ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149643 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

28 มีนาคม 2024 | 10:08:01 PM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgTreasure Boxesคอมเมนต์สั้น ๆ เกี่ยวกับอัลบั้มในคอลเล็คชั่นของท่าน
หน้า: 1 2 [3] 4
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คอมเมนต์สั้น ๆ เกี่ยวกับอัลบั้มในคอลเล็คชั่นของท่าน  (อ่าน 8767 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2022 | 09:13:35 AM »

คราวก่อนผมได้พูดถึงอัลบั้มประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เปรียว" (2526) ของคณะพราว (proud) ในส่วนที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ไปแล้วคร่าว ๆ

ก่อนจะไปต่อในส่วนของดนตรี ผมขอเปิดประวัติของนักดนตรีสมาชิกคณะพราวเท่าที่ทราบ เพราะมีข้อมูลอยู่น้อยมาก และหาตามอินเทอร์เนตก็แทบจะไม่เจอเลย สมาชิกคณะพราว (proud) ประกอบด้วย

จรวยพร จิตตรีญาติ (ชื่อเล่นว่า ติ๋ว) - ร้องนำ
คุณจรวยพรเป็นนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงสังกัดวงพ็อพ ดิสโก้ และสตริงในยุค 1970s และ 1980s และมีผลงานส่วนตัวออกมาด้วย จนถึงปัจจุบัน เข้าใจว่าเธอยังรับงานร้องเพลงและอยู่กับวงการเพลง

นพดล กมลวรรณ - คีย์บอร์ด, ร้อง ทำนอง และเรียบเรียงดนตรี
คุณนพดล กมลวรรณ ฉายา "ปีศาจสวรรค์" ที่คุณวิทูร วทัญญู ตั้งให้ เคยเป็นมือคีย์บอร์ดของ เดอะ ฟ็อกซ์ ที่ลือลั่น และต่อมาเป็นสมาชิกวง The Bless ซึ่งตอนนั้นมีคุณอิทธิ พลางกูร ร่วมเล่นอยู่ด้วย ปัจจุบัน คุณนพดลอยู่ประเทศอังกฤษ ตามที่มีผู้ใหญ่บางท่านได้ให้ข้อมูลผมมา

วิธาน ธุวัชชัย - เบส
ปัจจุบัน คุณวิธาน ธุวัชชัย (ชื่อเล่นว่า อ้วน) เปลี่ยนชื่อเป็น พงศ์พิธาน ธุวัชชัย เป็นนักดนตรีและนักเรียบเรียงเสียงประสานที่ยังเคลื่อนไหวและคร่ำหวอดอยู่ในวงการเพลง

วิทูร ธุวัชชัย - กลอง
วิทูร ธุวัชชัย อดีตสมาชิกวงเซเลเบรชั่น (Celebration) ซึ่งเป็นวงสตริงไทยในยุค 1980s ที่มีเอกลักษณ์คือแต่งชุดและคลุมหน้าสีขาวกันทั้งวง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งในยุคนั้นว่า วงคนชุดขาว ซึ่งในวงนี้ยังมีสมาชิกอีก 2 คนที่ปัจจุบันเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน และโปรดิวเซอร์ผู้มีชื่อเสียง ได้แก่ คุณติ๊ก ชีโร่ (กลอง) และคุณอภิชัย เย็นพูนสุข (คีย์บอร์ด)

ศิริพงศ์ แก้วพลอย - กีตาร์
ผมแทบไม่พบประวัติของสมาชิกวงคนนี้เลย แต่มีคนชื่อ "ศิริพงษ์ แก้วพลอย" ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยและเป็นนักดนตรี มีถิ่นพำนักอยู่ที่จังหวัดลพบุรี จึงไม่แน่ใจว่าจะเป็นคนเดียวกันกับศิริพงศ์ แก้วพลอย ซึ่งเป็นมือกีตาร์ของคณะพราวหรือไม่

ประวัติย่อของสมาชิกวงเท่าที่ผมทราบก็มีเท่านี้ ต่อไปผมจะพูดถึงภาคดนตรีครับ

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2022 | 01:36:20 PM »

มัม - ขอเพียง..เข้าใจ (2528)

ใครไม่พูดถึงผลงานชุดนี้ แต่ "ปีศาจลายคราม" พูดครับ ถ้าเสิร์ชอากู๋ google รับรองเจอข้อมูลแน่นอน 5555 ยิ้มกว้างๆ

โดยนิสัยส่วนตัวผมเป็นคนชอบเพลงสนุก เพลงมันส์ ๆ ฟังอยู่คนเดียวก็ลุกขึ้นมาเต้นหน้าเครื่องเสียงได้ (อั๊ยยะ ยิงฟันยิ้ม) แผ่นเสียงอัลบั้มชุดนี้จึงตอบโจทย์ได้ชะงัด เพราะมีแต่เพลงสนุกเสียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเพลงที่ 3 ในหน้าแรก ชื่อ "อย่าโกรธฉันเลย" และเพลงที่ 2 ในหน้า 2 ชื่อ "ผิวปากฝากลม" ซึ่งเป็นเพลงโรแมนติคหวาน ๆ น่ารัก และจังหวะกำลังพอเหมาะ บวกกับเสียงหล่อ ๆ เท่ ๆ ของคุณมัม วัลลภ มณีคุ้ม ฟังแล้ว นอกจากสนุกกับเพลงส่วนใหญ่แล้วใจยังต้องวาบหวิวเคลิบเคลิ้มไปกับบรรยากาศแห่งความรัก และต้องอัดโวลลู่มแอมป์แรง ๆ จึงจะรู้สึกมันส์ ฟังแล้วนึกถึงกระแสดนตรี new wave และ techno pop / synth pop ของอังกฤษและยุโรปในยุค eighties เช่น Duran Duran, Ultravox, Human League, Peter Schilling etc. และยังมีเพลง cover ผลงานของคาราบาว คือเพลง "วณิพก" ฉบับของมัมแถมมาด้วย รับรองถ้าเปิดในเธคหรือผับ เป็นต้องมีคนได้ดิ้นกระจายแน่นอน หากนับถึงปัจจุบัน (2565) ผลงานชุดนี้มีอายุ 37 ปี แล้ว แต่ดนตรีฟังดูยังไม่ล้าสมัย ผมนึกถึงตอนเป็นวัยรุ่น กำลังเรียนอยู่ ม.ปลายที่เตรียมอุดมฯ (ปีที่ผลงานชุดนี้ออกเผยแพร่และจำหน่าย) พร้อมกับบรรยากาศสีสันของสถานบันเทิงยุคนั้นคือดิสโก้เธคซึ่งมีดีเจคอยเปิดเพลงให้คนที่ไปเที่ยวได้เต้นรำกัน (ได้แต่ฟังโฆษณา อยากไปเที่ยวเธค แต่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ไป จึงได้แต่ร้องไห้ฮือ ๆ (พูดเล่นไปตามอารมณ์ครับ 5555)) ผลงานชุดนี้ทำโปรดักชั่นและใช้นักดนตรีห้องอัดที่ประเทศอังกฤษโดย WEA ไนท์สปอต และมีคุณนุภาพ สวันตรัจฉ์ และคุณอัสนี โชติกุล อยู่เบื้องหลังการทำงานด้วยครับ

หน้า 1
1. วันที่มาไม่ถึง (The Day That Won't Come)
2. สุข...สุดหัวใจ (They Understand Us)
3. อย่าโกรธฉันเลย (Don't Be Mad At Me)
4. ชีวิตกับบทเพลง (Life)
5. เปิดหัวใจ (Sing Your Heart Out)

หน้า 2
1. วณิพก (Wandering Beggar)
2. ผิวปากฝากลม (Whispering With The Wind)
3. จากใจ ดี.เจ. (From A D.J.'s Heart)
4. ขอเพียง..เข้าใจ (Please Understand)



บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2022 | 05:21:37 PM »

ขออนุญาตหมายเหตุไว้สักนิด เกรงว่าบางท่านอ่านที่ผมเขียนไว้ข้างต้นแล้วจะสงสัย ว่าสมัยก่อนมีการโฆษณาดิสโก้เธค บาร์ ไนท์คลับ ฯลฯ กันด้วยหรือ? ก็ขอตอบว่า "มีครับ" โดยเฉพาะสปอตโฆษณาคั่นรายการเพลงวิทยุ มีให้ได้ยินอยู่เรื่อย เช่น เดอะไนน์ ไนท์คลับ เธคนั้น เธคนี้ เดอะ พาเลซ, นาซ่า สเปซี่โดรม (ตรงแยกคลองตันสมัยโน้น) ฯลฯ เยอะแยะไปหมด แล้วต้องโฆษณาด้วยนะว่าดีเจที่เปิดเพลงคืนวันนั้นคืนวันนี้เป็นใคร สมัยก่อนดีเจคนที่ผมได้ยินออกประกาศบ่อย ๆ ก็มีคุณแซม ยุรนันท์ คุณจิรวดี อิศรางกูร เป็นต้น โฆษณาคอนเสิร์ตแสดงดนตรีวงสตริงซึ่งจัดตามสถานที่โน้นนี้ในกรุงเทพมีให้ได้ยินออกบ่อย เช่น คอนเสิร์ต ท.ท.บ. 5 ลานโลกดนตรี โดย 72 โปรโมชั่น คอนเสิร์ตแดนเนรมิต คอนเสิร์ตรวมวงสตริง ณ สวนลุมพินี (เที่ยงวันยันเที่ยงคืน บัตร 40 บาท เหมือนเดิ๊ม... (เสียงเหน่อ ๆ แบบสุพรรณ) อันนี้เป็นคำโฆษณาจากรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" ของคุณนฤชา เพ่งผล นะครับ ผมไม่ได้คิดเอง 5555) สมัยก่อนสถานที่และสวนสาธารณะบางแห่งในกรุงเทพยังให้เปิดจัดคอนเสิร์ตได้ ไม่เหมือนสมัยนี้ โดยเฉพาะตั้งแต่ โควิด-19 มาเยือน เราจะมีโอกาสได้สนุกสนาน ได้บันเทิงเริงใจกันอีกเหมือนก่อนไหมครับ? ขอตอบได้เลยครับว่า "ยาก" หรือไม่ก็ "อีกนาน" ถึงตอนนั้นรูปแบบการบันเทิงก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ส่วนอดีตที่หวานชื่นมันผ่านไปแล้ว ไม่มีอีกแล้วจริง ๆ ขอบ่นตามประสาคน (ชักจะเริ่ม) แก่ครับ 5555 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2022 | 08:06:50 AM »

ขอเลือกแทร็คที่ 4 ในหน้าแรกของแผ่นเสียงชุด "ขอเพียง..เข้าใจ" คือ "ชีวิตกับบทเพลง (Life)" มาฝาก ซึ่งนอกจากเสียงหล่อ ๆ เท่ ๆ ของคุณมัมแล้ว backing track ยังน่าสนใจ เพราะเป็นดนตรีสไตล์ยุค eighties แท้ ๆ เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วยคีย์บอร์ด อิเล็กทรอนิกส์ แซ็กโซโฟน และ drum machine ไม่น่าเชื่อว่าเกือบ 40 ปีผ่านไป sound ของบทเพลงยังฟังดูทันสมัยอยู่เลย ขอบคุณ YouTube ที่เป็นสื่อกลางของดนตรีครับ

https://www.youtube.com/watch?v=GmaC8ezYCsU
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2022 | 01:59:43 PM »

เครดิตผู้แต่งเพลงร่วมในทุกเพลง (ยกเว้นเพลง "วณิพก" ซึ่งแต่งโดย ยืนยง โอภากุล) มีคนชื่อ "ไซมอน" ปรากฏอยู่ ท่านอาจสงสัยว่าคือใคร เท่าที่ผมเคยเห็นจากปกเทป "ขอเพียง..เข้าใจ" "ไซมอน" ผู้นี้เป็นนักดนตรีห้องอัดชาวอังกฤษในยุคนั้น มีชื่อเต็มว่า Simon Tittley และเขามีเว็บไซต์ของตัวเองอยู่ด้วยครับ



http://www.simontittley.co.uk/

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2022 | 02:07:47 PM »

The Moody Blues - This Is The Moody Blues (1974, 2LP compilation album)

ปกติผมพยายามจะไม่พูดถึงผลงานรวมเพลง เพราะเป็นที่ทราบกันอยู่ว่าไม่มีอะไรใหม่ ส่วนใหญ่ก็เป็นการรวมเพลงเด่นเพลงฮิตจากผลงานชุดเก่า ๆ แต่สำหรับอัลบั้มคู่รวมเพลงชุด This Is The Moody Blues ผมต้องขออนุญาตพูดสักนิดว่า นอกจากจะรวมเพลงเด็ด ๆ จากผลงานทั้ง 7 อัลบั้ม ตั้งแต่ชุด Days Of Future Passed (1967) ไล่ไปจนถึงชุด Seventh Sojourn (1972) โดยแทบไม่มีการตกหล่นแล้ว การเดินเพลงยังต่อเนื่องกันแบบที่เรียกว่าไร้รอยต่อกันเลยทีเดียว ซึ่งให้อารมณ์ต่อเนื่องดีมาก แสดงให้เห็นถึงกึ๋นของโปรดิวเซอร์ ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับใครก็ตามที่อยากทำความรู้จัก The Moody Blues ในยุคแรกหรือยุค psychedelic แต่ยังไม่อยากลงทุนเก็บเป็นรายอัลบั้มให้เปลืองเงิน ฟัง This Is The Moody Blues ให้ซาบซึ้งทุกแทร็คแล้วค่อยไปตามเก็บอัลบั้มเต็มทีละชุดก็ยังไม่สายครับ

เครดิตภาพ www.moodybluestoday.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2022 | 02:10:23 PM »

Barclay James Harvest - Live Tapes (2LP, 1978)

รวมสุดยอดบันทึก (เทป) การแสดงสดของ Barclay James Harvest (BJH) ต่างกรรมต่างวาระในประเทศอังกฤษ ในห้วงเวลาที่ถือได้ว่าวงกำลังพุ่งถึงขีดสุด ทั้งในแง่ฝีมือ ผลงานและความนิยม หลังจากออกอัลบั้ม Gone To Earth (1977) ก็ยังนำบางเพลงจากอัลบั้มชุดนี้มาเล่นแสดงสดด้วย เช่น Hard Hearted Woman, Hymn โดยเฉพาะเพลงหลังนี้อาจถือได้ว่าเป็นเพลง anthem เพลงหนึ่งของวง ซึ่งมักจะเป็นเพลงที่เล่นปิดการแสดง โดยส่วนตัว ผมว่าทุกเพลงที่เล่นสดและถูกนำมารวมไว้ในอัลบั้ม Live Tapes นั้น เล่นได้สด กระชับ และมีพลังกว่าเวอร์ชั่นในสติวดิโออัลบั้ม เช่นเพลง Rock N Roll Star, Hard Hearted Woman และ Hymn โดยเฉพาะเพลง Hymn ซึ่งเป็นเพลงปิดท้าย เสียงซินธ์ที่คลอตลอดเพลงไปจนถึงไคลแม็กซ์ช่วงท้ายนั้นเล่นได้งดงาม อุดม และอลังการมาก ผมเคยอ่านเจอข้อมูลมาว่า วัตถุดิบของ Live Tapes ถูกนำมา overdubbed และขัดเกลาปรุงแต่งกันในสติวดิโออีกที ไม่ใช่วัตถุดิบจากการแสดงสดเพียว ๆ แต่จะแคร์อะไรเล่าในเมื่อบันทึกการแสดงสดโดยมากในยุคนั้นก็มักจะทำกันแบบนี้ทั้งนั้น โดยสรุป Live Tapes คือบันทึกการแสดงสดที่ยอดเยี่ยมชุดหนึ่งของโลกดนตรีร็อค โดยอยู่ในลำดับชั้นเดียวกันกับผลงานการแสดงสดชุด Playing The Fool ของ Gentle Giant, Live At Home ของ Jane, The Concerts In China ของ Jean-Michel Jarre, Eloy Live ของ Eloy เป็นต้น ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากรู้จักผลงานของ BJH เพื่อนำไปต่อยอด โดยเฉพาะผลงานของพวกเขาในยุคที่อยู่สังกัด Polydor ครับ

เครดิตภาพ www.progarchives.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2022 | 08:36:02 AM »

เสริม หรือ add up แผ่นลองเพลย์ Live Tapes ด้วย EP ขนาดเจ็ดนิ้ว ซึ่งมีเพลง Rock 'N' Roll Star (ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นโชว์เดียวกันกับใน Live Tapes เพราะฟังเทียบกันแล้ว เพลงเหมือนกันเลย) และเพลง Medicine Man Part I & II ซึ่งเพลงนี้เมื่อนำออกเล่นสดกลายเป็นเพลงยาวที่เต็มไปด้วยการโซโล แจมมิ่ง และ improvisation (ต่างจากสติวดิโอเวอร์ชั่นมาก) จนต้องใช้พื้นที่แผ่น EP ทั้งสองด้าน คนฟังต้องพลิกกลับแผ่นเสียงไปอีกด้านเพื่อเล่นต่อ Part II ทำให้เสียอารมณ์ความต่อเนื่อง (แต่ในอัลบั้มรวมเพลงชุด Endless Dreams เพลง Medicine Man ทั้ง Part I และ Part II นี้ถูกเชื่อมต่อกันสนิทเป็นเพลงเดียวกัน ฟังแล้วไม่เสียอารมณ์) ที่ผมต้องพูดถึงเพลง Medicine Man แสดงสดนี้เป็นพิเศษก็เพราะเพลงนี้เป็นการแสดงความสามารถบนเวทีของสมาชิกวงแต่ละคนในช่วงที่พวกเขาทำการ jamming & improvisation ว่าพวกเขานั้นมีความสามารถกันขนาดไหน โดยเฉพาะ Stuart "Woolly" Wolstenholme (RIP) มือคีย์บอร์ด ซึ่งโชว์ทักษะการเล่น mellotron และอนาล็อกคีย์บอร์ดชนิดอื่น ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม และเพลง Medicine Man นี้ นอกจากจะเป็นโชว์ของปี 1977 แล้ว ยังมีโชว์ของปี 1974 ซึ่งอยู่ในชุด Live (2LP, 1974) ด้วย ซึ่งก็เล่นดีไม่แพ้กัน เผลอ ๆ อาจจะดีกว่าด้วยครับ ขอให้ไปลองฟังเปรียบเทียบกันดู

เครดิตภาพ www.bjharvest.co.uk

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2022 | 04:39:31 PM »

เมื่อปี 2006 มีซีดี Live Tapes รีอิชชู่ออกจำหน่ายโดย Eclectic ภายใต้ catalog no. ECLCD 1048 ซึ่งในซีดีชุดนี้มีเพลง bonus tracks เพิ่มมาอีก 3 เพลง ได้แก่ The World Goes On, Medicine Man และ Hymn For The Children และมีข้อมูลและรูปภาพเพิ่มเข้ามาในส่วนหน้าปกอีกเพียบ ผมเองก็เพิ่งทราบ เดี๋ยวจะลองหาดูว่ายังพอมีหลงเหลืออยู่ในตลาดบ้างหรือเปล่านะครับ

https://www.discogs.com/release/3709569-Barclay-James-Harvest-Live-Tapes

Revised track listing on Eclectic remaster (2006):

Disc One:
1. Child Of The Universe
2. Rock 'N' Roll Star
3. Poor Man's Moody Blues
4. Mockingbird
5. Hard Hearted Woman
6. One Night
7. The World Goes On (bonus track)
8. Medicine Man (previously unreleased bonus track)

Disc Two:
1. Taking Me Higher
2. Suicide?
3. Crazy City
4. Polk Street Rag
5. Hymn For The Children (previously unreleased bonus track)
6. Jonathan
7. For No One
8. Hymn
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 สิงหาคม 2022 | 07:33:03 AM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2022 | 08:50:38 AM »

Yes - 90125 (1983)

อัลบั้มชุดนี้ของ Yes ตอนที่ออกจำหน่ายใหม่ ๆ เมื่อปี 1983 โดนนักวิจารณ์และแฟนเพลงทั่วโลกในยุคนั้นถล่มยับ อาจเป็นเพราะคุ้นชินกับดนตรีในรูปแบบดั้งเดิมของ Yes ที่เคยทำไว้ในอดีต แล้วมาเจอดนตรีแนวใหม่ในทศวรรษใหม่ของวงดนตรีที่เคยได้รับการยกย่องในอดีตว่าเป็นสุดยอดของ progressive rock จึงทำใจรับไม่ได้ หาว่าเป็น "ขยะ" หรือ "สวะ" ไปซะงั้น ผมโตทันผลงานชุดนี้ ตอนนั้นเรียนอยู่ ม.ปลาย แล้ว ไปซื้อเทปอัลบั้มชุดนี้ที่คลองถมมาฟัง ผมว่าผมชอบเพลงในอัลบั้มชุดนี้เกือบทุกเพลงเลยก็ว่าได้ ถ้าจะให้ความเป็นธรรมกับวงดนตรีวงหนึ่งซึ่งเมื่อคำนึงถึงกระแสดนตรีในขณะนั้นพวกเขาอาจจะคิดทำอะไรที่ฉีกแนวออกไปจากที่เคยเป็นอยู่เดิม ก็ไม่ต้องไปว่าพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาทำหรอกครับ เหรียญมีสองด้านเสมอ ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องฟังหรือซื้อผลงานมาเก็บ แต่โดยส่วนตัว ผมชอบผลงานชุดนี้นะครับ เพราะปกติก็ชอบดนตรีที่มัน ๆ สนุกสนานอยู่แล้ว ไม่คิดมากครับ 5555

เครดิตภาพ www.gnosis2000.net

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2022 | 06:20:48 PM »

เพื่อนร่วมรุ่นปีเดียวกัน (1983) กับ 90125 ของ Yes มีอัลบั้มชุดใดบ้าง? ผมพอจะนึกได้จำนวนหนึ่ง และท่านอาจจะช่วยผมนึกด้วยก็ได้ เอาเป็นว่าขอลิสต์เอาไว้ก่อน ว่าง ๆ ไม่มีอะไรจะเล่น เดี๋ยวจะมาเม้นสั้น ๆ ครับ 5555 ยิ้มกว้างๆ

Mike Oldfield - Crises
Asia - Alpha
Barclay James Harvest - Ring Of Changes
The Moody Blues - The Present
Marillion - Script For A Jester's Tear
Eloy - Performance
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #41 เมื่อ: 15 กันยายน 2022 | 07:48:59 AM »

Barclay James Harvest - Turn Of The Tide (Polydor, 1981)

ผลงานลำดับที่สองของ Barclay James Harvest นับตั้งแต่ที่ Stuart "Woolly" Wolstenholme มือคีย์บอร์ด ได้ลาออกจากวงไป และเป็นผลงานชุดที่สองของการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ในช่วงปี 1980s (ผลงานก่อนหน้านี้ซึ่งออกเมื่อปี 1980 คือชุด Eyes Of The Universe) อีกทั้งยังเป็นสติวดิโออัลบั้มลำดับที่ 11 ของวงด้วย คนฟังส่วนใหญ่ รวมทั้งแฟนเพลงชาวไทย รู้จัก BJH ด้วยเพลง Hymn จากอัลบั้ม Gone To Earth (1977) แต่ผมนี่แปลก รู้จักวงนี้เพราะเพลง In Memory Of The Martyrs ซึ่งอยู่ในอัลบั้ม Turn Of The Tide โดยมีอินโทรเพลงด้วยเสียงซินธ์ที่โหยหวนและยืดยาว จึงคิดต่อไปว่าวงนี้ต้องเป็น progressive แน่นอน แล้วก็ไปหาเทปคาสเสทมาฟัง (ตามประสาคนที่ยังไม่มีแผ่นเสียง) คนขายเทปลองเปิดเพลงแรก Waiting On The Border Line ให้ฟัง ก็โดนใจผมเลย และผมชอบเพลงในอัลบั้มนี้ (แทบจะ) ทุกเพลงเลยก็ว่าได้ นอกจาก Waiting On The Border Line แล้ว ก็ยังมี How Do You Feel Now ซึ่งมีเสียงแซ็กโซโฟนที่ไพเราะเล่นโดย McAlea เพลง Back To The Wall, Echoes And Shadows, I'm Like A Train, Life Is For Living รวมไปถึง In Memory Of The Martyrs ซึ่งเป็นเพลงปิดท้ายอัลบั้ม ถึงแม้ดนตรีในอัลบั้มชุดนี้จะอ่อนด้อยในความเป็นร็อคตามสไตล์ของ BJH ในยุค 1970s โดยหันไปหาความเป็น pop rock และ AOR มากขึ้นในยุค 1980s แต่ดนตรีของพวกเขาก็ยังคงมาตรฐานความเป็นร็อคที่ลึกซึ้งละเมียดละไมในแบบฉบับร็อคอังกฤษและภาคพื้นยุโรป ปราศจากสากเสี้ยนของดนตรีบลูส์อเมริกันดังเช่นที่วงร่วมสมัยอื่น ๆ นิยมเล่นกัน และที่สำคัญในความเห็นของผม สำเนียงคีย์บอร์ดในอัลบั้มชุดนี้สวยงามมาก ซึ่งตอนแรกผมนึกว่า Wolstenholme สมาชิกดั้งเดิม เป็นคนเล่น แต่อันที่จริง Wolstenholme ลาออกจากวงหลังจากออกอัลบั้มชุด XII ส่วนคนที่เล่นคีย์บอร์ดในอัลบั้ม Turn Of The Tide คือนักดนตรีมือปืนรับจ้าง Kevin McAlea และ Colin Browne ครับ

เครดิตภาพ www.progarchives.com



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2022 | 01:56:34 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #42 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2023 | 04:48:05 PM »

มาว่ากันต่อให้จบถึงอัลบั้มลองเพลย์ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เปรียว" (2526) โดย คณะพราว (proud) ที่ผมติดค้างอยู่

คราวก่อนผมได้พูดถึงสมาชิกของคณะพราวไปแล้ว คราวนี้ขอพูดถึงเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ตามที่ได้ยินได้ฟังจากรายการวิทยุเมื่อช่วงปี 2526-2528 ข้ามมาราว 4 ทศวรรษจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้แผ่นเสียงมาเก็บ บอกตรง ๆ นะครับ สมัยก่อนบางเพลงในอัลบั้มชุดนี้ เช่น "จากวันนั้นถึงวันนี้", "ซิพรูด", "วอนดาว" ถูกเปิดกรอกหูผมทุกวันจนรู้สึกเอียนคนจัดรายการ ว่าจะโปรโมทอะไรกันนักกันหนา ทั้ง ๆ ที่หนังก็เลิกฉายในโรงไปนานแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปก็ชักคิดถึงเพลงพวกนี้แฮะ... ท่านเคยรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือเปล่าครับ  

คำร้องของเพลงในอัลบั้มชุดนี้เขียนโดยบุญรักษ์ (บุญญรักษ์) นิลวงศ์ ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง "เปรียว" ด้วย ส่วนทำนองเขียนโดยนพดล กมลวรรณ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว คุณบุญรักษ์ นิลวงศ์ แต่งคำร้องโดยใช้ภาษาที่ค่อนข้างสละสลวย น่าฟัง และน่าประทับใจมากกว่าผลงานเพลงสตริงในยุคนั้นและในปัจจุบันมากมายนัก ส่วนฝีมือการเล่นคีย์บอร์ดในระดับแถวหน้าของคุณนพดล กมลวรรณ ก็ช่วยเพิ่มสีสันให้กับอัลบั้มชุดนี้ บางเพลงก็ปริ่ม ๆ มีกลิ่นอายของดนตรี progressive เจืออยู่บาง ๆ พอสวยงาม

มาดูกันเป็นรายเพลงดีกว่า เริ่มตั้งแต่เพลงแรกในหน้า A เลยครับ...

A
1. จากวันนั้นถึงวันนี้
ร้องนำโดยจรวยพร จิตตรีญาติ เป็นเพลงที่ถูกเปิดโปรโมทมากที่สุดในอัลบั้มชุดนี้ และอยู่ในความทรงจำของผู้ฟังจำนวนมากนานข้ามทศวรรษถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ยังมีรายการวิทยุบางสถานีเปิดเพลงนี้ออกอากาศอยู่

2. ซิพรูด
"ซิพ ซิพ ซิพ ซิพ ซิพ รูด
ซูด ซูด ซูด ซูด ซูด ริพ
ซิพ ไม่รูด
ซูด ไม่ริพ
ซิพไม่ใช่กระดุม
คอยคุมซิพไว้ให้ดี
รูด ๆ ระวังซิพหนีบ
รีบ ๆ ซิพหนีบเจ็บจี๋
ซิพแตกขายหน้าทันที
เสร็จจากสุขาอย่าเพิ่งสุขี
เสร็จจากสุขาอย่าเพิ่งสุขี
ตรวจดูอีกที อย่าลืมรูดซิพ
............................."

เพลงในลักษณะหนุ่มแหย่สาว สาวแหย่หนุ่ม ผลัดกันแซวกันไปแซวกันมา ตอนที่ผมได้ยินเพลงนี้ใหม่ ๆ คิดในใจว่า เพลงอะไรน่าเกลียดพิลึก พอฟังดูดี ๆ มันก็แต่งได้มีศิลปะดีแฮะ อย่างเช่น มีการเล่นคำผวนในตอนต้นเพลง (ซิพรูด ซูดริพ) ฝ่ายชาย (นพดล) กับฝ่ายหญิง (จรวยพร) ผลัดกันร้องตอบโต้ เพลงนี้ดูเหมือนจะถูกโปรโมทรองลงมาจากเพลง "จากวันนั้นถึงวันนี้"

3. วีต... บุม!
เพลงรักของวัยหนุ่มสาวซึ่งสบสายตาและมีมิตรจิต มิตรใจ ให้แก่กัน ร้องโดยนพดล กมลวรรณ ไอเดียเพลงนี้คงได้มาจากเพลงเชียร์ของนักเรียนนักศึกษา เป็นแทร็คที่ในยุคนั้นถูกเปิดเล่นเพื่อโปรโมทค่อนข้างบ่อย น่าจะรองจากเพลงลำดับถัดไป

4. วอนดาว
"...............................
อยากโผผิน บินขึ้นไปในท้องฟ้า
มองค้นหาว่าเธออยู่แห่งไหน
ได้แต่วอนดวงดาวพราวฟ้าไกล
ช่วยบอกทีได้ไหม ว่าฉันคิดถึงเธอ"

คำร้องท่อนสุดท้ายของเพลง "วอนดาว" เป็นตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณบุญรักษ์แต่งเพลงได้สละสลวยเพียงใด เพลงนี้เป็นเพลงจังหวะค่อนข้างช้าและโรแมนติค ถ้าเป็นในหนังท่านจะได้เห็นพระเอกกำลังนั่งมองท้องฟ้ายามราตรีและคิดถึงนางเอก

5. อยากให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ
เพลงจังหวะบั๊มพ์สนุก ๆ กระชึ่กกระชั่ก ร้องโดยนพดล กมลวรรณ ผมเพิ่งรู้จักเพลงนี้เมื่อฟังจากแผ่นเสียง แสดงว่าเพลงนี้ในยุคนั้นแทบไม่ค่อยถูกเปิดออกอากาศเพื่อโปรโมท อนึ่ง เสียงร้องของคุณนพดลฟังดูหล่อ ๆ เท่ ๆ คล้ายเสียงร้องของคุณดอน สอนระเบียบ อยู่พอสมควรครับ

เพลงหมดหน้า A พลิกแผ่นเสียงมาหน้า B

B
1. เปรียว
เพลงไทเทิลแทร็ค ความยาว 7 นาทีกว่า แต่ไม่ค่อยถูกเปิดเล่นออกอากาศบ่อยนักในยุคนั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความยาวของเพลงก็ได้ เพลงนี้เปิดฉากอลังการด้วยเสียงคีย์บอร์ด ซินธ์และเสียงเอฟเฟ็คเฟี้ยวฟ้าว เร่งจังหวะขึ้นเป็นร็อคที่เดินจังหวะด้วยกลอง เบสส์ และลีดกีตาร์มันส์ ๆ ร้องนำโดยนพดล กมลวรรณ

2. เปลวเทียน
"เธอทิ้งฉันไป
เหมือนถูกกระชากดวงใจ
กลัดกลุ้มรุ่มร้อนทรวงใน
เหมือนดังไฟแผดเผาใจ
มอดไหม้เป็นจุณ
ชีวิตฉันคงแตกคงดับ
เธอพัง พังชีวิตฉันยับ
ทำลายรักที่มอบให้เธอ
สุดหัวใจ สุดหัวใจ สุดหัวใจ
..................................."

เนื้อร้องอินโทรเพลง "เปลวเทียน" ซึ่งเป็นเพลงที่ผมชอบที่สุดในอัลบั้มชุดนี้ และอาจโดนใจจิ๊กโก๋อกหักทั้งหลายด้วยก็ได้ เป็นเพลงที่มีลักษณะกึ่ง ๆ progressive คำร้องไม่มาก ร้องวนไปมา ดนตรีเล่นสอดรับกันดี คีย์บอร์ดเด่น

3. โอ๊ะ เอ๊
เพลงสไตล์ทะเล้น ราวกับเป็นเพลง "ซิพรูด" ภาคสองยังไงยังงั้น เพราะจบด้วยเนื้อเพลงว่า
"ก็เธอลืมรูดซิพ
อุ๊ อุ๊ อิ๊ อุ๊ อิ๊ อุ๊ อ่า"


4. จากวันนั้นถึงวันนี้ (บรรเลง)

5. เปลวเทียน (บรรเลง)

ด้วยไม่อยากให้อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ชุดนี้ต้องสูญหายไปตามกาลเวลาและไม่มีใครพูดถึง ผมจึงขอบันทึกบทวิพากษ์และความเห็นของคนฟังเพลงคนหนึ่งที่มีต่อผลงานชุดนี้ไว้ ณ ที่นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจครับ





ฟังอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ชุดนี้จาก YouTube ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=WBv2UFXD3CE
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2023 | 08:41:15 AM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #43 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2023 | 08:54:03 AM »

ปีนี้ภาพยนตร์เรื่อง "เปรียว" บรรจบครบรอบ 40 ปีพอดี (2526-2566) ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ในโรง แต่เคยดูผ่าน YouTube ที่เคยมีคนมาปล่อยไว้ครั้งเดียว พอจะเข้าไปดูอีกก็ไม่เจอแล้ว เจอแต่กากฟิล์ม ภาพยนตร์คงอาจถูกถอดออกไปด้วยเหตุผลบางประการ แต่จะคอยดูอยู่เรื่อย ๆ ครับว่ามีใครเอามาปล่อยให้ดูอีก ฮ่า! ยิงฟันยิ้ม

วสุ แสงสิงแก้ว ซึ่งเล่นเป็นพระเอกในเรื่องนี้ ตอนนั้นใช้ชื่อในการแสดงว่า "วิชชุ วัชรพันธ์" ครับ

https://thaimovie.org/titles/2577/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2023 | 10:27:25 AM »

Patrick Moraz - Future Memories - Live on TV (Keyboards' Metamorphoses) (1979)

ผลงานแสดงสดออกทีวี ณ กรุงเจนีวา เมื่อปี 1979 โดยอดีตมือคีย์บอร์ดของ Mainhorse, Refugee, Yes และกำลังจะเป็นสมาชิกของ The Moody Blues ในอีกหนึ่งหรือสองปีถัดไป (ในขณะนั้น) สไตล์ดนตรีแนว electronic progressive / experimental หากจะให้เทียบเคียงก็คงคล้ายกับดนตรีของ Tangerine Dream ต้นยุค 1980s และผลงานร่วมสมัยของ Jean-Michel Jarre เช่น Magnetic Fields เป็นต้น Patrick Moraz คุมสรรพคีย์บอร์ด synthesizers และเครื่องสร้าง sound effects นานาชนิด และบรรเลงออกมาในลักษณะ improvisation ซึ่งหากสังเกตดูดี ๆ Moraz เองก็ถนัดในการเล่นคีย์บอร์ดสไตล์แจ๊สส์ ซึ่งเน้นการด้นกลอนสดหรือ improvise อยู่แล้ว และอัลบั้มชุดนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการโชว์ทักษะของเขาในลักษณะที่ว่านี้ ดนตรีที่บรรเลงมีสำเนียงแห่งโลกอนาคตหรือ futuristic sound จำเนียรกาลผ่านไป เมื่อถึงพ.ศ.นี้ อัลบั้มชุดนี้มีอายุร่วม 44 ปีแล้ว แต่ sound ยังฟังดูไม่ค่อยล้าสมัยเท่าไรนัก และยิ่งถ้าได้ดูคลิปวีดิโอเพลง Metamorphoses ที่ Moraz เล่นออกทีวีในยุคนั้น เมื่อ 44 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการจัดบรรยากาศรายล้อมให้ดูล้ำสมัย มีรูปหัวหุ่นยนต์ซึ่งมีแสงไฟกะพริบที่ตา ฯลฯ สมัยนี้คงจะดูเชยไปแล้ว แต่เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ภาพที่เห็นคงน่าตื่นตาตื่นใจ ผมมีแผ่นเสียงที่ออกโดย Carere ฝรั่งเศส ในขณะที่แผ่นเสียงชุดนี้ที่ทำในอเมริกาก็มีด้วยเช่นกัน ชื่อเสียงของ Patrick Moraz อาจไม่ได้มีคนรู้จักมากมายหรือกว้างขวางดังเช่นมือคีย์บอร์ดระดับโลกคนอื่น ๆ แต่ฝีมือของเขาไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นสมาชิกของ Yes และเคยออกทัวร์ร่วมกับ Yes มาแล้วครับ

เครดิตภาพ www.progarchives.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
หน้า: 1 2 [3] 4
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery