ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149783 กระทู้ ใน 4437 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

11 มิถุนายน 2024 | 07:58:07 AM
หน้า: [1] 2
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Non-Prog Concept Album  (อ่าน 7263 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ǝɹoɔǝsıɐuuoʎɐɯʎɹbuɐ
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 8547


nagoya_mega_snake@windowslive.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: 13 ธันวาคม 2008 | 05:11:28 PM »

โดยมากแล้ววงดนตรีที่ทำอัลบั้มออกมาแบบมีคอนเซปต์ก็มักจะเป็นวงแนวโปรเกรสสีฟเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงอยากทราบว่ามีคอนเซปต์อัลบั้มชุดใดบ้างที่ไม่ได้ทำโดยวงโปรเกรสสีฟร๊อค ลองลิสต์กันดูนะครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า


Stay cheap, praise the explicit, embrace the scuzz, be true to art and yourself, eat shit, keep music evil.
lilivm's self-indulgence: https://rateyourmusic.com/~potatahtapapoh
♫ phil_wc ♫
Phi
Blade Runner
*****
เพศ: ชาย
กระทู้: 2083


นักดนตรีบ้าบอ

chupawicht@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2008 | 05:26:36 PM »

The Beatles - Yellow Submarine

เกี่ยวกับการเดินทางโดยเรือดำน้ำสีเหลือง

แบบนี้ได้ใช่มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า

ShadowServant
Images & Words
****
กระทู้: 631


TROLLKASTEL!


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2008 | 01:51:49 PM »

The Who - Tommy
 เดี๋ยวขอเวลานึก


...นอกนั้นเป็นพวก Power Metal ทั้งนั้นเลยแฮะ อินดี้ร็อคบางวงก็มีนะ แต่มันไม่ชัด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ธันวาคม 2008 | 01:54:26 PM โดย ShadowServant » บันทึกการเข้า



กลับมาด้วยความเพี๊ยนกว่าเดิม
lalink
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 272



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2008 | 05:03:23 PM »

มีหลายชุดเลยครับ ทั้งเป็น concept แบบชัดเจน และแบบหลวมๆ

The Who - Sell Out
The Who - Tommy
The Who - Quadrophenia
The Kinks - The Village Green Preservation Society
The Kinks - Arthur (or the Decline and Fall of the British Empire)
The Small Faces - Ogden's Nut Gone Flake
Simon & Garfunkel - Bookends
The Pretty Things - S.F. Sorrow
The Beatles - Sgt. Pepper's Lonely Heart Club Band

และยังมีอีกหลายชุดครับ
บันทึกการเข้า

TRON
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 12866



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2008 | 10:06:23 PM »

อาจจะไม่เรียกว่า concept เต็มรูปแบบ แต่เอาเป็นว่าเนื้อหาในอัลบั้มสื่อความหมายไปในแนวทางเดียวกันแล้วกันครับ เอาเท่าที่นึกออกเท่านี้ก่อนแล้วกัน  ยิ้ม

David Bowie - 1.Outside
Nine Inch Nails - The Downward Spiral
Nine Inch Nails - Broken EP
Nine Inch Nails - Year Zero
Bruce Springsteen - Nebraska
Bruce Springsteen - Tunnel of love
Depeche Mode - Black Celebration
Depeche Mode - Songs of Faith & Devotion

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม 2009 | 09:58:32 AM โดย Sgt.Peppers » บันทึกการเข้า
Fog
Blade Runner
*******
เพศ: ชาย
กระทู้: 2071



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2008 | 11:49:31 AM »

มีน้องคนนึงบอกมาว่า Funeral for a Friend - Memory & Humanity เป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้ม ไม่รู้จริงรึเปล่าง่ะ
บันทึกการเข้า

Analog Kid
Three of a Perfect Pair
******
กระทู้: 1513



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2008 | 02:51:40 PM »

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_concept_albums

แต่ยังไม่ชัวร์ทั้งหมด
บันทึกการเข้า
Analog Kid
Three of a Perfect Pair
******
กระทู้: 1513



ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2008 | 02:54:03 PM »

อันนี้อีกอัน http://en.wikipedia.org/wiki/Concept_album
บันทึกการเข้า
panyarak
The Snow Goose
**********
กระทู้: 9716



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2008 | 04:10:45 PM »

Dee D Jackson - Cosmic Curves
Neil Young - Trans
บันทึกการเข้า

JKNoremorse
Voyage Of The Acolyte
*********
เพศ: ชาย
กระทู้: 4654


8 years later, woke up with two kids

jknoremorse@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2008 | 04:38:15 PM »

X-Japan : Art of Life
บันทึกการเข้า
เพชร วิปลาส
Oxygene
********
เพศ: ชาย
กระทู้: 2982


วันนี้จะฟังเพลงอะไรดีน้อ...


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2008 | 04:57:37 PM »

ส่งเข้าประกวด

The Eagles - Desperado, Hotel california
บันทึกการเข้า


เป็นความทรงจำดีๆที่ครั้งนึงเราเคยไปถึงแกรมมี่มาแล้ว...

เชิญชม collection โมเดลของผม  
ขายซีดี, ดีวีดีเพลง  .  .
ǝɹoɔǝsıɐuuoʎɐɯʎɹbuɐ
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 8547


nagoya_mega_snake@windowslive.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2008 | 06:17:48 AM »

ขอส่งวง Internal Suffering เข้าประกวดครับ น่าจะเป็นวงบรูตัลเดธเมทั่ลสุดโหดวงเดียวของโลกเลยมั้งที่ทำคอนเซปต์อัลบั้มแบบเป็นเรื่องเป็นราว แถมเรื่องราวยังยาวต่อเนื่องกันทุกชุดอีกด้วย



Supreme Knowledge Domain (2000)



Chaotic Matrix (2002)



Choronzonic Force Domination (2004)



Awakening of the Rebel (2006)


บันทึกการเข้า


Stay cheap, praise the explicit, embrace the scuzz, be true to art and yourself, eat shit, keep music evil.
lilivm's self-indulgence: https://rateyourmusic.com/~potatahtapapoh
ท่านผีเพลง
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4733


Phantom of the Paradise


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 05 มกราคม 2009 | 04:18:37 PM »

W.A.S.P.
The Crimson Idol (1992)



เล่นของไทยมั่งครับ

วงคาราบาว
เมดอินไทยแลนด์ (2527)

อเมริโกย (2528) -อัลบั้มที่ถูกมองข้ามที่สุด

ประชาธิปไตย (2529)


วงตาวัน
12 ราศี  (2536)

The PROmISE (2539)


บันทึกการเข้า

pc
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 196


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2009 | 07:33:15 PM »

ไม่ทราบว่าบางอัลบั้มของ Mort Garson อย่างอัลบั้ม อัลบั้ม The Zodiac : Cosmic Sounds กับบางอัลบั้มของ Roger Roger พอจะเรียกได้ว่าเป็นคอนเซพท์อัลบั้มได้หรือเปล่านะครับ

ขออนุญาติก็อปรีวิวที่เคยเขียนไว้ในบอร์ดอื่นมาไว้ที่นี่ด้วยนะครับ เพราะบอร์ดนั้นดูเหมือนว่าไกล้จะปิดเต็มทีแล้วครับ ต่อไปถ้าเข้าบอร์ดนั้นไม่ได้ ข้อมูลที่ผมเคยเขียนไว้มันก็จะหายไปตลอดกาลเลยครับ


นอกจากดนตรีร่วมสมัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ดนตรีพวก Library Music ก็เป็นดนตรีอีกแขนงหนึ่งครับที่บรรดานักประพันธ์ส่วนใหญ่มักจะมีพื้นฐานทางด้านดนตรีคลาสสิคที่เข้มข้นมาก่อน หรืออย่างน้อยก็เคยศึกษาด้านการประพันธ์อย่างเป็นระบบจากสถาบันการศึกษาทางด้านดนตรีที่เคยผลิตนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิคร่วมสมัยที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีมาหลายต่อหลายคน ดนตรีเหล่านี้จะแต่งขึ้นโดยนักประพันธ์ที่ทำงานให้กับพวกบริษัทที่ให้บริการสร้างซาวด์และดนตรีประกอบรายการวิทยุและโทรทัศน์โดยเฉพาะ เมื่อผลงานของนักประพันธ์เหล่านี้ถูกบันทึกในรูปดนตรีจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดนตรีเหล่านั้นจะเข้าไปอยู่ในซาวด์สต๊อกของบริษัท และดนตรีในสต๊อกจะถูกเลือกไปใช้ประกอบรายการทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์โดยที่ชื่อผู้แต่งจะไม่ปรากฏในเครดิต

อย่างที่เรียนให้ทราบก่อนหน้านี้ว่า ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้เจองานดนตรีอิเลคโทรนิคชิ้นเยี่ยมๆที่สมาชิกบางท่านใน YouTube นำมาแปะไว้เยอะเลยครับ มีหลายครั้งเหมือนกันที่ผมได้รู้จักงานดนตรีดีๆโดยบังเอิญใน YouTube ก่อนที่จะได้ฟังจากรายการบีบีซีเสียอีกครับ

น่าเรียกได้ว่า YouTube น่าจะเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์อีกแหล่งหนึ่งที่ผู้ต้องการแสวงหาซาวด์แปลกใหม่สามารถท ำความรู้จักกับงานดนตรีที่หาฟังได้ยากได้ที่นี่ อย่างที่เขียนไว้ในอีกกระทู้หนึ่งนั่นแหละครับ เพราะนอกจากที่ว่าจะมีสมาชิกที่นำหนังดีๆมาอัพโหลดให้ได้ดูกันทั้งเรื่องแล้ว ยังมีสมาชิกที่เรียกได้ว่าเป็น music connoisseur ในดนตรีแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะนำดนตรีดีๆในแขนงนั้นที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมาอัพโหลดให้ได้ฟังกันเรื่อยๆครับ

วิดิโอใน cosmocorps2000's channel ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ผมได้รู้จักงานดนตรี library music ดีๆที่นี่ (ผมเคยเขียนถึงดนตรีแนวนี้ในรีวิวคลิพเพลงของ Roger Roger ในทั้งกระทู้เพลงคลาสสิคกับกระทู้รวมลิ้งค์ครับ) เจ้าของ channel ผู้ที่นำวิดิโอมาอัพโหลดเธอชื่อ Victoria ครับ ผมเจอ channel ของเธอโดยบังเอิญตอนกำลังหาคลิพของ Robert Rental มาฟัง แต่เหลือบไปเห็นคลิพ ของ Roger Roger แทน พอได้ดูเท่านั้น ผมก็ต้อง subcribe วิดิโอของเธอทันทีเลยครับ

เมื่อไม่นานมานี้เธอก็ได้นำเพลงจากอัลบั้ม ROGER ROGER Sounds Industrial ของ Roger Roger มาอัพโหลดให้ได้ฟังกันอีกเพลงหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับวิดิโอในคอลเลคชั่นของเธอก็คือ เธอช่างสรรหาคลิพภาพยนตร์ที่บรรยากาศเข้ากับดนตรีที่นำมาแปะได้เนียนจริงๆครับ


ROGER ROGER Sounds Industrial #4 - 1968 Library Instrumental
http://www.youtube.com/watch?v=NQITmKfquWs&feature=channel_page


ภาพในคลิพนำมาจากภาพยนตร์เรื่อง Le Viol Du Vampire(1967) ของ Jean Rollin ครับ ผมเคยเขียนถึงงานดนตรีของ Roger Roger ไว้ทั้งในกระทู้รวมลิ้งค์และกระทู้เพลงคลาสสิค แต่ขออนุญาติก็อปทั้งลิ้งค์และความเห็นที่เคยเขียนมาแปะอีกครั้งนะครับ เพื่อความต่อเนื่องในเนื้อหา


Track No.7 from Roger Roger Sounds Industrial LP, 1968.
http://www.youtube.com/watch?v=m8f40gJ7xvs&feature=related

เพลงที่ผมได้ฟังเมื่อไม่กี่วันมานี้จะเป็นดนตรีอิเลคโทรนิคยุคเก่าๆในสไตล์ retro-futuristic แทบทั้งหมดเลยครับ ยังรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกับว่าได้ค้นพบขุมทรัพย์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้เป็นเวลานาน ดนตรีที่ได้ฟังส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีอิเลคโทรนิคพวก library music ที่ใช้ประกอบรายการหรือภาพยนตร์โทรทัศน์ในยุคหกสิบถึงยุคเจ็ดสิบครับ น่าเสียดายที่ดนตรีทดลองยุคก่อนๆ มักจะไม่ค่อยจะมีให้ฟังใน MySpace จะหาฟังได้ก็จากคลิพดนตรีประกอบภาพใน YouTube เท่านั้นแหละครับ

เดิมทีผมตั้งใจจะหาข้อมูลของ Robert Rental ก่อน แต่ขณะที่กำลังฟังเพลงจากคลิพ ROBERT RENTAL "MENTAL DETENTIONS" อยู่นั้น ผมก็เหลือบไปเห็นคลิพของ Roger Roger เข้าโดยบังเอิญครับ คลิพนี้จะซุกอยู่ใน box ข้างๆจอที่รวบรวมเอาคลิพที่มีความเกี่ยวข้องกับคลิพที่เรากำลังดูเอาไว้ด้วยกัน พอได้ดูคลิพของ Roger Roger นี้จนจบ ทั้งเสียงและสไตล์ทุกอย่างที่ปรากฏบนภาพมันน่าตื่นตาเสียจนผมต้องพัก Robert Rental เอาไว้ก่อน เพื่อมาค้นหาข้อมูลของ Roger Roger แทน ดูจากภาพในคลิพแล้ว น่าจะเป็นมิวสิควิดิโอต้นฉบับมากกว่าเป็นมิวสิควิดิโอที่ผู้อัพโหลดทำขึ้นมาเองครับ ภาพที่ปรากฏเหมือนกับภาพจากซีรี่ส์ทีวีของอังกฤษ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่ถูกทำให้ช้าลงเพียงเล็กน้อย ประกอบเข้ากับเสียงดนตรีอิเลคโทรนิคที่สะกดผู้ฟังให้เข้าสู่มิติที่ไร้กาลเวลา ในชั่วขณะท่ามกลางความรุ้นระทึก เราก็เฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าด้วยใจที่กำลังล่องลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เวลาจะค่อยๆเคลื่อนที่ช้าลง ความไม่ปรกติรอบๆตัวที่เคยมองข้ามกลับปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนจนทำให้เราได้ตระ
หนักว่าเราอยู่ในโลกที่วิปริต

ผมมักจะมีความสนใจในจินตนาการเกี่ยวกับโลกอนาคตที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุค เหมือนที่บางคนเคยกล่าวไว้ว่า นอกจากปัจจุบันจะถูกกำหนดโดยข้อจำกัดต่างๆที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตแล้ว มนุษย์ยังสร้างภาพในจินตนาการเกี่ยวกับโลกอนาคต และภาพเหล่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คอยกำหนดความเป็นไปต่างๆให้กับปัจจ
ุบันในแต่ละยุคด้วยเช่นกัน (แม้ว่าจินตนาการของอนาคตก็สร้างขึ้นจากสิ่งที่เคยได้รับรู้ในอดีตก็ตาม) ดนตรีแนวใหม่ๆในแต่ละยุคก็ถูกคิดค้นขึ้นจากจินตนาการถึงเสียงแห่งอนาคตที่ต้องการจะสลัดตัวเองให้หลุดจากข้อจำกัดแห่งอดีตแทบทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันมันก็แสดงให้เห็นถึงสภาพของปัจจุบันในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ว่าผู้คนในยุคเหล่านั้นมองแนวโน้มในอนาคตกันอย่างไรกันบ้าง และผมว่าดนตรีอิเลคโทรนิคก็เป็นดนตรีแนวหนึ่งที่สามารถตอบสนองต่อภาพในจินตนาการได้ดีที่สุดเลยครับ


แทร็คในคลิพนี้มาจากอัลบั้ม Roger Roger Sounds Industrial LP, 1968 ทุกเพลงในอัลบั้มจะใช้ตัวเลขแทนชื่อเพลง และ Track No.7 ก็ใช้ประกอบภาพยนตร์ชุดที่ออกอากาศทางสถานี BBC1 เมื่อปี 1977 เมื่อได้ยินเป็นครั้งแรก ผมนึกไปเองว่า ตอนที่ Roger Roger แต่งเพลงนี้ขึ้น เขาต้องยังเป็นนักประพันธ์รุ่นใหม่และอยู่ในช่วงวัยที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์แน่ๆ เหมือนพวกคนหนุ่มสาวในช่วงทศวรรษทีหกสิบถึงเจ็ดสิบ จนได้มาทราบในภายหลังว่า เขาอยู่ในแวดวงดนตรีมายาวนานมาก และเคยสร้างผลงานเอาไว้มากมาย ว่ากันว่าตลอดชั่วชีวิตการทำงานของเขา รวมๆกันแล้วเขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ไว้มากกว่า 500 เรื่องเลยทีเดียวครับ

น่าแปลกที่เขาสร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมายขนาดนี้ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขากลับปรากฏบนอินเทอร์เน็ตน้อยมาก เท่าที่ผมเห็นก็มีแต่เว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลของอัลบั้มรวมชุดนี้ของเขาอย่างคร่าวๆเท่านั้น จนผมต้องลองเมล์ไปถาม cosmocorps2000 ซึ่งต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่เธออุตส่าห์กรุณาตอบกลับพร้อมกับลิ้งค์ของเว็บไซท์
ที่ให้ข้อมูลประวัติการทำงานของเขามาโดยละเอียดเลยครับ พอได้อ่านข้อมูลของเขา จึงได้ทราบว่าที่หาข้อมูลได้ยาก เพราะงานดนตรีของเขาจะเป็นพวก library music ที่แต่งขึ้นให้กับบริษัทให้บริการทำเสียงและดนตรีประกอบรายการวิทยุและโทรทัศน์โดยเฉพาะ ดนตรีที่เขาแต่งจึงเข้าไปอยู่ในสต๊อกของบริษัท ดนตรีในสต๊อกจะถูกเลือกไปใช้ประกอบรายการทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์โดยที่ชื่อผู้แต่งจะไม่ปรากฏในเครดิต

ผลงานดนตรีประกอบภาพยนตร์โทรทัศน์ในยุคหลังๆของเขา ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดน่าจะเป็นดนตรีประกอบจากซีรี่ส์ "The Prisoner"1967-1968 (ม๊อดสุดๆเลยครับ น่าเสียดายที่ผมได้ดูแค่ม้วนแรกเท่านั้น แต่ชอบโปรดัคชั่นดีไซน์ของซีรี่ส์ชุดนี้มากเลยครับ) แต่นั่นก็เป็นแค่ผลงานในยุคหลังๆของเขาเท่านั้น ประวัติการทำงานของเขาจริงๆแล้วยาวนานกว่านั้นมากครับ เพราะถ้านับจากปี 1911 ที่เขาเกิด เพลงในคลิพนี้ก็ออกอากาศตอนที่เขาอายุหกสิบปลายๆได้

แม้ว่าดนตรีประกอบของเขามักจะใช้ประกอบรายการโทรทัศน์ของอังกฤษจนเป็นที่คุ้นเคยกันอย่างแพร่หลาย แต่แท้ที่จริงแล้วเขาเป็นคนฝรั่งเศส พ่อของเขา Edmund Roger เป็นวาทยากรที่เคยเรียนรุ่นเดียวกับ Debussy ที่ Paris Conservatoire แน่นอนว่าดนตรีที่ฝึกฝนในช่วงแรกๆต้องเป็นดนตรีคลาสสิค จนเมื่ออายุได้สิบแปดปี เขาก็ได้ทำหน้าที่วาทยากรณ์เป็นครั้งแรก แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็หันไปแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์แทนในช่วงปลายทศวรรษที่สามสิบ เริ่มจากทำดนตรีประกอบสารคดี ก่อนที่จะทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ทั่วไป หนึ่งในนั้นก็คือดนตรีประกอบฉากการแสดงละครใน Les Enfants du Paradis (1944, Marcel Carne)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาก็ได้ควบคุมวงออร์เคสตราให้กับ French radio ที่เล่นแบ็คอัพให้กับนักร้องอย่าง Chevalier และ Edith Piaf ในขณะเดียวกับที่เขารับทำดนตรีประกอบรายการต่างๆให้กับสถานีวิทยุอย่าง Radio Luxembourg, Radio 37 และ Europe 1 และในยุคแรกๆของสถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส เขาก็รับทำดนตรีประกอบรายการสารคดี ซาวด์ที่เน้นมักจะเป็นดนตรีประกอบที่ท่วงทำนองมีแพ็ทเทิร์นซ้ำๆ สำหรับนำไปใช้ประกอบภาพที่ถ่ายจากย่านอุตสาหกรรม

ในปี 1955 เขาได้เข้าทำงานผลิต library music ให้กับบริษัท Chappell Music ตลอดระยะเวลาที่เขาทำงานที่นั่น เขาได้สร้างผลงานไว้เกือบยี่สิบอัลบั้ม บางแทร็คจากอัลบั้มเหล่านั้นได้ถูกนำไปใช้ประกอบในรายการของบีบีซีอย่างแพร่หลาย นอกจากนั้นเขายังทำดนตรีให้กับ Parry Publishing ในแคนาดา กับ Major Mood Music library ในอเมริกา โดยใช้ชื่อ Cecil Leuter ในการออกผลงาน และยังสร้างผลงานให้กับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในฝรั่งเศส จนเมื่อเขาเกษียณในช่วงกลางทศวรรษที่เจ็ดสิบ ฝากไว้แต่ผลงานดนตรีที่เป็นเหมือนขุมทรัพย์ขนาดมหึมาที่รอการค้นพบ

ในปี 1994 Gert-Jan Blom หัวหน้าวง Beau Hunks Orchestra และ musicologist (นักคีตวิทยา ฮืม) จากฮอลแลนด์ได้รวบรวมผลงานดนตรีของ Roger Roger จากหลายแหล่ง มาออกเป็นอัลบั้มรวมในชื่อชุด CD Grands Travaux และงานชุดนี้นี่เองครับที่ทำให้ดนตรีของ Roger Roger ได้รับความสนใจจากนักฟังเพลงรุ่นใหม่ในยุคนี้ ก่อนที่จะมีอัลบั้มอื่นๆทยอยออกตามมา อย่างอัลบั้มที่บรรจุเพลงในคลิพนี้

ROGER ROGER SOUNDS INDUSTRIAL 1968 #15
http://www.youtube.com/watch?v=epa8NyM7p4A






จะเห็นได้ว่ามีการนำองค์ประกอบด้านการเรียบเรียงและการทำซาวด์ดีไซน์ของดนตรีคลาสสิคร่วมสมัย (ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในดนตรีแขนงแรกที่บุกเบิกการใช้เสียสังเคราะห์จากอุปกรณ์อิเลคโทรนิค) มาสร้างซาวด์ที่ปลุกเร้าจินตนาการถึงเสียงจากโลกอนาคตให้กับผู้ฟัง นอกจาก Roger Roger แล้ว ก็ยังมีนักประพันธ์ดนตรีอิเลคโทรนิคอย่าง Mort Garson ก็เป็นนักประพันธ์อีกคนหนึ่งที่นำเอาเทคนิคการประพันธ์ในดนตรีคลาสสิคมาใช้กับซาวด์ของ Moog synthesizer ได้อย่างงดงามครับ

Space-Age Futurism Fashion Mort Garson 60's
http://www.youtube.com/watch?v=AA4qGc2z-rs


เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว อัลบั้ม The Zodiac : Cosmic Sounds ของเขาก็เป็นอัลบั้มประจำสัปดาห์ของรายการ Freak Zone ที่ออกอากาศทาง BBC 6 Music ในรายการ มีการกล่าวถึงดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ว่าเป็นอัลบั้มแรกที่ใช้ Moog และมีการผสานระหว่างถ้อยคำในบทกวีกับดนตรีที่เป็นแบ็คกราวด์ได้อย่างลงตัวราวกับว่าเป็นท่วงทำนองในดนตรี counterpoint น่าเสียดายที่ไม่มีคลิพเพลงจากอัลบั้มนี้ใน YouTube ให้ได้ฟังกันเลย แต่ก็ยังดีที่มีเพลงจากอัลบั้มอื่นๆของเขาให้ได้ฟังกันหลายเพลงที่พอเป็นตัวอย่างให้ได้เห็นว่าองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิคไปได้ดีกับเสียงสังเคราะห์ซาวด์ล้ำๆของเครื่องดนตรีอย่าง Moog synthesizer ได้สวยงามแค่ไหน

MORT GARSON Black Mass Lucifer 1971 Incubus
http://www.youtube.com/watch?v=I7DVtCl9HfQ&feature=related

แทร็คในคลิพข้างบนคือ Incubus จากอัลบั้ม Black Mass Lucifer ที่ออกในปี 1971 ครับ บางเพลงในอัลบั้มนี้ก็มีบรรยากาศที่มืดมนได้ไม่แพ้ดนตรีดนตรีพวก metal หรือ industrial ในยุคหลังๆเลยครับ ทั้งๆที่อัลบั้มนี้ออกมาก่อนที่ดนตรีเหล่านั้นจะถือกำเนิดมาตั้งหลายปี ถ้าลองฟังแทร็ค Philosopher's Stone จากอัลบั้มเดียวกันในคลิพข้างล่างดู ก็คงพอจะมองเห็นถึงบรรยากาศอันมืดมนในดนตรียุคต่อๆมาได้บ้างนะครับ

Mort Garson: Philosopher's Stone
http://www.youtube.com/watch?v=nuomkBFe_LI




นอกจากนั้นก็ยังมีงานบางชิ้นของ Paul Lansky ที่ทำขึ้นภายใต้คอนเซพท์ของ computer music ด้วยนะครับ


ผมได้ฟังเพลงของเขาเป็นครั้งแรกในรายการ Freak Zone ตั้งแต่เดือนเมษายนโน่นแล้ว เพลงที่เปิดในรายการจะเป็นเหมือนเอาเสียงการสนทนาที่จับใจความไม่ได้จากหลายกลุ่มมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันจนเป็นดนตรี atonal ที่ท่วงทำนองค่อยๆปรากฏจัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ผมลองพยายามหาเพลงนี้ทางอินเทอร์เน็ตแต่ก็ยังไม่เจอ แต่เพลงในลิ้งค์ข้างล่างนี่ก็เรียกได้ว่าไกล้เคียงกับเพลงที่เปิดในรายการที่สุดแล้ว
ครับ (มากกว่าที่โพสต์ในความเห็นข้างบนเสียอีก)


Paul Lansky - Idle Chatter Junior .mp3
http://beemp3.com/download.php?file=1623764&song=Idle+Chatter+Junior


อย่างเคยนะครับ ถ้าเป็นเว็บนี้ ต้องกรอกรหัสที่เห็นบนจอลงใน box เสร็จแล้วก็ต้องเลื่อนหน้าจอลงไปอีกนิดถึงจะเห็นปุ่ม play ครับ


ผมเคยหาลิ้งค์ทั้งเพลงและข้อมูลเกี่ยวกับผลงานของเขามาเซฟไว้ แต่เครื่องคอมพ์ดันเจ๊งไปเสียก่อน ข้อมูลก็เลยโดนลบหมด ลืมแม้กระทั่งชื่อของเขา และวันที่ได้ฟังจากรายการ (เพื่อจะลองกลับไปหาชื่อของเขาจาก tracklisting จากเว็บ BBC ได้) แต่เพิ่งมานึกขึ้นได้ไม่นานว่าจากที่เคยอ่าน เขาสอนที่พริ้นซ์ตั้น ก็เลยลองหาดูใหม่จากตรงนั้น และก็โชคดีที่ได้เจออีกครั้ง ไม่เช่นนั้นคงพลาดงานดีๆของเขาไปตลอดกาลเลยครับ

นอกจากจะเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์ดนตรีที่มหาวิทยาลัยพริ้นซ์ตั้นแล้ว เขายังเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อการประพันธ์ดนตรีในเชิง algorithmic คนแรกๆอีกด้วยครับ แต่การสร้างงานในแบบ algorithmic composition ของเขามันก็ตลกตรงที่ว่า แทนที่มันควรจะทำให้เขาต้องหมกมุ่นอยู่กับการคิดค้นซาวด์ใหม่ๆที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน หรือสำรวจออกไปนอกจักรวาลของเสียงในแบบที่เคยรู้จัก มันกลับทำให้เขาสนใจเสียงของมนุษย์กับเสียงรบกวนที่อยู่รอบๆตัว ตั้งแต่ยุค 70s เขาก็ได้ใช้คอมพิวเตอร์เหมือนกับเป็นกล้องจุลทัศน์ที่ใช้สำรวจองค์ประกอบที่ย่อยที่สดในโลกแห่งเสียง ในงานที่ชื่อ "Six Fantasies on a Poem by Thomas Campion" ซึ่งถือได้ว่าเป็นหมุดหมายที่สำคัญยิ่งสำหรับดนตรีในแขนง computer music เขาได้พาเราท่องเข้าไปในจักรวาลที่อยู่ในคำพูดและบทกวี เพลงข้างล่างเป็นเพลงจากอัลบั้ม Six Fantasies on a Poem by Thomas Campion ที่มีการ synthesized เสียงประสานที่ร้องในสไตล์ choral musicตามขนบของดนตรีคลาสสิคครับ ฟังดูแล้วเหมือนกับร้องโดยคณะประสานเสียงแอนดรอยท์แห่งโลกอนาคตเลยครับ


Send "Her song, from Six Fantasies on a Poem by Thomas Campion- Her Song (1978)"
http://beemp3.com/download.php?file=2383022&song=Her+song%2C+from+Six+Fantasies+on+a+Poem+by+Thomas+Campion-+Her+Song+%281978%29


อัลบั้มชุดนี้ออกในปี 1979 หลังจากอัลบั้ม tape piece ถึงหกปี ซึ่งเพลง Mild und Leise จากอัลบั้ม tape piece นี่เองครับที่วง Radiohead เอาไปแซมเปิ้ลลงในเพลง Idioteque ที่อยู่ในอัลบั้ม Kid A ของพวกเขา และในปี 2006 เขาก็ยังเอาเสียงประสานสังเคราะห์ในเพลงจากลิ้งค์ข้างบนไปใช้ในงานเพลงของเขาเองที่ชื่อ "I Won't Race You" จากอัลบั้ม "Mirrors For Eyes", อีกด้วยครับ ดนตรีของเขาในยุค 70s เรียกได้ว่าเป็นงานดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นตามขนบของดนตรีคลาสสิคร่วมสมัย คือนอกจากจะออกผลงานเป็นบทเพลง ไม่ได้เป็นอัลบั้มเหมือนดนตรีป๊อปทั่วไปแล้ว งานของเขาก็ดูเหมือนจะทำให้เส้นแบ่งระหว่างคำว่าดนตรีกับเสียงรบกวนเลือนรางลงเรื่อยๆ อีกเพลงข้างล่างเป็นงานเปียโนในสไตล์ atonal ที่คงพอจะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างได้นะครับ


Paul Lansky - Modal Fantasy .mp3
http://beemp3.com/download.php?file=1142630&song=Modal+Fantasy


เริ่มต้นในช่วงยุค 90s เป็นช่วงที่เขาเริ่มออกผลงานเป็นอัลบั้ม โดย Smalltalk อัลบั้มแรกของเขาที่ออกในปี 1990 จะมีสี่เพลง สองเพลงแรกจะโฟกัสไปที่เสียงมนุษย์ อีกสองเพลงจะเป็นการสำรวจดนตรี metal กับ harmonica ส่วนเพลง More Than Idle Chatter จะอยู่ใน Homebrew อัลบั้มชุดที่สองของเขาที่ออกในปี 1992 ในบทเพลงนี้ เขาจะนำตัวอย่างเสียงของมนุษย์มาผ่านกระบวนการที่เรียกกันว่า granular synthesis (a basic sound synthesis method that operates on the microsound time scale) ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า LPC (ใครที่ทำงานในแวดวงดนตรีหรือพอมีความรู้ในกระบวนการเหล่านี้ ถ้าพอมีเวลา ช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ) งานที่ถือเป็นไฮไลท์ในชุดนี้ จะเป็นเสมือนการมองสิ่งเดียวกันจากมุมมองที่หลากหลาย ส่วนอัลบั้ม Fantasies and Tableaux ที่ออกในปี 1994 จะเป็นการรวบรวมเอางานเก่าๆมานำเสนอ ส่วน Folk Images ที่ออกในปีต่อมา ก็เป็นการนำเอางานดนตรีที่ชื่อ good few folk songs ของเขามาตีความใหม่

งานของเขาในยุคต่อๆมาจะเน้นไปที่เสียงของบรรยากาศในศูนย์การค้าและไฮเวย์เข้ามาประกอบในงานดนตรี การเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะเริ่มต้นจาก Things She Carried งาน computer opera ของเขาในปี 1997 ตามมาด้วยงานชุด Conversation Pieces ในปีต่อมา ปี 2001 "Idle Chatter Junior" บทเพลงความยาว 19 นาทีกว่าๆจากอัลบั้ม Ride จะเป็นเสมือนภาพจำลองการเดินทางด้วยรถไปตามเมืองต่างๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2006 เขาได้สร้างบทเพลงที่ชื่อ Chatter of Pins ที่รวบรวมเอาองค์ประกอบทั้งจากฮิพฮอพและดนตรีโฟล์ค ซึ่งต่อมาในปี 2008 เพลงนี้ก็รวมอยู่ในอัลบั้ม Crosstalk: American Speech Music

เมื่อไม่นานมานี้เอง เขาก็เริ่มหันเหความสนใจออกจากคอมพิวเตอร์และเสียงสังเคราะห์ หันมาเน้นที่การประพันธ์บทเพลงที่เล่นโดยเครื่องดนตรีอคูสติค บทเพลงของเขาแม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ก็ได้รับการเผยแทบทุกทวีปผ่านคณะเต้นรำอย่าง Bill T. Jones/Arnie Zane and Company ที่ออกตระเวณเปิดการแสดงทั่วโลก จนเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ที่รักการแสดงทางศิลปะ ลิ้งค์ข้างล่างเป็นโฮมเพจของเขาในเว็บของมหาวิทยาลัยพริ้นตันที่ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความของเขา หรือฟังตัวอย่างเพลงบางเพลงครับ

Paul Lansky's Homepage on Princeton.edu
http://silvertone.princeton.edu/~paul/

แต่ถ้าต้องการจะฟังเพลงอื่นๆแบบเต็มเพลง รวมทั้งเพลง "Notjustmoreidlechatter" ที่เปิดในรายการ Freak Zone ก็ฟังได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ

Paul Lansky
http://silvertone.princeton.edu/~paul/mymp3.html

บันทึกการเข้า
จ่าวิส
Fragile
***
กระทู้: 323



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2009 | 10:39:35 PM »

Judas Priest - Nostradamus
Manowar - Gods of War
Fear Factory หลายๆชุด
Cradle of Filth - Godspeed on the Devil's Thunder
My Chemical Romance - Black Parade

ของไทย
Nerve - Blackened Chapter 1
Rancorous ทุกชุด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery