ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
การค้นหาขั้นสูง

149657 กระทู้ ใน 4435 หัวข้อ- โดย 847 สมาชิก - สมาชิกล่าสุด: axlrose

20 เมษายน 2024 | 11:18:29 AM
Thai Progressive Rock CommunityThaiProgKeep Talking(ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: (ฝรั่ง) เขาว่าไว้ อันว่าด้วย progressive rock (ภาคสอง)  (อ่าน 1535 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 28 กันยายน 2022 | 10:11:15 AM »

Eloy - Ocean (1977)

อัลบั้มของ Eloy ที่ผมได้มาเป็นชุดแรกในชีวิตในรูปเทปคาสเสท (ผี) ซึ่งตอนที่ได้อัลบั้มชุดนี้มานั้น ผมอยากได้ชุด Inside (1973) แต่คนขายเทปบอกว่าชุดนี้ (Ocean) เป็นผลงานที่ดีที่สุดของ Eloy แล้ว บางคนบอกว่าผลงานของ Eloy ปลายยุค 1970s มีอิทธิพลดนตรีของ Pink Floyd อัลบั้มชุด Wish You Were Here แต่ผมว่าก็ไม่เชิงเสียทีเดียวนัก ที่ชัดเจนน่าจะเป็นชุด Silent Cries And Mighty Echoes (1979) ในขณะที่ Ocean ถ้าจะมีอิทธิพลของ Pink Floyd อยู่บ้าง ก็น่าจะเป็นเสียงกีตาร์ในสไตล์ David Gilmour อยู่นิดเดียว, นิดเดียวจริง ๆ ครับ นอกนั้น อัลบั้มชุดนี้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ปกอัลบั้มสวยงามถือเป็นของแถมที่เพิ่มคุณค่าให้อัลบั้มไม่แพ้ผลงานของ Yes

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 29 กันยายน 2022 | 09:27:37 AM »

Triumvirat - "Illusions on a Double Dimple" (Harvest 1974)



Singer and bass-player Hans Pape had left Triumvirat after the debut-album and was replaced by Helmut Köllen. The best Triumvirat line-up was then reality. "Illusions..." was an improvement on their already great debut-album. The production was a lot better and Köllen was a much more talented vocalist than Pape. "Illusions..." was basically made up of two side-long tracks. The title-track is the best of the two. It includes tons of excellent instrumental-passages dominated by Fritz' awesome keyboard-work. The balance between the Hammond-organ and the warm, analogue synths he used are almost perfect. The band had now also perfected the vocal-parts, and some tasty strings often backed them up. The track on the second side is called "Mister Ten Percent" and is another orgy of catchy vocal-parts and long, ELP-ish instrumental parts. If I should find anything to criticise here, then it must be that the track is maybe a little bit too similar to the title-track in the structure and build-up. Even the same drum-riff is here! But why the heck should you care about that? The album is a feast for all who loves keyboard-based 70's progressive rock with ELP-influences. Essential.

ฮันส์ พาพ (Hans Pape) นักร้องและมือเบสส์ ได้ลาออกจาก Triumvirat หลังจากอัลบั้มชุดแรก และผู้ที่เข้ามาแทนคือ เฮลมุท เคิลเลน (Helmut Köllen) แล้วจึงได้ไลน์อัพที่ดีที่สุดของ Triumvirat ในความเป็นจริง Illusions On A Double Dimple เป็นการปรับปรุงอัลบั้มชุดแรกที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้วให้ดีขึ้น โปรดักชั่นดีกว่าเก่ามาก และ Köllen ก็ยังเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์มากกว่า Pape อัลบั้ม Illusions... โดยพื้นฐานประกอบด้วยเพลงที่มีความยาวเต็มหน้าแผ่นเสียงจำนวนสองเพลง ซึ่งในสองเพลงนี้ เพลง title-track เป็นเพลงดีที่สุด มีท่อนบรรเลงดนตรีที่ยอดเยี่ยมอยู่เป็นจำนวนมากด้วยการเล่นคีย์บอร์ดของ Fritz เป็นหลัก ความสมดุลระหว่าง hammond organ กับอนาล็อกซินธ์ที่มีเสียงอบอุ่นซึ่งเขาใช้อยู่นั้นแทบจะสมบูรณ์แบบ และในขณะนั้นวงยังได้พัฒนาภาคเสียงร้องให้สมบูรณ์อีกด้วย อีกทั้งยังมีวงเครื่องสายที่มีรสชาติเล่นสนับสนุนให้ด้วย แทร็คในแผ่นเสียงหน้าสองมีชื่อว่า "Mister Ten Percent" และเป็นอีกหนึ่งสุดยอดภาคเสียงร้องที่ติดหูและท่อนบรรเลงดนตรีที่ยืดยาวในแบบของ ELP หากผู้เขียนจะมีสิ่งใดให้วิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้างก็ต้องเป็นเรื่องที่แทร็คดังกล่าวนี้อาจจะละม้ายคล้าย title-track มากไปสักนิดในด้านโครงสร้างและการก่อตัว แม้แต่การริฟฟ์กลองแบบเดิม ๆ ก็ยังมีอยู่ในเพลงนี้ แต่จะไปแคร์ทำไมเล่ากับเรื่องนั้น อัลบั้มชุดนี้เป็นความหฤหรรษ์สำหรับทุกคนผู้รักดนตรี progressive rock ยุค 1970s ที่มีคีย์บอร์ดเป็นพื้นฐานโดยมีอิทธิพลดนตรีของ ELP เป็นผลงานที่จำเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2022 | 04:26:46 PM »

Triumvirat - Illusions on a Double Dimple (1974)

เป็นอัลบั้ม (แผ่นเสียง) ของ Triumvirat ที่ผมได้มาเป็นชุดแรกในชีวิต ซึ่งน่าจะเกือบ 20 ปีแล้ว และตอนนั้นผมยังไม่รู้จักวิธีหาของในอินเทอร์เน็ต ได้แต่อาศัยไหว้วานเพื่อนฝูงให้ช่วยหาให้ พอหาได้ก็โทรมาบอก "เฮ้ย "ทริ อุม วิ รุท" (Triumvirut ซึ่งเพื่อนของผมอ่านออกเสียงไม่ค่อยถนัด) อะไรเนี่ย ไม่รู้อ่านถูกป่าว ชื่ออัลบั้มก็... โว้ย... ยาวจัง ขี้เกียจอ่าน แบบว่า หน้าปกเป็นรูปหนูออกจากไข่น่ะ สนใจมั้ย"

ผมได้ยินดังนั้นก็สะกดชื่อวงให้เพื่อนฟังใหม่ เพื่อเป็นการย้ำ เขาก็บอกว่าใช่ ผมจึงรับเลย อีก 2-3 วันเขาก็เอาแผ่นเสียงมาให้ที่บ้าน (สมัยก่อนเป็นอย่างนี้นะครับ เพื่อนฝูงยังพอสะดวกเดินทางไปมาหาสู่กันได้อยู่) เป็นแผ่นเยอรมัน สังกัด Harvest เลเบิลพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว ดีใจมาก ได้มาปุ๊บก็เปิดฟังเลย ถูกใจทั้งอัลบั้ม (ซึ่งมีอยู่แค่ 2 เพลงที่ยาวเต็มแต่ละหน้าแผ่นเสียง) คีย์บอร์ดนี่มาในสไตล์ Keith Emerson ชัด ๆ มีทั้งออร์แกน เปียโน และ moog ใส่กันมันส์หยด เพลงหน้าแรกดีกว่าเพลงหน้าสอง แต่เพลงหน้าสอง Mister Ten Percent นั้น มีเพลงสั้น Lucky Girl ซ้อนอยู่ เพลงนี้เพราะมาก เสียงร้องชัด ๆ ขึ้นจมูกของ Helmut Kollen แซมด้วยเสียงกีตาร์โปร่งใส ๆ และเสียง moog ที่ลากยาวและอบอุ่น ผมฟังเพลงนี้แล้วไม่ทราบเป็นอะไร พาลนึกถึงเพลง Lucky Man ในอัลบั้มชุดแรกของ ELP เลยครับ

หลายคนว่า Triumvirat เป็นวงโคลนของ ELP แต่ผมว่าไม่จริงทั้งหมด เพราะถึงแม้สำเนียงการเล่นคีย์บอร์ดของ Jurgen Fritz จะละม้ายคล้ายคลึงกับ Keith Emerson แต่สไตล์ดนตรีโดยรวมของ Triumvirat ไม่เหมือน ELP ในแง่ที่ Triumvirat มีความเป็น pop สูงกว่า ซึ่งคนฟังสามารถเข้าถึงดนตรีของพวกเขาได้ไม่ยากนัก ในขณะที่ ELP เล่นดนตรีแบบเน้นเทคนิค ฝีมือและชั้นเชิงที่แพรวพราว หากจะให้เทียบกัน ผมว่าฟังผลงานของ Triumvirat แล้วรู้สึกผ่อนคลายกว่าและจดจำเมโลดี้ที่ catchy ได้ง่ายครับ
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2022 | 11:15:23 AM »

ครั้งก่อนผมได้พูดถึงการจากไปของ Vangelis ด้วยวัย 79 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Vangelis เป็นทั้งนักดนตรีและนักแต่งเพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้คีย์บอร์ดและซินธ์เป็นหลัก (แต่ความจริงเขาสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภท ถือเป็น multi-instrumentalist คนหนึ่ง) อีกทั้งยังเคยเป็นอดีตสมาชิก Aphrodite's Child วง psychedelic progressive rock สัญชาติกรีกอีกด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึง Vangelis ผมจึงนำรีวิวผลงานของ Aphrodite's Child จาก www.vintageprog.com มาแปลเรียบเรียงให้อ่านกันครับ

Aphrodite's Child - "666" (Vertigo 1971)



Legendary double-album based on the drug-related hallucinations in the Revelation of John (the last book in the Bible, if you didn't know). Both Vangelis and Demis Roussos were amongst the members in this Greek band. The material on the album is very varied in style, but most of it could be described as a kind of a psychedelic progressive rock. Vangelis wrote all the material, and it's not hard to hear. Here are lots of great themes and melodies. The highlight for me is the incredible beautiful and atmospheric "Aegian Sea". Beautiful keyboards, a heavenly choir and a great guitar-theme make an awesome track. Rousso's voice comes to the fore on "The Four Horsemen", a very catchy track. "The Battle of the Locusts" and "Do It" are energetic jams. There's also some orchestration to good effect on "Altamont". There's also a VERY weird track here "sung" by Irene Papas. The track is just a lot of screaming and moaning, sounding like she's having an orgasm! I must admit that I have absolutely no idea what the meaning of this track is. In addition to this, there are also a lot of short, experimental pieces and interludes on the album, adding a mystical and weird touch to the whole album. There's also some less interesting pop-tunes in between all this, but don't care about them. Most of the album is very interesting and entertaining. This was also the album that made Jon Anderson ask Vangelis if he wanted to join Yes.

อัลบั้มคู่ที่เป็นตำนานโดยอิงสภาวะจิตหลอนเกี่ยวกับยาเสพติดใน The Revelation of John (ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายในไบเบิล หากมีใครที่ยังไม่ทราบ) ทั้ง Vangelis และ Demis Roussos เป็นสมาชิกอยู่ในวงกรีกวงนี้ เนื้อหาในอัลบั้มชุดนี้มีสไตล์ที่หลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น psychedelic progressive rock โดย Vangelis เป็นคนเขียนวัตถุดิบทั้งหมด และเมื่อได้ยินแล้วก็เข้าใจได้ไม่ยากเลย มีธีมและเมโลดี้ที่ยอดเยี่ยมมากมาย สำหรับผู้วิจารณ์ ไฮไลต์ของเขาคือเพลง Aegian Sea ซึ่งงดงามและได้บรรยากาศอย่างเหลือเชื่อ เสียงคีย์บอร์ดที่ไพเราะ การร้องประสานเสียงดุจดั่งมาจากสรวงสววรค์ และธีมการเล่นกีตาร์ที่ดีทำให้เพลงแทร็คนี้ยอดเยี่ยม เสียงร้องของ Roussos โดดเด่นขึ้นมาอยู่แถวหน้าใน The Four Horsemen ซึ่งเป็นเพลงที่ติดหูง่ายมาก The Battle of the Locusts และ Do It เป็นเพลงที่มีการแจมที่ทรงพลัง และยังมีการจัดวงออร์เคสตร้าอย่างได้ผลดีในเพลง Altamont นอกจากนี้ยังมีแทร็คที่สุดแสนพิลึกพิลั่น ซึ่ง "ร้อง" โดยไอรีน ปาปัส (Irene Papas) ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้องและเสียงครางโหยหวน ราวกับเธอกำลังถึงจุดสุดยอด (ออร์กัสซั่ม) ผู้วิจารณ์ต้องยอมรับว่าเขาไม่ทราบเลยว่าแทร็คนี้มีความหมายว่าอะไร นอกจากนี้แล้วยังมีเพลงสั้น ๆ ในแนวทดลองจำนวนมากและเพลงคั่นในอัลบั้ม ซึ่งให้สัมผัสที่ลึกลับซ่อนเร้นและแปลกพิสดารทั้งอัลบั้ม อีกทั้งยังมีเพลงพ็อพจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยน่าสนใจแทรกคั่นอยู่ระหว่างเพลงเหล่านี้ด้วย แต่ไม่ต้องไปสนใจ เพราะอัลบั้มชุดนี้ส่วนใหญ่น่าสนใจและฟังสนุกมาก และยังเป็นอัลบั้มที่ทำให้ Jon Anderson ถาม Vangelis ว่าเขาอยากจะเข้าร่วมงานกับ Yes หรือไม่
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2022 | 02:03:17 PM »

Aphrodite's Child - 666 (1971)

ตามความเชื่อของชาวคริสต์ เลข "666" คือเลขอัปรีย์หรืออัปมงคล เพราะเกี่ยวข้องกับซาตาน อะไรทำนองนี้ ตามที่ผมเคยได้ยินมา แต่อัลบั้มที่ชื่อ 666 ของ Aphrodite's Child นั้น เป็นผลงานดนตรีที่ "เป็นมงคล" สำหรับผม เพราะบรรจุเพลงดี ๆ ไว้มากมายโดยแต่ละเพลงมีความยาวไม่มากนักโดยทั่วไป และมีหลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้ที่ฟังแล้วติดหู รับได้ง่าย หรือไม่ก็กระเดียดออกไปทางพ็อพเสียด้วยซ้ำ ยากนักที่จะหาคนทำดนตรี psychedelic ให้ไพเราะและน่าฟังได้ ส่วนเพลงที่ไอรีน ปาปัส ได้ร้องด้วยอารมณ์รุนแรงราวกับว่าเธอบรรลุถึงขีดสุดแห่งอารมณ์นั้น ไม่มีชื่อเพลง แต่มีสัญลักษณ์คล้ายเลข 8 ในแนวราบ หรือเครื่องหมายอินฟินิตี้ (infinity) พอถึงเพลงนี้ทีไร ผมต้องหรี่โวลลู่มแอมป์ลงพอประมาณ เดี๋ยวข้างบ้านจะหาว่าเปิดหนังเอ็กซ์ ผู้วิจารณ์อัลบั้มชุดนี้บอกว่าเขาไม่ทราบว่าเพลงนี้ต้องการจะสื่อสารหรือมีความหมายว่าอย่างไร ส่วนผมเห็นว่า ไม่จำเป็นจะต้องทราบหรือทำความเข้าใจก็ได้ ส่วนที่เหลือคือการตีความตามจินตนาการของคนฟังแต่ละคนไป ถ้าจะให้ผมตั้งชื่อเพลงนี้ที่มีสัญลักษณ์ infinity ผมก็จะตั้งชื่อเพลงว่า "อารมณ์ระเบิดไม่รู้จบ" ครับ 5555

ไอรีน ปาปัส (Irene Papas) เป็นนักแสดงและนักร้องชาวกรีก มีผลงานมากมาย เปิดประวัติของเธอดู พบว่าเธอเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2565 ด้วยวัย 96 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีอายุยืนมากคนหนึ่ง ขอจงสู่สุคติครับ

https://www.npr.org/2022/09/14/1122908972/irene-papas-died

บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2022 | 05:48:06 PM »

Vangelis - "Heaven and Hell" (RCA 1975)



Most of you(probably TOO many of you!) will think of sweet and fluffy soundtracks from the 80's and 90's when you hear the name Vangelis. But in the 70's he was one of the most creative and varied of all the progressive keyboard-wizards, and released many innovative and truly progressive albums after he left Aphrodite's Child. Jon Anderson had his reasons when he wanted the man to join Yes in 1974. However, Vangelis himself was an individualist who made no compromises, so he preferred a solo career instead. "Heaven and Hell" was his second official album. This is one of his very best works and probably the one to start with for progressive rock fans. The album is a very powerful and grandiose mix of rock, jazz, symphonic and classical music with tons of choirs and wonderful, analogue and very symphonic keyboard sounds. Vangelis didn't use Hammond or the Mellotron, but the sounds he used was always so tasty and warm that they more than made up for it. The fanfare-like sounds he sometimes used on this album makes me think of Keith Emerson, but he had his completely own sound and style most of the time The whole album is one continuous 40-minute suite, and it includes music used in the TV-series "Cosmos" and a part called "So Long Ago, So Clear" with vocals by Jon Anderson. Essential stuff for everyone into 70's keyboard-based progressive music.

(ผู้วิจารณ์บอกว่า) เมื่อได้ยินชื่อ Vangelis เรา ๆ ท่าน ๆ ส่วนใหญ่ (ซึ่งอาจจะเยอะไปด้วยซ้ำ) คงจะนึกถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ (soundtracks) ที่ไพเราะเบาๆ จากยุค 1980s และ 1990s แต่ในยุค 1970s ในบรรดาพ่อมดคีย์บอร์ดแนว progressive ด้วยกัน Vangelis เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความหลากหลายมากที่สุด และได้ออกอัลบั้มหลายชุดที่แปลกใหม่และเป็น progressive อย่างแท้จริงหลังจากที่เขาได้ออกจาก Aphrodite's Child มาแล้ว จอน แอนเดอร์สัน (แห่งวง Yes) มีเหตุผลที่เขาต้องการให้ Vangelis เข้าร่วมงานกับ Yes เมื่อปี 1974 แต่ Vangelis เองนั้นเป็นผู้นิยมความเป็นปัจเจกบุคคลซึ่งไม่ต้องการประนีประนอม ดังนั้นเขาจึงเลือกการเป็นศิลปินเดี่ยวแทน "Heaven and Hell" เป็นอัลบั้มที่เป็นทางการชุดที่สองของ Vangelis เป็นสุดยอดผลงานที่ดีที่สุดชุดหนึ่งของเขา และน่าจะเป็นผลงานที่แฟน ๆ progressive rock ควรจะเริ่มต้นฟัง อัลบั้มชุดนี้เป็นการผสมผสานดนตรีร็อค แจ๊สส์ ซิมโฟนิค และคลาสสิกเข้าด้วยกันได้อย่างมีพลังและโอฬารยิ่ง โดยมีเสียงร้องประสาน (choirs) และเสียงอนาล็อกคีย์บอร์ดที่ยอดเยี่ยมแนว symphonic มากันเป็นตัน Vangelis ไม่ได้ใช้ hammond ออร์แกนหรือ mellotron แต่เสียงเครื่องดนตรีที่เขาใช้นั้นแสนจะออกรสชาติและอบอุ่นอยู่ตลอดเวลายิ่งกว่าเป็นการชดเชยสิ่งที่ขาดไปเสียอีก เสียงที่เหมือนแตรประโคมซึ่งเขาใช้บางครั้งในอัลบั้มชุดนี้ทำให้ผู้วิจารณ์นึกถึง Keith Emerson แต่กระนั้น Vangelis ก็มีสำเนียงและสไตล์เป็นของตนเองโดยสมบูรณ์อยู่เกือบตลอดเวลา อัลบั้มทั้งชุดเป็นเพลง suite ที่มีความยาวต่อเนื่อง 40 นาที และมีดนตรีที่ใช้ในทีวีซีรี่ย์สชุด Cosmos และภาคดนตรีที่มีชื่อว่า So Long Ago, So Clear ซึ่งร้องโดย Jon Anderson รวมอยู่ด้วย เป็นผลงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคนที่ต้องการเข้าถึงดนตรี progressive rock ยุค 1970s ที่เน้นคีย์บอร์ดเป็นพื้นฐาน
บันทึกการเข้า
ปีศาจลายคราม
The Snow Goose
**********
เพศ: ชาย
กระทู้: 14361


Reap What You Sow


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2022 | 09:39:57 AM »

Vangelis - Heaven and Hell (1975)

อัลบั้มของ Vangelis ที่ผมได้ฟังเป็นชุดแรกในชีวิต ปกอัลบั้มปกหน้าเป็นสีแดงแสด โทนร้อนแรง คงจะสื่อความหมายถึง "นรก" ส่วนปกหลังโทนออกสีฟ้าเย็นสบายตา ก็คงจะสื่อถึง "สวรรค์" (หากจะว่าไปแล้ว ความเชื่อความศรัทธาในเรื่องนรก-สวรรค์ของชาวพุทธอย่างคนไทยเรากับชาวคริสต์คงไม่แตกต่างกันนัก ดังที่ภาพในปกแผ่นเสียงสื่อให้เห็น) สมัยก่อนผมเคยไปยืนลูบ ๆ คลำ ๆ ปกแผ่นเสียงอัลบั้มชุดนี้อยู่ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว แต่ไม่มีปัญญาซื้อ ต่อมาผมได้อัลบั้มชุดนี้มาในรูปเทปคาสเสทแบบ home made ฟังแล้วจินตนาการถึงภพภูมิทั้งสองตามชื่ออัลบั้มได้ไม่ยาก เพลง So Long Ago, So Clear ที่ร้องโดย Jon Anderson ฟังแล้วรู้สึกจิตบรรเจิดและรู้สึกขนลุกในขณะเดียวกัน (อยากให้เขาร้องในอัลบั้มนี้ทั้งอัลบั้มเสียด้วยซ้ำครับ อิ อิ ยิงฟันยิ้ม) เป็นผลงานที่ดีมากและเข้าถึงไม่ยากของ Vangelis ก็อย่างที่ผู้วิจารณ์เขาว่าไว้ หากใครอยากสัมผัสผลงานของ Vangelis ในยุค 1970s ควรจะเริ่มต้นจากชุดนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
กระโดดไป:  

ThaiProg.net Ver 4.0 by tisanai,Shineon,kongbei
Top 10 Best Sellers in Kindle eBooks Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers In Automotive Parts And Accessories Reviewer 2016 Top 10 Best Sellers in Tools and Home Improvement Under $10, Reviewer 2016
Top 10 Best Sellers in Clothing for 2017 Top 10 Best Sellers in Clothing Best Sellers in Clothing
Top 10 Best Sellers in Books reviewer 2017 Top 10 Best Sellers in Books Best Sellers in Books
Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Reviewer 2017 Top 10 Best Sellers In Best Sellers In Grocery Best Sellers In Grocery