ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149669 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

28 เมษายน 2024 | 12:47:25 AM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgTreasure Boxesแนะนำอัลบั้มแปลกและหายากจากกรุสมบัติปีศาจลายคราม
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำอัลบั้มแปลกและหายากจากกรุสมบัติปีศาจลายคราม  (อ่าน 60786 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #90 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 10:49:51 AM »

ก็น่าจะหมายถึง ส่วนใหญ่ นะครับ แต่จะว่าไป ก็มี ข้อยกเว้นอยู่ไม่น้อย เช่น ซีดี ในบ้านเรา เคยมีราคา 500 บาทบนปก ปัจจุบัน เหลืออยู่
150 ก็มี ยิ้มกว้างๆ 
บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #91 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:16:00 AM »

ก็น่าจะหมายถึง ส่วนใหญ่ นะครับ แต่จะว่าไป ก็มี ข้อยกเว้นอยู่ไม่น้อย เช่น ซีดี ในบ้านเรา เคยมีราคา 500 บาทบนปก ปัจจุบัน เหลืออยู่
150 ก็มี ยิ้มกว้างๆ 
ผมว่าราคาที่บน sticker ที่ติดอยู่บนกล่องหรือปกแผ่นนั้นเป็นราคา suggested retail price หรือ SRP ที่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายเขาแนะนำให้ขาย แต่โดยทั่วไปราคาขายจริงมักจะต่ำกว่าราคาหน้าปกหรือ suggested retail price และในกรณีของราคาที่ปรากฎอยู่บนโอบิก็เช่นเดียวกัน ผมเคยถามผู้รู้ท่านหนึ่งว่าราคาขายที่ปรากฎบนโอบินั้น ผู้ขายจะต้องขายตามราคานั้นหรือไม่อย่างไร? ก็ได้รับคำตอบมาว่า เป็น SRP ที่กำหนดไว้ ส่วนราคาขายจริง (ในยุคนั้น) มักจะแตกต่างจากราคาที่ปรากฎบนโอบิครับ
บันทึกการเข้า
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #92 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:23:35 AM »

คุณปีศาจย้ำ 2 รอบแล้วล่ะครับ เข้าใจแล้วครับท่าน
ที่คุยกันก็คือว่า เราจะสังเกตุว่า แผ่นไหนออกก่อนหลัง ได้จากราคาที่อยู่บนโอบิเป็นแนวทางไงครับ
เช่น Close To The Edge 2000 Yen ออกก่อน Close To The Edge 2500 Yen เป็นต้นครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

ท่านผีเพลง
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4733


Phantom of the Paradise


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #93 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:30:16 AM »

คุณปีศาจย้ำ 2 รอบแล้วล่ะครับ เข้าใจแล้วครับท่าน
ที่คุยกันก็คือว่า เราจะสังเกตุว่า แผ่นไหนออกก่อนหลัง ได้จากราคาที่อยู่บนโอบิเป็นแนวทางไงครับ
เช่น Close To The Edge 2000 Yen ออกก่อน Close To The Edge 2500 Yen เป็นต้นครับ ยิ้มกว้างๆ
คุณป่อง ก็ย้ำ 2 รอบเหมือนกันนะ
ผมยอมรับก็ได้แล้วครับ 
ว่าซื้อมั่ว ไม่รู้เรื่องจริงๆ ฮะฮะฮ่า
บันทึกการเข้า

.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #94 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:42:16 AM »

แผ่นกรณีตัวอย่างนี้ ผมค้นเจอแค่รหัสเดียวเอง ซึ่งคิดว่า ไม่ถูกต้อง ( แผ่น Japan )

1976      Close to the Edge      Japan     Vinyl LP     Warner Music Japan     P-10116A

ซึ่ง issue นี้ออกหลังแผ่น UK ถึง 4 ปี แล้วเสียงจะดีกว่าแผ่น UK หรือครับ  ขยิบตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:44:24 AM โดย โปโลตูน » บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #95 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:47:37 AM »

คุณปีศาจย้ำ 2 รอบแล้วล่ะครับ เข้าใจแล้วครับท่าน
ที่คุยกันก็คือว่า เราจะสังเกตุว่า แผ่นไหนออกก่อนหลัง ได้จากราคาที่อยู่บนโอบิเป็นแนวทางไงครับ
เช่น Close To The Edge 2000 Yen ออกก่อน Close To The Edge 2500 Yen เป็นต้นครับ ยิ้มกว้างๆ
กรณีของ Close to the Edge ยิ่งแล้วใหญ่เลย แผ่นเสียงญี่ปุ่นมีสี่รุ่น คือรุ่นแรกราคา 2000 เยน, รุ่นที่สอง ราคา 2500 เยน, รุ่นที่สามซึ่งฉลองครบรอบ 10 ปี (โอบิสีเขียวเหลือง) ราคา 2000 เยน และรุ่น Forever Young ราคา 1600 เยน ซึ่งจะเห็นว่า ราคาหน้าปกไม่ใช่คำตอบเสมอไป

อีกกรณีหนึ่ง แผ่นเสียงญี่ปุ่นของ Locanda delle Fate มีสองรุ่น คือ รุ่น original ราคาหน้าปก 2300 เยน แต่รุ่นที่สอง (Nice Price Series) ราคาก็ nice จริง ๆ คือ 1800 เยน ซึ่งถูกกว่ารุ่นแรกเสียด้วยซ้ำไปครับ

ดังนั้นจึงขอสรุปในประเด็นนี้ว่า ไม่ว่าจะออกก่อนหรือหลัง ราคาบนโอบิไม่ใช่ตัวกำหนดเสมอไปครับ (เอ... แล้วผมจะตอบนอกเรื่องอีกมั้ยครับเนี่ย  ยิ้มกว้างๆ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กรกฎาคม 2010 | 08:33:14 AM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #96 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:50:38 AM »

clear !

ขออีกข้อครับ มีคำแนะนำว่า แผ่นออกก่อน รหัสน้อยกว่า แผ่นออกหลัง

เช่น

รุ่นแรก abd 123
รุ่นหลัง avfe 5732

คือมีตัวเลขและตัวอัษรรวมกัน มากกว่า แผ่นที่ออกก่อน อันนี้จริงไหมครับ
บันทึกการเข้า

TRON
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 12866



ดูรายละเอียด
« ตอบ #97 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010 | 11:54:43 AM »

เหมือนซีดีของญีปุ่นเวลามี re-issue อัลบั้มเก่ามาออกใหม่ราคามักถูกลงมากครับ อย่างซีดี Keith Jarrett จะออกอีก 2 เดือนหน้าแผ่นละ 1000 เยนเท่านั้น ไม่ทันไรคนก็ pre-order จน sold out ไปแล้ว
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #98 เมื่อ: 06 สิงหาคม 2010 | 10:54:40 AM »

ศิลปิน: Barclay James Harvest
ชื่ออัลบั้ม: Alone We Fly
รูปแบบสื่อ: แผ่นเสียงแผ่นคู่ (Double LP)
หมายเลขแผ่น: VSOP LP 140 (Connoisseur Collection, Made in England)
ปีที่ออก: 1990
ระดับการให้คะแนนส่วนตัว: ***

ในยุคสมัยที่ยังไม่มีซีดี และแผ่นเสียงยังคงครองตลาดอยู่นั้น Barclay James Harvest ถือเป็นวงดนตรีร็อควงหนึ่งที่แฟนพันธุ์แท้ยากจะตามเก็บสะสมผลงานของพวกเขาได้ครบถ้วน เนื่องจากมีผลงานออกมาทั้งที่อยู่ในรูปของแผ่นลองเพลย์และแผ่นซิงเกิ้ล ลำพังแค่แผ่นลองเพลย์คงไม่เท่าไร เพราะมีให้หาได้ทั่วไป แต่แผ่นซิงเกิ้ลโดยเฉพาะแผ่นที่มีเพลงหน้าบี (B-Side) ซึ่งไม่มีบรรจุรวมอยู่ในอัลบั้มทั่วไปต่างหากที่หายากกว่า และเป็นที่แสวงหาของแฟนเพลงและนักสะสม เพราะขายหมดเร็วและมีพิมพ์หรือปั๊มออกมาจำนวนจำกัด

Alone We Fly เป็นอัลบั้มรวมเพลง (compilation album) แผ่นคู่ของ BJH ใน VSOP LP Connoisseur Series ซึ่งออกวางจำหน่ายในปี 1990 แผ่นเสียงชุดนี้เป็นการรวบรวมเพลงจำนวน 20 เพลงจากอัลบั้มเก่าและซิงเกิ้ลต่าง ๆ โดยเฉพาะซิงเกิ้ลหน้า B ซึ่งถือกันว่าเป็นเพลงที่ไม่ค่อยจะคุ้นนักสำหรับแฟนเพลง

ดังนั้น Alone We Fly จึงมิใช่อัลบั้มรวมเพลงฮิตหรือ the best ทั่วไปของ BJH เนื่องเพราะมีความพิเศษหรือน่าสนใจอยู่ที่

1. มีเพลงซิงเกิ้ลและเพลงซิงเกิ้ลหน้าบี (B-Side) ที่หาฟังได้ยาก ไม่ค่อยพบเห็นทั่วไป หรือไม่มีบรรจุอยู่ในอัลบั้มที่ออกเป็นทางการบางชุดหรือบางฟอร์แมท เพลงเหล่านี้ได้แก่ Poor Boy Blues (แผ่นซิงเกิ้ลหมายเลข 2058 474), Our Kid's Kid (เพลงหน้าบีของแผ่นซิงเกิ้ล 'Hymn' หมายเลขแผ่น 2058 904), Shades Of B Hill (เพลงหน้าบีของแผ่นซิงเกิ้ล 'Life Is For Living' หมายเลขแผ่น POSP 195), Blow Me Down (เพลงหน้าบีของแผ่นซิงเกิ้ล 'Waiting For The Right Time' หมายเลขแผ่น POSP 640), On The Wings Of Love (เพลงหน้าบีของแผ่นซิงเกิ้ล 'He Said Love' หมายเลขแผ่น POSP 834), You Need Love (จากอัลบั้ม 'Face To Face' ที่ออกเป็นซีดีหรือเมทัลคาสเสทเท่านั้น) และ Guitar Blues (จากอัลบั้ม 'Face To Face' ที่ออกเป็นแผ่นเสียงเท่านั้น)

2. มีเพลงจำนวนสองแทร็ค คือ Love on the Line และ Rock 'N' Roll Lady ซึ่งมาจากอัลบั้มบันทึกการแสดงสด Berlin - A Concert for the People ฉบับ German Limited Edition โดย Polystar และไม่สามารถหาได้ในแผ่นแสดงสด Berlin โดยส่วนใหญ่ทั่วไป ดังนั้น ใครที่ไม่มีแผ่น Berlin Limited Edition ที่ออกโดย Polystar Germany หากมีชุด Alone We Fly ก็จะได้ฟังเพลงแสดงสดทั้งสองแทร็คที่ว่านี้

ส่วนเพลงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น เป็นเพลงที่ตัดออกมาจากอัลบั้มเก่าบางชุด และบางเพลงก็ถูกตัดต่อออกเป็นซิงเกิ้ล ดังนั้น ความยาวของเพลงจึงสั้นกว่าเพลงเดิมในอัลบั้มปกติ ผู้ที่เคยฟังเพลงเต็มมาแล้ว ฟังเพลงเหล่านี้แล้วอาจรู้สึกเสียอรรถรสไปบ้าง และจุดนี้น่าจะเป็นจุดอ่อนข้อหนึ่งของอัลบั้ม Alone We Fly ชุดนี้

จุดอ่อนประการต่อมาน่าจะเป็นเรื่องคุณภาพของไวนิลและคุณภาพเสียง ซึ่งโดยรวมพบว่าบันทึกเสียงมาค่อนข้างอับ โดยเฉพาะแทร็คการแสดงสดสามเพลงที่มาจากชุด Live (1974) นั้น เสียงไม่ดีและไม่น่าฟังเลย อย่างไรก็ตาม คุณภาพเสียงของเพลงอื่นก็พอฟังได้ แต่ไม่ดีเลิศนัก และมาตรฐานการผลิตแผ่นอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีอะไรโดดเด่น

Alone We Fly ในรูปของ LP อาจไม่พบเห็นได้บ่อยนัก ดังนั้น หากมีโอกาสได้มา ก็ไม่ควรจะรอช้า -- สำหรับแฟนเพลงของ Barclay James Harvest ครับ

Track Listing:

Side 1

1. Poor Boy Blues (Single 2058 474)
2. Crazy City (from Album 'Barclay James Harvest Live')
3. For No One (from Album 'Barclay James Harvest Live')
4. Mockingbird (from Album 'Barclay James Harvest Live')
5. Rock 'N' Roll Star (from Album 'Octoberon')

Side 2

1. Hymn (from Album 'Gone To Earth')
2. Our Kid's Kid (B-Side of Single 'Hymn' 2058 904)
3. Berlin (from Album 'XII')
4. Loving Is Easy (Single POSP 012)
5. Love On The Line (from Album 'Berlin - A Concert for The People', Limited German issue Polystar 2475 554)

Side 3

1. Rock 'N' Roll Lady (from Album 'Berlin - A Concert for The People', Limited German issue Polystar 2475 554)
2. Shades Of B Hill (B-Side of Single 'Life Is For Living' POSP 195)
3. Fifties Child (from Album 'Ring Of Changes')
4. Waiting For The Right Time (Single POSP 640)
5. Blow Me Down (B-Side to Single 'Waiting For The Right Time' POSP 640)

Side 4

1. Sideshow (from Album 'Victim Of Circumstance')
2. He Said Love (Single POSP 834)
3. On The Wings Of Love (B-Side to Single 'He Said Love' POSP 834)
4. You Need Love (from Album 'Face To Face', on CD/MC only)
5. Guitar Blues (from Album 'Face To Face', on LP only)














« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2013 | 02:55:54 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #99 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2010 | 09:29:48 AM »

แผ่นกรณีตัวอย่างนี้ ผมค้นเจอแค่รหัสเดียวเอง ซึ่งคิดว่า ไม่ถูกต้อง ( แผ่น Japan )

1976      Close to the Edge      Japan     Vinyl LP     Warner Music Japan     P-10116A

ซึ่ง issue นี้ออกหลังแผ่น UK ถึง 4 ปี แล้วเสียงจะดีกว่าแผ่น UK หรือครับ  ขยิบตา

clear !

ขออีกข้อครับ มีคำแนะนำว่า แผ่นออกก่อน รหัสน้อยกว่า แผ่นออกหลัง

เช่น

รุ่นแรก abd 123
รุ่นหลัง avfe 5732

คือมีตัวเลขและตัวอัษรรวมกัน มากกว่า แผ่นที่ออกก่อน อันนี้จริงไหมครับ
ไม่น่าจะจริงเสมอไปครับ ยกตัวอย่างในกรณีของแผ่นเสียงวง Yes ที่ออกในญี่ปุ่น แผ่น reissued ล็อตหลังยังมีรหัสสี่ตัวเท่ากับแผ่นรุ่นแรกเลยครับ
บันทึกการเข้า
.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #100 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2010 | 11:43:45 AM »

แผ่นกรณีตัวอย่างนี้ ผมค้นเจอแค่รหัสเดียวเอง ซึ่งคิดว่า ไม่ถูกต้อง ( แผ่น Japan )

1976      Close to the Edge      Japan     Vinyl LP     Warner Music Japan     P-10116A

ซึ่ง issue นี้ออกหลังแผ่น UK ถึง 4 ปี แล้วเสียงจะดีกว่าแผ่น UK หรือครับ  ขยิบตา

clear !

ขออีกข้อครับ มีคำแนะนำว่า แผ่นออกก่อน รหัสน้อยกว่า แผ่นออกหลัง

เช่น

รุ่นแรก abd 123
รุ่นหลัง avfe 5732

คือมีตัวเลขและตัวอัษรรวมกัน มากกว่า แผ่นที่ออกก่อน อันนี้จริงไหมครับ
ไม่น่าจะจริงเสมอไปครับ ยกตัวอย่างในกรณีของแผ่นเสียงวง Yes ที่ออกในญี่ปุ่น แผ่น reissued ล็อตหลังยังมีรหัสสี่ตัวเท่ากับแผ่นรุ่นแรกเลยครับ
แต่มีค่ามากกว่า อัลบั้มที่ออกก่อนใช่ไหมครับ เช่น 5678 มากกว่าเดิม 1238
บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #101 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2012 | 01:31:30 PM »

เอาไว้ว่าง ๆ จะเข้ามาแนะนำแผ่นเสียงชุด Cycles ซึ่งถือเป็นฉบับย่อของอัลบั้ม Ciclos โดย (Los) Canarios เพราะย่อจากลองเพลย์แผ่นคู่เหลือเพียงแผ่นเดียว ผมอุตส่าห์ไปแย่งชิงเขามาได้สักสองสามปีแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสนำมาพูดถึงเสียที ใครไม่มีเวลาฟังอัลบั้มคู่เพราะยาวตั้งเจ็ดสิบกว่านาที ผมขอแนะนำแผ่นฉบับกระเป๋าชุดนี้ครับ

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #102 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2013 | 12:01:17 PM »

ศิลปิน: Julian's Treatment
ชื่ออัลบั้ม: A Time Before This
รูปแบบสื่อ: แผ่นเสียงย้อนออกแผ่นคู่ (Double LP Reissue)
หมายเลขแผ่น: GUESS075 (Guerssen Records, Made in Spain)
ปีที่ย้อนออก: 2011
ระดับการให้คะแนนส่วนตัว: ****

เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลกไปเหยียบดวงจันทร์เมื่อปี 1969 หรือ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นไม่นาน โลกต้องพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ใหม่อีกครั้ง โดยก้าวเข้าสู่ "ยุคอวกาศ" อย่างที่เคยพูดเป็นสำนวนติดปากกันอยู่ระยะหนึ่งในอดีต ประชาคมโลกต่างพากันตื่นกระแสยุคอวกาศ วรรณกรรม สื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะวัฒนธรรมในยุคนั้นก็มักจะเน้นการนำเสนอแนวคิดหรือธีมเกี่ยวกับห้วงอวกาศหรือสภาวะแวดล้อมที่อยู่นอกโลกหรือมาจากนอกโลก มีศิลปิน นักเขียน และนักดนตรีแนวอวกาศหรือวิทยาศาสตร์ (ไซ-ไฟ) เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น David Bowie กับผลงานชุด Space Oddity (1969) ซึ่งนัยว่าได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเรื่องอวกาศในยุคนั้นมาอย่างชัดเจน หรือแม้กระทั่ง Julian Jay Savarin นักประพันธ์นวนิยายวิทยาศาสตร์และในอีกฐานะหนึ่งก็เป็นนักดนตรีที่นำงานเขียนของตนเองมาดัดแปลงเป็นดนตรีฝากไว้ในคีตพิภพ ดังจะมีกล่าวไว้ต่อไป

คงไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นนักเขียนนักประพันธ์นวนิยายสักคนทำดนตรีออกมาให้เราได้ฟังกัน Julian Jay Savarin (ต่อไปจะเรียกโดยย่อว่า JJS) เกิดที่สาธารณรัฐโดมินิกันและย้ายไปอยู่ที่อังกฤษเมื่อราวต้นถึงกลางทศวรรษที่ 60's (1962-1965) เขาเกิดความประทับใจดนตรีที่กรุงลอนดอนในยุคนั้น จึงก่อตั้งวงของตนเองขึ้นมาเพื่อแปรรูปแนวคิดของนวนิยายไตรภาคที่เขากำลังเขียนอยู่ในขณะนั้นให้เป็นผลงานดนตรี ในการนี้ เขาได้สรรหาสมาชิกวง ซึ่งได้แก่ John Dover (เบสส์), Del Watkins (กีตาร์, ฟลุท) (ทั้งสองคนนี้เป็นอดีตสมาชิกวงบลูส์ร็อค Rare Amber มาก่อน), Jack Drummond (กลอง), Kathy Pruden นักร้องนำหญิงชาวออสเตรเลีย โดย JJS รับหน้าที่เขียนเพลงและเล่นคีย์บอร์ด (ออร์แกน) สมาชิกเหล่านี้ได้ทำการฝึกซ้อมเพื่อออกผลงานในนามของ Julian's Treatment และต่อมาในเดือนมิถุนายน 1970 อัลบั้ม LP แผ่นคู่ชุด A Time Before This ก็ได้ออกสู่ตลาดภายใต้สังกัด Youngblood แต่ด้วยปัญหาด้านการบริหารจัดการและการเงิน Julian's Treatment จึงต้องยุบวงไปในอีกไม่นานหลังจากนั้น

A Time Before This จึงเป็นผลงานเพียงชุดเดียวที่ออกในนามของ Julian's Treatment เป็น sci-fi concept album แนวสเปซไซคีเดลิกร็อคปลายยุค 60's ผสมกับ progressive rock ต้นยุค 70's โดยมีเสียงออร์แกนของ JJS โดดเด่นเป็นพระเอกตลอดทั้งอัลบั้ม เสริมด้วยเสียงร้องนำที่ยอดเยี่ยมและทรงพลังของ Cathy Pruden ผนวกด้วยฝีมือการเล่นดนตรีแบ็คอัพอันเก่งฉกาจของนักดนตรีคนอื่นในวง ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นอัลบั้ม progressive rock อันยอดเยี่ยมและน่าสนใจซึ่งแบ่งออกเป็น 12 chapters (เพลง) โดยมีเพลง Phantom City, The Black Tower, Altarra: Princess of the Blue Women, Twin Suns of Centauri, Alkon: Planet of Centauri, The Terran, Fourth from the Sun และ Strange Things เป็นไฮไล้ท์ แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนชื่นชอบเพลง Alda: Lady of the Outer World ซึ่ง Cathy Pruden โพรเจ็คท์เสียงร้องนำได้อย่างชั่วร้าย, Fourth from the Sun ซึ่งออกแนวไซคีเดลิกร็อกตามแบบฉบับของ The Moody Blues, เพลง Strange Things ซึ่งมีลีลาการเดินเบสส์และริฟฟ์กีตาร์หนักหน่วงตลอดจนการโซโลแฮมมอนด์ออร์แกนที่แสนเอร็ดอร่อยโดย JJS ปิดท้ายอย่างอลังการด้วยไทเทิลแทร็ค A Time Before This ซึ่งมีการขย่มออร์แกนอย่างเมามันในสไตล์ Keith Emerson

ผู้เขียนค่อนข้างมั่นใจว่า A Time Before This จะเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ในดวงใจของแฟน ๆ progressive/psychedelic rock ต้นยุค 70's ได้ไม่ยาก เช่นเดียวกับผลงานของ Earth & Fire, Analogy, The United States of America, Rare Bird แผ่นเสียงต้นฉบับโดยสังกัด Youngblood หายากและราคาแพงมาก ส่วนที่พอจะหาได้ง่ายหน่อยก็มีแผ่นรีอิชชู่โดย Akarma และ Guerssen (ซึ่งบัดนี้ก็คงจะ out of print ไปเรียบร้อยและหาไม่ค่อยง่ายแล้ว) โดยส่วนตัว ผู้เขียนขอแนะนำแผ่นของ Guerssen เป็นพิเศษ เพราะฝีมือการผลิตแผ่นดีมากและมีการรีมาสเตอร์จากมาสเตอร์เทปเดิม นอกจากนี้ ยังมีแผ่นเสียง original ที่ออกเป็นแผ่นเดี่ยวในอเมริกาภายใต้สังกัด Decca ซึ่งก็หายากเช่นกันและองค์ประกอบเพลงบางส่วนที่มีอยู่ในแผ่นคู่ได้ถูกตัดทอนออกไปเพื่อให้มีความยาวพอเหมาะกับแผ่นเสียงหนึ่งแผ่น และเวอร์ชั่นที่ออกในอเมริกานี้ยังมีภาพหน้าปกแตกต่างจากเวอร์ชั่นเดิมที่ออกในอังกฤษอีกด้วย



หน้าปกแผ่นเสียงที่ออกในอเมริกาในสังกัด Decca



สมาชิกวง Julian's Treatment (จากซ้ายไปขวา) Jack Drummond, Del Watkins, Cathy Pruden, Julian Jay Savarin และ John Dover

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2013 | 02:57:36 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14368


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #103 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2013 | 04:57:37 PM »

ศิลปิน: Julian Jay Savarin
ชื่ออัลบั้ม: Waiters On The Dance
รูปแบบสื่อ: แผ่นเสียงย้อนออก (LP Reissue)
หมายเลขแผ่น: GUESS076 (Guerssen Records, Made in Spain)
ปีที่ย้อนออก: 2011
ระดับการให้คะแนนส่วนตัว: ****1/2

หลังจากที่ Julian's Treatment ได้ยุบวงไปแล้ว Julian Jay Savarin (JJS) ก็กลับไปเขียนนวนิยายตามที่ตนเองถนัด โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคสองของนวนิยายไตรภาคที่เขาได้ตั้งธงไว้แต่เดิม ต่อมา JJS ได้รับการทาบทามจากสังกัด Birth Records ให้ทำผลงานชุดใหม่ เขาจึงติดต่อนักดนตรีลูกทีมเดิมที่เคยร่วมงานกันในนาม Julian's Treatment แต่ก็ถูกปฏิเสธจาก Del Watkins (กีตาร์, ฟลุท) และ Jack Drummond (กลอง) และในขณะนั้น Cathy Pruden นักร้องนำ ก็ได้กลับไปออสเตรเลียเพื่อแต่งงาน คงเหลือแต่ John Dover มือเบสส์จากไลน์อัพเดิมที่ตอบรับคำเชิญของ JJS เพื่อร่วมงานในผลงานชุดใหม่ ดังนั้น จึงเป็นภาระของ JJS ที่ต้องเฟ้นหาสมาชิกใหม่มาทดแทน ซึ่งต่อมาเขาก็ได้ Nigel "Zed" Jenkins มาเล่นกีตาร์, Roger Odell อดีตสมาชิกของ CMU รับหน้าที่เล่นกลอง และนักร้องหญิงที่มาแทน Cathy Pruden คือ Lady Jo Meek ซึ่งเป็นพี่น้องกันกับ Ann Meek นักร้องนำวง Catapilla ทีมไลน์อัพใหม่ได้ทำการฝึกซ้อมและบันทึกเสียงผลงานชุดใหม่ ชื่อ Waiters On The Dance ซึ่งออกวางจำหน่ายเมื่อปี 1973 ในนาม Julian Jay Savarin มิใช่ Julian's Treatment แต่กระนั้น ผลงานชุดใหม่นี้ก็ไม่ได้รับการโปรโมทเท่าที่ควร JJS จึงรู้สึกเบื่อล้าและหันหลังจากวงการดนตรีกลับไปสู่งานเขียนนวนิยายไซไฟที่ตนถนัดและประสบความสำเร็จทั่วโลกในที่สุด

มีข้อถกเถียงกันว่าผลงานชุด Waiters On The Dance นั้นออกจำหน่ายในปีใดกันแน่ -- บางคนว่าออกปี 1969 บ้างก็ว่า 1971 บ้างก็ว่า 1973 และแม้กระทั่งแผ่นเสียงที่ออกโดย 5 Hours Back เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่นและมีอยู่ในมือผู้เขียนขณะนี้ยังระบุว่าเป็นปี 1968 เลย -- แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องปีที่ออกจำหน่ายเผยแพร่ตามที่ปรากฏบนแผ่นรีอิชชู่ของ Guerssen ระบุว่าเป็นปี 1973 และเมื่อพิจารณาจากสไตล์ดนตรีโดยรวมทั้งชุด พบว่าให้โทนและบรรยากาศที่สดใหม่กว่าผลงานชุด A Time Before This ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ Waiters On The Dance จะออกจำหน่ายเมื่อปี 1968-1969

ในเรื่องคุณภาพดนตรีของผลงานชุดนี้ ถ้าท่านประทับใจ A Time Before This ก็คงไม่ยากที่จะชอบ Waiters On The Dance เช่นกัน เพราะดนตรีใกล้เคียงกันมาก เว้นแต่ Waiters On The Dance มี sound ที่สดใหม่ คมเข้ม หนักแน่น กระชับ และคึกคักกว่า กีตาร์ที่เล่นโดย Nigel Jenkins ในแนว Jimi Hendrix มีบทบาทมากขึ้นในผลงานชุดนี้ ในขณะที่สำเนียงออร์แกนแนวอวกาศของ JJS ก็ยังคงวังเวงและมีมนต์ขลังอยู่เช่นเดิม เสริมด้วย mellotron ซึ่งเล่นโดยนักดนตรีห้องอัดที่ไม่ทราบชื่อ (บ้างก็ว่า JJS เป็นผู้เล่นเอง) เพลงทุกเพลงในผลงานชุดนี้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน และเพลงที่ผู้เขียนประทับใจเป็นพิเศษ คือ Child of the Night Parts 1 & 2 ซึ่งค่อย ๆ เริ่มต้นอย่างช้า ๆ และหวานด้วยเสียงร้องนำของ Jo Meek แล้วจึงเปลี่ยนจังหวะเป็นร็อคที่โชว์เสียงกีตาร์ในแบบฉบับของ Hendrix, Stranger เพลงสั้นออกแนวพ็อพที่มีวงเครื่องสายร่วมเล่นเป็นแบ็คอัพ, The Death of Alda โชว์พลังเสียงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของนักร้องนำ สำเนียงลีดกีตาร์ที่กราดเกรี้ยว และจังหวะที่สับเปลี่ยนไปมาระหว่างช้ากับเร็ว, Dance of the Golden Flamingoes เพลงบรรเลงที่มีความยาวเกือบเก้านาที โชว์ทักษะและลวดลายดนตรีที่ออกแนวแจ๊สส์ในบางช่วง mellotron ที่เล่นคลอเป็น background นั้นให้ความรู้สึกตระการโสตในแบบซิมโฟนิค และเพลงปิดท้าย Soldiers of Time เริ่มด้วยเสียง narration ว่า "Nameless Soldiers, no peace, only blood" เพลงนี้ทำให้นึกถึงวง Renaissance ไม่ว่าจะเป็นในแง่เสียงร้องของ Jo Meek ซึ่งละม้ายกับเสียงของ Annie Haslam และท่วงทำนองซึ่งฟังดูคล้ายเพลง Rajah Khan ของ Renaissance

น่าเสียดายที่ JJS ได้ยุติบทบาทในวงการดนตรีนับตั้งแต่ผลงานชุดนี้ และหันไปเอาดีทางด้านการประพันธ์นวนิยายจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนยังแอบหวังอยู่ลึก ๆ และลม ๆ แล้ง ๆ ว่า สักวันหนึ่ง JJS อาจกลับมาสานฝันต่อให้จบกับภาคสามของนิยายไตรภาคชุดนี้ของเขา (แต่ปัจจุบันเขาคงมีอายุมากแล้ว) และสำหรับ Waiters On The Dance เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้แล้ว คงไม่ต้องบอกกระมังว่าสมควรมีไว้ฟังเคียงคู่กับผลงานชุด A Time Before This หรือไม่

และเช่นกัน Waiters On The Dance ที่เป็นแผ่นเสียงต้นฉบับนั้นหายากและราคาค่างวดก็แพง แต่ก็ยังมีแผ่นรีอิชชู่ของ Akarma และ Guerssen ไว้ปลอบประโลมแฟน ๆ ที่มีกำลังทรัพย์น้อย นอกจากนี้ก็ยังมีแผ่นญี่ปุ่นซึ่งผลิตโดย 5 Hours Back ที่อังกฤษแล้วนำมาสวม obi-insert จัดจำหน่ายโดย Edison / Music Visions ที่ประเทศญี่ปุ่น ถ้าชอบก็ลองเลือกซื้อหามาฟังดูนะครับ ส่วนผู้เขียนนั้นหลงรักทั้ง Waiters On The Dance และ A Time Before This ไปแล้วจนหมดใจ



Waiters On The Dance แผ่น (ลูกครึ่ง) ญี่ปุ่น ซึ่งผลิตโดย 5 Hours Back ในอังกฤษ และนำไปสวม obi-insert ที่ญี่ปุ่น จัดจำหน่ายโดย Edison / Sonic Visions

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2013 | 02:58:58 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า
undeaʇh
Fragile
***
เพศ: ชาย
กระทู้: 467



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #104 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2013 | 07:14:15 PM »

ขอบคุณพี่ปีศาจฯมากๆครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery