ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149652 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

17 เมษายน 2024 | 01:39:49 AM
หน้า: 1 ... 319 320 [321] 322 323 ... 325
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ตาดู-หูฟัง  (อ่าน 1592793 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ท่านผีเพลง
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4733


Phantom of the Paradise


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4800 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2015 | 04:55:06 PM »

สายสัญญาณและสายลำโพงที่ใช้งานมานานถึง 10-15 ปี สมควรเปลี่ยนใหม่หรือเปล่าครับ? หรือว่ายังใช้ต่อไปได้อีก

 ถามแบบนี้แสดงว่าอยากเปลี่ยน
 เปลี่ยนไปเลยครับ รวมทั้งสายไฟด้วย
ถ้าเสียงยังดังอยู่ ไม่ต้องเปลี่ยนครับ
เก็บตังค์ซื้อแผ่นเลย
ยกเว้นแต่สนิมเขลอะ ต้องถอดออกมาเช็ดล้างทาถู รับรองแค่นี้ เสียงแจ่มแจ๋วแน่นอน
บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4801 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2015 | 06:32:27 PM »

สายสัญญาณและสายลำโพงที่ใช้งานมานานถึง 10-15 ปี สมควรเปลี่ยนใหม่หรือเปล่าครับ? หรือว่ายังใช้ต่อไปได้อีก

 ถามแบบนี้แสดงว่าอยากเปลี่ยน
 เปลี่ยนไปเลยครับ รวมทั้งสายไฟด้วย
ถ้าเสียงยังดังอยู่ ไม่ต้องเปลี่ยนครับ
เก็บตังค์ซื้อแผ่นเลย
ยกเว้นแต่สนิมเขลอะ ต้องถอดออกมาเช็ดล้างทาถู รับรองแค่นี้ เสียงแจ่มแจ๋วแน่นอน
ตอนนี้งดซื้อแผ่นชั่วคราว เพื่อทำความฝันบางอย่างให้เป็นจริงครับ
เบื่อจัง เล่นเครื่องเสียงมีแต่เสียเงิน เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโดยเฉพาะกับคนจนอย่างผมครับ เศร้า
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
อั๋น501
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4802 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2015 | 06:35:27 AM »

สายสัญญาณและสายลำโพงที่ใช้งานมานานถึง 10-15 ปี สมควรเปลี่ยนใหม่หรือเปล่าครับ? หรือว่ายังใช้ต่อไปได้อีก

 ถามแบบนี้แสดงว่าอยากเปลี่ยน
 เปลี่ยนไปเลยครับ รวมทั้งสายไฟด้วย
ถ้าเสียงยังดังอยู่ ไม่ต้องเปลี่ยนครับ
เก็บตังค์ซื้อแผ่นเลย
ยกเว้นแต่สนิมเขลอะ ต้องถอดออกมาเช็ดล้างทาถู รับรองแค่นี้ เสียงแจ่มแจ๋วแน่นอน
ตอนนี้งดซื้อแผ่นชั่วคราว เพื่อทำความฝันบางอย่างให้เป็นจริงครับ
เบื่อจัง เล่นเครื่องเสียงมีแต่เสียเงิน เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโดยเฉพาะกับคนจนอย่างผมครับ เศร้า

555 ระดับเฮียปีศาจฯ ไม่เป็นคนจนหรอก  ยิ้มเท่ห์  คนจนอะไรกันสอยแผ่นเสียงจากเมืองนอกเป็นว่าเล่น ไม่เหมือนผมเที่ยวเดินตามตลาดนัด
แบกะดินได้ซื้อแต่แผ่นเสียงถูกๆ พวกแผ่นหางๆ ไม่มีปัญญาซื้อแผ่นหัวๆ ปั๊มแรกเหมือนคนอื่นๆเค้าแฮะ  ยิงฟันยิ้ม
แถมตอนนี้เฮียปีศาจฯ กำลังจะทำฝันให้เป็นความจริง (สอยเทิร์นฯใหม่) ส่วนเรื่องเส้นสายหากยังไม่มีตังค์เหลือๆ ใช้ของเดิมไปก่อน
ก็ได้ไว้อัพฯอย่างอื่นๆที่หวังผลกับเสียงมากกว่าดีกว่าแฮะ
บันทึกการเข้า
อั๋น501
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4803 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2015 | 06:43:07 AM »

ยินดีด้วยครับพี่ ถ้ามีคนมาคุยกันเยอะ ๆ เหมือนในเฟซบุ๊คก็คงดีนะครับ

อยากให้เป็นแบบเฮียป่อง ว่าเหมือนกัน มีเพื่อนๆสมาชิกแวะเวียนเข้ามาคุยกันบ้าง  แต่อย่างว่ากระทู้ "ตาดู-หูฟัง" ก็มีพวกเราเข้ามาคุยกัน
ไม่กี่คนอยู่แล้ว  ยิงฟันยิ้ม มีคนเข้ามาอ่านมากที่สุดในเว็บไทยพร็อกฯ ก็เพราะคนภายนอกทั่วๆไปเข้ามาอ่านกันทั้งนั้นแฮะ
ดีใจครับที่กระทู้มีคนสนใจอ่านกันมากมายเช่นนี้ เนี่ยขนาดคุยกันอยู่ไม่กี่คนนะ ต่อไปผมคงต้องเข้ามาอัพเดทให้มากขึ้น มีปัญหาเดิมๆ
ยังไม่สามารถลงรูปเองได้ โกรธ
บันทึกการเข้า
ท่านผีเพลง
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4733


Phantom of the Paradise


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4804 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2015 | 11:49:51 AM »

ยินดีด้วยครับพี่ ถ้ามีคนมาคุยกันเยอะ ๆ เหมือนในเฟซบุ๊คก็คงดีนะครับ

อยากให้เป็นแบบเฮียป่อง ว่าเหมือนกัน มีเพื่อนๆสมาชิกแวะเวียนเข้ามาคุยกันบ้าง  แต่อย่างว่ากระทู้ "ตาดู-หูฟัง" ก็มีพวกเราเข้ามาคุยกัน
ไม่กี่คนอยู่แล้ว  ยิงฟันยิ้ม มีคนเข้ามาอ่านมากที่สุดในเว็บไทยพร็อกฯ ก็เพราะคนภายนอกทั่วๆไปเข้ามาอ่านกันทั้งนั้นแฮะ
ดีใจครับที่กระทู้มีคนสนใจอ่านกันมากมายเช่นนี้ เนี่ยขนาดคุยกันอยู่ไม่กี่คนนะ ต่อไปผมคงต้องเข้ามาอัพเดทให้มากขึ้น มีปัญหาเดิมๆ
ยังไม่สามารถลงรูปเองได้ โกรธ
จริงครับ เป็นกระทู้เครื่องเสียง มากกว่าจะเป็นกระทู้ดนตรี
ผมเจอหลายคน ที่รู้จักผม จากกระทู้นี้ ซึ่งเป็นนักเล่นเครื่องเสียง
แต่พวกนักฟังเพลง ไม่เคยทักแฮะ แปลกมาก

กระทู้นี้ได้ความนิยม เพราะประสพการณ์ของคุณอั๋น501 ที่มาเล่าเบื้องหลังเครื่องเสียงแบบหมดเปลือกครับ
ไม่เหมือนคนไทยส่วนใหญ่ เพราะมักอายในความเปิ่นของตัวเอง
เช่นตัวผมเอง
เคยเข้าไปถามเรื่องเครื่องเสียงและแผ่นเสียง ในร้านไฮไฟที่โด่งดังที่สุดในเมืองไทย (ตอนนี้เจ๊งแล้ว)
ถามเขา แต่เขาไม่ตอบ
เขามองผม หัวจรดเท้า แล้วพูดนุ่มๆว่า
"มันแพง"

วินาทีนั้น ก็แอนตี้พวกเครื่องเสียงมาตลอด
จนกระทั่งเจอตาอั๋น501นี่แหละครับ ชักนำเข้าสู่การเสียเงินจนได้... อิๆๆๆ
บันทึกการเข้า

.. polotoon ..
The Snow Goose
**********
กระทู้: 18602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4805 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2015 | 02:43:20 PM »

ถ้าพี่ผีสามารถแนะนำให้พี่อั๋นโพสต์รูปที่เว็บนี้ได้ล่ะก็ ผมจะนับถือพี่มากกว่าที่นับถือมากอยู่แล้วอีกเลยครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4806 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2015 | 09:01:51 AM »

ยินดีด้วยครับพี่ ถ้ามีคนมาคุยกันเยอะ ๆ เหมือนในเฟซบุ๊คก็คงดีนะครับ

อยากให้เป็นแบบเฮียป่อง ว่าเหมือนกัน มีเพื่อนๆสมาชิกแวะเวียนเข้ามาคุยกันบ้าง  แต่อย่างว่ากระทู้ "ตาดู-หูฟัง" ก็มีพวกเราเข้ามาคุยกัน
ไม่กี่คนอยู่แล้ว  ยิงฟันยิ้ม มีคนเข้ามาอ่านมากที่สุดในเว็บไทยพร็อกฯ ก็เพราะคนภายนอกทั่วๆไปเข้ามาอ่านกันทั้งนั้นแฮะ
ดีใจครับที่กระทู้มีคนสนใจอ่านกันมากมายเช่นนี้ เนี่ยขนาดคุยกันอยู่ไม่กี่คนนะ ต่อไปผมคงต้องเข้ามาอัพเดทให้มากขึ้น มีปัญหาเดิมๆ
ยังไม่สามารถลงรูปเองได้ โกรธ
จริงครับ เป็นกระทู้เครื่องเสียง มากกว่าจะเป็นกระทู้ดนตรี
ผมเจอหลายคน ที่รู้จักผม จากกระทู้นี้ ซึ่งเป็นนักเล่นเครื่องเสียง
แต่พวกนักฟังเพลง ไม่เคยทักแฮะ แปลกมาก

กระทู้นี้ได้ความนิยม เพราะประสพการณ์ของคุณอั๋น501 ที่มาเล่าเบื้องหลังเครื่องเสียงแบบหมดเปลือกครับ
ไม่เหมือนคนไทยส่วนใหญ่ เพราะมักอายในความเปิ่นของตัวเอง
เช่นตัวผมเอง
เคยเข้าไปถามเรื่องเครื่องเสียงและแผ่นเสียง ในร้านไฮไฟที่โด่งดังที่สุดในเมืองไทย (ตอนนี้เจ๊งแล้ว)
ถามเขา แต่เขาไม่ตอบ
เขามองผม หัวจรดเท้า แล้วพูดนุ่มๆว่า
"มันแพง"

วินาทีนั้น ก็แอนตี้พวกเครื่องเสียงมาตลอด
จนกระทั่งเจอตาอั๋น501นี่แหละครับ ชักนำเข้าสู่การเสียเงินจนได้... อิๆๆๆ

แอนตี้ทำไมครับพี่
เครื่องเสียงไม่ได้ผิดอะไร เครื่องเสียงคืองานศิลปะที่สื่อคุณค่าของดนตรี มันเป็นแค่วัตถุที่ไม่มีชีวิต แต่นักเล่นเครื่องเสียงและคนขายเครื่องเสียง "บางคน" (หรืออาจจะหลายคน) ที่มีนิสัยชอบดูถูกคนอื่นและเหยียดคนอื่นว่าต่ำกว่าต่างหากล่ะครับที่ผิด คนพวกนี้ทำให้วงการเครื่องเสียงมัวหมอง ไม่ใช่ตัวเครื่องเสียงเองครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
อั๋น501
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4807 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2015 | 03:43:08 PM »

ยินดีด้วยครับพี่ ถ้ามีคนมาคุยกันเยอะ ๆ เหมือนในเฟซบุ๊คก็คงดีนะครับ

อยากให้เป็นแบบเฮียป่อง ว่าเหมือนกัน มีเพื่อนๆสมาชิกแวะเวียนเข้ามาคุยกันบ้าง  แต่อย่างว่ากระทู้ "ตาดู-หูฟัง" ก็มีพวกเราเข้ามาคุยกัน
ไม่กี่คนอยู่แล้ว  ยิงฟันยิ้ม มีคนเข้ามาอ่านมากที่สุดในเว็บไทยพร็อกฯ ก็เพราะคนภายนอกทั่วๆไปเข้ามาอ่านกันทั้งนั้นแฮะ
ดีใจครับที่กระทู้มีคนสนใจอ่านกันมากมายเช่นนี้ เนี่ยขนาดคุยกันอยู่ไม่กี่คนนะ ต่อไปผมคงต้องเข้ามาอัพเดทให้มากขึ้น มีปัญหาเดิมๆ
ยังไม่สามารถลงรูปเองได้ โกรธ
จริงครับ เป็นกระทู้เครื่องเสียง มากกว่าจะเป็นกระทู้ดนตรี
ผมเจอหลายคน ที่รู้จักผม จากกระทู้นี้ ซึ่งเป็นนักเล่นเครื่องเสียง
แต่พวกนักฟังเพลง ไม่เคยทักแฮะ แปลกมาก

กระทู้นี้ได้ความนิยม เพราะประสพการณ์ของคุณอั๋น501 ที่มาเล่าเบื้องหลังเครื่องเสียงแบบหมดเปลือกครับ
ไม่เหมือนคนไทยส่วนใหญ่ เพราะมักอายในความเปิ่นของตัวเอง
เช่นตัวผมเอง
เคยเข้าไปถามเรื่องเครื่องเสียงและแผ่นเสียง ในร้านไฮไฟที่โด่งดังที่สุดในเมืองไทย (ตอนนี้เจ๊งแล้ว)
ถามเขา แต่เขาไม่ตอบ
เขามองผม หัวจรดเท้า แล้วพูดนุ่มๆว่า
"มันแพง"

วินาทีนั้น ก็แอนตี้พวกเครื่องเสียงมาตลอด
จนกระทั่งเจอตาอั๋น501นี่แหละครับ ชักนำเข้าสู่การเสียเงินจนได้... อิๆๆๆ

แอนตี้ทำไมครับพี่
เครื่องเสียงไม่ได้ผิดอะไร เครื่องเสียงคืองานศิลปะที่สื่อคุณค่าของดนตรี มันเป็นแค่วัตถุที่ไม่มีชีวิต แต่นักเล่นเครื่องเสียงและคนขายเครื่องเสียง "บางคน" (หรืออาจจะหลายคน) ที่มีนิสัยชอบดูถูกคนอื่นและเหยียดคนอื่นว่าต่ำกว่าต่างหากล่ะครับที่ผิด คนพวกนี้ทำให้วงการเครื่องเสียงมัวหมอง ไม่ใช่ตัวเครื่องเสียงเองครับ

สมัยก่อนคนขายเครื่องเสียงไฮเอ็นด์มักจะเป็นเช่นนี้
ดูถูกลูกค้าที่คิดว่าไม่มีปัญหาซื้อ ซึ่งบางคนอาจจะแต่งตัวปอนๆใส่กางเกงยีนส์ขาดๆ
เสื้อยึดของแจก แต่มีตังค์แฮะ 
สมัยนี้คงไม่แล้วเพราะคนมีตังค์บางคนใส่กางเกงขาสั้นสวมเสื้อยึดร้องเท้าแตะ
มีตังค์แยะ ยุดนี้สังคมเปลี่ยนไป
หากพ่อค้ามัวแต่ยึดติดดูคนแต่ภายนอกทำธุรกิจขายเครื่องเสียงคงเจ๊ง
คนรวยบางคนมีตังค์อาจจะไม่ซื้อเครื่องเสียงแพงๆก็มีถมไป
หรือคนมีตังค์ไม่มากกล้าที่จะจ่ายแพงๆกับเครื่องเสียงที่ตัวเองพอใจก็มีแยะไป
บางคนมีหมดตังค์กับแผ่นตั้งมากมายแต่ใช้เครื่องเสียงแบบคงไม่มีเงิน
ซึ่งเอาค่าแผ่นมารวมกันแล้วสามารถซื้อเครื่องเสียงดีๆแพงๆได้เลย แล้วมักจะบอกว่าไม่มีเงินซื้อเครื่องเสียงดีๆ  ยิ้มกว้างๆ
ก็เป็นเรื่องที่แปลกมาก เอาง่ายๆแค่จะอัพฯเครื่องในซีสเต็มซักชิ้นคิดแล้วคิดอีกทั้งๆรู้ว่าเครื่องเสียงดีๆ
ย่อมจะให้คุณภาพเสียงที่ดีฟังเพลงได้ไพเราะขึ้นกับมองข้ามซื้อแต่แผ่นเหมือนน้ำซึมบ่อทราย
อาจจะใช้เงินตอนซื้อไม่มากนักรวมๆแต่ละเดือน แต่ละปี ผมว่าหมดเงินมากกว่าเปลี่ยนเครื่องเสียงอีก
ที่เล่าให้ฟังไม่ใช่อะไรหรอก อยากจะบอกว่าการลงทุนกับเครื่องเสียงดีๆ เพื่อใช้ฟังเพลงนั้น
มันคุ้มค่า ยิ่งเรามีแผ่นมากมายเท่าไร ก็ยิ่งใช้ประโยชน์จากเครื่องเสียงได้มากขึ้นเท่านั้นแฮะ



บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4808 เมื่อ: 09 กันยายน 2015 | 10:37:22 AM »

รู้สึกว่าช่วงนี้วงการเครื่องเสียงดูเงียบ ๆ และซบเซาไปบ้างหรือเปล่าครับ?
ก่อนหน้านี้ผมไปซื้ออุปกรณ์เครื่องเสียงที่ร้านแห่งหนึ่งย่านบางกอกบาซาร์เก่า (แต่ตอนนี้ต้องเขยิบออกมาทางด้านถนนชิดลม) เฮียคนที่ขายของให้ผมออกปากว่าช่วงนี้เงียบเหงามาก ไม่ค่อยมีลูกค้า ขายของไม่ค่อยได้ ภาวะเศรษฐกิจท่าทางจะแย่ ฯลฯ
เมื่อวานตอนเย็นผมก็ยังได้มีโอกาสไปเดินเที่ยวที่อัมรินทร์พลาซ่า ราชประสงค์ ซึ่งที่นั่นก็มีร้านขายเครื่องเสียงอยู่หลายร้าน บรรยากาศส่วนใหญ่ดูแล้วเงียบเหงาแทบไม่มีลูกค้าเลย บางร้านยังไม่ทันเย็นทันมืดก็ปิดร้านเสียแล้ว ผมเข้าไปซื้อหัวเข็ม Dynavector Karat 17D3 จากร้านขาประจำแห่งหนึ่งซึ่งผมซื้อของจากร้านนี้มาตั้งแต่ปี 2540 (เผลอแป๊บเดียว 18 ปีเข้าไปแล้ว) น้องขายของที่ร้านก็บอกว่าช่วงนี้เงียบมากและเธอรู้สึกดีใจที่ผม (ในฐานะลูกค้าเก่า) ได้เข้าไปช่วยกระตุ้นบรรยากาศการค้าขายที่ค่อนข้างจะซบเซา ซึ่งผมก็ได้ช่วยควักเงินกระตุ้นไปจำนวนหนึ่งเป็นค่าหัวเข็มตัวใหม่ จากนั้นก็เดินดูสินค้าต่าง ๆ ในร้าน เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง (ซึ่งผมได้หมายตาไว้แล้วรุ่นหนึ่ง โดยจะพยายามออดอ้อนขอยืมเงินภรรยามาซื้อให้ได้ในเร็ว ๆ นี้) อุปกรณ์เครื่องเสียง แผ่นเสียงต่าง ๆ ฯลฯ ผมรู้สึกดีใจที่ร้านนี้ยังดำรงคงอยู่ ในขณะที่อีกหลายร้านตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้ม้วนเสื่อกลับบ้านไปบ้าง ย้ายสถานที่บ้าง เปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามไปบ้าง ฯลฯ ซึ่งนั่นก็คืออนิจจังอย่างหนึ่งของวงการเครื่องเสียงครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4809 เมื่อ: 09 กันยายน 2015 | 11:20:20 AM »

ค่าเงินบาทตอนนี้อ่อนยวบ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 36 บาทต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ ผมจึงงดซื้อแผ่นเสียงและสินค้าจากต่างประเทศชั่วคราวเพราะเมื่อคำนวณดูแล้วสินค้าทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นเมื่อต้องจ่ายเป็นเงินไทย โดยเทียบกับสามสี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าอยากซื้อของประเภทเครื่องเสียงและแผ่นเสียงในขณะนี้ ผมเห็นว่าซื้อจากร้านค้าในบ้านเมืองเราน่าจะเวิร์คสุด เมื่อคำนึงถึงต้นทุนการนำเข้าและอัตราแลกเปลี่ยน สินค้าบางรายการนำเข้ามาจำหน่ายนานแล้วในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนยังไม่สูงเท่าในขณะนี้ (สต็อคเก่า) โดยทั่วไปก็มักจะขายกันในราคาเก่าที่เราเห็นแล้วรู้สึกว่ายังพอรับได้ และโดยที่พิจารณาว่าแผ่นเสียงที่บ้านของผมมีมากพอแล้ว แต่เครื่องหรือฮาร์ดแวร์ยังไม่มีการปรับปรุงหรือพัฒนา ดังนั้นต่อไปนี้ผมจะเก็บเงินปรับปรุงซิสเต็มให้จริงจังเสียทีครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ท่านผีเพลง
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4733


Phantom of the Paradise


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4810 เมื่อ: 09 กันยายน 2015 | 03:12:35 PM »

ยังมีเหลือ ให้ผมจับจ่ายสักหัวนึงไหมครับ
บันทึกการเข้า

ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4811 เมื่อ: 09 กันยายน 2015 | 04:35:48 PM »

ยังมีเหลือ ให้ผมจับจ่ายสักหัวนึงไหมครับ
พี่จะเอาหัวไหนเสนอราคามาเลยครับ (ไม่ได้พูดเล่น)
เผื่อแฟนไม่อนุมัติงบซื้อเทิร์น ผมจะได้ขายทรัพย์สินเก่ารวบรวมเงินไปซื้อเองครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14358


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4812 เมื่อ: 22 กันยายน 2015 | 09:52:47 AM »

Stan Ricker ปรมาจารย์แห่งการทำมาสเตอริ่งแผ่นเสียง โดยเฉพาะการตัดแผ่นในแบบ half-speed อันลือลั่น ผู้ฝากผลงานไว้ในแผ่นเสียง audiophile หลายเจ้าหลายตรา (label) ด้วยกัน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มี Mobile Fidelity Sound Lab หรือที่เรียกย่อว่า MFSL (ตั้งแต่ยุคแรกในช่วงปลาย 70's จนถึงยุคที่ออกแผ่นชนิด anadisq 200 กรัม) ซึ่งนักสะสมแผ่นและนักเล่นเครื่องเสียงทั่วไปคงจะชื่นชอบหรือรู้จักกันดี ป๋า Stan เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 79 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015

R.I.P. ขอจงสู่สุคติครับ

ภาพจาก www.blueheavensstudios.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2015 | 01:23:58 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
อั๋น501
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4813 เมื่อ: 25 กันยายน 2015 | 04:30:02 PM »

 “ก้าวแรกแห่งจุดสูงสุด”

Artist -Pink Floyd
Title -The Piper At the Gates of Dawn
Credit -Syd Barrett – lead guitar, vocals
-Roger Waters – bass guitar, vocals
-Richard Wright – Farfisa Compact Duo organ, piano, celeste (uncredited), vocals
-Nick Mason – drums, percussion

Label -EMI Columbia
Producer -Norman Smith
Engineer -Peter Bown
Date - 1967

คอลัมน์ DEDICATED TO THE MOEMORY
หนังสือ Voice
โดย พัณณาศิส ศิลาพันธุ์
เมื่อปี 1989

นี่คือช่วงใหม่ล่าสุดของ “สุนทรียะแห่งอารมณ์” ที่เพิ่มเติมขึ้นมา หวังว่าช่วง DEDICATED TO THE MOEMORY คงจะถูกใจสำหรับนักสะสมและผู้ที่ใส่ใจในการฟังดนตรี และต้องการจะทราบและเข้าใจโครงสร้างของงาน ดนตรีของศิลปินรายใดรายหนึ่งมากกว่าการฟังในรูปแบบแห่งชื่อเสียงพาไป เราขอเริ่มจาก PINK FLOYD ซึ่งเป็นศิลปินในแบบที่เอ่ยชื่อมาแล้ว นักฟังดนตรีสากลแทบทุกคนอย่างน้อยชื่อเสียงและผลงานของเขาคงจะต้องผ่านหูผ่านตากันมาบ้างและถ้าไม่ชอบ ไม่ชื่น ไม่ชม ในส่วนนี้ก็คงไม่ถึงกับรังเกียจกันหรอกนะครับ


THE PIPER AT THE GATES OF DAWN คือ ชื่อของอัลบั้มชุดแรกของ PINK FLOYD ซึ่งช่วงนั้นสมาชิกที่มีบทบาทเด่นมากที่สุดไม่มีใครเกิน SYD BARRATT นักเรียนศิลปะอัตตาสูง ผู้ทำอะไรตามใจตนเองแบบไม่แคร์สังคม เป็นคนละเอียดอ่อนต่อบางสิ่งมากกว่าที่คนทั่วทั่วไปจะอยากไปเข้าถึงกันนัก และจริงจังต่อชีวิตค่อนข้างสูง แต่นับว่าเป็นโชคดีของ SYD ที่เกิดมาถูกยุคถูกสมัย ยุคแห่งการแสวงหาทำให้แนวทางดนตรีของคณะ PINK FLOYD เริ่มเป็นที่นิยมกันได้สูง อาจจะบอกได้ว่าโครงสร้างดนตรีที่ SYD ได้ใส่เข้าไปในดนตรี PINK FLOYD นั้น นำหน้าโครงสร้างดนตรีแนว “ไซเคเดลิค” ไปก้าวหนึ่งทีเดียว ถ้าพยายามศึกษาโครงสร้างของดนตรีไซเคเดลิคจะทราบว่าไม่แน่ แนวทางที่ SYD เสนอออกมานั้นเป็นแนวทางที่อยู่เหนือยุค มันเป็นรอยต่อแห่งกาลเวลาที่แนวทางดนตรีไซเคเดลิคเข้ามาสวมรอยและทับกับโครงสร้างของแนวดนตรีของ PINK FLOYD ได้อย่างหมดจดชื่ออัลบั้มนั้น SYD เป็นผู้คิดนั้น โดยนำมาจากบทหนึ่งของวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง WIND IN THE WILLOW ของ KENNETH GRAHMA เป็นที่น่าแปลกที่นักเรียนอาร์ทสมัยนั้น ชอบอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้กันมาก ไว้ว่างถ้ามีเวบาจะลองหามาอ่านดู เพราะอ่านประวัติศิลปินแบบสุดขั้ว ถ้าเป็นยุคสมัยนั้นคนไหนคนไหนเอ่ยถึงหนังสือเล่มนี้ทุกที


ความสำเร็จมาเยือนคณะ PINK FLOYD อย่างไม่น่าแปลกใจ เนื่องมาจากก่อนที่ทางคณะจะออกอัลบั้มชุดนี้ ทางคณะปล่อยซิงเกิ้ลที่โด่งดังทั้งในด้านลบและด้านบวกมากที่สุดก็คือเพลง SEE EMILY PLAY (ซึ่งซิงเกิ้ลเพลงดังกล่าว ไม่ได้ถูกนำมารวมในอัลบั้มชุดนี้)ผลงานชุดนี้ในด้านตลาดสามารถติดอันดับ 6 ได้ในประเทศอังกฤษ และติด TOP 20 ถึง 7 สัปดาห์ ในช่วงนั้นไม่ง่ายนักที่วงนอกคอกจะสามารถเข้าไปสู่ความนิยมได้อย่างสมัยนี้แนวดนตรีของทางคณะถูกจัดให้อยู่ในแนวทาง UNDERGROUND ก่อนที่โครงสร้างของไซเคเดลิคจะเข้ามาเป็นศัพท์จำกัดความเช่นในปัจจุบันนี้ ซึ่งต่อมาแนวทางอันเดอร์กราวด์ก็เริ่มมีชื่อเสียงขึ้น วงที่ได้รับยกย่องในยุคนั้นก็เช่น KALAIDOSCOPE, FRANK, ZAPPA ฯลฯ แต่แนวเช่นนี้เป็นแนวตัน ถ้า SYD ไม่ทำลายตนเอง ก็ไม่แน่ใจว่า ตัวเขาจะหาทางออกให้กับแนวทางของคณะ PINK FLOYD เช่นไร


“คนฟังสมัยนั้น เกลียดสิ่งที่เราทำหลายคนบอกว่าเนื้อเพลงที่เราใส่เป็นเรื่องน่าขยะแขยง แต่เราไม่คิดเช่นนั้น แต่เพื่อความเหมาะสมบางประการ เราจะไม่นำ SEE EMILY PLAY มาบรรจุลงในอัลบั้มชุดนี้ ต่อมาเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปคนที่เคยคิดดังกล่าว พร้อมที่จะฟังดนตรีที่เขาเคยขยะแขยงในอดีตในการแสดงสดรอบต่างต่าง” WATERS พูดถึงความหลัง ส่วน NICK MASON มือกลอง พูดถึงผลงานชุดนี้ว่า “สิ่งที่เรานำเสนอในผลงานชุดนี้นั้น ไม่ถึงกับจะอยู่ในระดับสุดยอดของการสร้างสรรค์ เราต้องยั้งยั้งหลายสิ่งหลายอย่างเอาไว้ เพราะนักฟังดนตรีสมัยนั้นคุ้นเคยกับโครงสร้างดนตรีที่มาจากฝั่งอเมริกา และอยากจะให้วงทางฝั่งอังกฤษมีโครงสร้างเช่นเดียวกัน แต่โครงสร้างเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ทางคณะเราต้องการ” ลองมาฟังคำพูดของ SYD BARRETT เจ้าของโครงสร้างงานในอัลบั้มชุดนี้กันบ้าง “ดนตรีทุกเพลงที่ถูกบรรจุอยู่ในผลงานชิ้นนี้เป็นของสด คิดและแต่งกันขึ้นมาเองด้วยตนเอง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากแนวทางดนตรีภายนอก สิ่งที่เราคำนึงสูงสุดก็คือ ยามที่เราออกแสดงสด เราควรจะต้องคิดว่าสิ่งที่เรานำเสนอออกไปนั้น ผู้ฟังสามารถเข้าใจอะไรที่นำเสนอ ไม่ใช่ว่าเกิดปฏิกิริยาสนองตอบในแง่ว่า ดนตรีอะไรกันนี่”


เป็นเรื่องที่พูดได้ยากว่า งานของPINK FLOYD ในชุดนี้อยู่ในระดับไหน เพราะแนวดนตรีที่ทางคณะวางโครงสร้างเอาไว้นั้น เป็นแนวทางแห่งเสียงที่เหนือธรรมชาติ มองภาพพจน์ของโลกในแง่ค่อนข้างลบ และเนื้อเพลิงไม่ค่อยจะสามัญนัก แปลบางทีปวดหัวเหมือนกัน ถ้าไม่ทราบความหมายที่แท้จริงหรือทางเจ้าของดนตรีบ่งบอกออกมาเองว่า เนื้อเพลงที่พูดนั้นพูดถึงอะไร อาทิเพลง SEE EMILY PLAY ถ้าไม่ได้รับของมูลจากที่อ่านมาก่อน ดูเนื้อเพลงค่อนข้างจะงงเหมือนกันมีทฤษฎีของคาลล์ มาร์กซ์ ทฤษฎีหนึ่งแม้ว่าจะเป็นทฤษฎีสังคมนิยม แต่ทฤษฎีนี้สามารถนำมาปรับใช้ได้กับวงการทุกวงการรวมทั้งวงการดนตรีนี้ด้วยกล่าวไว้ว่า


“จิตใจแห่งความเป็นมนุษย์ (CONSCIOUSNESS) ถูกกำหนดโดยโครงสร้างทางสังคม (SOCIAL BEING) และสภาพแวดล้อม”แม้ว่าทฤษฎีข้อนี้จะได้รับการคัดง้าวและโต้ตอบสวนกลับจากผู้รู้หลายท่าน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าใส่ใจมากก็คือ ไม่มีอะไรที่เพียบพร้อมจนหาข้อโต้แย้งไม่ได้ ถ้าคิดจะหาและโต้แย้งที่นำทฤษฎีข้อนี้มาเอ่ยอ้างถึงเพราะเวลาที่เจองาน (ถ้าจำเป็นต้องนำเสนองานที่สัมผัสออกมาเป็นบทความ) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากศิลปินที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน (SENSITIUE) หรือพวงหลุดขั้ว องค์ประกอบส่วนนี้มีส่วนช่วยในการพยายามเข้าใจและเข้าถึงงานที่สัมผัสได้ดีขึ้น อาทิงานของ SYD BARRETT หรือดนตรีประเภทไม่แคร์ความเข้าใจและสนใจของผู้รับฟัง


SYD BARRETT เป็นศิลปินอีกคนที่ทำให้ผมต้องหยุดคิดและพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมงานที่เขาเสนอผ่านออกมาในนามของคณะ PINK FLOYD จึงมีโครงสร้างเช่นนี้โดยส่วนตัวแล้วยามเมื่อพูดถึง PINK FLOYD ชุดแรก ผมจะไม่ค่อยคิดว่า เป็นงานของคณะเต็มที่ 100% นัก แต่จะนึกไปถึงตัว SYD BARRETTมากกว่า แม้ว่าผลงานเดี่ยวของ SYD จะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องนักก็ตาม จนแปลกใจว่า งานชุด OPEL ที่พึ่งวางจำหน่ายทำไม SYD ไม่ใช่ VERSION เหล่านี้ เพราะง่ายและดีกว่ากันเยอะเลย ทำไมจึงแล่อยให้ดนตรีดีดีหลายเพลงเป็น OUT TAKE ไปก็ไม่ทราบ และก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มีการแก้ไขกันหรือไม่ แต่ถ้าให้เดา 99.9%ผมเชื่อว่ามีนะครับ อันเป็นเรื่องปกติสาเหตุที่ทำให้ผมคิดว่า ผลงานชุดนี้เป็นงานของ SYD เนื่องมาจาก SYD เป็นคนวางโครงสร้างมาตั้งแต่คณะนี้พึ่งเริ่มตั้งไข่ และดนตรี 8 ใน 11 เพลงเขาเป็นผู้ประพันธ์ 2 เพลงประพันธ์ทั้งคณะคงเหลือแต่เพลง TAKE UP TMY STETHOSCOPE AND WALK ซึ่งประพันธ์โดย ROGER WATERS เท่านั้นเอง และเมื่อนึกถึง SYD คุณจะคิดอะไรแบบธรรมดาธรรมดามากนักไม่ได้หรอกครับ ยกตัวอย่างให้ดูง่ายง่ายนะครับ “น้ำ” น้ำดื่มธรรมดานี่ละครับ มนุษย์ธรรมดาสามัญทั่วไป เวลาคิดถึงน้ำก็จะคิดไปว่า เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้ดื่มเวลากระหาย ส่วนนักเคมีก็อาจจะคิดไปถึงสูตร H2O แต่ถ้าเป็นคนที่อยู่กลางทะเลทรายก็อาจจะคิดไปถึงว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาลเพียงใดเช่นนี้เป็นต้น งานที่ถูกประพันธ์จากแนวความคิดของ SYD นั้นเป็นอีกงานที่ผมไม่เคยเข้าใจนักว่า สิ่งที่เขาต้องการนำเสนอนั้นคืออะไร ได้แต่เดาไปตามโครงสร้าง แต่ในปัจจุบันบอกตามตรงเลยว่า ผมไม่ซีเรียสเอาจริงเอาจังต่อส่งเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว แต่ความที่เคยเอาจริงเอาจังในอดีตอาจจะมีส่วนช่วยในการเป็นพื้นฐานแห่งการฟังงานที่ไล่เรียงดนตรีของทางคณะนี้ขึ้นมา มีส่วนช่วยในการฟังดนตรีร่วมสมัยมีส่วนช่วยทำให้เข้าใจแนวดนตรีต่างต่างได้กว้างขึ้น คือ ถ้าใครพูดถึงดนตรีแนว UNDERGROUND ไซเคเดลิค หรือแนว ฯลฯ ก็พอจะสร้างภาพพจน์ขึ้นมาได้ว่า ควรจะเป็นเช่นนั้นนะ น่าจะเป็นเช่นนี้คือ เป็นจินตนาการที่ผุดขึ้นมาสู่สมองโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าจะให้อธิบายถึงโครงสร้างแล้ว ผมว่าไม่เห็นมีใครสามารถอธิบายโดยไม่ยกตัวอย่างว่า “ลองหาผลงานชุด ....ของศิลปินผู้นี้มาศึกษาดู” เช่น “ดนตรีไซเคเดลิค คือดนตรีที่เกิดขึ้นมาในยุคแสวงหา ศิลปินแต่ละคนมีแนวโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป แต่โครงสร้างของดนตรีที่ถูกนำเสนอออกมา จะพยายามสร้างความรู้สึกให้กับคนฟัง เมื่อได้สัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกหลุดออก ลองฟังผลงาน..... บางศิลปินก็พยายามเสนอเสียงที่เหนือและผิดธรรมชาติอาทิ..... และ....” นี่ล่ะครับ คำอธิบายที่ตำราแต่ละเล่มก็จะต้องอ้างอิงเช่นนี้เสมอ ผมถึงบอกคุณเสมอว่า ดนตรีนั้น ต้องมาจากการฟังคนที่ทำหน้าที่บอกอย่างมากได้แต่เพียงว่า โครงสร้างแนวดนตรีที่เสนอนั้นเป็นเช่นไร จุดและน้ำหนักของผลงานในอดีตมาเปรียบเทียบกับผลงานที่นำเสนอนั้นเป็นฉันใด แต่ถ้าจะให้อธิบายว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ผมว่าสำหรับโดยส่วนตัวค่อนข้างจะเกินความสามารถของผมนะครับ และก็ไม่ค่อยอยากจะมีความสามารถสูงขนาดนั้นด้วยครับ แค่ฟังดนตรีเสร็จแล้วบอกกับตนเองได้ว่า เออเป็นอย่างไร คิดอย่างไรและเมื่อต้องมาทำหน้าที่นี้ก็พยายามนำความคินั้นออกมาตีและแผ่ออกไปตารมความคิดโดยหาเหตุผลมารองรับมากที่สุด แต่ถ้ามีบุคคล นักฟังท่านใดที่คิดเห็นไม่ตรงกัน และแย้งออกมาผมนับถือนะ เพราะยืนยันได้ว่าเรื่องเช่นนี้ไม่มีผิดหรือถูก เพียงแต่พยายามเปิดกว้างเท่านั้นเอง


โดยส่วนตัวสำหรับผลงานชุดนี้ ผมนับถือชื่นชม และเคารพความสามารถของ SYD สูงมาก จากดนตรีที่เขาเสนอออกมา ผมคิดว่าเขาเข้าใจโครงสร้างของสภาพสังคมที่เขาอยู่แต่เขามองทุกอย่างลึกและจริงจังเกินไป จนทำให้โลกที่ถูกมองผ่านมันสมองของเขาออกในแง่ลบมาก ผมคิดว่าถ้าไม่มีเขาบางที PINK FLOYD อาจจะไม่มีวันรุ่งเรืองเช่นนี้ เพราะโครงสร้างที่วางเอาไว้นั้นสุดกู่มาก การปรับโครงสร้างจากยากแล้วเดินมาหาง่ายขึ้น โดยให้สังคมไล่ตามนั้นไม่ง่ายนะครับ เขาเป็นศิลปินที่แท้จริง มีอารมณ์แห่งความเป็นศิลปินค่อนข้างสูง และมีแล้วแสดงออกมาได้ประกอบกับเขามีดีที่จะถือ แม้ว่าดนตรีของเขาฟังเสร็จแล้วเหมือนกับเป็นส่วนช่วยให้ร้านขายยาแก้ปวดหัวรวดเร็วขึ้นเท่านั้นเอง แต่ถ้าจะบอกว่าชอบงานชุดนี้นั้น คงพูดแบบอ้อมแอ้มไม่เต็มปากเต็มคำนัก ไม่รู้สึกซีเรียสกับดนตรีแบบนี้นัก แต่มีดนตรีที่ฟังแล้วน่าใส่ใจมากกว่าอีกเยอะแยะที่ยังไม่ได้ฟัง เหมาะสำหรับศึกษามากกว่าว่าทำไมวงการถึงยกย่องเขานัก ทำไม PINK FLOYD จึงกลายเป็นวงที่ติดในความทรงจำแต่ผลงานชุดนี้ไม่ใช่ดนตรีที่เหมาะสำหรับฟังเพื่อการพักผ่อนเอาเลย


PINK FLOYD ในปัจจุบันที่คนรู้จักไม่ใช่ PINK FLOYD ที่คุณจะสัมผัสในชุดนี้ ถ้าไม่มีชุดนี้ บางที (ซึ่งเปอร์เซ็นต์น่าจะสูงมาก) อาจจะไม่มี PINK FLOYD ที่คุณรู้จักก็ได้ ตัดสินใจกันเองนะครับว่าจะให้เป็น “การเก็บไว้ในความทรงจำ” (DEDICATED TO THE MEMORY) ช่วงนั้นของคุณผู้ฟัง
บันทึกการเข้า
อั๋น501
Voyage Of The Acolyte
*********
กระทู้: 4240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4814 เมื่อ: 25 กันยายน 2015 | 04:31:02 PM »

 “เมล็ดพันธ์ที่เป็นมรดก การจำยอม”

ARTIST - PINK FLOYD
TITLE - A SAUCERFUL OF SECRETS
CREDIT - SYD BARRETT: GUITAR & VOCALS
- ROGER WATERS: BASS, GUITAR & VACALS
- RICK WRIGHT: KEYBOARDS & VOCALS
- NICK MASON: DRUMS
- DAVID GILMOUR: GUITAR & VOCALS
LABEL – EMI
DATE – 1968

คอลัมน์ DEDICATED TO THE MOEMORY
หนังสือ Voice
โดย พัณณาศิส ศิลาพันธุ์
เมื่อปี 1989


จากผลพวงแห่งการใช้สมองไปในทางสร้างสรรค์ และยุคสมัยที่เปิดกว้างแห่งการสรรหาทำให้ซิด บารร์เร็ท เดินทางก้าวเข้าไปสู่วังวนแห่งห้วงมหรรณพแห่งหมอกควันด้วยความยินยอมและพร้อมใจของตนเองผลพวงแห่งสมองที่ถูกกลั่นขึ้นมาระลอกแล้วระรอกเล่า ได้หมดลงไปอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ผลงานเพียงชุดเดียวในนามของคณะพิงค์ ฟอยด์ ในที่สุดซิดก็ถึงกาลล้าและหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่จะพยุงปีกของตนเองให้บรรลุแนวทางที่ตนต้องการได้ ไม่พักต้องพะวงไปถึงการที่จะทำเช่นไรที่จะพยุงและนำทางต่อไปให้พิงค์ ฟอยด์ ดำเนินบทบาทตามถนนที่ตนตัดผ่านมาแต่แรกเริ่ม ในยุคนั้นแทนที่พิงค์ ฟอยด์จะต้องคอยพึ่งสมองของซิดการกลับเป็นว่า ซิดกลายเป็นตุ้มถ่วงหนทางการเจริญเติบโตของทางคณะไปโดยปริยาย โรเจอร์ วอเตอร์ส หนึ่งในสมาชิกระดับมันสมองที่สมองนั้นไม่ค่อยถูกใช้ให้เป็นประโยชน์นักยามที่ซิดยังมีความแจ่มในลอนสมอง มองเห็นความวิบัติของทางคณะมายืนเคาะประตูอยู่ไม่ห่างไกลนัก วิธีเข้าแก้ปัญหาอาจจะกล่าวได้ว่า เพิ่มสมาชิกที่จะเข้าแก้ปัญหาอาจจะกล่าวได้ว่า เพิ่มสมาชิกที่จะเข้ามารับมรดกทางแนวความคิดของอัจฉริยะอย่างซิดให้ได้ เดฟ กิลมอร์ คือคนที่ถูกเลือกขึ้นมา จากเพื่อนร่วมสถาบันทางศิลปะและจุดพกผันจุดนี้ทำให้คณะพิงค์ ฟอยด์อยู่ยั้งต่อไป แม้ว่า ซิดจะเป็นสมาชิกที่แท้จริงของคณะอยู่ แต่แทบจะเรียกได้ว่า นี่เป็นน้ำใจที่เพื่อนมีต่อเพื่อนมากกว่าความมีคุณสมบัติที่แท้จริงของบุคลากรประจำคณะนามว่า “ซิด” หรือถ้าจะมองโลกในแง่ร้ายก็ต้องยอมรับว่า “ซิด” นั้นคือชื่อที่จะพยุงปีกแห่งคลื่นสมองของความเชื่อถือของผู้เสพดนตรีที่เชื่อมั่นว่า เขากำลังเสพเสียงแห่งการหลุดพ้นอยู่ ชื่อของ “ซิด” นั้นในช่วงแห่งกาลเวลาของยุคสมัยในอดีตมีบารมีพอท่จะทำให้เจตนารมณ์แห่งแนวทางยังได้รับการยอมรับจากมวลชนส่วนใหญ่ไว้ได้ แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ มองความเป็นไปแห่งอดีตช่วงนี้ประการใด


เดฟ กิลมอร์ ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในชุด A SAUCERFUL OF SECRETS ว่า” การทำงานชุดนี้ อันที่จริงแล้วคือ จุดเริ่มต้นของคณะอีกหน เปรียบเสมือนกับเราเริ่มก่อตั้งคณะใหม่ขึ้นมา เพลง REMEMBER A DAY อันที่จริงแล้ว เป็นดนตรีที่จะถูกบรรจุลงไปในอัลบั้มชุด PIPER AT THE GATE OF DAWN (ชุดแรก รายละเอียดอ่านได้จากฉบับที่2) เหตุที่เรานำมาบรรจุลงในชุดนี้เพราะความประสงค์ของ โรเจอร์ วอเตอร์ส เพียงคนเดียว (ดนตรีเพลงนี้เป็นผีมือการประพันธ์ของ ริค ไรท์) ถ้าไม่มีดนตรีเพลงนี้บรรจุอยู่บางทีงานในชุดนี้ อาจจะไม่ดีเด่นสมบูรณ์แบบที่คุณคุณได้ฟังอยู่ก็ได้ ทุกทุกคนในคณะมีความประสงค์ที่จะเห็นดนตรีและแนวทางของคณะเจริญเติบโตหาใช่ยืนอยู่ ณ จุดเดิม เรายังมีความหวังได้ว่า หนทางแห่งการทำงานของเรานั้นยังอยู่อีกไกล ไม่ใช่เพียงอาศัยบารมีของคนอื่นมาคุ้มหัวเราเท่านั้น”

ส่วน โรเจอร์ วอเตอร์ส นั้นให้ความเห็นว่า “นี่เป็นการทำงานครั้งแรกที่เราช่วยกันทำ โดยปราศจากการมีส่วนเกี่ยวข้องของซิด และเราคิดว่างานที่เกิดขึ้นนั้น ดีเกินกว่าที่เราคาดหวังเอาไว้” ริค ไรท์ สมาชิกของทางคณะที่ผลงานชุดนี้เหมือนเป็นบทพิสูจน์ว่า คนอย่างเขามีความสามารถมากไปกว่าการเป็นมือคีย์บอร์ดธรรมดาธรรมดาประจำคณะเท่านั้น เพราะผลงานชุดนี้ มีดนตรี REMEMBER A DAY และ SEE SAW ซึ่งเขามีเครดิตในฐานะผู้ประพันธ์ ได้ให้ความเห็นเสริมว่า

“งานดนตรีที่เกิดขึ้นหาใช่การทดลองเพื่อสร้างเสียงหนึ่งขึ้นมา แต่เราจะถกเถียงและปรึกษากันเสมอว่า ดนตรีเพลงนั้นเพลงนี้ควรจะเป็นเช่นไร และทำไมถึงเป็นเช่นนี คุณทราบไหมการเขียนดนตรีนั้น มีหลายสิบหลายร้อยวิธีที่จะทำขึ้นมาผมจะยกตัวอย่างง่ายง่ายให้คุณเห็นวิธีหนึ่งเลยนะ สมาชิกของทางคณะแต่ละคน ยังไม่มีความคิดใดใดในสมองเลยว่าจะเอาเพลงอะไรมาแต่งกันดี เราทั้ง 4 เดินเข้าห้องสตูดิโอและนั่งลงหันหน้าเข้าหากันและพูดถึงความต้องการ อีกไม่นานนักเราก็อาจจะมีดนตรีเพลงหนึ่งที่เล่นเพื่อถูกบรรจุลงไปในอัลบั้มที่เรากะจะออกวางตลาดกัน สำหรับเราแล้วเสียงดนตรีที่ออกมานั้น หาใช่เกิดจากสมองของกลุ่มพวกเราเท่านั้น เพราะดนตรีที่คุณได้ฟังนั้นก็มาจากตัวพวกคุณกันล่ะ เรารับเราฟัง เราคิดเพื่อจะเก็บเกี่ยวความรู้สึกที่ปวงชนที่เราได้สัมผัสมาว่า พวกเขามีความรู้สึกกันเช่นไร และเราก็จะมีคำว่า “คิด” อยู่ในสมองของเรา และสิ่งที่เราคิดนี้ล่ะ คือส่วนสำคัญที่สุด เพราะมันหมายถึง สมองเมื่อมีสมองคุณก็สามารถดึงบางสิ่งบางอย่างออกมาได้ โดยส่วนตัวของผมแล้ว ผมค่อนข้างจะภูมิใจในผลงานชุดนี้มาก เมื่อผมเดินเข้าห้องอัดแล้วได้ยินพรรคพวกเพื่อนฝูงเอ่ยปากขึ้นว่า “ไรท์ ทำอะไรสักนิดให้หน่อยซิ สำหรับเพลงนี้, หรือ ไรท์แต่งดนตรีขึ้นมาสักเพลงเถอะ อะไรในทำนองนี้ล่ะครับ ในหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับดนตรีที่ประจักษ์ทุกทุกอย่างไม่ใช่งานที่ดิบแบบในชุดที่แล้วเรามีโครงสร้างของดนตรี ต่อมาเราก็สร้างทำนอง แล้วเราก็เอามาใส่เนื้อเพลง ทุกทุกอย่างเป็นระบบ ระเบียบก่อนที่อะไรจะออกมามั้นได้ผ่านการพยักหน้าของสมาชิกร่วมคณะกันเรียบร้อยแล้ว เรากล้ากล่าวว่า ทุกเพลงเราทำนั่นและเราทำนี่”


สำหรับงานชุดนี้ มีบางส่วนที่ตลกแปลกออกไปจากข้อมูลที่อ่านมาจากหนังสือ PINK FLOYD ของ DELILAH & PUTNAM ซึ่งใครเป็นแฟนคณะนี้ก็ออกหาซื้อหากันมาอ่านได้นะครับ ละเอียดยิบเชียว แต่ข้อมูลจะหยุดอยู่ในช่วงที่ผลงานชุด THE WALL ออกวางตลาดแล้ว คอลัมน์นี้ได้ดึงบางส่วนออกมาสะท้อนทัศนคติของสมชิกแห่งคณะออกมาให้คุณสัมผัสด้วย เหตุที่นำมาเล่า เพราะเป็นการให้เครดิตต่อข้อมูลที่นำมาใช้งาน สองคือข้อมูลในหนังสือเล่มนี้แปร่งแปร่งดีเหมือนกันในบางครั้ง อะไรที่แปร่งหรือครับคือ ทางหนังสือบอกว่า ดนตรี FREE FROM นั้น ซิดมีความคิดในการสร้างงานไว้ว่า ปล่อยให้ดนตรีเล่นด้วยตัวของมันเอง โดยเฉพาะดนตรีเพลงนี้ซิดนำ SALVATION ARMY BAVD มาร่วมเล่นด้วยแต่ในอัลบั้มของผม (เพราะของคนอื่น ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร) ไม่มีเพลงนี้นะครับและผมก็ไม่ทราบว่า ดนตรีเพลงนี้บรรจุอยู่ในอัลบั้มชุดใดกันแน่ของทางคณะ PINK FLOYD มีเพลงที่ชื่อใกล้เคียงกันที่สุดคือ เพลง FREE FOUR ซึ่งบรรจุอยู่ในอัลบั้มชุด OBSCURED BY CLOUDS อันเป็นฝีมือการประพันธ์ของ โรเจอร์ วอเตอร์ส อาจจะเป็นเพราะแผ่นของคณะนี้ในชุดนี้เป็นแผ่นที่มาจากประเทศเยอรมันดนตรีเพลงนี้ อาจจะไม่มีบรรจุเอาไว้ก็ได้ เป็นเรื่องปกตินะครับ แผ่นเดียวกันดนตรีต่างกันมีมากถ้าจะเล่าเรื่องนี้คงยาว เพียงแต่บอกให้คุณผู้อ่านทราบเท่านั้น ดังนั้นนี่เป็นข้อมูลที่อยากเสริมให้คุณทราบเท่านั้นเอง ส่วนความเห็นกับเพลงนี้คงไม่อยากให้เกิดการนั่งเทียนเขียนนะครับ


ผลงานในอัลบั้มชุดนี้มีทั้งหมด 7 เพลงและมีเพลงเดียวที่เป็นฝีมือการประพันธ์ของซิด บาร์เร็ท คือ เพลง JUGBAND BLUES จะว่าตามความจริงแล้ว เพลงนี้ถูกประพันธ์และใช้ก่อนที่เดฟ กิลมอร์ จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทางคณะเสียอีก เพราะเป็นดนตรีที่ถูกแต่งเพื่อประกอบภาพยนต์ของ THE CENTRAL OFFICE OF INFORMATION และเพลงนี้ถูกนำไปใช้ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 1967 ในเพลงนี้มีตำนานที่อยากเอามาเล่าขานสู่กันฟังนิดหน่อยว่า ที่มานั้นเป็นเช่นไร กล่าวคือ วันหนึ่งซิดเข้าไปนั่งรอพรรคพวกเพื่อจะอัดอัลบั้มกัน แต่ไม่มีใครมาสักคน เขาก็เลยหยิบกีตาร์มาเล่นก๊องแก๊งๆไปเรื่อยๆ และนี่คือ จุดที่มาแห่งเพลงนี้ แต่แค่นั้นยังไม่พอ ท่วงทำนองที่ซิดเล่นนั้น ต่อมาถูกนำไปใช้เป็นท่วงนำเพลง REMEMBER A DAY ซึ่งถูกจั่วหัวว่า “ริค ไรท์” คือผู้เขียนนั่นเองแต่ตามข้อมูลจากหนังสือต่างต่างที่อ่านมาบอกว่าเป็นความยินยอมของตัวซิดเองด้วย ที่ยอมให้ลงชื่อริคได้ เท่าที่ฟังดูและดูจากผลงานของซิดที่ผ่านมา ประกอบกับดูผลงานของริคในกาบลต่อมาประกอบ คิดว่าช่วงแรกของโครงสร้างดนตรีนั้นมีความเป็นซิดสูงมาก แต่ช่วงกลางและการสอดใส่ความอ่อนหวานของดนตรีลงไปนั้น ไม่น่าจะเป็นแบบฉบับของตัวซิดนัก มีโทนออกไปทางคิคพอสมควร นี่เทียบจากงานที่ริคประพันธ์ให้กับพิงค์ฟอยด์ในกาบต่อมาประกอบกับผลงานเดี่ยวของตั้วริคเองในชุด WET DREAMS นะครับ แต่เอาแน่เอานอนไม่ได้หรอกครับ เพราะงานชุด OPEL ของซิดก็แสดงให้เห็นแล้วว่า คนอย่างเขานั้นก็มีโทนโครงสร้างในการฉีกรูปแบบง่ายง่ายขึ้นมาได้ แต่เขาไม่ยอมใช้ประโยชน์จากงานส่วนนี้เอง ถ้าจะพูดถึงแนวทางดนตรีแล้ว บอกได้เลยว่า งานชุดนี้ของพิงค์ ฟอยด์เบาลงไปมากง่ายต่อการับสูงขึ้น ไม่ใส่แต่ความดิบกระด้างลงไปอย่างเดียว สำเนียงเสียงมีความอ่อนหวานในตนเองสูงขึ้น มีการเล่นเอฟเฟ็คต่างต่างน้อยลงแต่ถ้าจะพูดว่า ทางคณะพยายามฉีกแนวทางของตนออกจากรูปแบบที่ซิดวางเอาไว้ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ ทุกวิถีทางที่ดนตรีชุดนี้เสนอออกมา เป็นแนวทางที่ตัวซิดวางเอาไว้ทั้งสิ้นเพียงแต่ไม่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ในแบบซิดคิดค้นเท่านั้นเอง


ถ้านักฟังผู้อ่านงานในชุดแรกมาแล้วก็คงไม่พูดยากนักในการฟังชุดสอง ถ้าชุดแรกมีความรู้สึกที่ดีต่องานของเขา แต่ถ้าคิดจะเริ่มความเป็นแบบฉบับ คิดว่าเริ่มจากชุดแรกดีกว่า ชุดสองเป็นการพยายามเดินย่ำรอยเท้าเดิมที่ตนเองเคยเหยียบและจารึกไว้เท่านั้นเองแต่ถ้าจะพูดว่า ฟังแล้วชวนปวดหัวน้อยกว่ากันชุดสองนี่ง่ายกว่ากันเยอะเลย ร้านขายยาแก้ปวดหัวคงร้องไห้แย่เลยผมว่า ผมอยากจะบอกว่า งานชุดนี้คือ งานสืบทอดมรดกทางความคิดของตัวซิดมากกว่าที่พิงค์ฟอยด์ทำอะไรตามใจฉันได้ในบางเพลง (ส่วนมาก) เพราะจุดเริ่มต้นนั้น แหกคอกออกมาแล้วมากกว่าเหตุผลอื่น ถ้าจะมีการให้เครดิตต่องานชุดนี้ ผมก็ยังยืนว่า ซิดควรจะได้กลับไปมากที่สุด

ถ้าคนเก่งสักนิดมาฟังงานชุดนี้ และกล้าพอ ผมว่ารีอาร์เรนจ์เพลงใหม่ รับรองได้ว่าหลายหลายเพลงจะกลายเป็นเพลงดังได้ง่ายง่ายอาทิ REMEMBER A DAY, และ SEE- SAW เพลง2 เพลงนี้เพราะมากนะครับ แต่ถ้าอยากแนบสนิทกับซิดเช่นเดิม เพลง JUGBAND BLUES แค่เพลงเดียวก็คุ้มแล้ว เป็นอีกงานซึ่งควรมีไว้ ถ้าต้องการศึกษางานของคณะนี้กัน อยากจะศึกษาดนตรีในแนวไซเคเดลิค ชุดนี้ก็ไม่เลวนักที่จะเสี่ยงซื้อมาฟัง เพราะถ้าคุณปราศจากพื้นฐานเหล่านี้ บางครั้งคุณอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ว่าทำไมคณะนี้จึงยิ่งใหญ่เช่นในปัจจุบัน ชื่อเสียงที่เขาได้มานั้นไม่ใช่โชคช่วย แต่เป็นเพราะพื้นฐานแห่งความสามารถที่แท้จริง ว่าจังหวะโอกาส บารมี ความสามารถนั้นต้องประกอบกัน และคณะนี้เป็นคณะเดียวที่มีส่วนต่างต่างเหล่านี้เกื้อหนุนมากที่สุด ชุดนี้พิสุจน์ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 319 320 [321] 322 323 ... 325
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery