ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149643 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

29 มีนาคม 2024 | 04:50:11 PM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgKeep Talking(ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock
หน้า: 1 [2] 3 4
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock  (อ่าน 13656 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
hallelujah
Selling England By The Pound
**
กระทู้: 240



ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2017 | 06:42:03 PM »

ชอบสำนวนของคุณจัง ภาษาสละสลวยมากเป็นนักเขียนได้เลย
จะบอกว่าถึงจะไม่ได้ล็อคอิน แต่ส่องอยู่ตลอดนะครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2017 | 09:22:40 AM »

ขอบคุณนะครับ ผมเองก็คงเขียนได้เฉพาะแค่ที่ชุมชน Thai Prog ที่นี่เท่านั้นแหละครับ 555 ยิ้มกว้างๆ

16. Camel—The Snow Goose

As critics of this list will no doubt agree, certain bands seem to suck up all the oxygen (this is neither of the fault of those bands or those making the lists, if we’re to be honest). But while a handful of excellent groups should receive more praise, it’s difficult to think of one more unjustly overlooked than Camel. Granted, for the uninitiated, a lazy overview might suggest they sound something like Ian Anderson fronting Genesis, with the flute replacing the vocals. Camel is much more than that, and while their first several albums are all close-to-excellent, The Snow Goose is their masterpiece. More, it’s one of the underappreciated jewels in the Prog Crown. No distracting and/or flamboyant lyrics to contend with, it’s one extended, often gorgeous and always engaging musical suite.

วงดนตรี progressive rock บางวงดูเหมือนจะได้รับการเชิดชูไปเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังมีบางวงที่มีฝีมือยอดเยี่ยมสมควรจะได้รับคำสรรเสริญเช่นกัน Camel ก็เป็นหนึ่งในวงเหล่านั้น และเป็นวงที่มักถูกมองข้ามอย่างไม่เป็นธรรม เขาว่าวงนี้ดูเผิน ๆ เหมือนจับ Ian Anderson มาเจอกับ Genesis แล้วใช้เสียงขลุ่ยแทนเสียงร้อง แต่อันที่จริง Camel เป็นอะไรที่มากไปกว่านั้น ผลงานชุดแรก ๆ ของพวกเขาล้วนแต่เป็นงานที่ดีจนถึงเกือบยอดเยี่ยม และ Snow Goose คือมาสเตอร์พีซ และเป็นเพชรประดับมงกุฎ progressive rock เม็ดหนึ่งซึ่งถูกมองว่าด้อยค่ากว่าที่ควรจะเป็น ผลงานชุดนี้ไม่มีเนื้อร้องที่ชวนไขว้เขวและหรือมีสีสันฉูดฉาดให้ต้องลุ้นตีความ แต่เป็นเพลง suite ทีเล่นกันยาวต่อเนื่อง โอ่อ่าสง่างาม และมีเสน่ห์ให้ชวนติดตาม
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2017 | 09:47:52 AM »

15. Yes—The Yes Album

Just as Fragile was a showcase of sorts for Rick Wakeman, The Yes Album introduced Steve Howe as the guitar player’s guitar player. On each song he pulls another riff out of his hat and his solos still sound immaculate, all these years later. Jon Anderson, prog rock’s choir boy, is in all his multi-tracked glory and the remarkable rhythm section (Bill Bruford and Chris Squire) represent possibly the most potent combination rock has ever heard. Ludicrous lyrics, interesting album cover, unparalleled musical proficiency and an all-time prog rock epic (“Starship Trooper”), The Yes Album has something to offer anyone.

The Yes Album เป็นผลงานที่ Steve Howe เข้ามาเล่นในฐานะมือกีตาร์เป็นครั้งแรก เสียงริฟฟ์และโซโลกีตาร์อันไร้ที่ติของ Howe ในอัลบั้มชุดนี้ (และชุดอื่น ๆ ถัดไป) เสียงร้องที่ซับซ้อนและเจิดจรัสของ Jon Anderson และภาคริธึ่มอันโดดเด่นของ Chris Squire และ Bill Bruford องค์ประกอบเหล่านี้ผนึกรวมกันเป็น progressive rock ที่มีศักยะและทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยได้ยินได้ฟังกัน อีกทั้งเนื้อร้องที่ชวนขบขัน หน้าปกอัลบั้มที่น่าสนใจ ทักษะเชี่ยวชาญทางดนตรีอันไร้เทียมทาน และเพลงมหากาพย์ตลอดกาล (Starship Trooper) เหล่านี้มีนำเสนออยู่ใน The Yes Album
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 มีนาคม 2017 | 06:36:37 PM »

14. Pink Floyd—Animals

Interestingly, while the two albums that preceded it and the blockbuster that followed it receive—if demand—most of the attention, Animals is arguably the most cohesive and satisfying concept album Pink Floyd recorded. Neither as immediately arresting nor as alluring upon repeated listens, Animals is, among other things, the last time all principle songwriters came together in the service of a project that superseded ego and personal ambition. Separating the human species into three basic groups, Roger Waters gets politicians, corporate strivers and their timid victims into his sights. David Gilmour and Rick Wright, working gamely within this structural framework, lend some of their best support, helping turn what might have been an irredeemably dark and disconsolate work into something that illuminates the filth without wallowing in it.

น่าสนใจที่ผลงานสองชุดก่อนหน้า และผลงานที่ตามหลังชุด Animals มานั้นได้รับความสนใจจากแฟน ๆ ส่วนใหญ่ กระนั้น Animals ก็เป็นคอนเส็พท์อัลบั้มที่มักเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นปึกแผ่นและเป็นที่พอใจแก่ผู้ฟังมากที่สุด แม้จะไม่จับจิตชวนใจเมื่อฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก Animals ก็เป็นอัลบั้มที่ผู้เขียนเพลงทุกคนในวงยอมสละอัตตาและความทะยานอยากของตนเองเพื่อร่วมกันสร้างผลงาน Roger Waters มองมนุษย์เป็นสัตว์สามกลุ่ม คือ นักการเมือง คนที่ตรากตรำทำงานบริษัท (กรรมกรออฟฟิศ) และคนขี้อาย (ขี้ขลาด) ที่มักตกเป็นเหยื่อ (ของคนอื่น) ส่วน David Gilmour และ Richard Wright ซึ่งทำงานด้านโครงสร้างดนตรี ได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนให้ผลงานชุดนี้ ซึ่งทีแรกดูเหมือนจะมืดหม่นอึมครึมชวนสลดอย่างสุดจะแก้ กลับกลายเป็นประทีปส่องสว่างสิ่งปฏิกูลโดยมิต้องเกลือกกลั้วกับมัน
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 15 มีนาคม 2017 | 08:44:07 AM »

ประมาณสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมัวแต่วุ่นวายเรื่องเก็บข้าวของเพื่อย้ายที่ตั้งสำนักงานที่ผมทำงานอยู่ จึงไม่มีเวลาเข้ามาต่อบทวิพากษ์ ตอนนี้อะไรต่าง ๆ พอเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ก็มาว่ากันต่อดีกว่านะครับ

13. King Crimson—Discipline

After an extended hiatus and just as prog’s first decade ended, Fripp got behind the wheel for another series of remarkable efforts. Retaining Bruford and recruiting agile bassist Tony Levin, it was the audacious decision to employ a second guitarist (Adrian Belew, who also handled vocal duties) that gives this collective its characteristic sound. Fripp’s exposure to new wave, complemented by an increasingly globe-ranging palette, alongside Belew’s supple support, results in material that is challenging yet concise. On songs like “The Sheltering Sky” Fripp incorporates virtually every trick in his arsenal, creating something that integrates multiple source-points (African, Indian, and Western). The title track is like a business card for the new decade: Fripp asked a lot of his audience, but he’s always asked more of himself.

หลังจากที่พักผ่อนยาวและเพิ่งจะสิ้นทศวรรษแรกแห่ง progressive rock มาได้สักหน่อย โรเบิร์ต ฟริพพ์ ก็คัมแบ็ค (ในนาม King Crimson) โดยว่าจ้างมือกลอง Bill Bruford และมือเบสส์ Tony Levin แถมยังอาจหาญจ้าง Adrian Belew มาเป็นมือกีตาร์คนที่สองและนักร้องนำด้วย สำเนียงดนตรีโดยรวมที่มีลักษณะเฉพาะของไลน์อัพใหม่นี้คือการทดลองเล่นกับแนวนิวเวฟผสมผสานกับ world music ผลลัพธ์ที่ได้คือดนตรีที่ท้าทายแต่สั้นกระชับ อย่างในเพลง The Sheltering Sky ฟริพพ์ได้นำทักษะและกลเม็ดทางดนตรีเกือบทั้งหมดที่เขามีอยู่มาสร้างสรรค์เนื้อหาสาระที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดีย แอฟริกา และตะวันตก ส่วนไทเทิลแทร็ค Discipline ก็เปรียบเสมือนใบบอกว่า King Crimson ได้ก้าวสู่ยุคใหม่แล้ว ฟริพพ์ถามแฟนเพลงคนฟังจำนวนมาก แต่กระนั้นเขาก็ยังถามตัวเขาเองมากเสียยิ่งกว่าอยู่เสมอ (ผู้วิพากษ์คงจะหมายความว่าโรเบิร์ต ฟริพพ์ ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะ "วิวัฒน์" ไปข้างหน้า)
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 20 มีนาคม 2017 | 10:05:44 AM »

12. Rush—Hemispheres

Let’s give it up for a band that, while disco raged, punk roared, and prog rock was already deep into its death-spiral, was just getting started. Indeed, Hemispheres represents at once a summation and a point of departure for what Rush had been trying to accomplish throughout the ‘70s. This was the last side-long “suite” Rush attempted, and it remains the last necessary one any prog-rock group ever did. Not as incendiary or influential as 1976’s 2112, it will have to settle for merely being flawless, and the pinnacle of the band’s output to this point.

By 1978 the trio was truly hitting on all cylinders, musically: arguably the most ambitious of all the progressive bands (which is really saying something), Rush had spent the better part of the decade trying to make a cohesive statement where all elements came together. Interestingly, if not ironically (since irony is anathema to prog-rock) this album/song that studies, and then celebrates the separate hemispheres (of our left/right brains, of our organized/emancipated natures) matches the smarts and technical proficiency with the ingredient that would play an increasingly obvious and vital role in the band’s subsequent work: soul.

อัลบั้ม Hemispheres คือบทสรุปและจุดหักเหแห่งความสัมฤทธิ์ผลที่ Rush เพียรพยายามดำเนินการมาตลอดยุค 1970's เพลง Hemispheres เป็นเพลง suite ยาวเพลงสุดท้ายที่วงได้พยายามทำออกมา และยังคงเป็นเพลงสุดท้ายที่จำเป็นต้องทำหากจะมีวง progressive rock วงใดสักวงทำออกมา ณ ห้วงเวลานั้น แม้จะไม่เป็นการจุดประกายหรือมีอิทธิพลเท่าชุด 2112 ทีออกเมื่อปี 1976 แต่ Hemispheres ก็ยังดำรงฐานะเป็นผลงานที่สมบูรณ์ไร้ที่ติและเป็นจุดสุดยอดของบรรดาผลงานที่วงได้ทำออกมาจนถึงขณะนั้น คือปี 1978 อันเป็นปีที่วงสามพระหน่อวงนี้กำลังฟอร์มสดได้ที่และมีความมุ่งมั่นเป็นที่สุด และได้ใช้เวลาในช่วงปลายยุค 1970's นี้สร้างสรรค์ผลงานที่มีทุกองค์ประกอบสมานกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อพิจารณาดูคอนเส็พท์หรือเนื้อหา อัลบั้มหรือเพลง Hemispheres นี้กล่าวถึงการศึกษาจิตใจมนุษย์โดยแบ่งสมองออกเป็นสองซีก (กล่าวคือ สมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นส่วนของการใช้ความคิด การคำนวณตัวเลข การใช้หลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์ เป็นต้น และซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนทางด้านอารมณ์ ศิลปะ ดนตรี ความรักสวยรักงาม ความโรแมนติก และสุทรียศาสตร์ทั้งหลาย เป็นต้น โดยเมื่อรวมสมองทั้งสองส่วน (hemispheres) เข้ากันแล้ว ก็จะเป็นที่มาของคำว่า สัมปชัญญะ (consciousness) และจิตวิญญาณ (soul)) เมื่อผนวกเข้ากับทักษะการเล่นดนตรีที่เก่งฉกาจ ชาญฉลาด และมีชั้นเชิงทางเทคนิคในอัลบั้มชุดนี้แล้ว ส่วนผสมทั้งหมดนี้ก็ยังจะคงมีบทบาทสำคัญในผลงานชุดถัดไป
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 22 มีนาคม 2017 | 01:36:56 PM »

11. Genesis—The Lamb Lies Down on Broadway

How much further out could Peter Gabriel go after this often impenetrable, messy and miraculous album? Nowhere at all, at least with Genesis, and it could be suggested that the rest of his consistently rewarding solo career is a journey inward, back from whatever near-insanities he courted while recording Lamb. The album is “about” the split personality of a homeless kid named Rael, adrift in New York City, like Moby Dick is about a whale. Consistent with so much exceptional music from this genre, whatever it ostensibly means is minor in comparison with the music and the emotion. Urgent, exceedingly dark, disorienting and, at times, almost unbearably beautiful (“Hairless Heart”, “The Lamia”), it also features one of the all-time examples of prog rock perfection: “The Carpet Crawlers”.

ปีเตอร์ เกเบรียล จะไปต่อได้อีกสักกี่น้ำหลังจากอัลบั้มที่เข้าถึงยาก รกรุงรัง และสุดอัศจรรย์ชุดนี้ (คำตอบของผู้วิพากษ์คือ) ไม่ได้ไปไหนเลย อย่างน้อยก็กับวง Genesis (เพราะปีเตอร์ เกเบรียล ลาออกจากวงหลังจากผลงาน The Lamb Lies Down On Broadway ชุดนี้) และเมื่อออกไปเป็นศิลปินเดี่ยว ผลงานที่น่าพอใจอย่างคงเส้นคงวาของเขาก็เป็นการหวนคืนจากอะไรก็ตามที่เป็น "ความเพี้ยนหรือใกล้บ้า" ที่เขาได้ลองเล่นอยู่เมื่อครั้งที่ออกชุด The Lamb... กับ Genesis อัลบั้มชุดนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาวะบุคลิกแตกแยกของชายหนุ่มจรจัดไร้บ้านชื่อ ราเอล (Rael) ซึ่งซัดเซพเนจรไปทั่วกรุงนิวยอร์ก ดนตรีสุดแสนวิจิตรพิสดาร ส่วนเนื้อหาที่ชัดแจ้งไม่ว่าจะเป็นเช่นไรมันก็กลายเป็นเรื่องเล็กไปแล้วเมื่อเทียบกับดนตรีและอารมณ์เพลงซึ่งรุกเร้า มืดหม่น ไม่มีจุดหมาย และบางครั้งก็งดงามสุดจะทานทน (เพลง Hairless Heart และ The Lamia) และยังมีเพลงที่เป็นตัวอย่างสมบูรณ์แบบตลอดกาลเพลงหนึ่งของ progressive rock ด้วย นั่นคือ The Carpet Crawlers
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2017 | 02:01:33 PM »

10. Jethro Tull—Aqualung

One thing that plagues even some of the better progressive rock music is how utterly of its time it can sound. (Not that there’s anything wrong with that!) Like most of the bands already discussed, few people would have difficulty tying the majority of these albums to their era. Jethro Tull, particularly on Aqualung, nevertheless manages to present a song cycle—meshing Ian Anderson’s acoustic strumming with Martin Barre’s abrasive electric guitar chords—that manages to sound not only fresh, but vital, even today. Understanding that the tunes are essentially asking “What Would Jesus Do?” in the context of a mechanized and materialistic society (circa 1971; circa 2015), Aqualung is prog-rocks J’accuse. Anderson makes a case for the better angels of the ‘60s ethos, with nary a flower, freak-out or paean to free love. The ugliness of the way we tend to treat one another is, at times, reflected in the brutality of the music, and drives the relentless soundtrack to a state of affairs that arguably worsened as the “Me-Decade” got its malaise on.

สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาของดนตรี progressive rock ชั้นเลิศคือ ณ เวลาร่วมสมัยขณะที่มีผลงานนั้นออกมา เมื่อฟังแล้วเสียงมันจะวิเศษสุดยอดเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Jethro Tull กับผลงานชุด Aqualung (1971) ซึ่งฟังแล้วให้เสียงที่ไม่เพียงแต่สดใหม่เท่านั้น แต่ยังมีชีวิตชีวาตราบจนทุกวันนี้ หากจะทำความเข้าใจเนื้อหาดนตรีส่วนใหญ่ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่า "แล้วพระเยซูจะทำอย่างไร?" (ในบริบทของสังคมเมื่อประมาณปี 1971 กับประมาณกลางทศวรรษ 2010) Aqualung คือ progressive rock ที่เป็นคำแถลงการณ์ประณามความอยุติธรรมของสังคม (J'accuse) Ian Anderson สร้างเรื่องราวขึ้นมาตามบรรทัดฐานจริยธรรมในยุค 1960's บางครั้งความน่าเกลียดของวิธีการที่คนเราต่างปฏิบัติต่อกันก็มีแสดงออกมาให้เห็นจากความโหดเถื่อนของดนตรี และดำเนินขับเคลื่อนดนตรีที่สะท้อนสภาวะอันย่ำแย่ของสังคมป่วยไข้ในยุคที่คนมักยึดถือเอาตนเองเป็นใหญ่ (Me Decade หรือช่วงปี 1970)
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2017 | 02:25:24 PM »

9. Emerson, Lake & Palmer—Emerson, Lake & Palmer

Their self-titled debut was not an introduction so much as a kind of coronation: We are geniuses, hear us roar! The ideas and styles crammed into these six songs are at once staggering and overpowering, yet they manage to pull it off so that it never seems superfluous or overwrought (that problem would surface later on in their career). If King Crimson, during their prime, were not satisfied until they upped the ante past the point of endurance (for the uninitiated or enlightened; that is), Emerson Lake & Palmer made indulgence and excess their calling card. Adventurous, audacious and, yes, at times pretentious, ELP threw down a gauntlet and, at their best, produced works that still sound miles ahead, in terms of musical proficiency, conception and execution, of what just about any other rock band is capable of achieving.

อัลบั้มชุดแรกที่ชื่อเดียวกันกับวง Emerson Lake & Palmer หาใช่เป็นการเปิดตัวยิ่งใหญ่เยี่ยงพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ไม่ (ทำนองว่า พวกเราคืออัจฉริยะนะ ดังนั้นจงฟังพวกเรา) ความคิดและสไตล์ดนตรีที่อัดแน่นอยู่ในหกเพลงเมื่อแรกฟังดูสะเปะสะปะและมีพลังล้นเหลือเกินพอดี แต่กระนั้นพวกเขา ELP ก็ยังสามารถรั้งไว้อยู่เพื่อไม่ให้ดูล้นหลามหรือเกินพอดีนัก (ปัญหาดังกล่าวนี้จะเผยให้เห็นในเวลาต่อมา) หาก King Crimson ในยามฟอร์มสดเต็มที่ไม่พอใจจนกว่าจะเรียกเดิมพันเพิ่มจนผ่านจุดที่ทนได้ไปแล้ว (กล่าวคือ สำหรับผู้ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์พิเศษหรือผู้รู้แจ้งเห็นจริง) ELP ก็จะผ่อนปรนและทำเกินกว่าที่ได้พรีเซนต์ตัวเองเอาไว้เสียด้วย ELP ขอท้าทายท่านด้วยดนตรีที่โลดโผน อาจหาญ และบางครั้งก็โอ้อวด และสร้างผลงานอย่างเต็มที่ อันเป็นงานซึ่งยังคงฟังดูก้าวหน้าไปไกลหลายลี้ในเรื่องของทักษะ แนวคิด และความสัมฤทธิ์ผลทางดนตรี และในสิ่งที่วงร็อควงอื่นอีกเพียงไม่กี่วงสามารถบรรลุผลได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤษภาคม 2017 | 03:16:51 PM โดย ปีศาจลายคราม » บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 20 กันยายน 2017 | 09:04:11 AM »

8. Pink Floyd—Wish You Were Here

An extended meditation on loss, the lyrics certainly address Syd Barrett and serve as equal parts explanation (of) and apology (for) what really went down in 1968. But Waters’ words are expressive enough to welcome additional, deeper interpretations. Certainly songs like “Have a Cigar” and “Wish You Were Here” speak to Loss with a capital L: loss of innocence, loss of intimacy or loss of connection(s) to others as well as oneself. If the two-part suite “Shine on You Crazy Diamond” is a rousing elegy for Barrett, “Welcome to the Machine” manages to condemn stardom, the system (military, corporate, entertainment) and the eventual disenchantment that follows success, all while creating a seven-minute soundtrack to make Dystopia sound at once inevitable and irresistible.

ผลงานที่ครุ่นคิดคำนึงถึงเรื่องความสูญเสีย เนื้อร้องพุ่งเป้าไปที่ Syd Barrett ในลักษณะกึ่งชี้แจงกึ่งขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1968 ถ้อยคำของ Roger Waters ถึงแม้จะดูชัดถ้อยชัดคำ แต่ก็ยังต้องตีความเพิ่มเติมให้ลึกซึ้ง (ตามสไตล์ progressive - ผู้เรียบเรียง) เพลงอย่าง “Have a Cigar” และ “Wish You Were Here” เน้นย้ำถึงเรื่องความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความไร้เดียงสา (โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) สูญเสียความสนิทสนม (ในฐานะเพื่อน) หรือการสูญเสียสายสัมพันธ์เกี่ยวข้อง (ก็คงในฐานะเพื่อนกันอีกนั่นแหละ) หาก “Shine on You Crazy Diamond” เพลงที่แบ่งออกเป็นสองภาคสองตอน เป็นการรำพึงรำพันกำสรวลถึง Barrett เพลง “Welcome to the Machine” ซึ่งยาวประมาณเจ็ดนาที ก็เปรียบเสมือนเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ไม่ไพเราะ ซึ่งเป็นการประณามหรือโจมตีความเป็นดาราที่เด่นดัง (ซึ่งตอนนั้น Pink Floyd คงจะดังในระดับวงซูเปอร์สตาร์แล้ว) ระบบในสังคม (ทหาร บริษัท อุตสาหกรรมบันเทิง) และการหลุดพ้นจากความลุ่มหลงในที่สุดหลังจากที่ประสบความสำเร็จแล้ว (Pink Floyd คงอยากจะสื่อในทำนองว่า สำเร็จแล้ว รวยแล้ว แล้วไง) (ถ้าตอนนั้น Pink Floyd ตั้งคำถามทำนองนี้ผ่านอัลบั้มชุดนี้ ผู้เรียบเรียงก็อยากรู้เหมือนกันว่า เมื่อเวลาผ่านไป (อีกสีสิบปี คือ 1977-2017) การเป็นนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จร่ำรวยระดับโลก มีบ้านระดับคฤหาสน์ บางคนในวงมีสะสมรถสปอร์ตหรูไว้หลายคัน มันยังเป็นชีวิตที่ไม่น่าอภิรมย์อยู่อีกหรือไม่ครับ)
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2017 | 08:47:40 AM »

ก่อนจะไปว่ากันต่อที่ผลงานลำดับถัดไป เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมได้งัดเอาผลงานชุด A Passion Play ของ Jethro Tull ออกมาฟังอีกครั้ง (ที่ต้องใช้คำว่า "งัด" ก็เพราะแผ่นเสียงอยู่ในลังใต้บันได) ฟังแล้วก็ยังรู้สึกชอบอกชอบใจกับผลงานชุดนี้อยู่ ถ้าจะถามว่าฟังยากไหม ก็ขอตอบว่า ถ้าฟังแบบเอาจริงเอาจัง ใจจดใจจ่อล่ะก็ ฟังยากแน่นอน แถมเครียดด้วย แต่ถ้าฟังแบบปล่อยใจให้สบาย ฟังไปเรื่อย ๆ สะดุดใจท่อนไหน ก็จดจำไว้ ถ้าใช้วิธีการนี้ รับรองผลงานชุดนี้ฟังไม่ยากครับ มาตามสูตรเดียวกันกับ Thick As A Brick (1972) ซึ่งเป็นผลงานออกก่อนหน้าปีเดียว คือ ร่ายยาวเพลงเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ กินความยาวแผ่นเสียงทั้งสองหน้า ถ้าจำไม่ผิด ทั้ง Thick As A Brick และ A Passion Play เคยขึ้นถึงอันดับหนึ่งของ Billboard Chart ที่อเมริกาด้วยนะครับ ถ้าใครชอบ Thick As A Brick ก็น่าจะรับ A Passion Play ไหว โดยส่วนตัวของผม ถ้าให้เรียงลำดับความชอบผลงานของ Jethro Tull ผมยกให้ Thick As A Brick มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ A Passion Play อันดับสามคือ Aqualung อันดับสี่ Stand Up อันดับห้ายกให้ Minstrel in the Gallery นอกนั้นรู้สึกเฉย ๆ แต่มีที่ชอบอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นผลงานยุคหลังแล้ว คือ Broadsword and the Beast ครับ

เครดิตภาพ www.vintageprog.com

บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2017 | 10:03:51 AM »

7. King Crimson -- Red

Although King Crimson seemed, sonically, locked in to make a sustained run, Red turned out to be their final album of the ‘70s. This was entirely Fripp’s decision, the result of burnout and likely, if understandably, residual exhaustion from his almost ceaseless work. The album begins and ends with signature songs -- for the band and prog-rock. The title track is a yin yang of intellect and adrenaline, underscored by a very scientific, discernibly English sensibility: it’s the closest thing rock guitar ever got to its own version of Coltrane’s “Giant Steps”. The closer, “Starless”, is epic in every sense of the word; one of the all-time prog masterworks. Brooding and heavy, fraught with feeling and foreboding, it’s an exercise in precision, the apotheosis of their “dread and release” formula. It builds an almost unbearable tension, breaking at last through the darkness; less like the tide retreating and more like an ocean disintegrating into air. If ever a rock album could be said to invoke Poe’s famous “unity of effect” theory, Red remains one of the most fully felt, affecting artistic statements in the genre.

แม้ดูเหมือนสมาชิกจะเริ่มเข้าขากันและดูท่าว่าวงจะไปได้สวย แต่กลับปรากฏว่า Red คือผลงานสติวดิโอชุดสุดท้ายของ King Crimson ในยุค 70's เหตุเพราะการตัดสินใจของ Robert Fripp เองจากการ "หมดเชื้อหมดไฟ" ของเขา และหากจะพอเข้าใจได้ ผลงานชุดนี้น่าจะเป็นผลจากความเหนื่อยล้าสะสมจากการตรากตรำทำงานอย่างไม่หยุดยั้งของเขาตลอดเวลาที่ผ่านมา อัลบั้มชุดนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเพลงเอก โดยเพลงแรกคือ Red ซึ่งมีลักษณะขัดกันไปมาระหว่างความสุขุมทางพุทธิปัญญาและอารมณ์ที่เดือดพล่าน เน้นด้วยความมีเหตุมีผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่สัมผัสได้ในแบบฉบับอังกฤษ นี่คือร็อคกีตาร์ที่เล่นเทียบชั้นใกล้เคียงกับผลงาน (การเป่าแซ็กส์) ของ John Coltrane ชุด Giant Steps มากที่สุด ส่วนเพลงปิดท้าย Starless คือมหากาพย์ในทุกอณู และเป็นเพลงชั้นครูของ progressive rock ตลอดกาล ให้ความรู้สึกแก่คนฟังราวกับถูกกดทับ ค่อย ๆ เกิดความตึงเครียดในความมืดแล้วผ่อนคลาย เหมือนกระแสน้ำลดและน้ำในมหาสมุทรระเหยขึ้นไปในอากาศ อาจกล่าวได้ว่าผลงานชุดนี้เปรียบเสมือนงานเขียนชั้นดีที่ใช้เทคนิคสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อ่าน (เทคนิคนี้เรียกว่า Unity of Effect ซึ่ง Edgar Allan Poe เป็นเจ้าของทฤษฎี)
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2017 | 09:41:01 AM »

6. Rush -- Moving Pictures

Rush arrived at the prog party later than their compatriots, but unlike other acts who began to both born out and fade away, this trio emulated the best aspects and steadily engineered their own wholly unique and rewarding style. Moving Pictures is, without any question, not only Rush’s masterpiece, but one of those rare albums that epitomizes an era. It represents both a culmination and a progression: the peak of the band’s development as well as the blueprint for Rush’s subsequent work. More, it is a template of sorts for the way rock albums were made in the early ‘80s. It, along with King Crimson’s Discipline, illustrates that the first great era of progressive rock had been taken as far as it could, or should, go. Prog rock became, in some ways, something very different than it was in the late ‘60s, and that’s the point of its appeal. Always recognizable but seldom derivative, it pushed boundaries, sought new ways to explore sound and feeling and striving to become, as Rush put it best, “emotional feedback on a timeless wavelength.”

Rush มางานปาร์ตี้ progressive rock ช้าไปหน่อย (ปลายยุค 70's) เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมชาติเดียวกัน แต่กระนั้นคนอื่นมาเร็วก็ไปเร็ว วงสามพระหน่อวงนี้พยายามตีเสมอหรือทำให้ดีกว่าวงอื่นในด้านดีที่สุดของ progressive rock และได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาอย่างมั่นคง แน่นอนว่า Moving Pictures ไม่เพียงแต่เป็นผลงานชิ้นเอกเท่านั้น หากแต่ยังเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบแห่งยุคสมัย (ยุค 80's) อีกด้วย เป็นผลงานที่เป็นทั้งจุดสูงสุดและความวิวัฒน์ก้าวหน้า ด้วยวงได้พัฒนามาถึงจุดสุดยอดและใช้ผลงานชุดนี้เป็นแบบพิมพ์เขียวให้กับผลงานชุดถัดไป นอกจากนั้น ผลงานชุดนี้ยังเป็นแบบอย่างให้กับผลงานร็อคอื่น ๆ ที่ทำขึ้นในต้นยุค 80's อีกด้วย ทั้ง Moving Pictures และ Discipline ของ King Crimson ได้แสดงให้เห็นว่ามหายุคแห่ง progressive rock ได้ก้าวย่างมาไกลสุดทางแล้ว หรือว่าจะยังคงก้าวต่อไป ในบางแง่มุม progressive rock ในตอนนั้น (ต้นยุค 80's) เป็นสิ่งที่แตกต่างไปมากจากที่เคยเป็นอยู่ในปลายยุค 60's และเป็นประเด็นที่ผลงานชุดนี้ดึงดูดใจ เป็นผลงานที่ฝ่าข้ามพรมแดน (แหวกแนว) แสวงหาหนทางใหม่ในการสำรวจแนวเสียงและความรู้สึก และพยายามที่จะเป็น "ผลตอบรับทางอารมณ์บนแนวคลื่นที่ไร้ซึ่งกาลเวลา" 
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2017 | 08:55:56 AM »

5. Jethro Tull -- Thick As a Brick

Jethro Tull was on top of the world (and the charts) in 1972 when Thick As a Brick became the first pop album comprised of one continuous song to reach a widespread audience. The concept may have been audacious, but the music is beyond belief: this is among the handful of holy grails for prog-rock fanatics, no questions asked. If Aqualung doubled down on the “concept album” concept, Thick As a Brick functioned as a New Testament of sorts, signifying what was now possible in rock music. Even with the side-long songs that became almost obligatory during this era, nobody else had the wherewithal to dedicate a full 45 minutes to the development and execution of one uninterrupted song (and Tull did it twice). Anderson had already proven he could write a hit and create controversial work that got radio play; now he was putting his flute in the ground and throwing his cod-piece in the ring.

Whatever else one may say about it, Thick As a Brick is the Ne Plus Ultra of prog-rock: between the extensive packaging (a faux newspaper that is equal parts Monty Python and The Onion); this was as ambitious as progressive music had been, and arguably remains the ultimate (anti?) concept album.

Jethro Tull อยู่จุดสูงสุดของโลก (รวมทั้งบนอันดับชาร์ทดนตรีต่าง ๆ ด้วย) เมื่อปี 1972 เมื่อ Thick As A Brick เป็นอัลบั้มพ็อพชุดแรกที่มีเพลงเดียวยาวต่อเนื่องแพร่หลายเข้าถึงผู้ฟัง มีแนวคิด (concept) ที่ออกจะท้าทาย แต่ดนตรีนั้นเหลือเชื่อ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นหนึ่งในผลงานไม่กี่ชุดที่เป็นสุดยอดแห่งการค้นหาสำหรับแฟนผู้คลั่งไคล้ progressive rock เป็นคัมภีร์ฉบับใหม่ที่เป็นแบบฉบับให้แก่ concept album ทั้งหลาย โดยแสดงให้เห็นว่าดนตรีแบบนี้ร็อคก็ทำได้ ไม่มีใครอื่นแล้วในยุคนั้นที่จะมีปัญญาทำดนตรีเพลงเดียวที่มีความยาว 45 นาทีออกมาได้ (แต่ Jethro Tull ทำมาแล้วสองครั้ง) Ian Anderson ได้พิสูจน์แล้วว่าเขาสามารถเขียนเพลงฮิตและสร้างผลงานอันเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งเล่นออกอากาศตามวิทยุได้ และบัดนี้เขาได้ลงไปเล่นเต็มตัวแล้ว

ไม่ว่าคนจะพูดอย่างไรก็ตามแต่ Thick As A Brick คือที่สุดแห่งผลงาน progressive rock ที่อยู่ในหีบห่อเลียนแบบหนังสือพิมพ์ซึ่งสามารถเปิดกางออกได้ เป็นผลงานแห่งความทะเยอทะยานเฉกเช่นที่ดนตรี progressive rock จะพึงเป็น และน่าจะยังคงเป็นสุดยอด concept album อยู่ (หรือไม่ก็ลบล้างความเชื่อทั่วไปเกี่ยวกับ concept album เสียเลย)
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14349


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2018 | 03:26:07 PM »

4. Pink Floyd -- Dark Side of the Moon

Perfect opening song. Perfect closing song. No, even that’s not quite sufficient praise. No other album begins and ends as sublimely as this one does. From the opening heart beats to the sardonic assertion “There is no dark side of the moon, really…as a matter of fact it’s all dark”, this is rock music’s visionary apex. Dark Side represents the ultimate balance of aesthetic and accessibility—demanding yet consistently satisfying—that The Beatles initiated with Sgt. Pepper. For 741 weeks it was on the charts and it somehow remains invigorating; it’s still capable of surprising you, whether it’s the reverb of Gilmour’s slide just before the (improvised) caterwauling on “The Great Gig in the Sky” or the ceaselessly rousing climax of Waters’ understated poetry in “Eclipse” (“And everything under the sun is in tune/But the sun is eclipsed by the moon”). This is it; it’s all in here and it seldom got better than this.

เพลงเปิดอัลบั้ม สมบูรณ์แบบ, เพลงปิดท้าย ก็สมบูรณ์แบบ -- แม้กระนั้นก็ยังหาใช่คำสรรเสริญที่เพียงพอเสียทีเดียวไม่ -- ไม่มีอัลบั้มอื่นใดขึ้นต้นและลงท้ายได้สุดยอดเท่าอัลบั้มชุดนี้ นับตั้งแต่เสียงหัวใจเต้นตุบ ๆ ในตอนต้นไปจนถึงถ้อยแถลงที่เย้ยหยันว่า "ดวงจันทร์ไม่มีด้านมืดหรอก เพราะอันที่จริงแล้วมันมืดอยู่ตลอดด่างหากเล่า", นี้คือสุดยอดวิสัยทัศน์ เป็นที่สุดแห่งสมดุลระหว่างสุนทรีย์กับการให้เข้าถึงได้ คือต้องใช้เวลาและทักษะความสามารถในการฟังแต่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจเสมอ เช่นเดียวกับผลงานชุด Sgt. Pepper's... ของ The Beatles เป็นเวลา 741 สัปดาห์ที่ DSOTM ติดชาร์ทอยู่ และยังคงเป็นผลงานที่สดใหม่มีชีวิตชีวา อีกทั้งยังคงทำให้ผู้ฟังประหลาดใจได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงก้องกำทอนจากลีดกีตาร์ของ Gilmour ก่อนจะเข้าสู่ท่อนร้องโหยหวนในเพลง The Great Gig In The Sky หรือท่อนไคลแม็กซ์รุกเร้าอารมณ์จากบทกวีของ Waters ในเพลง Eclipse ("และทุกสิ่งภายใต้ดวงอาทิตย์ดำรงอยู่อย่างกลมกลืน / แต่ทว่าดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบัง") นี่แหละ ใช่เลย ทุกอย่างมีอยู่ในนี้ และแทบจะไม่มีอะไรดีไปกว่านี้แล้ว
บันทึกการเข้า


Daybreak Painting by Maxfield Parrish
หน้า: 1 [2] 3 4
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery