ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149643 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

29 มีนาคม 2024 | 02:12:37 AM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgTreasure Boxesคอมเมนต์สั้น ๆ เกี่ยวกับอัลบั้มในคอลเล็คชั่นของท่าน
หน้า: [1] 2 3 4
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คอมเมนต์สั้น ๆ เกี่ยวกับอัลบั้มในคอลเล็คชั่นของท่าน  (อ่าน 8768 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2015 | 09:18:00 AM »

รู้สึกประทับใจหรือมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอัลบั้มแต่ละชุดที่มีอยู่ในคอลเล็คชั่นของท่าน ขออนุญาตเปิดเวทีนี้ไว้ให้ท่านได้คอมเมนต์ จะสั้นก็ได้ จะยาวก็ดี ถ้ามีรูปมาลงด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ เชิญครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2015 | 09:32:54 AM »

ขออนุญาตนำคอมเมนต์ของคุณ eric camen มาลงให้ดูเป็นตัวอย่างครับ

1.Darryl Way's Wolf - Night Music ผมมีความสงสัยมานานแล้วว่า หลายๆท่านชอบชุดนี้น้อยกว่า 2 ชุดแรก เมื่อได้ฟังแล้วผมพบว่าคำตอบน่าจะอยู่ที่ เพลงท้ายๆในหน้าที่ 2 ครับ

2.Rare Bird - As Your Mind Files By - ผมละชอบดนตรีแนวนี้จริงๆ ครับ โดยเฉพาะเสียงออร์แกนที่โดดเด่นมากๆ ครับ

3.Ekseption - Beggar Julia's Time Trip - สำหรับชุดนี้ผมซื้อไว้ได้เกือบ 2 ปี แต่พึ่งได้ฟังครั้งนี้ ทั้งนี้ ผมประทับใจดนตรีที่มีเป็นคำบรรยายประกอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงไม่แปลกที่ผมจะชอบในส่วนนี้ แต่ในส่วนที่นำดนตรีคลาสสิคมาบรรเลงนั้น ผมไม่ชอบเอาเสียเลยครับ

4.Barclay James Harvest - Live Tapes - ผมมีความรู้สึกว่าหลายๆ เพลงของ BJH เมื่อมาเล่นสดจะมีพลัง ชุดนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรกันมากครับ

5.David Sylvian - Brilliant Trees - มีหลายๆท่านทั้งชอบทั้งหลงใหลเสียงและสไตล์การร้องเพลงของเขา และก็คงมีอีกหลายๆ ท่านที่ไม่ประทับเลย สำหรับผมแล้วมีทั้ง 2 อย่างผสมปนกันไปครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2015 | 01:55:11 PM »

Anyone's Daughter - Adonis (1979)



Adonis ผลงานชุดแรกของ Anyone's Daughter เห็นนักฟังและนักวิพากษ์ที่เมืองนอกจำนวนไม่น้อยชื่นชมอัลบั้มชุดนี้ เช่น ในเว็บ progarchives บางคนให้สี่ดาว บางคนก็ให้ห้าดาว แต่เจ้าของเว็บ vintageprog ไม่ชอบอัลบั้มชุดนี้ เพราะเห็นว่าเป็น symphonic prog ที่น่าเบื่อและเย็นชืด โดยเฉพาะ title track ที่มีความยาว 24 นาทีกว่า ส่วนผมค่อนข้างจะเห็นพ้องกับ vintageprog เพราะฟังผลงานชุดนี้มาหลายครั้งแล้วและพยายามทำใจให้ชอบและหลงใหลได้ปลื้มกับมัน แต่ก็ขอสารภาพว่า "รักได้ไม่สนิทใจ" โดยส่วนตัวเห็นว่าผลงานชุดนี้อยู่ในระดับเพียงแค่พอฟังได้ ไม่ถึงกับจืดชืดเย็นชา แต่อืดอาดและลากยาวไปหน่อย โดยเฉพาะเพลง title track ผมฟังแผ่นเสียงถึงตอนท้ายเพลงแล้วรู้สึกว่าดูเหมือนมันจะจบ (เพราะเราอยากจะให้มันจบ) แต่ก็ไม่จบเสียที ยังมีโผล่ขึ้นมาอีก และสำเนียงร้องเป็นภาษาอังกฤษของมือเบสส์และนักร้องนำก็ออกเบลอร์ ๆ ไม่ชัดเจน ถ้าไม่มีเนื้อร้องพิมพ์ไว้หลังปกก็เสร็จเลย โดยส่วนตัวผมให้แค่ 3 จาก 5 ดาวครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2015 | 01:14:39 PM »

Omega - Time Robber (1976)

ภาพจาก www.progarchives.com



Omega สุดยอดวงพร็อกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศฮังการี ก่อตั้งกันมาตั้งแต่ปลายยุค 60's มีผลงานมากมายเอกอุ จนถึงยุคปัจจุบันก็ยังมีผลงานออกมาอยู่เรื่อย ๆ แต่ที่เป็น prog ชัดเจนมีอยู่เพียงไม่กี่ชุดที่ออกในยุค 70's อัลบั้ม Time Robber (1976) ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ผลงานชุดนี้มีความยาวรวมเพียง 35 นาทีกว่า ๆ เพลงในอัลบั้มส่วนใหญ่เป็นแนวฮาร์ดร็อคและจะมีบางเพลงที่มีเสียงร้องออกไปในแนวไซคีเดลิกคล้าย พิงค์ ฟลอยด์ ยุคต้น เช่น เพลง Don't Keep Me Waitin' ซึ่งถือเป็นเพลงเด่นเพลงหนึ่งในอัลบั้ม โดยความเห็นส่วนตัว House of Cards I - Time Robber - House of Cards II เพลงเปิดอัลบั้มซึ่งมีความยาวเกือบ 13 นาที แค่เพลงนี้เพลงเดียวก็คุ้มที่จะมีอัลบั้มชุดนี้ไว้ในครอบครองแล้ว เพราะเป็นเพลงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกสง่างาม ดนตรีเข้มข้นและทรงพลัง เสียง moog riff ประทับจิต เป็นอัลบั้ม progressive rock ชุดหนึ่งที่มีคุณภาพการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม เปี่ยมไปด้วยพลกำลังและไดนามิค โดยเฉพาะเสียงกลองนั้นหนักแน่นและทรงพลัง แผ่นเสียงมือสองโดยสังกัด Bacillus/Bellaphon ยังพอมีให้หาได้ในราคาไม่แพงนัก ขอแนะนำครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2015 | 01:04:34 PM »

Jonathan - Jonathan (1978)

ภาพจาก www.progarchives.com



Jonathan วงดูโอ electronic progressive rock ปลายยุค 70's ประกอบด้วยนักดนตรีชาวเยอรมันจำนวนสองคน คนหนึ่งเล่นกลองและเพอร์คัสชั่น ส่วนอีกคนหนึ่งเล่นคีย์บอร์ด ออกผลงานชื่อเดียวกับวงเมื่อปี 1978 เป็นเพลงบรรเลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ทั้งอัลบั้มซึ่งใช้เครื่องดนตรีจำพวกคีย์บอร์ดและซินธ์ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซินธ์รุ่นใหม่หรือแบบดิจิตอล) ตลอดจนกลองและเพอร์คัสชั่น สไตล์ดนตรีในชุดนี้เอนเอียงไปในยุค 80's บางเพลงมีลักษณะเป็นฟิวชั่นแจ๊สส์ที่ให้ความคึกคักกระฉับกระเฉง โดยรวมแล้วเป็นผลงานที่มีโทนดนตรีสดใสและมีสีสัน พอฟังได้เพลิน ๆ แต่ไม่ถึงกับทำให้ติดอกติดใจเป็นพิเศษครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2015 | 01:41:01 PM »

Amenophis - Amenophis (1983)

ภาพจาก www.progarchives.com



ผลงานแนว symphonic prog ชุดแรกของ Amenophis วง progressive rock เยอรมัน ซึ่งออกเผยแพร่ในยุคมืดแห่งดนตรี prog (ตั้งแต่ยุค 80's เป็นต้นมา) ผมมีแผ่นเสียงชุดนี้อยู่ในมือ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นแผ่นปั๊มแรกหรือรุ่นหลัง ปกแผ่นเสียงอ่อนยวบไม่แข็งแรง เหมือนไม่ใช่งานฝีมือระดับมืออาชีพ อ่านบทวิจารณ์ของเมืองนอก ผู้คนจำนวนไม่น้อยพากันชื่นชมผลงานชุดนี้ (เหมือนในกรณีผลงานชุด Adonis ของ Anyone's Daughter) แต่ยกเว้นผม เพราะผมรู้สึกกับผลงานของ Amenophis ชุดนี้เหมือนที่รู้สึกต่อผลงานของ Anyone's Daughter ดนตรีในอัลบั้ม Amenophis เป็น symphonic progressive ในแบบที่ผมไม่ค่อยชอบนัก เพราะโทนดนตรีโดยรวมออกไปในทางเยือกเย็นเกือบจะแห้งแล้งไปเสียด้วยซ้ำ บันทึกเสียงมาดีแต่เหตุไฉนฟังดูแล้วมิติดนตรีค่อนข้างแบน ภาคคีย์บอร์ดผมได้ยินแต่เสียงเปียโนเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็น่าจะเป็นจำพวกสตริงซินธ์ (สงสัยจริง ๆ ว่าเหตุใดหนอพวกวงเยอรมันจึงชอบใช้สตริงซินธ์กันนัก) บางคนว่าวงนี้เล่นคล้าย Camel ผมก็ว่าจริงในแง่คล้ายผลงานห่วย ๆ ของ Camel ในยุค 80's เอาไปสามดาวก็พอครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มกราคม 2016 | 11:54:05 AM »

Epidaurus - Earthly Paradise (1977)



ไม่อาจหาญพอที่จะบอกว่าผลงานชุด Earthly Paradise ของ Epidaurus วง symphonic prog เยอรมัน ซึ่งออกเมื่อปี 1977 นั้น เป็นผลงาน progressive rock ในแบบ symphonic ที่ "ดีที่สุด" แต่เอาเป็นว่าผลงานชุดนี้ได้ทำให้ยุคทองแห่ง progressive rock (ที่กำลังสั่นคลอนใกล้จะล่มสลายเพราะดนตรี new wave) ณ ห้วงเวลานั้น "มีความหมายมากที่สุด" ก็แล้วกัน คนฟังทางเมืองนอกเขาให้คำนิยมแก่อัลบั้มชุดนี้เพียงสั้น ๆ ว่า "symphonic prog at its best" แต่จะ best แค่ไหน คนฟังเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสิน โดยส่วนตัว ผมให้ค่าผลงานชุดนี้อยู่ในระดับเดียวกันกับ Ocean ซึ่งเป็นมาสเตอร์พีซของ Eloy และออกจำหน่ายในปีเดียวกัน วง Epidaurus มีมือคีย์บอร์ดสองคน และมีนักร้องนำเป็นผู้หญิง ซึ่งมีลีลาการร้องในลักษณะคล้ายโอเปร่าและผมมิอาจจับความหมายของเนื้อร้องได้เลยว่าเธอกำลังร้องหรือรำพันอะไรอยู่ แต่โชคดีที่ในอัลบั้มจำนวนห้าเพลง เธอร้องเพียงสองเพลงแรกเท่านั้น ส่วนอีกสามเพลงที่เหลือเป็นเพลงบรรเลงในแนว instrumental มีบางคนบอกว่าบางช่วงในอัลบั้มชุดนี้คล้าย Eloy ในยุค 80's แต่ผมเห็นตรงข้าม เนื่องจากอัลบั้มของ Eloy ที่ออกตั้งแต่ปี 1980 เช่น Colours, Planets และ Time To Turn นั้น ล้วนออกหลัง Earthly Paradise ทั้งสิ้น (ขอให้ลองฟัง Mitternachtstraum ซึ่งเป็นเพลงปิดท้ายอัลบั้มชุดนี้ดู) เมื่อหักคะแนนเสียงนักร้องหญิงของวงนี้แล้ว (ซึ่งโดยส่วนตัวผมไม่ค่อยประทับใจนัก) ผมให้คะแนนผลงานชุดนี้สี่ดาวจากห้าดาวเต็มครับ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 07 มีนาคม 2016 | 10:56:39 AM »

Omega - Time Robber (original LP) แนะนำไปแล้วในกระทู้ก่อน

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2016 | 05:20:02 PM »

Ramses วงร็อคจากเมืองฮันโนเวอร์ เยอรมนี เก็บเกี่ยวองค์ประกอบดนตรีจากวงร็อคอื่นที่โด่งดังในยุคนั้น เช่น Jane, Eloy, Uriah Heep แล้วเขย่าส่วนผสมออกมาเป็นผลงานชุดแรก La Leyla (1975) ซึ่งบรรจุเพลงอยู่ทั้งสิ้นหกเพลง ดนตรีเล่นได้หนักแน่นดี มีอยู่หลายเพลงที่กระเดียดไปทางฮาร์ดร็อค วงนี้มีนักร้องสองคน คนหนึ่งร้องนำอย่างเดียว ส่วนอีกคนหนึ่งทั้งร้องและเล่นคีย์บอร์ดด้วย เสียงร้องในบางเพลงฟังแล้วเหมือนเสียงผู้หญิง แต่เมื่อพลิกดูเครดิตนักดนตรีกลับไม่พบชื่อนักร้องที่เป็นผู้หญิงหรือแขกรับเชิญเลย อัลบั้มชุดนี้โปรดิวซ์โดย Klaus Hess (สมาชิกของ Jane) และ Conny Plank และเอ็นจิเนียร์โดย Conny Plank (R.I.P.) ซึ่งรับประกันว่ามีคุณภาพเสียงยอดเยี่ยมและมีอิทธิพลที่ชวนให้นึกถึงดนตรี krautrock ในยุคนั้นอย่างวง Jane ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น แผ่นเสียงที่ผมมีอยู่เป็นแผ่น original ซึ่งออกโดยตรา Sky เยอรมนี รหัสหมายเลข Sky 002 แต่ยังมีแผ่นเวอร์ชั่นที่ออกในอเมริกาโดย Annuit Coeptis ด้วยเช่นกัน แสดงว่าในยุคนั้นคงมีคนอเมริกันฟังผลงานของ Ramses อยู่บ้างครับ

เครดิตภาพ www.progarchives.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
lunar
In The Court Of The Crimson King
*
กระทู้: 89



ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2016 | 06:40:15 PM »

มาตอบกระทู้ครับ นานเเล้วไม่ได้เข้า มา เพียงอยากมาบอกว่า รีวิวดีมาครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2016 | 11:29:03 AM »

มาตอบกระทู้ครับ นานเเล้วไม่ได้เข้า มา เพียงอยากมาบอกว่า รีวิวดีมาครับ

>>> ดีใจที่ได้เห็นสมาชิกอย่างคุณ lunar มาร่วมแจม แม้จะนาน ๆ ทีก็ยังรู้สึกยินดีครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2017 | 01:23:27 PM »

เรวัต พุทธินันทน์ และวงคีตกวี - เรามาร้องเพลงกัน (2525)

ขอยืมภาพปกเทปมาจาก www.oknation.net



ปี 2530 ผมเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 2 เพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งอยู่ปี 4 เขาเรียนดนตรี (เปียโน) อยู่ที่โรงเรียนดนตรีศศิลิยะ (ซึ่งมีอาจารย์ดนู ฮันตระกูล เป็นผู้อำนวยการ) เห็นผมบ้าฟัง progressive rock จึงเอาเทปคาสเสทอัลบั้มชุด "เรามาร้องเพลงกัน" โดยเรวัต พุทธินันทน์ และวงคีตกวี มาให้ผมลองฟังดู ผมก็ฟังอยู่หลายเที่ยวแบบค่อย ๆ ซึมซาบ เป็นอัลบั้มเพลงไทยที่คนฟังในยุคนั้นอาจเรียกว่าเป็นแนวทดลอง (experimental) หรือบางคนที่ฟัง progressive ก็อาจเรียกว่าเป็นแนว progressive ก็แล้วแต่จะว่ากันไป แต่ที่แน่ ๆ คือ คนดนตรีกลุ่มนี้ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีจากวง Butterfly ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับโรงเรียนดนตรีศศิลิยะ) มีหัวการทำเพลงที่ "ก้าวหน้า" และ "มาก่อนเวลา" และอาจเรียกได้ว่าถึงขั้น "ผิดเวลา" ก็ได้ เพราะยอดขายผลงานชุดนี้ ทั้งเทปคาสเสทและแผ่นเสียง ไม่ดีเลย รุ่นพี่คนที่ให้ผมยืมเทปเล่าว่า (ตอนนั้น) เทปและแผ่นเสียงอัลบั้มชุดนี้เหลือสต็อกค้างอยู่ที่โรงเรียนฯบานตะไท เพราะขายไม่ค่อยออก (แต่ปัจจุบัน มีคนถามหากันมากมาย เขาว่าราคาซื้อขายแผ่นเสียงชุดนี้ในตลาดมือสองว่ากันเป็นหลักหมื่นบาท) ผมคืนเทปม้วนนั้นให้รุ่นพี่ไปและไปหาซื้อเทปมาฟังเป็นของตนเองจากร้านโดเรมี สยามสแควร์ ในยุคนั้น ในความเห็นของผม ดนตรียอดเยี่ยมทั้งในแง่เนื้อร้องและการเล่นและเรียบเรียงดนตรี แต่โปรดักชั่น "บอบบาง" เหมือนอย่างที่ฝรั่งเขาว่า thin production รายละเอียดเกี่ยวกับอัลบั้ม (เนื้อร้อง เครดิตคนทำเพลง ฯลฯ) แทบไม่มีให้อ่านเลย เกือบจะเหมือนเทป Peacock ยังไงยังงั้น รู้จากปากคำบอกเล่าของรุ่นพี่ของผมว่า นอกจากคุณเต๋อ (RIP) ซึ่งเป็นนักร้องนำแล้ว วงคีตกวีก็ประกอบด้วยอาจารย์ดนู ฮันตระกูล, เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ (RIP), อัสนี โชติกุล, ธนวัฒ (อนุวัฒน์) สืบสุวรรณ, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา, จิรพรรณ อังศวานนท์ เป็นต้น คุณภาพการบันทึกเสียงเหมือนมือสมัครเล่น ซึ่งก็อาจเป็นเพราะมีงบประมาณในการทำไม่มากนักก็ได้ เพลงในชุดนี้ไม่ใช่ในแบบฉบับ progressive ทั่วไปที่เราคุ้น ๆ กันอย่างของ Yes, Genesis, Pink Floyd, ELP แต่มันเป็นเหมือนหม้อต้มจับฉ่ายที่รวมเพลงหลากหลายแนวไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวโฟล์คร็อค พ็อพ ไซคีเดลิก เฮฟวี่เมทัล นิวเอจ เป็นต้น เนื้อหาบทเพลงลึกซึ้ง อิงหลักปรัชญาและศาสนา บางครั้งอาจต้องอาศัยการตีความ ซึ่งก็เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคอ progressive rock น่าเสียดายที่ผลงานชุดนี้มาก่อนเวลามากเกินไป แต่กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นผลงานที่ไร้ซึ่งกาลเวลา (timeless) อย่างแน่นอน แผ่นเสียงใช้แล้วในท้องตลาด ถ้าไม่มีเงินเป็นหลักหมื่นก็อย่าไปพูดถึง บางครั้งถึงแม้มีเงินก็ใช่ว่าจะหาซื้อมันได้ เทปคาสเสทที่ผมเคยมีก็หายไปไหนไม่รู้นานแล้ว ดีใจมากที่ได้อัลบั้มชุดนี้กลับมาอีกครั้งใน Collection Box Set ชุด Alive ของคุณเรวัต พุทธินันทน์ ซึ่งมีคุณภาพเสียงดีกว่าที่เคยได้ยินในเทปคาสเสทครับ

เครดิตภาพ www.thaiticketmajor.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2017 | 12:49:17 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2018 | 04:19:24 PM »

Faithful Breath วง progressive rock สัญชาติเยอรมัน ซึ่งออกผลงานมาได้สองชุดเมื่อปี 1973 และ 1978 (แต่ผลงานชุดนี้ได้ออกวางจำหน่ายจริงเมื่อปี 1980) ก่อนจะหันเหไปเป็นวงเฮฟวี่เมทัลเต็มตัวในยุค 1980's (ซึ่งเป็นยุคที่ทำให้วงและศิลปินดี ๆ ต้องเสียผู้เสียคนหรือ "เป๋" มานักต่อนักแล้ว) ผลงานชุดแรกชื่อ Fading Beauty ออกเมื่อปี 1973 ผมไม่มีแผ่นเสียง original (ซึ่งคาดว่าน่าจะแพงพอสมควร) แต่มีแผ่นญี่ปุ่น (ซึ่งตัวแผ่นไวนิลทำในเยอรมนี และมีโอบิ) แผ่นรีอิชชู่ซึ่งออกโดย Amber Soundroom และ Garden of Delights สรุปคือแผ่นทั้ง 3 รุ่นนี้เป็นแผ่นรีอิชชู่ทั้งหมด ที่ซื้อมาฟังก็เพราะไม่ได้หลงใหลอะไรวงนี้หรอกครับ เพียงแต่เห็นหน้าปกแล้วชอบ จึงซื้อ ดนตรีก็... ผมว่าเป็นความทะเยอทะยานของวงนี้นะครับที่จะทำดนตรียาว ๆ แบบเพลง suite หรือมหากาพย์ แต่เมื่อเทียบกับฝีมือ ความสามารถทางดนตรีและผลลัพธ์ที่ออกมาแล้ว ยังไม่ถึงขั้นผลงาน progressive rock ที่ดี เพราะดนตรีฟังแล้วออกอืด ๆ เนิบ ๆ เฉื่อย ๆ ไม่ค่อยมีความซับซ้อนเท่าที่ผลงาน progressive rock ที่ดีชุดหนึ่งจะพึงเป็น แม้จะอุดมไปด้วยเสียงคีย์บอร์ด เช่น ออร์แกนและเมลโลทรอน ก็ตาม เมโลดี้ก็ไม่ชวนให้ติดหู เสียงร้องนำหรือก็... ไม่รู้สิครับ... ผมว่าเป็นเสียงร้องที่ไม่เพราะ (ภาษาอังกฤษสำเนียงเยอรมัน, แต่อย่าไปว่าเขาเลย ถ้าเราร้องเองบ้าง เขาก็คงว่าเราร้องภาษาอังกฤษสำเนียงไทยล่ะครับ 555) ผลงานชุดนี้นาน ๆ หยิบมาฟังทีละก็พอได้ ฟังได้พอเพลิน แต่แทบไม่มีโมเมนต์ที่เร้าใจ ผลงานชุดที่สองของพวกเขาน่าจะดีกว่า แต่ผมยังฟังไม่ละเอียด เอาไว้ถ้าทำการบ้านดีแล้วค่อยมาเม้นต์ให้ฟัง (อ่าน) ครับ

เครดิตภาพ www.vintageprog.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2018 | 02:16:23 PM »

Tangerine Dream บอกลาทศวรรษ 1970's ด้วยผลงานชุด Force Majeure (1979) และก้าวย่างเข้าสู่ทศวรรษ 1980's พร้อมกับการมาของโยฮันส์ ชเมิลลิ่ง (Johannes Schmoelling) ซึ่งประเดิมงานแรกกับวงโดยขึ้นเวทีแสดงสดที่ Palast Der Republik (Palace of the Republic อาคารที่ตั้งของรัฐสภาเยอรมนีตะวันออก ต่อมาได้ถูกรื้อถอน) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 1980 โดยเล่นเพลง Quichotte Part 1 & Part 2 ซึ่งต่อมาได้ถูกบันทึกเป็นอัลบั้มแสดงสดชื่อ Quichotte โดยตราแผ่นเสียง Amiga และชื่อ Pergamon โดยตราแผ่นเสียง Virgin อัลบั้มชุดนี้เป็นผลงานบันทึกการแสดงสดลำดับที่สามของ Tangerine Dream ถัดจากชุด Ricochet และ Encore (double LP) นอกจากการมาเยือนของสมาชิกใหม่แล้ว ในผลงานชุด Quichotte หรือ Pergamon นี้ TD ยังใช้คีย์บอร์ดและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ประเภท digital synthesizers and sequencers เป็นส่วนใหญ่ และเน้นการเล่นในแบบ jamming และ improvisation ระหว่างสมาชิกทั้งสามคนบนเวที และทำออกมาได้ดีมาก Quichotte Part 1 ขึ้นต้นด้วยเสียงเปียโนที่มีท่วงทำนองไพเราะ สวยสดงดงาม กระจ่าง สว่างสดใส และประเทืองอารมณ์ โดยฝีมือของ Johannes Schmoelling โดยมี theme และเมโลดี้ที่จะไปปรากฏอยู่ในผลงานชุด Tangram และ Wavelength (อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์) ในเวลาต่อมา และโดยความเห็นส่วนตัว ไม่มีอินโทรท่อนใดในอัลบั้มอื่นไม่ว่าชุดใดของ TD ที่จะไพเราะและสวยงามเท่าช่วงขึ้นต้นของ Quichotte Part 1 ในผลงานชุดนี้อีกแล้ว และใน Quichotte Part 2 นับแต่นาทีที่ 6-8 เป็นต้นไป เราจะได้ยิน Edgar Froese เล่นลีดกีตาร์ไฟฟ้าที่ถูกปรับแต่งเสียงให้มีลักษณะผิดเพี้ยน (distorted) กราดเกรี้ยว แต่ทว่าฟังดูเท่และเก๋ไก๋อยู่ในที ค่อย ๆ สร้างอารมณ์คนฟังให้เครียดเขม็งขึ้นทีละน้อย จนกระทั่งค่อย ๆ ผ่อนคลายและสงบลงในตอนท้าย สรุปว่าชุดนี้เป็นบันทึกการแสดงสดที่ยอดเยี่ยมและคงเส้นคงวาตั้งแต่แรกยันจบอีกชุดหนึ่งของ Tangerine Dream ครับ

เครดิตภาพ www.gnosis2000.net

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2019 | 03:28:51 PM »

Los Canarios - Ciclos (1974, 2LP) ผลงานร็อคที่ยิ่งใหญ่ชุดหนึ่งในโลกดนตรี progressive rock ซึ่งดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ The Four Seasons ของ Vivaldi และเล่นโดยนักดนตรีที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษหรืออเมริกันที่คนฟังทั่วไปมักคุ้น หากแต่เป็นชาวสเปน ดนตรีแน่นและซับซ้อน แม้จะดูเชยไปบ้างตามกาลเวลา ใช้คีย์บอร์ดและซินธ์อะนาล็อกสารพัดชนิดเท่าที่หาได้ในยุคนั้น รวมทั้ง theremin และ effects ต่าง ๆ กลุ่มนักร้องประสานเสียง เสียงร้องโอเพร่าโดย รุดมินี สุขมาวตี (บุตรีอดีตประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งอินโดนีเซีย) กีตาร์ กลองและเพอร์คัสชั่นที่เต็มไปด้วยเทคนิคและลวดลาย คอนเส็พท์ยิ่งใหญ่ มีขึ้นต้น และมีบทสรุป ฯลฯ ผมรู้จักและฟังผลงานชุดนี้มาตั้งแต่ประมาณปี 2546 และแต่ละครั้งที่ฟัง พบว่าจับได้รายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวกับหัวเข็มเล่นแผ่นเสียงนั้นมันไม่ปล่อยรายละเอียดเหล่านั้นออกมาหมดเสียทีเดียว เป็นผลงานที่โดยส่วนตัวแล้วสุดยอดจริง ๆ ครับ

เครดิตภาพ www.vintageprog.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
หน้า: [1] 2 3 4
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery