยวก็ไม่เคยเบื่อเสียทีครับ 5555 :D


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 05 กันยายน 2022 | 03:59:15 PM
Julian's Treatment - "A Time Before This" (Youngblood 1970)

(http://vintageprog.com/julian.jpg)

The first and only album (a double one) by this band is a lost and overlooked treasure from the British progressive rock scene of the early 70's. The band was lead by organ-player and sci-fi writer Julian Savarin, who wrote all the lyrics and music. The album had a very ambitious concept about a man from Earth who comes to the planet Alkon where he meets a female-creature named Altarra (the Earth had obviously been destroyed before this happened!). The whole story and album is divided into 12 chapters (songs), none of them are bad. Although the songs usually aren't all that long, they have a fair amount of time-changes and different parts that will keep any progressive listener satisfied. The sound is very dominated by the excellent and sometimes spacey organ playing of Savarin who had a very tasty sound on his organ. But there's also some flute, vibes and guitar in addition to the bass and drum. Cathy Pruden sings all the vocals, and her clear female-vocals add some more distinctiveness to the music. Highlights includes "Black Tower", "Altarra", "Twin Suns of Centauri/Alkon, Planet of Centauri" and the instrumental themes "The Coming of the Mule" and "Terran". The concept of this album was originally intended to continue on two following albums, but the band did unfortunately disband before that happened (a fate quite similar to Mandalaband and their "The Eye of Wendor" project). But Savarin released a solo-album called "Waiters on the Dance" in 1973 that was the continuation of the story on "A Time Before This". I haven't heard that one, but I've been told that it is in a similar vein and just as good. I'm sure any lover of early 70's prog will enjoy "A Time Before This".

อัลบั้ม (แผ่นคู่) ชุดแรกและชุดเดียวของวงดนตรีวงนี้ ซึ่งเป็นสมบัติที่หายสาบสูญและถูกมองข้ามไปจากหน้าฉากดนตรี progressive rock ต้นยุค 1970s ผู้นำวงคือ Julian Savarin นักเล่นออร์แกนและนักประพันธ์นวนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนเนื้อร้องและดนตรีทั้งหมด อัลบั้มมีแนวคิดเพ้อฝันทะเยอทะยานเกี่ยวกับชายผู้เดินทางจากโลกสู่ดาวเคราะห์ Alkon ที่ซึ่งเขาได้พบสิ่งมีชีวิตผู้หญิงชื่อ Altarra (โดยก่อนที่เรื่องนี้จะเกิดขึ้น โลกได้ถูกทำลายไปแล้วอย่างเห็นได้ชัด) เรื่องทั้งหมดและตลอดทั้งอัลบั้มแบ่งออกเป็น 12 บท (เพลง) ซึ่งไม่มีบทใดหรือเพลงใดเลยที่ไม่ดี แม้โดยทั่วไปเพลงจะไม่ยาวนัก แต่ก็มีการเปลี่ยนจังหวะจะโคนในปริมาณพอควรและมีส่วนประกอบต่าง ๆ กันออกไป ซึ่งจะทำให้คนฟัง progressive พอใจ สำเนียงดนตรีอยู่ใต้อิทธิพลการเล่นออร์แกนที่ยอดเยี่ยมและบางครั้งออกแนวอวกาศของ Savarin ซึ่งเสียงออร์แกนของเขานั้นมีรสชาติมาก แต่ก็ยังมีเสียงฟลุท ไวบราโฟน กีตาร์ นอกเหนือจากเบสส์และกลองอีกด้วย Cathy Pruden เป็นผู้ให้เสียงร้องทุกเพลง และเสียงร้องของเธอเพิ่มความเด่นชัดให้กับดนตรี แทร็คที่เป็นไฮไลต์ได้แก่ Black Tower, Altarra, Twin Suns of Centauri/Alkon, Planet of Centauri และเพลงบรรเลง The Coming of the Mule และ Terran เดิมทีแนวคิดของอัลบั้มชุดนี้มุ่งหมายจะให้ดำเนินต่อเนื่องไปอีกสองอัลบั้ม แต่เสียดายที่วงแตกเสียก่อน (ซึ่งเป็นชะตากรรมคล้ายกับ Mandala Band และโครงการ The Eye of Wendor ของพวกเขา) แต่ Savarin ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ Waiters on the Dance เมื่อปี 1973 ซึ่งสานต่อเรื่องราวในอัลบั้มชุด A Time Before This ผู้เขียนยังไม่ได้ฟังอัลบั้ม Waiters on the Dance แต่ได้รับแจ้งว่าอัลบั้มดังกล่าวเป็นแนวเดียวกันและดีเสมอกัน ผู้เขียนเชื่อว่าคนรักคนชอบดนตรี prog ต้นยุค 1970s คงจะสนุกสนานกับผลงานชุด A Time Before This


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 05 กันยายน 2022 | 04:01:52 PM
อ่านเสริมเกี่ยวกับอัลบั้ม A Time Before This แถมด้วย Waiters On The Dance ซึ่งเม้นโดยปีศาจลายคราม ได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.thaiprog.net/webboard/index.php?topic=26.90


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 05 กันยายน 2022 | 04:07:31 PM
ข้อมูลเกี่ยวกับ Julian's Treatment (ภาษาอังกฤษ)

http://galacticramble.blogspot.com/2011/11/julians-treatment-mental-stimulative.html


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 07 กันยายน 2022 | 10:20:47 AM
ในเมื่อฝรั่งได้เม้น (คอมเมนต์) ไว้แล้ว ขอคนไทยอย่างปีศาจฯเม้นบ้างครับ อิ อิ ;D

1. A Time Before This (1970) ถือได้ว่าเป็นผลงานดนตรีแนว space rock ยุคแรก ๆ ผสมผสานกับ psychedelic ซึ่งเป็นแนวดนตรีที่นิยมกันในช่วงปลายยุค 1960s ถึงต้น 1970s

2. ดนตรีในอัลบั้มชุดนี้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (unique) ผมบอกไม่ถูกว่าฟังแล้วนึกถึงดนตรีของใครหรือวงใด ซึ่งตามปกติเมื่อเราฟังผลงานชุดใดชุดหนึ่ง เรามักจะนำไปเทียบกับผลงานของคนอื่นว่าคล้ายของคนนั้นหรือวงนั้น แต่ A Time Before This ไม่ทำให้ผมนึกถึงวงอื่นหรือศิลปินคนอื่นเลย อาจมีบ้างนิด ๆ ที่นึกถึงดนตรีของ The Moody Blues ช่วงปลายยุค 1960s ถึงแม้ปัจจุบันสำเนียงดนตรีโดยมากในอัลบั้มจะฟังดูเก่าและเชยไปบ้าง แต่ก็ยังพบความล้ำสมัยแฝงอยู่ในโทนของดนตรี ขอให้ท่านคิดดูก็แล้วกันครับว่าปัจจุบัน ปี 2022 อัลบั้มชุดนี้มีอายุ 52 ปีแล้ว ถ้าย้อนกลับไปในปีที่อัลบั้มนี้ออกเผยแพร่ใหม่ ๆ มันจะฟังดูล้ำสมัยขนาดไหน

3. เสียงออร์แกนของ Julian Jay Savarin ซึ่งออกแนวหลอน ๆ ก้องกังวาน และบางครั้งโหยหวนในผลงานชุดนี้เรียกได้ว่าเป็นพระเอกของงาน แต่สมาชิกวงคนอื่น ๆ ก็เล่นดนตรีได้ดีไม่แพ้กัน เช่น เสียงกีตาร์ที่หนักหน่วงและกราดเกรี้ยวและเสียงฟลุทที่วังเวงและลึกลับออกแนว psychedelic เล่นโดย Del Watkins, เบสส์ไลน์ที่แพรวพราวโดย John Dover และฝีมือเล่นกลองที่ไม่ธรรมดาของ Jack Drummond รวมไปถึงเสียงร้องที่ชัดเจนและทรงพลังของ Cathy Prudent ซึ่งเสริมให้ดนตรีโดดเด่นขึ้นไปอีก สรุปว่าสมาชิกทุกคนในวงนี้ฝีมือเยี่ยม แต่เสียดายมากที่เป็นวงอายุสั้น เพราะหลังจากออกอัลบั้มชุดนี้ก็แตกวง ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากการโปรโมทที่ไม่ดีโดยฝ่ายบริหารของบริษัทเพลงในยุคนั้น และ Cathy Pruden นักร้องนำ เดินทางกลับประเทศออสเตรเลียเพื่อไปแต่งงานครับ

4. แผ่นเสียง original โดยตรา Youngblood ราคาแพงมาก แต่ยังพอมีแผ่นรีอิชชู่โดย See For Miles (แผ่นเดี่ยว) และ Guerssen (แผ่นคู่) ให้ซื้อหามาฟังได้ในราคาไม่แพงนัก หลีกเลี่ยงแผ่นอเมริการุ่นเก่า ซึ่งแม้ปกจะสวยงามในสไตล์แฟนตาซี แต่เพลงบางส่วนถูกตัดออก ไม่ครบครับ


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 07 กันยายน 2022 | 03:27:57 PM
Starcastle - "Fountains of Light" (Epic 1977)

(http://vintageprog.com/starc2.jpg)

The second Starcastle album and also their best. The songwriting is even better than on their great debut, and the production is also more powerful. The album delivers six delicious pieces of their VERY Yes-influenced symphonic progressive rock. The opening track "Fountains" is a 10-minute epic stuffed with powerful riffs, themes and their awesome vocal-harmonies (which sometimes actually surpassed Yes themselves!!). "Dawning of the Day", "Silver Winds" and "Diamond Song (Deep is the Light)" are all unbelievable catchy symphonic progressive rock tracks which just stucks in your head and refuses to get out of there! "True to the Light" and the acoustic "Portraits" are both more relaxed tracks with very beautiful melodies and instrumental sections dominated by the Wakeman-like moog sounds of Schildt who actually is the most dominant musician in Starcastle's sound. Even if they had two guitarists there's few or none guitar solos here and the guitars seems rather to be very integrated in the whole sound. Anyway, this is a classic of American 70's prog, high up there with albums like Kansas' "Leftoverture", Cathedral's "Stained Glass Stories", Yezda Urfa's "Sacred Baboon" and Mirthrandir's "For You the Old Women".

อัลบั้มชุดที่สองของ Starcastle และยังเป็นผลงานที่ดีที่สุดของ Starcastle อีกด้วย แม้การเขียนเพลงก็ยังดีกว่าในชุดแรกที่ว่ายอดเยี่ยมอยู่แล้ว อีกทั้งโปรดักชั่นก็เปี่ยมด้วยพลัง อัลบั้มส่งมอบหกผลงานเพลง symphonic progressive rock ที่แสนโอชะซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Yes มา "อย่างมากมาย" Fountains แทร็คเปิดอัลบั้ม เป็นเพลง epic ความยาว 10 นาที ซึ่งอัดแน่นไปด้วยริฟฟ์และธีมที่ทรงพลังตลอดจนการร้องประสานเสียงที่ยอดเยี่ยม (ซึ่งที่จริงบางทีจะเหนือกว่า Yes เองเสียด้วยซ้ำ) Dawning of the Day, Silver Winds และ Diamond Song (Deep Is the Light) ทุกเพลงล้วนเป็น symphonic progressive rock ที่ติดหูง่ายอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งจะติดอยู่ในหัวของท่านและไม่หลุดออกไป True to the Light และ Portraits ทั้งคู่เป็นแทร็คที่ผ่อนคลายขึ้นมาโดยมีเมโลดี้ที่ไพเราะมากและภาคบรรเลงเครื่องดนตรีปกคลุมด้วยเสียง moog ในแบบ Wakeman ของ Schildt ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นนักดนตรีผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในสำเนียงดนตรีของ Starcastle แม้จะมีมือกีตาร์สองคน แต่การโซโลกีตาร์ก็มีน้อยมากหรือไม่มีเลยในผลงานชุดนี้ และดูเหมือนเสียงกีตาร์จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเสียงโดยรวมทั้งหมด อย่างไรก็ดี นี้คือผลงานคลาสสิกของอเมริกัน progressive rock ยุค seventies ซึ่งขึ้นชั้นเทียบเท่าอัลบั้มอย่างเช่น Leftoverture ของ Kansas, Stained Glass Stories ของ Cathedral, Sacred Baboon ของ Yezda Urfa และ For You the Old Women ของ Mirthrandir


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 15 กันยายน 2022 | 09:20:25 AM
Pink Floyd - "The Dark Side of the Moon" (Harvest 1973)

(http://vintageprog.com/pink3.jpg)

It's almost impossible to not have heard this album if you have the slightest interest in rock music. "Dark Side of the Moon" is perhaps the most overplayed and overexposed album ever, and personally I'm so sick and tired of it that it's not easy for me to any longer judge its musical qualities. However, what I'm really sure about is that I've never cared much for "Money" as I think it's a boring and half-assed tune and a cheap attempt at making a hit-song. The rest of the album is far better, with tracks like "Breathe in the Air", "Us and Them" and "Brain Damage" defining the classic Pink Floyd-sound very well with their slow-paced and mellow vocal melodies. "Time" has always been my personal favourite on the record. And in between these songs the band also stretches out instrumentally on tracks like the experimental "On the Run" and the synth-drenched "Any Colour You Like". Personally I've always felt that Pink Floyd have made better and more progressive albums than this one, but it's impossible to deny the fact that it's their (and one of rock's) most successful records in terms of sales.

แม้ท่านจะมีความสนใจเพียงน้อยนิดในดนตรีร็อค ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เคยได้ยินได้ฟังอัลบั้มชุดนี้ บางที "Dark Side of the Moon" อาจเป็นอัลบั้มที่ถูกเปิดเล่นมากเกินไปและอวดตัวมากเกินไปอย่างที่สุดตลอดกาลเลยก็ว่าได้ และโดยส่วนตัว ผู้เขียนเหนื่อยหน่ายและเอียนกับอัลบั้มชุดนี้มากเสียจนกระทั่งหากจะให้ตัดสินคุณภาพด้านดนตรีของอัลบั้มอีกต่อไป ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเขา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนแน่ใจจริง ๆ ก็คือ เขาไม่เคยใส่ใจมากนักกับเพลง Money เพราะคิดว่าเป็นเพลงที่น่าเบื่อและไม่เต็มเต็ง และเป็นความพยายามที่จะทำเพลงฮิตสักเพลงโดยไม่ลงทุนมาก ส่วนเพลงที่เหลือในอัลบั้มนั้นดีกว่ากันมาก อย่างเช่น Breathe in the Air, Us and Them และ Brain Damage ซึ่งกำหนดเสียงในแบบ Pink Floyd ได้ดีมาก โดยมีจังหวะจะโคนที่เนิบนาบและเมโลดี้ของเสียงร้องที่ละมุนละม่อม Time เป็นเพลงโปรดของผู้เขียนอยู่เสมอมา และในระหว่างเพลงเหล่านี้วงยังได้ขยายการบรรเลงเครื่องดนตรีออกไปอีกด้วย อย่าง On the Run ซึ่งเป็นเพลงแนวทดลอง และ Any Colour You Like ซึ่งชุ่มโชกไปด้วยเสียงซินธ์ โดยส่วนตัว ผู้เขียนรู้สึกอยู่เสมอว่า Pink Floyd ได้ทำอัลบั้มที่ดีกว่าและ progressive กว่าชุดนี้มาแล้ว แต่ก็มิอาจปฏิเสธข้อเท็จจริงได้ว่าอัลบั้มชุดนี้เป็นแผ่นเสียงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ Pink Floyd (และเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดชุดหนึ่งของโลกดนตรีร็อค) ในด้านยอดขาย


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 20 กันยายน 2022 | 11:28:08 AM
Eloy - "Ocean" (Harvest 1977)

(http://vintageprog.com/eloy6.jpg)

This classic concept-album about the rise and fall of Atlantis is for many people (including me) Eloy's best work. The album consisted of four lengthy tracks where the band better than before had managed to combine their atmospheric sound with really strong themes and melodies. The opener "Poseidon's Creation" is one of Eloy's best tracks ever, stuffed with a heavy organ-riff, atmospheric moog themes, a melodic vocal-part and a very majestic end with a choir. "Incarnation of the Logos" has the usual sci-fi atmosphere of Eloy, with a beautiful instrumental theme in the middle. "Decay of the Logos" is a very dynamic track with lots of typical 70's German-sounding keyboards. The first part of the 16-minute "Atlantis Agony at June 5th - 8498, 13 p.m. Gregorian Earthtime"(!!!) sounds almost like Klaus Schulze with narration. The track builds up in the middle to yet another very powerful and majestic progressive tune. "Ocean" remains Eloy's finest moment, simply because it features some of their best material and atmosphere and they had managed to make something completely of their own that reminded of no other progressive rock band. Along with Novalis' "Sommerabend" and Gröbschnitt's "Rockpommel's Land" this is one of the essential symphonic progressive rock albums from Germany.

สำหรับหลายคน (รวมทั้งคนเขียน) คอนเส็พท์อัลบั้มคลาสสิกชุดนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและการล่มสลายของทวีปแอตแลนติส เป็นผลงานที่ดีที่สุดของ Eloy อัลบั้มมีสี่เพลงที่ค่อนข้างยาว ซึ่งวงได้สามารถผนวกเสียงที่มีบรรยากาศของตนเข้ากับธีมและเมโลดี้ที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงได้ดีกว่าแต่ก่อน Poseidon's Creation แทร็คเปิดอัลบั้ม เป็นเพลงที่ดีที่สุดตลอดกาลเพลงหนึ่งของ Eloy ซึ่งอัดแน่นไปด้วยเสียงริฟฟ์ออร์แกนที่หนักหน่วง ธีม moog ที่ได้บรรยากาศ ภาคเสียงร้องที่มีเมโลดี้ และปิดท้ายอย่างสง่างามยิ่งด้วยกลุ่มร้องประสานเสียง Incarnation of the Logos เป็นเพลงที่มีบรรยากาศไซไฟ (sci-fi) ตามปกติของ Eloy โดยมีธีมการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ไพเราะสวยงามในช่วงกลางเพลง Decay of the Logos เป็นเพลงที่มีไดนามิคมาก อุดมไปด้วยเสียงคีย์บอร์ดตามแบบฉบับของเยอรมันในยุค 1970s เพลง Atlantis Agony at June 5th - 8498, 13 p.m. Gregorian Earthtime ในช่วงแรกนั้นมีสำเนียงคล้ายดนตรีของ Klaus Schulze ที่มีเสียงบรรยายเรื่อง เพลงนี้ค่อย ๆ สร้างอารมณ์ขึ้นมาถึงช่วงกลางซึ่งกลายเป็นท่วงทำนอง progressive ที่แสนจะทรงพลังและสง่างาม "Ocean" ยังคงเป็นผลงานในยามที่รุ่งโรจน์ที่สุดของ Eloy เพียงเพราะเป็นผลงานที่มีเนื้อหาและบรรยากาศที่ดีที่สุดของพวกเขาอยู่บ้าง และ Eloy สามารถกระทำบางสิ่งบางอย่างได้โดยสมบูรณ์เป็นของตัวเองโดยไม่ทำให้นึกถึงวง progressive rock อื่นใดเลย นี้คืออัลบั้ม symphonic progressive rock ที่จำเป็นอย่างยิ่งชุดหนึ่งจากประเทศเยอรมนี พอ ๆ กับ Sommerabend ของ Novalis และ Rockpommel's Land ของ Gröbschnitt


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 27 กันยายน 2022 | 01:51:50 PM
ฝรั่งเม้นแล้ว ขอปีศาจฯเม้นบ้างครับ อิ อิ ;D

Pink Floyd - Dark Side Of The Moon (1973)

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า นี้คือ "ลองเพลย์มหัศจรรย์" ภายใต้การโปรดิวซ์ของอลัน พาร์สัน และเคยมีคนบอกผมในค่ำวันหนึ่งที่ร้านแผ่นเสียงแห่งหนึ่งว่า ทุก ๆ กี่นาทีหรือกี่ชั่วโมงก็ไม่ทราบ (ผมจำไม่ได้) ในโลกใบนี้ จะต้องมีคน (ไม่ว่าจะอยู่ซอกหลืบมุมไหนของโลกก็ตาม) หยิบอัลบั้มชุดนี้มาเล่น นี่หรือคือความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของผลงานชุดนี้ โดยไม่นับรวมจำนวนครั้งที่ reissue แผ่นเสียงและซีดี ไม่ว่าจะฉลองครบรอบกี่ปีที่ออกอัลบั้ม ฯลฯ

ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Pink Floyd และอัลบั้ม DSOTM คงจะตามเก็บกันไม่หวาดไม่ไหวแน่

ตอนที่ผมเริ่มฟัง progressive อย่างจริงจังและซื้อเทปคาสเสทมาสะสม เพื่อนที่ฟังแนวเดียวกันแนะนำให้ฟัง Pink Floyd แต่ไม่ทราบเป็นอะไร ผมไม่เคยสนใจวงนี้เลย แม้แต่ผลงานชุด DSOTM ผมก็เพิ่งมาซื้อแผ่นเสียงเอาเมื่อตอนที่เล่นเครื่องเสียงและสะสมแผ่นเสียงอย่างจริงจังแล้ว ส่วนผลงานอื่น ๆ ของวงนี้ก็พอมีไว้ประดับ collection เท่านั้น โดยความเห็นส่วนตัว ผมว่ายังมีวงอื่น ๆ อีกมากนักในโลกนี้ที่เล่นดนตรีได้เก่งกว่า Pink Floyd แต่ความเหนือชั้นที่ Pink Floyd มี แต่วงอื่น ๆ ไม่มี และใคร ๆ ต่างยอมรับก็คือไอเดีย แนวคิด รูปแบบ และเทคนิคการนำเสนอที่แปลกใหม่และล้ำหน้ากว่าใคร ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีฝีมือโซโลกีตาร์ให้ว่องไวปานสายฟ้าฟาด หรือพรมนิ้วรูดแป้นออร์แกนและคีย์บอร์ดอย่างดุเดือดชนิดมองตามนิ้วคนเล่นไม่ทัน เรื่องแนวคิดและการนำเสนอต้องยกให้พวกเขา Pink Floyd ครับ


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 28 กันยายน 2022 | 08:29:56 AM
Starcastle - Fountains Of Light (1977)

ครั้งแรกที่ได้ยินเพลง True To The Light ของ Starcastle เปิดออกอากาศทางรายการวิทยุคลื่นหนึ่งในค่ำวันหนึ่งในยุค 1980s ถ้าคนจัดรายการไม่ประกาศชื่อเพลงและชื่อวงในตอนต้นเพลง ผมคงนึกว่าเพลงนี้ "Yes มาเอง (เลยนะเนี่ย)" แต่ความจริงเป็นเพลงของวงอื่นที่เล่นในสไตล์ของ Yes ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องนำในแบบฉบับของ Jon Anderson สำเนียงคีย์บอร์ดสไตล์ของ Rick Wakeman และการร้องประสานเสียงที่ยอดเยี่ยม ผมออกไปหาซื้อเทปคาสเสทมาฟัง แต่ไม่มีเทปผีเจ้าไหนอัดอัลบั้มชุดนี้ออกมาขายเลย และกว่าจะมีคนทำเทป home made อัลบั้มชุดนี้ออกขายก็อีกหลายปี ผมได้เทปชุดนี้มาจากร้านเทปในซอกตึกข้างโรงหนังลิโด้ สยามสแควร์ เมื่อปี 2530 และตอนนี้ก็มีแผ่นเสียงเก็บไว้แล้วหลายก็อปปี้ทั้งแผ่นอเมริกาและญี่ปุ่นครับ


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 28 กันยายน 2022 | 10:11:15 AM
Eloy - Ocean (1977)

อัลบั้มของ Eloy ที่ผมได้มาเป็นชุดแรกในชีวิตในรูปเทปคาสเสท (ผี) ซึ่งตอนที่ได้อัลบั้มชุดนี้มานั้น ผมอยากได้ชุด Inside (1973) แต่คนขายเทปบอกว่าชุดนี้ (Ocean) เป็นผลงานที่ดีที่สุดของ Eloy แล้ว บางคนบอกว่าผลงานของ Eloy ปลายยุค 1970s มีอิทธิพลดนตรีของ Pink Floyd อัลบั้มชุด Wish You Were Here แต่ผมว่าก็ไม่เชิงเสียทีเดียวนัก ที่ชัดเจนน่าจะเป็นชุด Silent Cries And Mighty Echoes (1979) ในขณะที่ Ocean ถ้าจะมีอิทธิพลของ Pink Floyd อยู่บ้าง ก็น่าจะเป็นเสียงกีตาร์ในสไตล์ David Gilmour อยู่นิดเดียว, นิดเดียวจริง ๆ ครับ นอกนั้น อัลบั้มชุดนี้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ปกอัลบั้มสวยงามถือเป็นของแถมที่เพิ่มคุณค่าให้อัลบั้มไม่แพ้ผลงานของ Yes

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/09/15/aeO60W.md.jpg)


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 29 กันยายน 2022 | 09:27:37 AM
Triumvirat - "Illusions on a Double Dimple" (Harvest 1974)

(http://www.vintageprog.com/triu2.jpg)

Singer and bass-player Hans Pape had left Triumvirat after the debut-album and was replaced by Helmut Köllen. The best Triumvirat line-up was then reality. "Illusions..." was an improvement on their already great debut-album. The production was a lot better and Köllen was a much more talented vocalist than Pape. "Illusions..." was basically made up of two side-long tracks. The title-track is the best of the two. It includes tons of excellent instrumental-passages dominated by Fritz' awesome keyboard-work. The balance between the Hammond-organ and the warm, analogue synths he used are almost perfect. The band had now also perfected the vocal-parts, and some tasty strings often backed them up. The track on the second side is called "Mister Ten Percent" and is another orgy of catchy vocal-parts and long, ELP-ish instrumental parts. If I should find anything to criticise here, then it must be that the track is maybe a little bit too similar to the title-track in the structure and build-up. Even the same drum-riff is here! But why the heck should you care about that? The album is a feast for all who loves keyboard-based 70's progressive rock with ELP-influences. Essential.

ฮันส์ พาพ (Hans Pape) นักร้องและมือเบสส์ ได้ลาออกจาก Triumvirat หลังจากอัลบั้มชุดแรก และผู้ที่เข้ามาแทนคือ เฮลมุท เคิลเลน (Helmut Köllen) แล้วจึงได้ไลน์อัพที่ดีที่สุดของ Triumvirat ในความเป็นจริง Illusions On A Double Dimple เป็นการปรับปรุงอัลบั้มชุดแรกที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้วให้ดีขึ้น โปรดักชั่นดีกว่าเก่ามาก และ Köllen ก็ยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์มากกว่า Pape อัลบั้ม Illusions... โดยพื้นฐานประกอบด้วยเพลงที่มีความยาวเต็มหน้าแผ่นเสียงจำนวนสองเพลง ซึ่งในสองเพลงนี้ เพลง title-track เป็นเพลงดีที่สุด มีท่อนบรรเลงดนตรีที่ยอดเยี่ยมอยู่เป็นจำนวนมากด้วยการเล่นคีย์บอร์ดของ Fritz เป็นหลัก ความสมดุลระหว่าง hammond organ กับอนาล็อกซินธ์ที่มีเสียงอบอุ่นซึ่งเขาใช้อยู่นั้นแทบจะสมบูรณ์แบบ และในขณะนั้นวงยังได้พัฒนาภาคเสียงร้องให้สมบูรณ์อีกด้วย อีกทั้งยังมีวงเครื่องสายที่มีรสชาติเล่นสนับสนุนให้ด้วย แทร็คในแผ่นเสียงหน้าสองมีชื่อว่า "Mister Ten Percent" และเป็นอีกหนึ่งสุดยอดภาคเสียงร้องที่ติดหูและท่อนบรรเลงดนตรีที่ยืดยาวในแบบของ ELP หากผู้เขียนจะมีสิ่งใดให้วิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้างก็ต้องเป็นเรื่องที่แทร็คดังกล่าวนี้อาจจะละม้ายคล้าย title-track มากไปสักนิดในด้านโครงสร้างและการก่อตัว แม้แต่การริฟฟ์กลองแบบเดิม ๆ ก็ยังมีอยู่ในเพลงนี้ แต่จะไปแคร์ทำไมเล่ากับเรื่องนั้น อัลบั้มชุดนี้เป็นความหฤหรรษ์สำหรับทุกคนผู้รักดนตรี progressive rock ยุค 1970s ที่มีคีย์บอร์ดเป็นพื้นฐานโดยมีอิทธิพลดนตรีของ ELP เป็นผลงานที่จำเป็นอย่างยิ่ง


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 11 ตุลาคม 2022 | 04:26:46 PM
Triumvirat - Illusions on a Double Dimple (1974)

เป็นอัลบั้ม (แผ่นเสียง) ของ Triumvirat ที่ผมได้มาเป็นชุดแรกในชีวิต ซึ่งน่าจะเกือบ 20 ปีแล้ว และตอนนั้นผมยังไม่รู้จักวิธีหาของในอินเทอร์เน็ต ได้แต่อาศัยไหว้วานเพื่อนฝูงให้ช่วยหาให้ พอหาได้ก็โทรมาบอก "เฮ้ย "ทริ อุม วิ รุท" (Triumvirut ซึ่งเพื่อนของผมอ่านออกเสียงไม่ค่อยถนัด) อะไรเนี่ย ไม่รู้อ่านถูกป่าว ชื่ออัลบั้มก็... โว้ย... ยาวจัง ขี้เกียจอ่าน แบบว่า หน้าปกเป็นรูปหนูออกจากไข่น่ะ สนใจมั้ย"

ผมได้ยินดังนั้นก็สะกดชื่อวงให้เพื่อนฟังใหม่ เพื่อเป็นการย้ำ เขาก็บอกว่าใช่ ผมจึงรับเลย อีก 2-3 วันเขาก็เอาแผ่นเสียงมาให้ที่บ้าน (สมัยก่อนเป็นอย่างนี้นะครับ เพื่อนฝูงยังพอสะดวกเดินทางไปมาหาสู่กันได้อยู่) เป็นแผ่นเยอรมัน สังกัด Harvest เลเบิลพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว ดีใจมาก ได้มาปุ๊บก็เปิดฟังเลย ถูกใจทั้งอัลบั้ม (ซึ่งมีอยู่แค่ 2 เพลงที่ยาวเต็มแต่ละหน้าแผ่นเสียง) คีย์บอร์ดนี่มาในสไตล์ Keith Emerson ชัด ๆ มีทั้งออร์แกน เปียโน และ moog ใส่กันมันส์หยด เพลงหน้าแรกดีกว่าเพลงหน้าสอง แต่เพลงหน้าสอง Mister Ten Percent นั้น มีเพลงสั้น Lucky Girl ซ้อนอยู่ เพลงนี้เพราะมาก เสียงร้องชัด ๆ ขึ้นจมูกของ Helmut Kollen แซมด้วยเสียงกีตาร์โปร่งใส ๆ และเสียง moog ที่ลากยาวและอบอุ่น ผมฟังเพลงนี้แล้วไม่ทราบเป็นอะไร พาลนึกถึงเพลง Lucky Man ในอัลบั้มชุดแรกของ ELP เลยครับ

หลายคนว่า Triumvirat เป็นวงโคลนของ ELP แต่ผมว่าไม่จริงทั้งหมด เพราะถึงแม้สำเนียงการเล่นคีย์บอร์ดของ Jurgen Fritz จะละม้ายคล้ายคลึงกับ Keith Emerson แต่สไตล์ดนตรีโดยรวมของ Triumvirat ไม่เหมือน ELP ในแง่ที่ Triumvirat มีความเป็น pop สูงกว่า ซึ่งคนฟังสามารถเข้าถึงดนตรีของพวกเขาได้ไม่ยากนัก ในขณะที่ ELP เล่นดนตรีแบบเน้นเทคนิค ฝีมือและชั้นเชิงที่แพรวพราว หากจะให้เทียบกัน ผมว่าฟังผลงานของ Triumvirat แล้วรู้สึกผ่อนคลายกว่าและจดจำเมโลดี้ที่ catchy ได้ง่ายครับ


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 12 ตุลาคม 2022 | 11:15:23 AM
ครั้งก่อนผมได้พูดถึงการจากไปของ Vangelis ด้วยวัย 79 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Vangelis เป็นทั้งนักดนตรีและนักแต่งเพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้คีย์บอร์ดและซินธ์เป็นหลัก (แต่ความจริงเขาสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภท ถือเป็น multi-instrumentalist คนหนึ่ง) อีกทั้งยังเคยเป็นอดีตสมาชิก Aphrodite's Child วง psychedelic progressive rock สัญชาติกรีกอีกด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึง Vangelis ผมจึงนำรีวิวผลงานของ Aphrodite's Child จาก www.vintageprog.com มาแปลเรียบเรียงให้อ่านกันครับ

Aphrodite's Child - "666" (Vertigo 1971)

(http://www.vintageprog.com/666.jpg)

Legendary double-album based on the drug-related hallucinations in the Revelation of John (the last book in the Bible, if you didn't know). Both Vangelis and Demis Roussos were amongst the members in this Greek band. The material on the album is very varied in style, but most of it could be described as a kind of a psychedelic progressive rock. Vangelis wrote all the material, and it's not hard to hear. Here are lots of great themes and melodies. The highlight for me is the incredible beautiful and atmospheric "Aegian Sea". Beautiful keyboards, a heavenly choir and a great guitar-theme make an awesome track. Rousso's voice comes to the fore on "The Four Horsemen", a very catchy track. "The Battle of the Locusts" and "Do It" are energetic jams. There's also some orchestration to good effect on "Altamont". There's also a VERY weird track here "sung" by Irene Papas. The track is just a lot of screaming and moaning, sounding like she's having an orgasm! I must admit that I have absolutely no idea what the meaning of this track is. In addition to this, there are also a lot of short, experimental pieces and interludes on the album, adding a mystical and weird touch to the whole album. There's also some less interesting pop-tunes in between all this, but don't care about them. Most of the album is very interesting and entertaining. This was also the album that made Jon Anderson ask Vangelis if he wanted to join Yes.

อัลบั้มคู่ที่เป็นตำนานโดยอิงสภาวะจิตหลอนเกี่ยวกับยาเสพติดใน The Revelation of John (ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายในไบเบิล หากมีใครที่ยังไม่ทราบ) ทั้ง Vangelis และ Demis Roussos เป็นสมาชิกอยู่ในวงกรีกวงนี้ เนื้อหาในอัลบั้มชุดนี้มีสไตล์ที่หลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น psychedelic progressive rock โดย Vangelis เป็นคนเขียนวัตถุดิบทั้งหมด และเมื่อได้ยินแล้วก็เข้าใจได้ไม่ยากเลย มีธีมและเมโลดี้ที่ยอดเยี่ยมมากมาย สำหรับผู้วิจารณ์ ไฮไลต์ของเขาคือเพลง Aegian Sea ซึ่งงดงามและได้บรรยากาศอย่างเหลือเชื่อ เสียงคีย์บอร์ดที่ไพเราะ การร้องประสานเสียงดุจดั่งมาจากสรวงสววรค์ และธีมการเล่นกีตาร์ที่ดีทำให้เพลงแทร็คนี้ยอดเยี่ยม เสียงร้องของ Roussos โดดเด่นขึ้นมาอยู่แถวหน้าใน The Four Horsemen ซึ่งเป็นเพลงที่ติดหูง่ายมาก The Battle of the Locusts และ Do It เป็นเพลงที่มีการแจมที่ทรงพลัง และยังมีการจัดวงออร์เคสตร้าอย่างได้ผลดีในเพลง Altamont นอกจากนี้ยังมีแทร็คที่สุดแสนพิลึกพิลั่น ซึ่ง "ร้อง" โดยไอรีน ปาปัส (Irene Papas) ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้องและเสียงครางโหยหวน ราวกับเธอกำลังถึงจุดสุดยอด (ออร์กัสซั่ม) ผู้วิจารณ์ต้องยอมรับว่าเขาไม่ทราบเลยว่าแทร็คนี้มีความหมายว่าอะไร นอกจากนี้แล้วยังมีเพลงสั้น ๆ ในแนวทดลองจำนวนมากและเพลงคั่นในอัลบั้ม ซึ่งให้สัมผัสที่ลึกลับซ่อนเร้นและแปลกพิสดารทั้งอัลบั้ม อีกทั้งยังมีเพลงพ็อพจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยน่าสนใจแทรกคั่นอยู่ระหว่างเพลงเหล่านี้ด้วย แต่ไม่ต้องไปสนใจ เพราะอัลบั้มชุดนี้ส่วนใหญ่น่าสนใจและฟังสนุกมาก และยังเป็นอัลบั้มที่ทำให้ Jon Anderson ถาม Vangelis ว่าเขาอยากจะเข้าร่วมงานกับ Yes หรือไม่


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 12 ตุลาคม 2022 | 02:03:17 PM
Aphrodite's Child - 666 (1971)

ตามความเชื่อของชาวคริสต์ เลข "666" คือเลขอัปรีย์หรืออัปมงคล เพราะเกี่ยวข้องกับซาตาน อะไรทำนองนี้ ตามที่ผมเคยได้ยินมา แต่อัลบั้มที่ชื่อ 666 ของ Aphrodite's Child นั้น เป็นผลงานดนตรีที่ "เป็นมงคล" สำหรับผม เพราะบรรจุเพลงดี ๆ ไว้มากมายโดยแต่ละเพลงมีความยาวไม่มากนักโดยทั่วไป และมีหลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้ที่ฟังแล้วติดหู รับได้ง่าย หรือไม่ก็กระเดียดออกไปทางพ็อพเสียด้วยซ้ำ ยากนักที่จะหาคนทำดนตรี psychedelic ให้ไพเราะและน่าฟังได้ ส่วนเพลงที่ไอรีน ปาปัส ได้ร้องด้วยอารมณ์รุนแรงราวกับว่าเธอบรรลุถึงขีดสุดแห่งอารมณ์นั้น ไม่มีชื่อเพลง แต่มีสัญลักษณ์คล้ายเลข 8 ในแนวราบ หรือเครื่องหมายอินฟินิตี้ (infinity) พอถึงเพลงนี้ทีไร ผมต้องหรี่โวลลู่มแอมป์ลงพอประมาณ เดี๋ยวข้างบ้านจะหาว่าเปิดหนังเอ็กซ์ ผู้วิจารณ์อัลบั้มชุดนี้บอกว่าเขาไม่ทราบว่าเพลงนี้ต้องการจะสื่อสารหรือมีความหมายว่าอย่างไร ส่วนผมเห็นว่า ไม่จำเป็นจะต้องทราบหรือทำความเข้าใจก็ได้ ส่วนที่เหลือคือการตีความตามจินตนาการของคนฟังแต่ละคนไป ถ้าจะให้ผมตั้งชื่อเพลงนี้ที่มีสัญลักษณ์ infinity ผมก็จะตั้งชื่อเพลงว่า "อารมณ์ระเบิดไม่รู้จบ" ครับ 5555

ไอรีน ปาปัส (Irene Papas) เป็นนักแสดงและนักร้องชาวกรีก มีผลงานมากมาย เปิดประวัติของเธอดู พบว่าเธอเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2565 ด้วยวัย 96 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีอายุยืนมากคนหนึ่ง ขอจงสู่สุคติครับ

https://www.npr.org/2022/09/14/1122908972/irene-papas-died

(https://variety.com/wp-content/uploads/2022/09/IrenePapas-1.jpg?w=681&h=383&crop=1)


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 17 ตุลาคม 2022 | 05:48:06 PM
Vangelis - "Heaven and Hell" (RCA 1975)

(http://www.vintageprog.com/vang2.jpg)

Most of you(probably TOO many of you!) will think of sweet and fluffy soundtracks from the 80's and 90's when you hear the name Vangelis. But in the 70's he was one of the most creative and varied of all the progressive keyboard-wizards, and released many innovative and truly progressive albums after he left Aphrodite's Child. Jon Anderson had his reasons when he wanted the man to join Yes in 1974. However, Vangelis himself was an individualist who made no compromises, so he preferred a solo career instead. "Heaven and Hell" was his second official album. This is one of his very best works and probably the one to start with for progressive rock fans. The album is a very powerful and grandiose mix of rock, jazz, symphonic and classical music with tons of choirs and wonderful, analogue and very symphonic keyboard sounds. Vangelis didn't use Hammond or the Mellotron, but the sounds he used was always so tasty and warm that they more than made up for it. The fanfare-like sounds he sometimes used on this album makes me think of Keith Emerson, but he had his completely own sound and style most of the time The whole album is one continuous 40-minute suite, and it includes music used in the TV-series "Cosmos" and a part called "So Long Ago, So Clear" with vocals by Jon Anderson. Essential stuff for everyone into 70's keyboard-based progressive music.

(ผู้วิจารณ์บอกว่า) เมื่อได้ยินชื่อ Vangelis เรา ๆ ท่าน ๆ ส่วนใหญ่ (ซึ่งอาจจะเยอะไปด้วยซ้ำ) คงจะนึกถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ (soundtracks) ที่ไพเราะเบาๆ จากยุค 1980s และ 1990s แต่ในยุค 1970s ในบรรดาพ่อมดคีย์บอร์ดแนว progressive ด้วยกัน Vangelis เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความหลากหลายมากที่สุด และได้ออกอัลบั้มหลายชุดที่แปลกใหม่และเป็น progressive อย่างแท้จริงหลังจากที่เขาได้ออกจาก Aphrodite's Child มาแล้ว จอน แอนเดอร์สัน (แห่งวง Yes) มีเหตุผลที่เขาต้องการให้ Vangelis เข้าร่วมงานกับ Yes เมื่อปี 1974 แต่ Vangelis เองนั้นเป็นผู้นิยมความเป็นปัจเจกบุคคลซึ่งไม่ต้องการประนีประนอม ดังนั้นเขาจึงเลือกการเป็นศิลปินเดี่ยวแทน "Heaven and Hell" เป็นอัลบั้มที่เป็นทางการชุดที่สองของ Vangelis เป็นสุดยอดผลงานที่ดีที่สุดชุดหนึ่งของเขา และน่าจะเป็นผลงานที่แฟน ๆ progressive rock ควรจะเริ่มต้นฟัง อัลบั้มชุดนี้เป็นการผสมผสานดนตรีร็อค แจ๊สส์ ซิมโฟนิค และคลาสสิกเข้าด้วยกันได้อย่างมีพลังและโอฬารยิ่ง โดยมีเสียงร้องประสาน (choirs) และเสียงอนาล็อกคีย์บอร์ดที่ยอดเยี่ยมแนว symphonic มากันเป็นตัน Vangelis ไม่ได้ใช้ hammond ออร์แกนหรือ mellotron แต่เสียงเครื่องดนตรีที่เขาใช้นั้นแสนจะออกรสชาติและอบอุ่นอยู่ตลอดเวลายิ่งกว่าเป็นการชดเชยสิ่งที่ขาดไปเสียอีก เสียงที่เหมือนแตรประโคมซึ่งเขาใช้บางครั้งในอัลบั้มชุดนี้ทำให้ผู้วิจารณ์นึกถึง Keith Emerson แต่กระนั้น Vangelis ก็มีสำเนียงและสไตล์เป็นของตนเองโดยสมบูรณ์อยู่เกือบตลอดเวลา อัลบั้มทั้งชุดเป็นเพลง suite ที่มีความยาวต่อเนื่อง 40 นาที และมีดนตรีที่ใช้ในทีวีซีรี่ย์สชุด Cosmos และภาคดนตรีที่มีชื่อว่า So Long Ago, So Clear ซึ่งร้องโดย Jon Anderson รวมอยู่ด้วย เป็นผลงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคนที่ต้องการเข้าถึงดนตรี progressive rock ยุค 1970s ที่เน้นคีย์บอร์ดเป็นพื้นฐาน


หัวข้อ: Re: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
เริ่มหัวข้อโดย: ปีศาจลายคราม ที่ 18 ตุลาคม 2022 | 09:39:57 AM
Vangelis - Heaven and Hell (1975)

อัลบั้มของ Vangelis ที่ผมได้ฟังเป็นชุดแรกในชีวิต ปกอัลบั้มปกหน้าเป็นสีแดงแสด โทนร้อนแรง คงจะสื่อความหมายถึง "นรก" ส่วนปกหลังโทนออกสีฟ้าเย็นสบายตา ก็คงจะสื่อถึง "สวรรค์" (หากจะว่าไปแล้ว ความเชื่อความศรัทธาในเรื่องนรก-สวรรค์ของชาวพุทธอย่างคนไทยเรากับชาวคริสต์คงไม่แตกต่างกันนัก ดังที่ภาพในปกแผ่นเสียงสื่อให้เห็น) สมัยก่อนผมเคยไปยืนลูบ ๆ คลำ ๆ ปกแผ่นเสียงอัลบั้มชุดนี้อยู่ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว แต่ไม่มีปัญญาซื้อ ต่อมาผมได้อัลบั้มชุดนี้มาในรูปเทปคาสเสทแบบ home made ฟังแล้วจินตนาการถึงภพภูมิทั้งสองตามชื่ออัลบั้มได้ไม่ยาก เพลง So Long Ago, So Clear ที่ร้องโดย Jon Anderson ฟังแล้วรู้สึกจิตบรรเจิดและรู้สึกขนลุกในขณะเดียวกัน (อยากให้เขาร้องในอัลบั้มนี้ทั้งอัลบั้มเสียด้วยซ้ำครับ อิ อิ ;D) เป็นผลงานที่ดีมากและเข้าถึงไม่ยากของ Vangelis ก็อย่างที่ผู้วิจารณ์เขาว่าไว้ หากใครอยากสัมผัสผลงานของ Vangelis ในยุค 1970s ควรจะเริ่มต้นจากชุดนี้ครับ