ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149643 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

29 มีนาคม 2024 | 04:07:21 PM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgKeep Talkingพัณณาศิส ศิลาพันธุ์ - เดินตามร่อง
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พัณณาศิส ศิลาพันธุ์ - เดินตามร่อง  (อ่าน 75499 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #165 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2013 | 02:13:37 AM »

เดินตามร่องยุคพัณณาศิสปิดตัวลงที่สตาร์พิคฉบับที่ 209
ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณพัณณาศิสต้องเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
ก่อนที่จะกลับมาเขียนที่สตาร์พิคส์อีกครั้งในปี พ.ศ.2531
ในคอลัมน์ "เรื่องเหล่านี้คือตำนาน" และตามด้วย "พรหมจรรย์แห่งวิจารณญาณ"
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #166 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2013 | 09:30:38 AM »

SP.182 กันยายน 2526



2.   Danger Money – U.K. (1979)

เท่าที่จำได้จากการอ่านบทวิจารณ์ชุดนี้ ดูเหมือนคุณพัณณาศิสเคยกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่าฝีมือการเล่นคีย์บอร์ดของ Eddie Jobson เมื่อเริ่มเพลง Rendez-vous 6.02 นั้น ลื่นไหลประดุจสายน้ำ ทำให้ผมอยากฟังอัลบั้มชุดนี้มากในตอนนั้น พวกที่ฟังแผ่นเสียงคงได้ฟังกันแล้ว แต่พวกที่ฟังเทปผีต้องรอไปอีกนานพอสมควรจนกระทั่ง "พีค็อก" ได้เข็นเทปชุดนี้ออกมา ผมจำได้ว่าเป็นรุ่นตลับใส ซึ่งเป็นยุคหลังของ Peacock แล้วครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #167 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2013 | 09:39:09 AM »

SP.195 ธันวาคม 2527



3.   Relayer – Yes (1974)

เจอแล้ว... บทวิจารณ์อัลบั้ม Relayer อยู่ในเล่มนี้นี่เอง ยิ้มกว้างๆ
ตอนแรกนึกว่าได้อ่านเล่มนี้ตอนเรียนอยู่ม.ต้นเสียอีก (ที่ไหนได้... แก่กว่านั้น)
ขอบคุณครับที่ช่วยนำความทรงจำของผมบางส่วนกลับคืนมา 
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #168 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2013 | 09:45:52 AM »

SP.193 กันยายน 2527



4.   Welcome Back, My Friends, To the Show That Never Ends – Ladies And Gentlemen – Emerson, Lake & Palmer (1974)
ขอบคุณครับ คุณ kilroy
ผมจำได้ว่า คุณพัณณาศิสเคยจั่วหัวบทความเกี่ยวกับผลงานชุดนี้ไว้ว่า "วงจะแตก... แต่โชว์นั้น That Never Ends จริง ๆ" อะไรประมาณนี้
ฝากพลิกดูในเล่มหน่อยนะครับว่าความจำของผมยังดีอยู่รึเปล่า...
แบบว่า... ยืมคนอื่นเขามาอ่านแล้วถ่ายเอกสารบทความนี้เก็บไว้ สักพักก็ไม่มีอะไรเหลือแล้วครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #169 เมื่อ: 02 มีนาคม 2013 | 02:12:12 PM »

SP.193 กันยายน 2527



4.   Welcome Back, My Friends, To the Show That Never Ends – Ladies And Gentlemen – Emerson, Lake & Palmer (1974)
ขอบคุณครับ คุณ kilroy
ผมจำได้ว่า คุณพัณณาศิสเคยจั่วหัวบทความเกี่ยวกับผลงานชุดนี้ไว้ว่า "วงจะแตก... แต่โชว์นั้น That Never Ends จริง ๆ" อะไรประมาณนี้
ฝากพลิกดูในเล่มหน่อยนะครับว่าความจำของผมยังดีอยู่รึเปล่า...
แบบว่า... ยืมคนอื่นเขามาอ่านแล้วถ่ายเอกสารบทความนี้เก็บไว้ สักพักก็ไม่มีอะไรเหลือแล้วครับ ยิ้มกว้างๆ

พี่ปีศาจนี่มีความทรงจำที่ดีมากเลยครับ มีอยู่ช่วงระยะหนึ่งของคอลัมน์เดินตามร่องที่คุณพัณณาศิสจะเขียนคำโปรยกำกับแผ่นที่นำมาแนะนำด้วย
และแผ่นนี้จะเขียนไว้ดังนี้ "วงจะแตก แต่โชว์นั้น That Never Ends จริงๆ" (เป๊ะหมดเลยนะครับพี่)

และเพลง Rendezvous 6:02 ของ UK จากชุด Danger Money ก็ใช่ครับ
"...เสียงคีย์บอร์ดเหมือนสายน้ำที่ไหลรินให้ความสดชื่นแก่คุณ..."
บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #170 เมื่อ: 04 มีนาคม 2013 | 04:45:53 PM »

C.D. Review - นิตยสาร Quiet Storm





1.   The Art Garfunkel Album - Art Garfunkel (QS 52 ตุลาคม 2528)
2.   China - Vangelis (QS 52 ตุลาคม 2528)
3.   In The Digital Mood - The Glenn Miller Orchestra (QS 53 พฤศจิกายน 2528)
4.   Behind The Gardens... - Andreas Vollenweider (QS 53 พฤศจิกายน 2528)
5.   The Big Science - Laurie Anderson (QS 54 ธันวาคม 2528)
6.   Hounds Of Love - Kate Bush (QS 54 ธันวาคม 2528)
7.   Midnight Express (Soundtrack) - Giorgio Moroder (QS 55 มกราคม 2529)
8.   Country (Soundtrack) - Various Artists (QS 55 มกราคม 2529)
9.   The Introduction - Steve Morse Band (QS 56 กุมภาพันธ์ 2529)
10.   Texas Flood - Stevie Ray Vaughan And Double Trouble (QS 56 กุมภาพันธ์ 2529)
11.   Witness (Soundtrack) - Maurice Jarre (QS 57 มีนาคม 2529)

*** นอกจากนิตยสารสตาร์พิคส์แล้วคุณพัณณาศิสได้เขียนแนะนำซีดีในคอลัมน์ C.D.Review ในนิตยสาร Quiet Storm ด้วย
       แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพราะภาระกิจในการศึกษาต่อจึงต้องหยุดเขียนไปพร้อมกับเดินตามร่อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มีนาคม 2014 | 03:08:53 PM โดย kilroy » บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #171 เมื่อ: 05 มีนาคม 2013 | 01:02:21 PM »

เรื่องเหล่านี้คือตำนาน : สราพัณ


1. ยศแค่จ่า ศักดิ์ศรีนายพล /The Beatles - Sgt Pepper's Lonely Hearts Club Band
2. ผลงานที่ทำลายนิยามของคำว่า "ดี" /The Sex Pistols - Never Mind The Bollocks
3. สวรรค์ที่นรกสร้าง/The Rolling Stones - Exile On Main Street
4. ดวงใจและวิญญาณของข้า มอบให้แด่เธอผู้เป็นที่รัก/John Lennon - Plastic Ono Band
5. ผู้ซื้อประสบการณ์ด้วยความตาย/Jimi Hendrix Experience - Are You Experienced?
6. บุรุษหลงวิญญาณ/David Bowie - The Rise And Fall Of Ziggy Stardust
7. ข้าฯคือสายลม ข้าฯคือความรัก ข้าฯคือกวี เพราะข้าฯคือศิลปิน/Van Morrison - Astral Weeks
8. ใครๆเขาเรียกข้าฯว่า "เจ้านาย"/Bruce Springsteen - Born To Run
9. ความเวิ้งว้างที่ห่อหุ้มอัจฉริยะภาพ/The Beatles - The Beatles
10. ดนตรีบริสุทธิ์ ชีวิตอพิสุทธิ์/Marvin Gaye - What's Going On
11. ข้าคือนโปเลียนแห่งวงการดนตรี/Elvis Costello - This Year's Model
12. ฤาแดนดินถิ่นนี้ ไม่เคยไร้ซึ่งวิญญาณกวี/Bob Dylan - Blood On The Tracks
13. เรื่องราวของจักรพรรดิที่ถูกมองเห็นเป็นเพียงอุปราชตลอดกาล/Bob Dylan & The Band - The Basement Tapes
14. ภาพพจน์ ความสามารถ อัจฉริยะภาพ หรือ การค้า/The Clash - London Calling
15. งานเลี้ยงเกียรติยศทางดนตรีที่ทรงคุณค่าอันควรจะเก็บไว้ในดวงใจตลอดกาล/The Rolling Stones - Beggars Banquet
16. เกียรติของศิลปะทางดนตรีที่ไม่มีคำว่า "เพศ"/Patti Smith - Horses
17. สถาปนิกอัจฉริยะแห่งวงการดนตรี ผู้ไม่เคยสานต่องานอัจฉริยะที่ตนเองสร้างขึ้นให้สมบูรณ์เลยสักครั้งเดียวในชีวิต/The Beatles - Abbey Road
18. ตำนาน...แห่งโศกนาฎกรรมแห่งชีวิต/The Rolling Stones - Let It Bleed
19. คณะดนตรี เพื่อดนตรี สำหรับคนรักดนตรี/The Band - The Band
20. ความเป็นเอกของอารมณ์ดำกฤษณา/Prince - Dirty Mind
21. ตำนานร่วมสมัยที่ไม่ได้รับการต้อนรับจากสมัยนิยม/The Velvet Underground - The Velvet Underground And Nico
22. ข้าขอตายก่อนข้าชราภาพ/The Who - Who's Next
23. รักนี้คือรักแท้ รักนี้แม้รันทด แม้รู้ว่าจะเจ็บปวด แต่ขอเพียงให้ได้รัก/Derek & The Dominos - Layla
24. รัก...อันธกาล/Richard & Linda Thompson - Shoot Out The Lights
25. เส้นแบ่งกลางระหว่างความวิกลจริตและความมีอัจฉริยะภาพต่อความละเอียดอ่อนแห่งชีวิต/The Doors - The Doors
26. รัตติกาลไร้แสงจันทร์/Neil Young - Tonight's The Night
27. โลกวะ โลกเหวย ประชาชนก็มีสิทธิ์และมีเสียง/The Clash - The Clash
28. อมริกันชนผู้ประกาศศักดิ์ศรีของคำว่า ร็อค แอนด์ โรล/Bruce Springsteen - Born In The U.S.A.
29. ข้าฯมุ่งหมายหาความจริง/Elvis Costello - My Aim Is True
30. ความกักขฬะของหินผาที่ถูกเชิดชูให้กลายมาเป็นประติมากรรม/Sly & The Family Stone - There's A Riot Goin' On
31. เมื่อไม่มีคู่คิดชิดพิศวาส ก็ลงทัณฑ์ความใคร่ให้ตนเอง/The Rolling Stones - Sticky Fingers
32. ศิลปะแห่งการยัดเยียดและถูกยัดเยียด/The Velvet Underground - Loaded
33. เสียงที่ไร้ขอบเขตจากกาลเวลาที่ไม่มีจุดเริ่มต้น/Captain Beefheart And The Magic Band - Trout Mask Replica
34. ผู้บันทึกภาพแห่งชีวิตด้วยน้ำเสียง/Rod Stewart - Every Picture Tells A Story
35. อนัตตาที่สืบหาความมีลักษณ์/Pink Floyd - The Dark Side Of The Moon
36. ถึงลูกยางห่างต้นหล่นกระเด็น ก็จะเป็นเช่นเหล่าตามเผ่าพันธุ์/Creedence Clearwater Revival - Willy And The Poor Boys
37. อาทิตย์ฉายแสงยามรัตติกาลเข้ม/Stevie Wonder - Innervisions
38. เสียงต้องห้ามจากความรัญจวนแห่งแสงจันทร์/Television - Marquee Moon
39. พิราบไล้โลมเลียโศกาดูร/Prince - Purple Rain
40. ธุดงค์จรบนป่าช้าแห่งสรวงสวรรค์/Bruce Springsteen - Darkness On The Edge Of Town
41. เถาวัลย์พรรณราย กิ่งไม้เลื้อยรากชอนไช/The Band - Music From Big Pink
42. กุหลาบดำในแจกันลายคราม/The Pretenders - Pretenders
43. สายธารนี้มีวิญญาณ/Creedence Clearwater Revival - Green River
44. จินตนาการสีชมพู/Jefferson Airplane - Surrealistic Pillow
45. จิตรกรผู้รจนาภาพวาดด้วยตัวโน้ต/Graham Parker - Squeezing Out Sparks
46. ศิลปินผู้หญิงยื่นเกียรติให้ต่อคุณค่าและความหมายของคำว่า "ศิลปิน"/Joni Mitchell - Blue
47. ดุจดั่งเสียงกัมปนาทของพระเจ้าที่ถูกเรียกขานว่า HEAVY/Led Zeppelin - Led Zeppelin IV
48. พานสีนิล อุทกสีขาว/Aretha Franklin - Lady Soul
49. ระเริงคลื่นตัวโน้ตบนอารมณ์ของชีวิต/Randy Newman - 12 Songs
50. ตัณหา ราคะ และ ประกายไข่มุก/Big Brother And The Holding Company - Cheap Thrills
51. ความไร้เดียงสาในโลกแห่งป่าคอนกรีต/Bruce Springsteen - The Wild, The Innocent And The E Street Shuffle
52. ความคิดกบฏที่มีจริยธรรมแห่งความบริสุทธิ์ใจ/The Modern Lovers - The Modern Lovers
53. นิยามแห่งความลงตัวของความคิดสร้างสรรค์/Talking Heads - Remain In Light

***ตีพิมพ์ในนิตยสารสตาร์พิคส์ฉบับที่ 244 (2531) - ฉบับที่ 457 (Music Edition - 2541)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มีนาคม 2014 | 12:41:03 AM โดย kilroy » บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #172 เมื่อ: 05 มีนาคม 2013 | 01:38:14 PM »

หลังจากเดินตามร่องยุคพัณณาศิสปิดตัวไปในปี 2529 ผมก็ยังติดตามซื้อสตาร์พิคส์อย่างต่อเนื่อง เหมือนกับเป็นความเคยชินถึงแม้ว่าซื้อมาแล้วจะได้อ่านบ้างหรือไม่ได้อ่านบ้างก็ตาม จนเข้าปี 2530 คุณปัญญรักษ์ได้เริ่มเขียนบทความเรื่อง Brian Eno ลงในสตาร์พิคส์ฉบับที่ 222 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อคอลัมน์ไวนีลมาเนีย ทำให้เริ่มตามอ่านงานเขียนของนักเขียนหน้าใหม่ (ในขณะนั้น) ด้วยความใจจดใจจ่อเพราะศิลปินที่นำมาเขียนเหมือนกับนำสิ่งที่คุณพัณณาศิสปูพื้นเอาไว้มาต่อยอดและเพิ่มเติมรายละเีอียดเข้าไป ทำให้การอ่านสตาร์พิคส์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง

ถึงปี 2531 อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยสตาร์พิคส์เริ่มลงบทความใหม่ในชื่อ "เรื่องเหล่านี้คือตำนาน" โดยผู้เขียนใช้ชื่อว่า "สราพัณ" ผมอ่านด้วยความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งเพราะหลังจากบทนำแล้ว ฉบับต่อมาบทที่ 1 ก็เริ่มด้วยเริ่มด้วยอัลบั้มจ่าเป็ปเปอร์ของเต่าทอง ซึ่งในขณะนั้นทางอีเอ็มไปเพิ่งออกซีดีของเต่าทองครบทุกชุด ทำให้ฟังไปอ่านไปอย่างได้อรรถรส โดยที่ยังไม่ทราบว่าสราพัณคือพัณณาศิส ถึงแม้ว่าอ่านบทนำแล้วต้องใช่เขาแน่ๆ แต่เมื่อไม่มีการยืนยันออกมาจากตัวผู้เขียนดังนั้นเลยยังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ แต่พออ่านต่อไปได้อีกสัก 2-3 ฉบับ จึงมั่นใจว่าเขากลับมาแล้ว

เรื่องเหล่านี้คือตำนาน คือบทความที่ทรงคุณค่าอีกซีรีส์หนึ่งของพัณณาศิสโดยเขาได้นำเรื่องราวรายชื่ออัลบั้มยอดเยี่ยมจากการจัดอันดับของนิตยสาร Rolling Stone ฉบับที่ 507 ประจำเดือนสิงหาคม ปี 2530 ในโอกาสที่ทางนิตยสารก่อตั้งมาได้ครบ 20 ปี คือปี 2510 - 2530 จึงได้ให้นักวิจารณ์มาร่วมกันคัดเลือกอัลบั้มยอดเยี่ยมที่ออกจำหน่ายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว พัณณาศิสเพียงแต่นำมาอันดับรายชื่อมาเป็นหัวเรื่องเท่านั้น ส่วนตัวเนื้อหาของบทความเป็นการประมวลมาจากข้อมูลหลายแหล่งรวมถึงนิตยสารฉบับดังกล่าวด้วย ที่สำคัญเขาได้สอดแทรกทัศนคติส่วนตนเข้าไปในบทความด้วย ทำให้บทความมีความหลากหลายและ่น่าสนใจในการติดตามอ่านเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องเหล่านี้คือตำนาน ตีพิมพ์ในสตาร์พิคส์ร่วม 10 ปี แล้วก็ปิดตัวเองลงแบบไร้ร่องรอย ทำให้บทความซีรีส์นี้เดินทางมาถึงบทที่ 53 (ซึ่งตีพิมพ์ไม่จบ) เท่านั้น ยังเหลือผลงานที่ยังไม่ได้เขียนถึงอีก 47 ชุด ด้วยกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2020 | 11:17:56 AM โดย kilroy » บันทึกการเข้า
panyarak
The Snow Goose
**********
กระทู้: 9716



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #173 เมื่อ: 05 มีนาคม 2013 | 03:58:30 PM »

คุณ kilroy จำแม่นจัง คุณพัณณาศิสฯ ตั้งชื่อเรื่องแต่ละเรื่องของ เรื่องเหล่านี้คือตำนาน ทำให้ชวนให้อ่านทุกตอนเลยครับ
บันทึกการเข้า

kongbei
Administrator
The Snow Goose
*****
เพศ: ชาย
กระทู้: 6534


ขงปี่

pink_floyd@thaiprog.net
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #174 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 12:09:59 AM »

ภาษาสวยงามมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #175 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 03:04:18 PM »

คุณ kilroy จำแม่นจัง คุณพัณณาศิสฯ ตั้งชื่อเรื่องแต่ละเรื่องของ เรื่องเหล่านี้คือตำนาน ทำให้ชวนให้อ่านทุกตอนเลยครับ

ไม่ถึงขนาดนั้นครับพี่ตั๊ม อาศัยการจดบันทึกเข้าช่วย  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #176 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 03:10:27 PM »

ภาษาสวยงามมากเลยครับ

เข้าใจว่าคุณพัณณาศิสใส่ใจให้ความสำคัญกับการตั้งชื่อบทความมากครับ
นอกจากการเลือกคำมาใช้แล้วชื่อบทความได้นำเสนอธีมของศิลปินและผลงานในชุดดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม
เช่น "สวรรค์ที่นรกสร้าง" จากงานชุด Exile on Main Street ของหินกลิ้ง
สื่อถึงความเยี่ยมยอดของผลงานและภาพพจน์ของหินกลิ้งได้อย่างพร้อมเพรียงกันเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #177 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 03:16:18 PM »

พรหมจรรย์แห่งวิจารณญาณ : ปุยนุ่น

1.   พรหมจรรย์แห่งวิจารณญาณ
2.   ความสัมพันธ์ก่อนการก่อเกิด Last Temptation of Christ จาก Peter Gabriel
3.   เกียรติและศักดิ์ศรีต่อผู้ทำงานด้วยความรัก
4.   บริษัทที่มีเอกลักษณ์แห่งโครงสร้างทางดนตรี
5.   ดนตรีลูกทุ่ง Topic ความเป็นธรรมชาติ การเจริญเติบโต และการแตกแขนงที่เจริญวัยอย่างเหลือเชื่อ
6.   Soundtrack กรงขังแห่งอิสรภาพทางโสตหรืองานท้าทายระดับสุดยอดของ Composer
7.   Black Sound โซ่ตรวนแห่งความเป็นทาสทางดนตรีที่ไม่มีวันสิ้นสุดจริงหรือ
8.   ดนตรีที่ต้องดับกระหายด้วยน้ำทะเล
9.   Classic Music ดนตรีที่สวนทางแห่งยุคสมัย
10.   ศิลปะบนปกแผ่นเกี่ยวข้องกับดนตรีจริงหรือ
11.   ย่างก้าวที่ไร้ขอบเขต
12.   ความแตกต่างของคำว่า “มืออาชีพ” ในฐานะคำนามและการกระทำ
13.   Penguin Café Orchestra คณะที่สร้างดนตรีเกินขอบเขตของคำจำกัดความทางแนวดนตรี
14.   เพียงเพื่อความรักในสิ่งที่อยากรัก
15.    ปลาที่มองไม่เห็นและการขยายความ
16.   กบฏแห่งวงการดนตรีคลาสสิคหรือนักปฏิวัติภาษาสากลของโลก
17.   ความหมายของถ้อยคำที่จับต้องไม่ได้
18.   ใครช่วยตอบทีเวลาผ่านลับนั้นหายไปไหน
19.   มิใช่เพียงแค่ผู้ถูกอ้างอิงให้รับชะตากรรม
20.   บันทึกช่วยจำ ภาคอักษรตัว A
21.   เมื่อดอกบัวมีคุณค่าเพียงแค่กงจักร
22.   หมายเหตุจากจดหมายภาค Brian Eno
23.   เพื่อความเข้าใจระหว่างเพื่อมนุษย์ด้วยกัน
24.   อีกมุมหนึ่งของ Vangelis ที่ไม่ใช่ศิลปินเดี่ยว
25.   ทำไม
26.   Genesis กับพฤติกรรมที่แปรเปลี่ยนตามสถานภาพแห่งเวลา
27.   ในมุมต่าง
28.   Arc ดนตรีที่เกินขอบเขตจินตนาการของ Neil Young
29.   เรื่องดีดี การปล่อยวาง และอย่าหลงตนเอง
30.   นิยามแห่งรักแท้ภายใต้โฉมหน้าแห่งความอัปลักษณ์
31.   คุยกันฉันท์เพื่อน
32.   แม้กระทั่งชื่อก็มีนัยและรูปลักษณ์
33.   สำหรับคนอื่นผมไม่ทราบ
34.   King Crimson ราชาผู้แสวงหามงกุฎ
35.   เพื่อความเข้าใจระหว่างเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ภาค 2
36.   ในมุมกลับของศิลปะบนแผ่นปก
37.   รากแขนงที่แตกแยกจากความคิดและคุณค่า
38.   Folk Music มิติที่ล้ำลึกอยู่นอกเหนือคำว่าสามัญ
39.   วินัยแห่งเกียรตินามธรรมปิดบังฟ้าด้วยตัวอักษร
40.   Anthony Phillips
41.   จากสายตาที่เปี่ยมรัก บนโลกที่เปี่ยมมิตร
42.   จากจดหมายสู่เรื่องสบายสบายของบทความ
43.   Brian Eno
44.   อาชาวายทอดเท้าเปล่า
45.   บันทึกช่วยจำ ภาคอักษรตัว A
46.   ปุจฉาบนเงื่อนไขแห่งความเสมอภาคทางกาลเวลา
47.   Police มาเวอริคที่แท้จริงในวงการดนตรี
48.   เสียงสะท้อนจากซากโครงกระดูกที่หลบซ่อนในตู้เสื้อผ้า
49.   Peter Gabriel การปฏิสนธิที่มีจุดขัดแย้งก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงแห่งการปฏิวัติ
50.   ความจริงของโลกที่ไม่สมควรแตะต้อง
51.   ลูกโซ่แห่งรอยเชื่อมต่อของคณะ Yes บนเส้นทางเดินของ Steve Howe
52.   Union บนความละเอียดอ่อนแห่งวิกฤติแห่งความสับสน

*** ตีพิมพ์ในนิตยสารสตาร์พิคส์ฉบับที่ 291 (2533) - ฉบับที่ 457 (Music Edition - 2541)
บันทึกการเข้า
kilroy
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 118



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #178 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 03:36:26 PM »

คนรักดนตรีที่อ่านสตาร์พิคส์ในยุค พัณณาศิส+ปัญญรักษ์ ต่างก็ติดตามอ่านบทความของทั้งสองท่านกันอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ถึงคราต้องมีอันสะดุดหยุดลงเมื่อคุณปัญญรักษ์จำต้องปิดคอลัมน์ไวนีลมาเนียลงใน SP ฉบับที่ 290 ในปี 2533 ด้วยภาระกิจด้านการงาน แต่ด้วยเกรงว่าจะเสียโควต้าหน้ากระดาษให้กับคอลัมน์อื่น (ฮา..) คอลัมน์ "พรหมจรรย์แห่งวิจารณญาณ" ของพัณณาศิสในนามปากกา "ปุยนุ่น" จึงเข้ามาเสียบแทน คราวนี้พัณณาศิสได้พื้นที่อิสระในการนำเสนอบทความที่หลากหลายซึ่งนอกจากเรื่องของดนตรีแล้วยังนำเสนอ ทัศนคติ วิธีคิด ต่อเรื่องราวต่างๆ มานำเสนอให้อ่านกัน ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (ขอทิ้งท้ายด้วยประเด็นนี้เอาไว้ก่อนครับ และจะหาเวลาต่อจากนี้ไปเขียนจม.ไปหาคุณพัณณาศิส ซึ่งตอบไม่ได้ว่าผมจะเขียนเมื่อไรอาจจะพรุ่งนี้หรืออีกเดือน สองเดือน หรืออาจนานกว่านั้น Tomorrow Never Knows ครับ)

ปล.นิตยสารวอยซ์มีอายุอยู่ในระหว่างสตาร์พิคส์ยุค พัณณาศิส+ปัญญรักษ์ นี่ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #179 เมื่อ: 06 มีนาคม 2013 | 04:26:45 PM »

ขอชื่นชมกระทู้นี้ในฐานะที่นำประวัติศาสตร์เล็ก ๆ หน้าหนึ่งของบรรณพิภพเมืองไทยซึ่งไม่สมควรจะถูกลืมมาย้อนรอยให้ได้รำลึกกัน ผมเองถึงแม้ในยุคนั้นจะได้อ่านสตาร์พิคส์แบบนับจำนวนเล่มได้ (เพียงไม่กี่เล่ม) แต่คอลัมน์ดนตรีจากนิตยสารเล่มนี้ก็มีอิทธิพลต่อผมในการแสวงหาผลงานที่ได้แนะนำไว้มาฟังในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีในแนว progressive rock

ในยุคนี้อาจมี (ผู้ที่ทำตัวเป็น) เกจิฯ กูรู หรือนักวิจารณ์เกลื่อนเมืองไม่ว่าจะอยู่ตามหนังสือหรือโลกออนไลน์ แต่ก็หาได้มีอิทธิพลและแรงดึงดูดต่อนักอ่านเทียมเท่านักเขียนหรือนักวิจารณ์เพียงไม่กี่คนในยุคก่อนไม่ ผมว่าในยุคนั้นความรู้มีให้หาได้น้อยเพราะสื่อยังไม่เปิดกว้าง คนเราจึงต้องออกแรงขวนขวายเพื่อให้ได้รู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้ ครั้นพอมาสมัยนี้ความรู้มีเยอะและมีให้หาได้โดยง่าย แต่ช่างแปลกนักที่คนเรากลับรู้น้อยและไม่กระตือรือล้นที่จะขวนขวาย คงอาจเป็นเพราะรู้ว่ามีให้หาได้โดยง่ายหรือเป็นของตายกระมัง ดังนั้นจะสังเกตได้ว่านักเขียนและคอลัมน์ที่โด่งดังและให้ความรู้ในยุคก่อน ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป ก็ยังไม่ถูกลืมเลือนครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery