ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149662 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

24 เมษายน 2024 | 06:14:58 PM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgTreasure BoxesMy Small & Humble Audio System (ของเล่นปีศาจลายคราม)
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: My Small & Humble Audio System (ของเล่นปีศาจลายคราม)  (อ่าน 169340 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #345 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2020 | 08:50:58 AM »

เครื่องเล่นซีดี Denon DCD-520AE ที่ผมได้มาดูดีเกินคาด เหมือนของใหม่ที่ยังไม่ได้เล่นเลย และมีอุปกรณ์ครบ รีโมทฯเหมือนยังไม่ถูกแกะออกมาใช้งาน เมื่อดูจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตแล้ว เป็นเครื่องรุ่นเล็กที่เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ตัดฟีเจอร์การใช้งานฟุ่มเฟือยและความหรูหราออก เหลือแต่คุณภาพเนื้อ ๆ แม้แต่จอ display เองก็ยังดูธรรมดามาก ไฟตัวอักษรไม่ค่อยสว่างมากนัก เสียงดีเมื่อออกจากกล่อง เป็นเสียงสไตล์ Denon คือ สด กระชับ รายละเอียดดี เสียงกลางและแหลมดีมาก แต่เนื้อเสียงค่อนไปทางบอบบางนิดหน่อยและเสียงเบสส์ไม่ลงลึกมาก ถ้าเครื่องยังไม่พ้นระยะ เบิร์น อิน เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วอาจเสียงดีขึ้นอีกหน่อยก็ได้ ในราคานี้ ผมได้เท่านี้ก็พอใจแล้ว -- "เรียบง่าย ได้คุณภาพ" ครับ

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #346 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2020 | 01:27:03 PM »

Denon DCD-520AE เป็นเครื่องเล่นซีดีคุณภาพที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน แม้แต่คู่มือการใช้งานของเขาเองก็อ่านเข้าใจง่ายมาก (เป็นภาษาอังกฤษ ในจำนวนหลายภาษาในเล่มเดียวกัน) อ่านนาทีเดียวก็เข้าใจแล้ว เพราะขั้นตอนฟังก์ชั่นการใช้งานไม่เยอะ ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยเหมือนเครื่องเล่นซีดียี่ห้ออื่น ฟังก์ชั่นการใช้งานและลูกเล่นยิ่งเยอะ คู่มือการใช้งานก็ยิ่งมีเนื้อหามากครับ 555

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #347 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2020 | 01:36:14 PM »

Denon DCD-520AE cd player ยิ่งใช้ ยิ่งชอบ เสียงแบบนี้ใช่เลย สไตล์ Denon คมชัด สดใส รายละเอียดดี โดยเฉพาะย่านกลางและแหลม เสียงแหลมนี่เป็นแหลมที่ละเอียดและไม่บาดหู ผมงัดเอาซีดีเพลงไทยเก่า ๆ ที่เก็บไว้มาเปิดฟังแผ่นแล้วแผ่นเล่า ยิ่งฟังยิ่งติดใจ แนะนำเลยครับ ใครอยากได้ของดีมีคุณภาพ ราคาสบายกระเป๋าชนิดที่ไม่ต้องลงทุนมาก การใช้งานง่ายดายไม่ซับซ้อน ไม่ไฮเทค ว่ากันแบบเบสิค เบสิค ไม่ควรมองข้ามเครื่องเล่นซีดีรุ่นนี้ครับ

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #348 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2020 | 04:30:58 PM »

My System Update (11/12/2020)
1. Amplifiers
1.1 Harman/Kardon HK670 integrated amplifier (75 watts @ 8 ohm)
1.2 Roksan Kandy K2 integrated amplifier (125 watts/ch @ 8 ohm)
1.3 Marantz 2385 Stereophonic Receiver (185 watts)
1.4 Pioneer M-73 Power Amplifier (small version of SPEC 3)
1.5 Pioneer C-73 Preamplifier (SPEC 4)
1.6 Parasound Halo 2.1 Integrated Amplifier (160 watts/ch @ 8 ohm)

2. Sources
2.1 Denon DCD-2560 GL CD player (Gold Limited Edition)
2.2 Audiolab 8200CD CD Player
2.3 Marantz CD63 Mk II K.I. Signature CD Player (newly added)
2.4 Denon DCD520AE CD Player
2.5 Turntable Systems:
2.5.1 VPI Classsic 1 turntable, VPI JMW 10.5 SE tonearm (with Dynavector XX-2 Mk II mc phono cartridge)
2.5.2 Audio Linear TD-4001 turntable with Dynavector DV-505 tonearm
2.5.3 Denon DP47F Turntable

3. Moving Coil Phono Cartridges:
3.1 Ortofon MC15 Super Mk II (low output)
3.2 Dynavector DV-20XH (high output)
3.3 Shelter 501 Mk ii (low output)
3.4 Benz Micro ACE SL (low output)
3.5 Ortofon MC20 Super 25th Anniversary Limited Edition (low output)
3.6 Dynavector DV-10X5 (high output)
3.7 Dynavector DV-20X2L (low output)
3.8 Dynavector Karat 17D3 (low output)
3.9 Dynavector XX-2 Mk II (low output)
3.10 Audio-Technica ART9 (low output)
3.11 Audio-Technica AT-OC9/III (low output)

4. Phono Pre-amplifiers:
4.1 Lehmann Audio Black Cube MM & MC phono pre-amp (regular version)
4.2 ASR Mini Basis Mk III
4.3 Dynavector P-75 Mk II (newly added)

5. Loudspeakers
5.1 Wharfedale EM 93 bookshelf two-way loudspeakers
5.2 PSB Image T6 Floorstanding Speakers

6. Cables & Accessories
6.1 Speaker cables: XLO Ultra Plus, 8 ft. with banana connectors
6.2 Interconnect Cables
- From CD player to amplifier: van Den Hul D-102 Mk III Hybrid
- Form turntable to phono pre-amp: XLO Ultra Plus
- From phono pre-amp to amplifier: XLO Ultra Plus
6.3 VPI 16.5 Record Cleaning Machine
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #349 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2020 | 05:17:21 PM »

เล่าไปเรื่อยเปื่อย เกี่ยวกับเครื่องเสียงของตนเอง: ปฐมบท

จากเด็กนักศึกษาคนหนึ่งที่เริ่มเล่นชุด casette-receiver พร้อมลำโพง Pioneer หนึ่งคู่ซึ่งแม่ซื้อให้เพราะสอบเอนทรานซ์ติดเมื่อปี 2529 ไม่รู้วิธีการตั้งลำโพงที่ถูกต้อง คือวางลำโพงบนพื้นพรมและไม่เคยเปิดหน้ากากลำโพงฟังด้วยความที่เปิดหน้ากากแล้วลำโพงจะไม่สวย ผลลัพธ์ที่ได้คือ เสียงอับทึบ (เพราะยังเด็ก ไม่รู้จักคำว่า set up ลำโพง) แต่ก็ทนฟังอยู่อย่างนั้นอยู่หลายปี จนกระทั่ง...

เรียนจบ เริ่มทำงานเข้าปีที่สอง ราวปี 2534 ซื้อชุด mini component ของ Sansui มาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย tuner, amp และเทปคาสเสท 2 หลุมในตัวถังเดียวกัน พร้อมลำโพงตั้งพื้นเข้าชุดยี่ห้อเดียวกัน ซึ่งในยุคนี้เองที่เป็นยุคที่โฆษณาบ้าวัตต์ PMPO เช่น 750 วัตต์ เอย 1000 วัตต์ เอย ฯลฯ ซึ่งเป็นวัตต์ชั่ววูบชั่วขณะ ไม่ใช่วัตต์ RMS ซึ่งเป็นวัตต์จริง ชุดนี้ใช้ฟังเทปคาสเสทเป็นหลักซึ่งมีทั้งเพลงไทยและเพลงฝรั่ง component ชุดนี้สวยมาก หน้าปัดมีช่อง VU meter คู่หนึ่งและมีช่องเสียบ phono ให้ด้วย ต่อมาผมจึงซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียง belt drive ของ Sansui ราคาสามพันกว่าบาทมาเล่นเข้าชุดกัน จำรุ่นเครื่องเล่นแผ่นเสียงไม่ได้แล้ว แต่ทุกวันนี้ยังเก็บไว้อยู่ (ขอบพระคุณคุณแม่มากที่อุตส่าห์เก็บของใช้ของลูกชายไว้ให้)

ในช่วงปี 2534-2535 สนใจอ่านหนังสือเครื่องเสียงเป็นพิเศษ เห็นรีวิว integrated amps รวมหมู่ในนิตยสารเครื่องเสียงฉบับหนึ่ง ประทับใจแอมป์ยี่ห้อ DUAL รุ่น CV5650 ซึ่งตอนนั้น Made in Germany แท้ ๆ ก็กัดฟันกำเงิน 12500 บาท ตรงไปที่ dealer ซื้อมาฟังที่บ้านเลย ไม่ต้องลองฟังดูก่อน เพราะศรัทธาในยี่ห้อนี้มานานแล้ว แต่แฟนที่คบหากันในยุคนั้นค้อนขวับ เพราะไม่พอใจที่ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย (ในที่สุดผมก็เลิกกับแฟนคนนี้อีกไม่กี่ปีต่อมา)

ที่เล่ามาถึงตอนนี้ก็เพราะอยากจะบอกว่า ผมเป็นคนเล่นเครื่องเสียง แต่มีแนวทางการเล่นไม่เหมือนนักเล่นเครื่องเสียงทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเดินตามตำรา คือ ต้องมีห้องฟังให้พร้อมก่อน อ่านรีวิว สนใจหรืออยากได้เครื่องไหนก็จด short list ไว้ และไปตระเวนฟังจนพอใจ จนเข้าหูตัวเองก่อนจึงจะซื้อ ฯลฯ คือว่ากันตามกฎกติกาที่นักเล่นเครื่องเสียงทั่วไปพึงปฏิบัติ (หาอ่านกฎเหล่านี้ได้ตามหนังสือเครื่องเสียงทั่วไป ทั้งของไทยและเทศ และตามเว็บตลอดจนบอร์ดต่าง ๆ ที่พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องเสียง) แต่ผมไม่ใช่... เพราะผมไม่มีห้องฟัง มีแค่มุมตั้งเครื่องเสียงในโซนนั่งเล่นของบ้าน townhouse และเครื่องเสียงทุกชิ้นที่เล่น ถ้าผมอ่านรีวิวรู้จักหน้าค่าตากันแล้ว เห็นสเป็คแล้วถูกใจ เสียงออกแนวนี้นะ ฯลฯ ผมซื้อมาเล่นเลย ไม่ต้องลอง และเล่นอยู่ได้หลายปีจึงจะเปลี่ยน โดยไม่ต้องสนใจความเห็นคนอื่น ไม่ต้องมีก๊วนเล่นเครื่องเสียง... เล่นมันคนเดียวนี่แหละครับ บ้านของตัวเอง เครื่องเสียงก็ของตัวเอง ไม่มีใครกล้ามาว่าหรือวิพากษ์วิจารณ์เครื่องหรือซิสเต็มของเราหรอก จริงมั้ยครับ? พอเวลาผ่านไป จังหวะเหมาะ สมควรแก่เวลาและมีงบประมาณพร้อมก็ถอยเครื่องใหม่มาฟัง ผมเชื่อว่าประสบการณ์เมื่อเวลาผ่านไปมันจะค่อย ๆ สอนเราเองครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #350 เมื่อ: 04 มกราคม 2021 | 10:39:47 AM »

เล่าไปเรื่อยเปื่อย เกี่ยวกับเครื่องเสียงของตนเอง: แรงบันดาลใจ

ผมสนใจเครื่องเสียงมาแต่ครั้งเมื่อยังเล็ก คือตั้งแต่จำความได้ พ่อของผมชอบฟังเพลง ทั้งลูกกรุงและลูกทุ่ง และมีเครื่องเล่นเทป reel-to-reel ยี่ห้อ SHARP รุ่น RD-505 สปีด 3 3/4 ips ระบบ mono (มีลำโพงเดียว) ไว้คอยอัดเพลงที่ชื่นชอบจากสถานีวิทยุหรือแหล่งอื่น ๆ ที่จะหาได้ในยุคนั้น เช่น เครื่องเสียงของเพื่อนบ้าน เป็นต้น ในยามว่างพ่อก็เปิดเทปเพลงที่อัดไว้ให้ผมและน้อง ๆ ฟัง ผมชอบมองดูรีลเทปในขณะที่กำลังหมุน พอโตขึ้นมาอีกนิด ตอนนั้นเรียนอยู่ ป.3 ผมมีโอกาสได้สัมผัสและลองเล่นแผ่นเสียงเป็นครั้งแรกจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง DUAL ของเพื่อนบ้านคนหนึ่งซึ่งยกชุดสเตริโอมาเปิดในงานปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รู้สึกติดใจแผ่นเสียงมาตั้งแต่บัดนั้น และเช่นเดียวกันกับเทป reel-to-reel ผมชอบดูแผ่นเสียงในขณะที่มันกำลังหมุนอยู่บนแป้นหมุนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง ทั้งเทปรีลและแผ่นเสียงมันให้ความมีชีวิตชีวาและความตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้เล่นและได้สัมผัส ในขณะที่สื่อประเภทอื่นแม้แต่ซีดีก็ไม่อาจทำแบบนี้ได้ (คือใส่แผ่นเข้าเครื่อง กดปุ่ม play ก็มีแต่เสียงออกมาเท่านั้น)

ต่อมา ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นประถมปลาย ผมได้มีโอกาสเห็นรูปในหน้านิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง เป็นรูปของผู้ชายชาวญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะเป็นดาราหรือคนดังอะไรสักอย่างในยุคนั้น (1970s) เขากำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้โซฟา ข้าง ๆ ตัวเขาเป็นเครื่องเสียงชุดใหญ่อลังการ เรียงเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป ชั้นบนสุดเป็นเครื่องเล่นเทปรีล (reel-to-reel tape recorder) ซึ่งมีม้วนรีลขนาดใหญ่ (ตอนนั้นผมไม่ทราบหรอกครับว่ารีลเทปขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไร เพิ่งทราบภายหลังว่ามีขนาด 10.5 นิ้ว) และแน่นอนว่าต้องมีเครื่องเล่นแผ่นเสียงด้วย แต่ผมจำยี่ห้อไม่ได้ว่าเป็นยี่ห้ออะไร ลำโพงที่ใช้ดูเหมือนเป็น JBL (ซึ่งคนญี่ปุ่นทั่วไปชื่นชอบลำโพงยี่ห้อนี้มากในยุคนั้น) เจ้าของเครื่องเสียงคนนี้นั่งอยู่ข้างชุดเครื่องเสียงของเขา สีหน้าบ่งบอกถึงความภูมิใจ และรูปนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมว่า ถ้าโตขึ้น มีงานมีการทำและมีรายได้แล้ว ผมจะต้องมีเครื่องเสียงให้ได้สักชุด และเมื่อกาลเวลาผ่านไป ผมก็สามารถมีเครื่องเสียงได้ชุดหนึ่ง แต่คิดว่าคงไม่อลังการเท่าของคนที่ผมเห็นในรูป และยุคที่ผมสามารถมีเครื่องเสียงได้นั้น เป็นยุคดิจิทัล ซึ่งเครื่องเล่นซีดีครองตลาดและเครื่องเล่นเทปรีลเสื่อมความนิยม ต่อมาซีดีก็เสื่อมความนิยมลงบ้าง ไฟล์เพลง การ streaming และหรือสื่อดิจิทัลในรูปแบบอื่นเข้ามาแทนที่ในการฟังเพลง ลองหลับตาจินตนาการดูสิครับ... ถ้าเอาเครื่องเล่นดิจิทัลพวกนี้ใส่เข้าแทนที่เครื่องเล่นอนาล็อกอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงและเทปรีล ชุดเครื่องเสียงชุดนั้นมันจะดูเล็กลงและขาดความขลังความอลังการลงไปเยอะเลยใช่ไหมครับ ไม่มีม้วนเทปหมุนอยู่บนเครื่อง และไม่มีแผ่นเสียงหมุนอยู่บนแป้นหมุนให้ดูเพลิน ๆ อีกต่อไป... ผมว่ามันขาดสุนทรียภาพแห่งการมองไปอักโข สำหรับผม การได้เล่น analogue source อย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงและหรือเทปรีลทำให้คำว่า "การเล่นเครื่องเสียง" มีความหมายชัดเจนที่สุด และถ้ามีโอกาสหรือจังหวะเหมาะ ผมจะขยายความถ้อยคำดังกล่าวนี้ต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #351 เมื่อ: 11 มกราคม 2021 | 03:49:59 PM »

เล่าไปเรื่อยเปื่อย เกี่ยวกับเครื่องเสียงของตนเอง: เครื่องเสียงทุกชิ้นคือ "ครู"

เมื่อเริ่มจำความได้ ผมก็ได้เห็นเครื่องเล่นเทปโอเพ่นรีลยี่ห้อ Sharp รุ่น RD-505 ของพ่อแล้ว และก็โตมาพร้อมกับมัน พ่อของผมใช้อัดเพลงจากรายการวิทยุเอาไว้เปิดให้ผมและน้อง ๆ ได้ฟังกัน เช่น เพลงลูกกรุงและลูกทุ่งในยุคนั้น ผมกับน้องสองคนจึงได้ซึมซับเอาอารมณ์สุนทรีย์ในการฟังเพลงมาโดยไม่รู้ตัวเพราะการปลูกฝังของพ่อ และพ่อของผมนอกจากจะรู้จักเพลงไทยอมตะเก่า ๆ มากมายแล้ว (รวมทั้งนักร้องและศิลปินต่างประเทศบางคน เช่น Elvis, Hank Williams, The Beatles, Cliff Richard etc.) ท่านยังรู้จักประวัตินักร้อง ประวัติของเพลง และประวัติครูเพลงบางท่านในยุคนั้นด้วย หากท่านยังมีชีวิตอยู่ในตอนนี้ ผมคงได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวเพลงไทยเก่า ๆ จากพ่อของผมได้อีกไม่น้อย ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนี้ยังมีพ่อแม่ที่มีอารมณ์สุนทรีย์เปิดเพลงจากเครื่องเสียงและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงให้ลูก ๆ ฟังในยามว่างหรือเปล่า -- กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า -- เทปเครื่องนี้ใช้รีลขนาด 5 นิ้วและเล่นได้เฉพาะสปีด 3 3/4 ips เท่านั้น แม่ยังเก็บเครื่องเล่นเทปนี้ไว้อย่างดีเพื่อรำลึกถึงพ่อถึงแม้ว่ามันจะใช้การไม่ได้แล้ว ตามข้อมูลที่พบในเน็ต ผมไม่ทราบว่าเครื่องนี้ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อไร แต่มีเจ้าของเครื่องรุ่นนี้คนหนึ่งบอกว่าซื้อมาเมื่อปี 1966 ถ้าเป็นเช่นนั้น หากพิจารณาการออกแบบและรูปลักษณ์ ก็ถือเป็นเครื่องที่ทันสมัยเครื่องหนึ่งในยุคนั้นก็ว่าได้ บอดี้ของเครื่องภายนอกทำด้วยพลาสติกขึ้นรูป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในครั้งนั้นญี่ปุ่นได้เริ่มบุกเบิกทำตลาดสินค้าที่ใช้พลาสติกเป็นวัสดุหลักในการผลิตแล้ว

แม่ของผมเล่าให้ฟังว่า เครื่องเล่นเทป Sharp RD-505 นั้น แฟนเก่าของพ่อเป็นคนซื้อให้พ่อเป็นของขวัญ เนื่องในโอกาสที่เธอถูกหวย ราคาในตอนนั้นหนึ่งพันกว่าบาท เงินเดือนของพ่อทั้งเดือนแค่ 400 กว่าบาทเท่านั้น แสดงว่าเทปเครื่องนี้พ่อได้มันมาก่อนที่ผมจะเกิด เพราะคนที่ซื้อให้พ่อไม่ใช่แม่ของผม อ่านแล้วคงไม่งงนะครับ

ก็เป็นอันว่าเครื่องเล่นเทปโอเพ่นรีลที่เคยผ่านมือผมในวัยเด็กนั้นมีอยู่สองเครื่องด้วยกันตามลำดับก่อนหลัง คือ Sharp RD-505 ซึ่งเป็นของพ่อ (ครั้นผมโตพอ พ่อก็ยอมยกมันให้ผมเล่น) และ Sony TC-102 ซึ่งอาคนหนึ่งของผมยกมาให้เล่น หลังจากที่ Sharp RD-505 เสียจนเกินกว่าจะซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งสองเครื่องนี้เป็นระบบโมโนและมีภาคขยายและลำโพงอยู่ในตัว ถ้าต้องการเนื้อเสียงที่ "ใหญ่" ขึ้นมาอีกนิด จะต้องหาตู้ลำโพงดอกเดียว (โมโน) ซึ่งต่อพ่วงกับสายแจ๊คเสียบเข้าช่อง External Speaker ข้างเครื่องเล่นเทป เราก็จะได้เสียงที่ฟังดูมีเนื้อมีหนังมากขึ้นมาจากการขยายเสียงออกลำโพงพิเศษหรือลำโพงภายนอกดังว่า มันเป็นเทคนิคการเล่นเครื่องเสียงตามประสาชาวบ้านในยุคนั้น (40-50 ปีก่อน) ซึ่งเครื่องเสียงระบบสเตริโอยังไม่แพร่หลายและยังมีราคาแพงอยู่ และเป็นเทคนิคการเล่นเครื่องเสียงที่ไม่ซับซ้อนดังเช่นทุกวันนี้

อันที่จริงลำโพงที่ติดมาในตัวเครื่องมันให้เสียงแบน ๆ งุ้งงิ้ง ไม่ค่อยน่าฟังเท่าไร เด็กอย่างผมในตอนนั้นก็ยังรู้สึกได้ พ่อต้องทำลำโพงพิเศษขึ้นมาตู้หนึ่ง (ไม่ใช่คู่หนึ่ง เพราะไม่ใช่ระบบสเตริโอ) เอาแจ๊คเสียบต่อสัญญาณจากเครื่องเข้าลำโพงพิเศษภายนอก เสียงก็ค่อยน่าฟังขึ้นมาหน่อย แต่โลกทรรศน์และประสบการณ์ในการฟังเพลงของผมในตอนนั้นยังแคบและยังต้องเรียนรู้อะไรอีกมาก เพราะเทปที่หมุนด้วยสปีด 3 3/4 ips นั้น คุณภาพเสียงสู้เทปที่หมุนด้วยสปีด 7 1/2 ips และ 15 ips ไม่ได้ เทปสปีดยิ่งเร็ว คุณภาพเสียงก็ยิ่งดี แต่ก็ต้องเปลืองเนื้อเทป เพราะเทปจะหมุนด้วยความเร็วมากขึ้นเป็นเท่าตัว มาตรฐานความเร็วในการอัดเพลงไว้ฟังให้ใกล้เคียงกับแหล่งต้นฉบับจะต้องใช้สปีด 7 1/2 ips ส่วนสปีด 15 ips เขามักเอาไว้ใช้ทำมาสเตอร์เทปในห้องบันทึกเสียง และสปีด 3 3/4 ips และ 1 7/8 ips ก็มักเอาไว้ใช้บันทึกเสียงพูดของคน เช่น ในการบันทึกเสียงการประชุม เพราะเทปจะวิ่งด้วยสปีดช้า กว่าเทปจะหมดรีลก็ใช้เวลานาน ดังนั้น ความเร็วที่เราเลือกจึงเป็นตัวบ่งบอกวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

ขนาดรีลเทปมาตรฐานถือตามเส้นผ่าศูนย์กลางคือ 3 นิ้ว, 5 นิ้ว, 7 นิ้ว และ 10.5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับเครื่องเล่นเทปว่าออกแบบมาให้เล่นกับรีลขนาดใดได้บ้าง เทปโอเพ่นรีลที่เล่นกันตามบ้านทั่วไปนิยมใช้ขนาดรีล 7 นิ้วเป็นมาตรฐาน ส่วนเครื่องที่เล่นรีล 10.5 นิ้วได้ สมัยนั้นเขาเรียกว่าเป็นเครื่องระดับ professional ซึ่งมักใช้กันในห้องบันทึกเสียง เช่นยี่ห้อ Akai, TEAC, Technics, Revox, TASCAM, Tandberg เป็นต้น แต่ต่อมาเครื่องเล่นเทประดับโปรฯบางยี่ห้อและบางรุ่น เช่น Revox A-77 และ B-77 ได้แพร่เข้าสู่ตลาดระดับ home use ด้วย รีลเทปยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งจุเนื้อเทปและจุเนื้อหาของเพลงได้มาก คุณภาพเสียงของเพลงที่บันทึกลงเทปโอเพ่นรีลและเล่นกลับด้วยสปีด 7 1/2 ips นั้นเหนือชั้นกว่าที่บันทึกด้วยเทปคาสเสทอย่างชัดเจนโดยมิต้องสงสัย แต่ผมแปลกใจที่คนเราพอยิ่งเจริญยิ่งมีวิวัฒนาการมากขึ้นมักจะชอบอะไรที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด (โดยตัดประเด็นเรื่องคุณภาพออกไปก่อน) เทปโอเพ่นรีลเปรียบเสมือนไดโนเสาร์ซึ่งเทอะทะและอุ้ยอ้าย และในที่สุดก็เสียตลาดส่วนใหญ่ให้แก่เทปคาสเสทไป



บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #352 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2021 | 02:43:23 PM »

แค่เอามาให้ดูคั่นรายการ เพราะชอบ ๆ ๆ ๆ ยิ้มกว้างๆ

Dan D'Agostino "Momentum" Integrated Amplifier
กำลังขับ 200 วัตต์ ที่ความต้านทาน 8 โอห์ม, 400 วัตต์ ที่ 4 โอห์ม, 800 วัตต์ ที่ 2 โอห์ม
รูปลักษณ์สวยงาม เร้าใจ เสียงก็น่าจะสุดยอด มีเวอร์ชั่นสีดำด้วยนะ อะฮ้า... ราคาก็ ดุ๊ ดุ
45,000 เหรียญสหรัฐ
แปลงเป็นเงินไทยก็ล้านสามกว่า ๆ
บุญฉันคงไม่ถึง (ฮ่า)

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #353 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2021 | 11:21:34 AM »

Dan D'Agostino "Momentum" Integrated Amplifier ในอังกฤษ รุ่นตัวถังสีเงินราคาจะถูกกว่ารุ่นตัวถังสีดำอยู่ 2000 ปอนด์สเตอร์ลิง ผมชอบตัวถังสีดำครับ (ทำไมไม่รวยและเงินเหลือใช้กับเขาบ้างนะ จะได้ถอยมาฟังซะหน่อย 555 ยิงฟันยิ้ม)

https://www.whathifi.com/dan-dagostino/momentum-integrated-amplifier/review

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #354 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2021 | 04:57:43 PM »

Pass Labs INT-250 Integrated Amplifier อินทิเกรตเตด แอมป์ ของ Pass Labs ซึ่งมีกำลังขับ 250 วัตต์ ที่ 8 โอห์ม และเบิ้ลเป็น 500 วัตต์ ที่ 4 โอห์ม

ราคาขาย 12000 เหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2016

ผมว่าถ้าระดับราคาสักหมื่นกว่าเหรียญ และอยากได้มันจริง ๆ แล้วละก็ ยังไงก็ยังพอมีโอกาสได้มันมาครอบครองอยู่ โดยอาจต้องใช้เวลาเก็บเงินสักพัก (หลายปี) และหรือรอจนเกษียณอายุงานแล้วเจียดเงินที่สะสมไว้ส่วนหนึ่งมาซื้อ พอถึงตอนนั้นจริง ๆ อาจมีของดีเข้ามาในตลาดอีกก็ได้ ยิงฟันยิ้ม

แต่ถ้าเป็นระดับสี่ซ้าห้าหมื่นเหรียญสหรัฐนี่ (เช่นในกรณีของ Dan D'Agostino "Momentum" integrated amp) คงหมดปัญญาจริง ๆ ครับ แลบลิ้น

เครดิตภาพ www.theabsolutesound.com

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #355 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2021 | 11:57:15 AM »

ผมได้หัวเข็ม Dynavector รุ่น XX2 Mk II มาใช้เมื่อราวต้นเดือนกรกฎาคม ปี 2559 เมื่อนับจนถึงบัดนี้ มันติดตั้งอยู่บนแท่น VPI Classic 1 รับใช้ผม เล่นดนตรีให้ผมฟังมาก็ครบ 5 ปีเต็ม...

ห้าปีผ่านไป ช่างไวเหลือเชื่อ นึกถึงวันแรกที่ผมได้ฟังน้ำเสียงจากหัวเข็มตัวนี้ ผมรู้สึกงั้น ๆ เห็นคุยกันนักหนา ทั้งจากปากคำของผู้ขายในบ้านเราและจากที่คุยกันในโลกออนไลน์ ว่าเสียงเบสส์ของหัวเข็มรุ่นนี้มีมาก เรียกง่าย ๆ ว่า "เบสส์เยอะ" ซึ่งน่าจะเป็นเสียงที่คนฟังทั่วไปชื่นชอบ

หากแต่พอได้ฟังใหม่ ๆ ผมคิดว่า เบสส์มันไม่ได้เยอะอย่างที่เคลมกันไว้ แต่เอาละ... ต้องให้เวลาเขาหน่อย คือฟังไปเรื่อย ๆ เพื่อเบิร์น อิน ไปในตัว แต่ผมต้องยอมรับว่า ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้น ตัวเองก็ไม่ค่อยได้เล่นเครื่องเสียงบ่อยนัก บางทีไม่ได้เล่นเป็นเดือนเลยก็มี ดังนั้น ระยะเวลาในการเบิร์น อิน หัวเข็มจึงทอดยาวออกไปอีก และสำหรับหัวเข็ม Dynavector XX2 Mk II บางคนว่าใช้เวลาเบิร์น อิน ประมาณ 50 ชั่วโมง บางคนก็ว่า 150 ชั่วโมง จึงจะได้สุ้มเสียงเข้าที่เข้าทาง ผมก็ไม่รู้จะเชื่อใครดี ระหว่าง 50 กับ 150 แต่มีความโน้มเอียงว่าจะเป็นอย่างหลังมากกว่า เพราะตัวตนแห่งเสียงเบสส์ที่แท้จริงของมันเพิ่งจะโผล่มาให้ผมได้ยินเมื่อไม่นานมานี้ ผมทดลองเอาแผ่นเสียงที่เคยรู้สึกว่าเบสส์บางมาเล่น ก็รู้สึกพอใจที่แผ่นนั้นมีน้ำเสียงที่อิ่มหนาและลึกขึ้น ผมฟังอัลบั้มชุด In The Court Of The Crimson King ของ King Crimson (Made in USA) กับหัวเข็มตัวนี้แล้ว รู้สึกว่าไพเราะและน่าฟังอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน เพราะเสียงย่านทุ้มและแหลมมันออกมาให้ได้ยินชัดเจนมาก ดีกว่าหัวเข็มตัวก่อน ๆ ที่เคยใช้มาอย่างชัดเจน อย่างพวกแผ่นเสียงเพลงไทยที่คุณภาพเสียงไม่ค่อยดีนัก พอเอามาเล่นกับหัวเข็มตัวนี้แล้ว เสียงมันน่าฟังขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่น่าสังเกตว่า Dynavector XX2 Mk II ให้การประนีประนอมกับแผ่นเสียงเก่าใช้งานแล้วและสึกหรออยู่พอสมควร คือเมื่อนำแผ่นพวกนี้มาเล่น รู้สึกว่าเสียงก็ยังน่าฟังอยู่เป็นส่วนใหญ่ ใครที่เก็บแผ่นเสียงเก่า ๆ ไว้มากมาย (เช่นผม) หากใช้หัวเข็มตัวนี้ ผมเชื่อว่ามาถูกทางแล้วครับ

เครดิตภาพ www.dynavector.com



บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #356 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2021 | 03:24:46 PM »

สรุปลักษณะที่โดดเด่นของหัวเข็ม Dynavector XX2 Mk II จากการที่ได้ฟังมาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งน่าจะพ้นระยะเวลา burn-in ประมาณ 150 ชั่วโมงแล้ว (50 ชั่วโมงอย่างที่คนทั่วไปเขาฟังกัน โดยส่วนตัว ผมว่ายังไม่น่าจะพอ ถ้าจะเอาให้ชัวร์ว่าหัวเข็มรุ่นนี้จะส่งประกายเจิดจรัสจริง ๆ ต้อง 150 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำครับ)
- ให้สมดุลเสียงระหว่างย่านกลาง ทุ้ม และแหลมดีมาก
- เสียงเบสส์หรือความถี่ต่ำชัดเจน มีเนื้อมีหนัง และทรงพลัง ในขณะที่หางเสียงแหลมก็ทอดขยายตัวออกไปอย่างพองาม และจะเรียกว่าติดปลายหวานก็น่าจะได้ แผ่นเสียงประเภท female vocalists ถ้าฟังผ่านหัวเข็มรุ่นนี้แล้ว เป็นได้ชวนให้หลงใหลเลยทีเดียว
- เสียงมี dynamic และแรงปะทะ มีการเน้นย้ำที่หัวโน้ตดนตรี ทำให้ผมนึกถึงลักษณะเสียงที่มี articulation ฟังเพลง pop & rock ได้อย่างมันส์
- เป็นมิตรกับแผ่นเสียงที่ใช้แล้ว, เป็นเรื่องปกติที่มีเสียงรบกวนจากแผ่นเสียงเหล่านี้ เพราะเป็นแผ่นเสียงเก่า แต่ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบหัวเข็มรุ่นนี้ ทำให้ฟังดูราวกับว่าเสียงรบกวนดังกล่าวถูกลดลงไปพอสมควร เหมือนเปิดโหมด dolby ของเครื่องเล่นเทป แผ่นเสียงบางแผ่นของผมเมื่อมองจากภายนอกมีสภาพไม่น่าเล่นและเต็มไปด้วยคราบ scuffs และริ้วรอย แต่พอลองเล่นกับหัวเข็มรุ่นนี้แล้วกลับสอบผ่านอย่างน่าประหลาดใจ ใครที่นิยมเก็บแผ่นเสียงเก่า (เหมือนผม) น่าจะถูกใจครับ
- สรุปของสรุปคือ นานมาแล้ว หลายปีดีดัก ชื่อของ Dynavector ไม่เคยสร้างความผิดหวังให้ผม เมื่อเทียบกับหัวเข็ม moving coil ยี่ห้ออื่น ๆ Dynavector อาจจะราคาแพงกว่า แต่ถ้าชอบเสียงในสไตล์อย่างที่เรียนไว้ข้างต้น และอดทนกับระยะเวลา burn-in ของมันที่ค่อนข้างจะนาน ผมเชื่อว่าในระยะยาว ผู้ใช้จะรู้สึกว่าหัวเข็ม moving coil ยี่ห้อนี้ (ซึ่งทุกรุ่นของเขาล้วนเป็นแบบ moving coil ทั้งสิ้น) คุ้มค่าสมราคามากครับ

Happy Listening!!
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #357 เมื่อ: 29 กันยายน 2021 | 09:10:29 AM »

McIntosh MA12000 อินทิเกรตเตดแอมป์ไฮบริด ลูกผสมระหว่างหลอดกับโซลิดสเตทของ McIntosh เห็นแล้วก็น่าสนใจ แต่เมื่อดูราคาแล้ว 14000 เหรียญสหรัฐ คิดหนักเลยครับ (มองหาแอมป์ไว้ฟังในยามชีวิตหลังเกษียณอายุงาน)

เครดิตภาพ www.whatgroupmag.com

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #358 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2021 | 09:58:56 AM »

เครื่องเล่นแผ่นเสียง VPI Classic 1 ซื้อใหม่ สด ซิง เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2558
วันที่ 27 เดือนนี้ ศักราชนี้ ก็จะมีอายุครบ 6 ปี แล้ว เผลอแป๊บเดียว เวลาผ่านไปเหมือนโกหก
6 ปีที่ได้รับใช้ผมมาโดยไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง ผมรู้สึกอิ่มเอมใจทุกครั้งที่ได้เล่นได้ฟังมัน และว่าง ๆ ก็อยากจะมาคุยถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงเครื่องนี้เสียหน่อย เพราะมีหลายแง่มุมที่น่าสนใจซึ่งผมได้สังเกตเห็นจากการเล่นตลอดระยะเวลาร่วม 6 ปีที่ผ่านมาครับ

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14364


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #359 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2021 | 08:48:56 AM »

เครื่องล้างแผ่นเสียงของผมเสียมาได้ร่วม 3 ปีแล้วมั้งครับ เพราะจู่ ๆ ไม่ทำงานเอาดื้อ ๆ เหมือนไฟไม่เข้าเครื่องหรืออะไรสักอย่าง ว่าจะยกไปให้ร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทำการเซอร์วิส แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนมา ติดสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่ได้ไปเสียที จนกระทั่งร้านย้ายที่ตั้งออกไปไกลถึงฝั่งธนโน่น (จากเดิมอยู่ใจกลางเมืองย่านราชประสงค์) ผมจึงต้องหอบเครื่องขึ้นรถดั้นด้นเดินทางไปไกลกว่าเดิม... ก็อย่างว่าละครับ ของเสียก็ต้องซ่อม ไม่ซ่อมก็ไม่ได้ เพราะมันก็มีประโยชน์มากมายสำหรับคนที่เล่นแผ่นเสียงและมีแผ่นเสียงอยู่เป็นจำนวนมาก และอีกอย่างก็อุตส่าห์ซื้อมาตั้งแพง ไม่ซ่อมมาใช้ก็กระไรอยู่ครับ 5555

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery